ASTVผู้จัดการรายวัน - เม็ดมะม่วงหิมพานต์ นอกจากรสชาติอร่อยแล้ว ยังมากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ทำให้ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างสูง ปัจจุบัน มีผู้ผลิตหลายราย จะประสบความสำเร็จได้จำเป็นต้องมีจุดเด่น อย่างราย “บ้านไร่ใหญ่” ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านไร่ใหญ่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ รักษาเอกลักษณ์คงกรรมวิธีการแปรรูปแบบโบราณ เพิ่มความอร่อย ทั้งกรอบ และมัน ที่สำคัญ มีกลิ่นหอมอย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องปรุงแต่ง
มะแท็ง ศรีเกิด ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านไร่ใหญ่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ บุกเบิกธุรกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์คั่วแบบโบราณ มายาวนานกว่า 30 ปี เล่าเรื่องราวความเป็นมาในอาชีพนี้ให้ฟังว่า
ครอบครัวศรีเกิด เข้ามาสู่แวดวงอาชีพนี้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2521 ด้วยการเป็นนายหน้ารับซื้อเม็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบไปขายต่อให้พ่อค้าคนกลาง เนื่องจากเวลานั้น พื้นที่จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะกระบี่ ระนอง พังงา และภูเก็ต นิยมปลูกกันมาก เม็ดดิบซื้อขายกันกิโลกรัมละ 8 บาท แต่ทำได้ไม่นานต้องเลิกกิจการไปเพราะกำไรน้อยไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
อย่างไรก็ตาม ได้ลองแปรรูปนำเอาเม็ดมะม่วงฯดิบไปคั่วแบบโบราณ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่น จากนั้น ทดลองนำไปวางขาย ปรากฏว่าได้ผลตอบรับดี กำไรสูง และรายได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถยึดเป็นหลักอาชีพหลัก และเป็นมรดกตกทอดมาสู่รุ่นลูกถึงปัจจุบัน
มะแท็ง เผยว่า แม้ว่าธุรกิจแปรรูปเม็ดมะม่วงฯจะมีผู้ผลิตจำหน่ายมากทั้งรายเล็กและรายใหญ่ แต่ส่วนใหญ่การผลิตจะเน้นพึ่งพาเครื่องจักร ซึ่งกรรมวิธีดังกล่าว แม้จะสะดวกรวดเร็ว แต่ใช้เงินทุนสูงมาก ดังนั้น จึงเลือกจะแปรรูปด้วยการคั่วแบบโบราณแทน ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ถนัดอยู่แล้ว และที่สำคัญกลายเป็นเสน่ห์ที่ลูกค้าชื่นชอบ
“ความน่าสนใจของกรรมวิธีคั่วแบบโบราณ ผลผลิตที่ได้จะคงคุณค่าทางโภชนาการไว้ครบถ้วน อีกทั้ง ยางที่อยู่ในเม็ดแก่ที่ผ่านการตากแดดจนแห้ง เวลาโดดความร้อนจะปะทุออกมาติดไฟ เกิดการอบภายในจนสุกทั่วทั้งเม็ด ช่วยให้เม็ดมะม่วงหิมพานต์มีความกรอบ มัน และมีกลิ่นหอมอย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องปรุงแต่ง นี่เป็นจุดสำคัญทำให้สินค้าติดตลาด และอยู่มาได้กว่า 30 ปี”
ในยุคแรกทำกันเองในครอบครัว โดยมีสามีและลูกๆ คอยเป็นทีมงานช่วยเหลือ นำสินค้าไปฝากขายตามร้านค้าภายใน จ.กระบี่ รวมถึง ออกร้านขายเองตามงานแสดงสินค้า ช่วยให้สินค้าได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ จนผลิตไม่ทันความต้องการของตลาด ในปีพ.ศ. 2545 ขยายกิจการโดยตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านไร่ใหญ่ ส่งผลให้กิจการขยายตลาดเพิ่มขึ้น และยังสร้างรายได้ให้แก่เพื่อนสมาชิกอีกกว่า 30 คนด้วย
จากความช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐหลายๆ แห่ง ได้ช่วยยกระดับสินค้าของผู้ผลิตชุมชนเหล่านี้ ให้มีมาตรฐานสูงขึ้น โดยจดเครื่องหมายการค้าในชื่อ “บ้านไร่ใหญ่” ผ่านรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา และได้รับคัดเลือกเป็นสินค้าโอทอป 5 ดาว
