ASTVผู้จัดการรายวัน – เมเจอร์ฯปรับกลยุทธ์ ทำตลาดเน้นยอดขาย สู้ภาวะเศรษฐกิจซบ นะกระตุ้นการบริโภคในประเทศ พร้อมเตรียมปรับโครงสร้างราคาตั๋วหนัง
นายวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมเจอร์ฯได้ปรับกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ โดยจะมุ่งเน้นการทำตลาดเพื่อยอดขายเพิ่มขึ้น จากเดิมที่มุ่งเน้นทำตลาดเพื่อสร้างแบรนด์เป็นหลักในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ช่วง 2 เดือนแรกปีนี้เติบโต 5%
นอกจากนั้นการบริหารธุรกิจในปีนี้ จะต้องเคลื่อนไหวเร็ว ปรับตัวให้เร็ว เพราะถ้าหากทำแบบล่าช้าก็จะอันตราย จะต้องบริหารงานแบบ “แมเนจจิ้งอัพ” (Managing Up) คือทำตลาดมากขึ้น ลงทุนมากขึ้น ต้องอย่ากลัวแต่ก็ต้องไม่ประมาทด้วย เพราะทุกคนไม่รู้ว่า 3 เดือนนับจากนี้จะเป็นอย่างไร หากทำตลาดไปแล้วได้ดีก็ต้องเพิ่มเม็ดเงินอีก แต่ถ้าทำแล้วไม่ดีจะต้องลดเม็ดเงิน
รวมไปถึงกลยุทธ์การขยายฐานลูกค้าใหม่ๆให้มากขึ้น มาจากขยายสาขา เพราะ อัตราส่วนระหว่างจำนวนจอที่มีทั้งหมดกว่า 500 จอในไทย กับจำนวนประชากรมากกว่า 60 ล้านคนยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก โดยปี 2552 มีแผนลงทุน 1,000 ล้านบาท เปิดเพิ่ม 3 สาขา คือ เอสพละนาดรัตนาธิเบศร์, เมเจอร์ที่อมตะนครและอีจีวี ที่ โครช (เพิ่มอีก 2 จากเดิมมี 6 โรง)
นอกจากนั้นต้องการเสนอให้รัฐบาลปรับปรุงผังเมืองใหม่ เพราะบางโซนนั้นไม่ได้เป็นสีเขียวอีกแล้ว เปลี่ยนแปลงไปมาก และยังเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการลงทุนด้วย เช่น ถนนเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา ถนนเกษตร-นวมินทร์ เป็นต้นที่ไม่ให้มีคอมเพล็กซ์พื้นที่ขนาดใหญ่เกิน 50,000 ตารางเมตร หรือทำตลาดเชิงเซ็กเมนท์เตชั่น การหาพันธมิตรมากขึ้น ด้วยงบตลาดที่เพิ่มขึ้น เป็น 150 ล้านบาท จากปีที่แล้วใช้ 100 ล้านบาท
“ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีแบบนี้ เราต้องขยัน ต้องกระตุ้นการบริโภคคนในประเทศให้มากขึ้น ซึ่งปีที่แล้วตลาดหนังโดยรวมตกลง 7% แต่ส่วนหนึ่งเพราะว่าหนังใหญ่ 2 เรื่องเลื่อนมาเป็นปีนี้คือ แฮร์รี่พอตเตอร์และนเรศวรมหาราช ทำให้ตลาดหายไปมากกว่า 300-400 ล้านบาท ซึ่งจะไหลมาปีนี้แทน”
นายวิชากล่าวด้วยว่า เมเจอร์อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างราคาตั๋วหนังใหม่ เนื่องจากว่า หนังแต่ละเรื่องมีต้นทุนการสร้างต่างกัน กลุ่มผู้ชมแต่ละเรื่องก็แตกต่างกัน ทำเลในการฉายและสาขาก็ต่างกันด้วย โดยมีแนวคิดที่จะกำหนดราคาหนังใหม่ตามทำเลและตามหน้าหนังและตามต้นทุนหนัง
นายอนวัช องค์วาสิฏฐ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจโรงภาพยนตร์ กล่าวว่า บริษัทฯทำกลยุทธ์เซ็กเมนท์เตชั่นทุกกลุ่มลูกค้าด้วยโปรโมชั่นต่างๆ ทั้งกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ เป็นต้น เพื่อสร้างลูกค้าใหม่ๆ เช่น การกำหนดราคาตั๋วเด็กนักเรียน นักศึกษา ราคา 60 บาทและ 80 บาท ทุกเรื่องทุกรอบ จากเดิมราคา 100 กว่าบาทขึ้นไป
“เราต้องการเพิ่มความถี่ในการชมหนังของผู้บริโภค ซึ่งเดิมอยู่ที่ 2.2 ครั้งต่อเดือนต่อคน ตอนนี้เพิ่มมาอยู่ที่ 2.5 ครั้งต่อเดือนต่อคน ตั้งเป้าสิ้นปีนี้เพิ่มเป็น 3 ครั้งต่อเดือนต่อคน
นายวิชากล่าวว่า ปีที่แล้วธุรกิจหนังของเมเจอร์ฯตกลง 7% แต่ส่วนอื่นเช่น โบว์ลิ่งโต 18% อาหารและเครื่องดื่มโต 25% คาดว่าปีนี้บริษัทฯจะเติบโต 10-15% ส่วนตลาดหนังไทยปีนี้จะเติบโต 50% จากจำนวน 50 เรื่อง จากหนังทั้งหมดปีนี้ประมาณ 200 เรื่อง
นายวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมเจอร์ฯได้ปรับกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ โดยจะมุ่งเน้นการทำตลาดเพื่อยอดขายเพิ่มขึ้น จากเดิมที่มุ่งเน้นทำตลาดเพื่อสร้างแบรนด์เป็นหลักในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ช่วง 2 เดือนแรกปีนี้เติบโต 5%
นอกจากนั้นการบริหารธุรกิจในปีนี้ จะต้องเคลื่อนไหวเร็ว ปรับตัวให้เร็ว เพราะถ้าหากทำแบบล่าช้าก็จะอันตราย จะต้องบริหารงานแบบ “แมเนจจิ้งอัพ” (Managing Up) คือทำตลาดมากขึ้น ลงทุนมากขึ้น ต้องอย่ากลัวแต่ก็ต้องไม่ประมาทด้วย เพราะทุกคนไม่รู้ว่า 3 เดือนนับจากนี้จะเป็นอย่างไร หากทำตลาดไปแล้วได้ดีก็ต้องเพิ่มเม็ดเงินอีก แต่ถ้าทำแล้วไม่ดีจะต้องลดเม็ดเงิน
รวมไปถึงกลยุทธ์การขยายฐานลูกค้าใหม่ๆให้มากขึ้น มาจากขยายสาขา เพราะ อัตราส่วนระหว่างจำนวนจอที่มีทั้งหมดกว่า 500 จอในไทย กับจำนวนประชากรมากกว่า 60 ล้านคนยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก โดยปี 2552 มีแผนลงทุน 1,000 ล้านบาท เปิดเพิ่ม 3 สาขา คือ เอสพละนาดรัตนาธิเบศร์, เมเจอร์ที่อมตะนครและอีจีวี ที่ โครช (เพิ่มอีก 2 จากเดิมมี 6 โรง)
นอกจากนั้นต้องการเสนอให้รัฐบาลปรับปรุงผังเมืองใหม่ เพราะบางโซนนั้นไม่ได้เป็นสีเขียวอีกแล้ว เปลี่ยนแปลงไปมาก และยังเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการลงทุนด้วย เช่น ถนนเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา ถนนเกษตร-นวมินทร์ เป็นต้นที่ไม่ให้มีคอมเพล็กซ์พื้นที่ขนาดใหญ่เกิน 50,000 ตารางเมตร หรือทำตลาดเชิงเซ็กเมนท์เตชั่น การหาพันธมิตรมากขึ้น ด้วยงบตลาดที่เพิ่มขึ้น เป็น 150 ล้านบาท จากปีที่แล้วใช้ 100 ล้านบาท
“ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีแบบนี้ เราต้องขยัน ต้องกระตุ้นการบริโภคคนในประเทศให้มากขึ้น ซึ่งปีที่แล้วตลาดหนังโดยรวมตกลง 7% แต่ส่วนหนึ่งเพราะว่าหนังใหญ่ 2 เรื่องเลื่อนมาเป็นปีนี้คือ แฮร์รี่พอตเตอร์และนเรศวรมหาราช ทำให้ตลาดหายไปมากกว่า 300-400 ล้านบาท ซึ่งจะไหลมาปีนี้แทน”
นายวิชากล่าวด้วยว่า เมเจอร์อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างราคาตั๋วหนังใหม่ เนื่องจากว่า หนังแต่ละเรื่องมีต้นทุนการสร้างต่างกัน กลุ่มผู้ชมแต่ละเรื่องก็แตกต่างกัน ทำเลในการฉายและสาขาก็ต่างกันด้วย โดยมีแนวคิดที่จะกำหนดราคาหนังใหม่ตามทำเลและตามหน้าหนังและตามต้นทุนหนัง
นายอนวัช องค์วาสิฏฐ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจโรงภาพยนตร์ กล่าวว่า บริษัทฯทำกลยุทธ์เซ็กเมนท์เตชั่นทุกกลุ่มลูกค้าด้วยโปรโมชั่นต่างๆ ทั้งกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ เป็นต้น เพื่อสร้างลูกค้าใหม่ๆ เช่น การกำหนดราคาตั๋วเด็กนักเรียน นักศึกษา ราคา 60 บาทและ 80 บาท ทุกเรื่องทุกรอบ จากเดิมราคา 100 กว่าบาทขึ้นไป
“เราต้องการเพิ่มความถี่ในการชมหนังของผู้บริโภค ซึ่งเดิมอยู่ที่ 2.2 ครั้งต่อเดือนต่อคน ตอนนี้เพิ่มมาอยู่ที่ 2.5 ครั้งต่อเดือนต่อคน ตั้งเป้าสิ้นปีนี้เพิ่มเป็น 3 ครั้งต่อเดือนต่อคน
นายวิชากล่าวว่า ปีที่แล้วธุรกิจหนังของเมเจอร์ฯตกลง 7% แต่ส่วนอื่นเช่น โบว์ลิ่งโต 18% อาหารและเครื่องดื่มโต 25% คาดว่าปีนี้บริษัทฯจะเติบโต 10-15% ส่วนตลาดหนังไทยปีนี้จะเติบโต 50% จากจำนวน 50 เรื่อง จากหนังทั้งหมดปีนี้ประมาณ 200 เรื่อง