รอยเตอร์ - ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทรุดฮวบ 10 เปอร์เซ็นต์ ตกลงสู่ระดับ 40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อวันจันทร์ (2) สืบเนื่องมาจากสัญญาณต่าง ๆ อันน่าสยดสยองในทางเศรษฐกิจรุมขย้ำตลาดทั่วโลก จนหลอกหลอนให้นักลงทุนต่างหวาดผวาว่า ดีมานด์ความต้องการใช้พลังงานจะตกต่ำลงอีก และไม่แยแสผลกระทบที่จะตามมา หากกลุ่มโอเปกตัดลดกำลังการผลิตระลอกใหม่
ในวันจันทร์ (2) น้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ ดิ่งลง 4.61 ดอลลาร์ ปิดที่ 40.15 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนต์ของลอนดอนหล่นลงมา 4.14 ดอลลาร์ ปิดที่ 42.21 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ถลำลึกลงเรื่อย ๆ ยิ่งบั่นความต้องการพลังงานทั่วโลก และส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบทรุดลงฮวบฮาบจากที่เคยทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในระดับเหนือ 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อเดือนมกราคมปีก่อน จนกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ต้องตัดลดกำลังการผลิตลงแล้วหลายระลอกตลอดช่วงครึ่งหลังของปี 2008
"เมื่อพิจารณารอบด้านแล้ว แม้กลุ่มโอเปกจะทำหน้าที่อย่างดีในการรักษากำลังการผลิต แต่ดูเหมือนว่า ราคาน้ำมันที่ตกต่ำเช่นนี้ ได้รับแรงผลักดันจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั่วโลกซึ่งทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ อันสะท้อนให้เห็นจากตลาดหุ้นดาวโจนส์" เนาแมน บารากัต รองประธานอาวุโสของบริษัทหลักทรัพย์แมคควอรีของสหรัฐฯ กล่าว
ในวันจันทร์ (2) น้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ ดิ่งลง 4.61 ดอลลาร์ ปิดที่ 40.15 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนต์ของลอนดอนหล่นลงมา 4.14 ดอลลาร์ ปิดที่ 42.21 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ถลำลึกลงเรื่อย ๆ ยิ่งบั่นความต้องการพลังงานทั่วโลก และส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบทรุดลงฮวบฮาบจากที่เคยทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในระดับเหนือ 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อเดือนมกราคมปีก่อน จนกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ต้องตัดลดกำลังการผลิตลงแล้วหลายระลอกตลอดช่วงครึ่งหลังของปี 2008
"เมื่อพิจารณารอบด้านแล้ว แม้กลุ่มโอเปกจะทำหน้าที่อย่างดีในการรักษากำลังการผลิต แต่ดูเหมือนว่า ราคาน้ำมันที่ตกต่ำเช่นนี้ ได้รับแรงผลักดันจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั่วโลกซึ่งทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ อันสะท้อนให้เห็นจากตลาดหุ้นดาวโจนส์" เนาแมน บารากัต รองประธานอาวุโสของบริษัทหลักทรัพย์แมคควอรีของสหรัฐฯ กล่าว