ช่องทางการตลาดทุกวันนี้ จะมีลูกค้าทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมกิจการถึงแหล่งผลิต เพื่อขอดูกรรมวิธีการผลิตแบบโบราณ หลังจากนั้น จะซื้อหาสินค้ากลับไปเป็นของฝากของที่ระลึก นอกจากนั้น มีจุดขายที่สนามบินนานาชาติ จ.กระบี่ รวมถึง ได้รับการสนับสนุนจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขากระบี่ ให้วางขายในบูทโอทอปโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
สำหรับกระบวนการผลิตใช้แรงงานคนแทบทั้งหมด ยกเว้นการอบ เริ่มแรกนำเม็ดมะม่วงฯ ดิบตากแห้งเทลงในกระบะคั่ว ตั้งบนเตาที่ติดไฟไว้ คนให้ทั่วประมาณ 3 นาที ยางในเม็ดเริ่มออกและติดไฟ ให้คนต่อไปอีก 3-5 นาที สังเกตเมื่อเผาไหม้จนเม็ดเป็นสีดำทั่วทั้งกระบะ ให้รีบเอาน้ำดับไฟ แล้วเทลงบนพื้น นำขี้เลื่อยหรือปูนขาวที่เตรียมไว้คลุกเคล้าให้ทั่ว เพื่อไม่ให้ยางติดมือ แล้วค่อยนำไปกะเทาะเปลือกออก โดยไม่ต้องรอให้เม็ดเย็น จากนั้น นำเม็ดมะม่วงฯ ที่ได้ไปเข้าเครื่องอบอีก 30 นาที ที่ความร้อน 200 องศาเซลเซียล เพื่อกันความชื้นและป้องกันเชื้อรา พักให้เย็นลงเล็กน้อย แล้วนำไปคัดเกรด เพื่อจะบรรจุลงถุง
ยอดการผลิตขณะนี้อยู่ประมาณ 80-100 กิโลกลัมต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนสั่งซื้อ สำหรับราคาขายส่ง แบบบรรจุเป็นถุง น้ำหนัก 300 กรัม ราคา 85 บาท หรือซื้อเป็นกิโลกรัมละ 280 บาท
ด้านปัญหาธุรกิจนั้น ประธานกลุ่มฯ ระบุว่า ต้นทุนวัตถุดิบสูงมากขึ้น เพราะเม็ดมะม่วงฯ นับวันปริมาณจะลดน้อยลง ทำให้เม็ดมะม่วงฯ ดิบที่สั่งมาจากจังหวัดอื่นๆ เช่น ระนอง และบางจังหวัดทางภาคอีสาน ใราคาสูงขึ้นกว่า 45 บาทต่อกิโลกรัม ราคาดังกล่าวหลังนำมาแปรรูป และคัดเกรด หักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วเหลือกำไรไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม เธอและสมาชิกกลุ่ม ยืนยันว่า จะมุ่งมั่นทำอาชีพนี้ เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ถ่ายทอดสู่คนรุ่นลูก และรุ่นหลานต่อไป
โทร.075 636 620 , 086 276 8401
มะแท็ง ศรีเกิด ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านไร่ใหญ่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ บุกเบิกธุรกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์คั่วแบบโบราณ มายาวนานกว่า 30 ปี เล่าเรื่องราวความเป็นมาในอาชีพนี้ให้ฟังว่า
ครอบครัวศรีเกิด เข้ามาสู่แวดวงอาชีพนี้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2521 ด้วยการเป็นนายหน้ารับซื้อเม็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบไปขายต่อให้พ่อค้าคนกลาง เนื่องจากเวลานั้น พื้นที่จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะกระบี่ ระนอง พังงา และภูเก็ต นิยมปลูกกันมาก เม็ดดิบซื้อขายกันกิโลกรัมละ 8 บาท แต่ทำได้ไม่นานต้องเลิกกิจการไปเพราะกำไรน้อยไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
อย่างไรก็ตาม ได้ลองแปรรูปนำเอาเม็ดมะม่วงฯดิบไปคั่วแบบโบราณ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่น จากนั้น ทดลองนำไปวางขาย ปรากฏว่าได้ผลตอบรับดี กำไรสูง และรายได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถยึดเป็นหลักอาชีพหลัก และเป็นมรดกตกทอดมาสู่รุ่นลูกถึงปัจจุบัน
มะแท็ง เผยว่า แม้ว่าธุรกิจแปรรูปเม็ดมะม่วงฯจะมีผู้ผลิตจำหน่ายมากทั้งรายเล็กและรายใหญ่ แต่ส่วนใหญ่การผลิตจะเน้นพึ่งพาเครื่องจักร ซึ่งกรรมวิธีดังกล่าว แม้จะสะดวกรวดเร็ว แต่ใช้เงินทุนสูงมาก ดังนั้น จึงเลือกจะแปรรูปด้วยการคั่วแบบโบราณแทน ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ถนัดอยู่แล้ว และที่สำคัญกลายเป็นเสน่ห์ที่ลูกค้าชื่นชอบ
