สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สำรวจความคิดเห็นประชาชนใน 18 จังหวัดทั่วประเทศจำนวน 2,038 ตัวอย่างระหว่างวันที่ 20 -28 ก.พ.ในหัวข้อ วิกฤติเศรษฐกิจ และโอกาสทางสังคมในสายตาประชาชน ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 31.9 คิดว่าการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมาอยู่ในสภาวะที่ดีขึ้น ซึ่งใกล้เคียงกับประชาชนที่เห็นว่าการเมืองไทยยังอยู่ในสภาวะที่แย่เหมือนเดิมคือ ร้อยละ 30.5 อย่างไรก็ตาม การเมืองไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.1 คิดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ดี ในขณะที่ร้อยละ 35.9 คิดว่าการเมืองไทยยังจะแย่อยู่
ส่วนความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทยในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.4 มองว่าอยู่ในสภาวะที่แย่ คือร้อยละ 28.5 มองว่าแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 37.9 มองว่าแย่ลง ในขณะที่ ร้อยละ 33.6 มองว่าเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี คือร้อยละ 18.0 มองว่าดีเหมือนเดิม และร้อยละ 15.6 มองว่าดีขึ้น
ประเด็นที่น่าสนใจคือผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 46.6 ตั้งความหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้าว่า เศรษฐกิจจะอยู่ในสภาวะที่ดีขึ้น ส่วน ร้อยละ 11.5 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ในขณะที่ร้อยละ ร้อยละ 19.5 คิดว่า จะแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 22.4 คิดว่า จะแย่ลง
อย่างไรก็ตามผลสำรวจ ยังพบว่า ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.4 ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเรื่องราคาอาหาร ตามมาด้วยร้อยละ 57.8 เป็นผลกระทบในเรื่องหน้าที่การงานโดยภาพรวม ร้อยละ 57.1 รู้สึกไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน ร้อยละ 50.8 กำลังหางานทำ เริ่มหางานใหม่ และหางานเสริมทำ ร้อยละ 50.1 ได้รับผลกระทบในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในชีวิต
นอกจากนี้ ได้รับผลกระทบในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของคนในครอบครัว เรื่องเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค การรักษาพยาบาล และประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.2 ได้รับผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว
เอแบคโพลล์ ยังพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 86.7 ไม่ได้ติดต่อขอรับเช็ค 2,000 บาทที่รัฐบาลมอบให้ผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม มีเพียงร้อยละ 13.3 ได้ติดต่อขอรับเช็คดังกล่าวแล้ว ซึ่งในจำนวนผู้ที่ติดต่อขอรับเช็ค ยังพบว่า ร้อยละ 50.5 จะนำเงินมาใช้ทันที ซึ่งก้ำกึ่งกับตัวเลขประชาชนที่บอกว่า จะเก็บไว้กับตัวก่อนคือ ร้อยละ 49.5
ผลสำรวจยังสอบถามถึงโอกาสทางสังคมที่ประชาชนอยากให้คนไทยร่วมกันทำ เพื่อให้สถานการณ์ต่างๆ ของประเทศดีขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 84.8 อยากให้ปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมาร้อยละ 82.0 อยากให้แบ่งปันช่วยเหลือกันและกันให้แก่เพื่อนบ้าน ร้อยละ 81.7 อยากให้แสดงความเป็นมิตรต่อกันและกัน นอกจากนี้ อยากให้เกื้อกูลกันและกันกับผู้อื่น ทำกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน ช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สินของสาธารณะ ช่วยกันสอดส่องดูแลความปลอดภัยของคนในชุมชน
เมื่อสอบถามว่า อยากให้คนไทยคนอื่นๆ ทำอย่างไรระหว่าง เอาให้ตัวเองอยู่รอดก่อน กับเสียสละช่วยเหลือแบ่งปันกัน ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 87.2 อยากให้เสียสละช่วยเหลือแบ่งปันกันมีเพียงร้อยละ 12.8 ที่ระบุว่า ต่างคนต่างอยู่ให้ตัวเองอยู่รอดก่อน และเมื่อสอบถามถึงการตัดสินใจของตัวเอง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.3 ยังคงตอบว่า จะเสียสละ มีเพียงร้อยละ 34.7 ที่เลือกให้ตัวเองอยู่รอดก่อน