“ความน่าสนใจของกรรมวิธีคั่วแบบโบราณ ผลผลิตที่ได้จะคงคุณค่าทางโภชนาการไว้ครบถ้วน อีกทั้ง ยางที่อยู่ในเม็ดแก่ที่ผ่านการตากแดดจนแห้ง เวลาโดดความร้อนจะปะทุออกมาติดไฟ เกิดการอบภายในจนสุกทั่วทั้งเม็ด ช่วยให้เม็ดมะม่วงหิมพานต์มีความกรอบ มัน และมีกลิ่นหอมอย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องปรุงแต่ง นี่เป็นจุดสำคัญทำให้สินค้าติดตลาด และอยู่มาได้กว่า 30 ปี”
ในยุคแรกทำกันเองในครอบครัว โดยมีสามีและลูกๆ คอยเป็นทีมงานช่วยเหลือ นำสินค้าไปฝากขายตามร้านค้าภายใน จ.กระบี่ รวมถึง ออกร้านขายเองตามงานแสดงสินค้า ช่วยให้สินค้าได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ จนผลิตไม่ทันความต้องการของตลาด ในปีพ.ศ. 2545 ขยายกิจการโดยตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านไร่ใหญ่ ส่งผลให้กิจการขยายตลาดเพิ่มขึ้น และยังสร้างรายได้ให้แก่เพื่อนสมาชิกอีกกว่า 30 คนด้วย
จากความช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐหลายๆ แห่ง ได้ช่วยยกระดับสินค้าของผู้ผลิตชุมชนเหล่านี้ ให้มีมาตรฐานสูงขึ้น โดยจดเครื่องหมายการค้าในชื่อ “บ้านไร่ใหญ่” ผ่านรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา และได้รับคัดเลือกเป็นสินค้าโอทอป 5 ดาว
ช่องทางการตลาดทุกวันนี้ จะมีลูกค้าทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมกิจการถึงแหล่งผลิต เพื่อขอดูกรรมวิธีการผลิตแบบโบราณ หลังจากนั้น จะซื้อหาสินค้ากลับไปเป็นของฝากของที่ระลึก นอกจากนั้น มีจุดขายที่สนามบินนานาชาติ จ.กระบี่ รวมถึง ได้รับการสนับสนุนจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขากระบี่ ให้วางขายในบูทโอทอปโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
สำหรับกระบวนการผลิตใช้แรงงานคนแทบทั้งหมด ยกเว้นการอบ เริ่มแรกนำเม็ดมะม่วงฯ ดิบตากแห้งเทลงในกระบะคั่ว ตั้งบนเตาที่ติดไฟไว้ คนให้ทั่วประมาณ 3 นาที ยางในเม็ดเริ่มออกและติดไฟ ให้คนต่อไปอีก 3-5 นาที สังเกตเมื่อเผาไหม้จนเม็ดเป็นสีดำทั่วทั้งกระบะ ให้รีบเอาน้ำดับไฟ แล้วเทลงบนพื้น นำขี้เลื่อยหรือปูนขาวที่เตรียมไว้คลุกเคล้าให้ทั่ว เพื่อไม่ให้ยางติดมือ แล้วค่อยนำไปกะเทาะเปลือกออก โดยไม่ต้องรอให้เม็ดเย็น จากนั้น นำเม็ดมะม่วงฯ ที่ได้ไปเข้าเครื่องอบอีก 30 นาที ที่ความร้อน 200 องศาเซลเซียล เพื่อกันความชื้นและป้องกันเชื้อรา พักให้เย็นลงเล็กน้อย แล้วนำไปคัดเกรด เพื่อจะบรรจุลงถุง
ยอดการผลิตขณะนี้อยู่ประมาณ 80-100 กิโลกลัมต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนสั่งซื้อ สำหรับราคาขายส่ง แบบบรรจุเป็นถุง น้ำหนัก 300 กรัม ราคา 85 บาท หรือซื้อเป็นกิโลกรัมละ 280 บาท
ด้านปัญหาธุรกิจนั้น ประธานกลุ่มฯ ระบุว่า ต้นทุนวัตถุดิบสูงมากขึ้น เพราะเม็ดมะม่วงฯ นับวันปริมาณจะลดน้อยลง ทำให้เม็ดมะม่วงฯ ดิบที่สั่งมาจากจังหวัดอื่นๆ เช่น ระนอง และบางจังหวัดทางภาคอีสาน ใราคาสูงขึ้นกว่า 45 บาทต่อกิโลกรัม ราคาดังกล่าวหลังนำมาแปรรูป และคัดเกรด หักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วเหลือกำไรไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม เธอและสมาชิกกลุ่ม ยืนยันว่า จะมุ่งมั่นทำอาชีพนี้ เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ถ่ายทอดสู่คนรุ่นลูก และรุ่นหลานต่อไป
โทร.075 636 620 , 086 276 8401