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจครั้งนี้ เห็นได้ชัดว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความหวังอยู่ จึงขอเสนอให้รัฐบาลพูดความเป็นจริง ชี้ให้เห็นถึงปัญหาแท้จริงตามแนวทางรัฐบาลรู้อะไร ประชาชนต้องรู้เช่นกัน เพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมแก้ไขปัญหา ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจและคนชนชั้นนำของสังคมน่าจะชี้นำให้เห็นข้อมูลในทางลบ และเสนอแนะทางออกเพื่อลดความวิตกกังวลและความกลัวในหมู่ประชาชน ส่วนประชาชนทุกชนชั้นน่าจะนำ “ทางสายกลาง” มาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตในสภาวะปัจจุบัน ดังนั้นจากปัญหาที่เกิดขึ้น น่าจะเป็นโอกาสทางสังคมที่คนไทยทุกคนจะนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงและการแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามวัฒนธรรมประเพณีไทยที่ดีงาม มาใช้ภายในครอบครัว ชุมชนและสังคมระดับประเทศอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ส่วนความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทยในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.4 มองว่าอยู่ในสภาวะที่แย่ คือร้อยละ 28.5 มองว่าแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 37.9 มองว่าแย่ลง ในขณะที่ ร้อยละ 33.6 มองว่าเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี คือร้อยละ 18.0 มองว่าดีเหมือนเดิม และร้อยละ 15.6 มองว่าดีขึ้น
ประเด็นที่น่าสนใจคือผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 46.6 ตั้งความหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้าว่า เศรษฐกิจจะอยู่ในสภาวะที่ดีขึ้น ส่วน ร้อยละ 11.5 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ในขณะที่ร้อยละ ร้อยละ 19.5 คิดว่า จะแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 22.4 คิดว่า จะแย่ลง
อย่างไรก็ตามผลสำรวจ ยังพบว่า ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.4 ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเรื่องราคาอาหาร ตามมาด้วยร้อยละ 57.8 เป็นผลกระทบในเรื่องหน้าที่การงานโดยภาพรวม ร้อยละ 57.1 รู้สึกไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน ร้อยละ 50.8 กำลังหางานทำ เริ่มหางานใหม่ และหางานเสริมทำ ร้อยละ 50.1 ได้รับผลกระทบในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในชีวิต
นอกจากนี้ ได้รับผลกระทบในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของคนในครอบครัว เรื่องเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค การรักษาพยาบาล และประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.2 ได้รับผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว
เอแบคโพลล์ ยังพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 86.7 ไม่ได้ติดต่อขอรับเช็ค 2,000 บาทที่รัฐบาลมอบให้ผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม มีเพียงร้อยละ 13.3 ได้ติดต่อขอรับเช็คดังกล่าวแล้ว ซึ่งในจำนวนผู้ที่ติดต่อขอรับเช็ค ยังพบว่า ร้อยละ 50.5 จะนำเงินมาใช้ทันที ซึ่งก้ำกึ่งกับตัวเลขประชาชนที่บอกว่า จะเก็บไว้กับตัวก่อนคือ ร้อยละ 49.5
ผลสำรวจยังสอบถามถึงโอกาสทางสังคมที่ประชาชนอยากให้คนไทยร่วมกันทำ เพื่อให้สถานการณ์ต่างๆ ของประเทศดีขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 84.8 อยากให้ปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมาร้อยละ 82.0 อยากให้แบ่งปันช่วยเหลือกันและกันให้แก่เพื่อนบ้าน ร้อยละ 81.7 อยากให้แสดงความเป็นมิตรต่อกันและกัน นอกจากนี้ อยากให้เกื้อกูลกันและกันกับผู้อื่น ทำกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน ช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สินของสาธารณะ ช่วยกันสอดส่องดูแลความปลอดภัยของคนในชุมชน
เมื่อสอบถามว่า อยากให้คนไทยคนอื่นๆ ทำอย่างไรระหว่าง เอาให้ตัวเองอยู่รอดก่อน กับเสียสละช่วยเหลือแบ่งปันกัน ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 87.2 อยากให้เสียสละช่วยเหลือแบ่งปันกันมีเพียงร้อยละ 12.8 ที่ระบุว่า ต่างคนต่างอยู่ให้ตัวเองอยู่รอดก่อน และเมื่อสอบถามถึงการตัดสินใจของตัวเอง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.3 ยังคงตอบว่า จะเสียสละ มีเพียงร้อยละ 34.7 ที่เลือกให้ตัวเองอยู่รอดก่อน
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจครั้งนี้ เห็นได้ชัดว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความหวังอยู่ จึงขอเสนอให้รัฐบาลพูดความเป็นจริง ชี้ให้เห็นถึงปัญหาแท้จริงตามแนวทางรัฐบาลรู้อะไร ประชาชนต้องรู้เช่นกัน เพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมแก้ไขปัญหา ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจและคนชนชั้นนำของสังคมน่าจะชี้นำให้เห็นข้อมูลในทางลบ และเสนอแนะทางออกเพื่อลดความวิตกกังวลและความกลัวในหมู่ประชาชน ส่วนประชาชนทุกชนชั้นน่าจะนำ “ทางสายกลาง” มาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตในสภาวะปัจจุบัน ดังนั้นจากปัญหาที่เกิดขึ้น น่าจะเป็นโอกาสทางสังคมที่คนไทยทุกคนจะนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงและการแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามวัฒนธรรมประเพณีไทยที่ดีงาม มาใช้ภายในครอบครัว ชุมชนและสังคมระดับประเทศอย่างจริงจังและต่อเนื่อง