คนที่ได้รับน้ำที่ใสสะอาดมาใช้ดื่มใช้กิน จะคำนึงหรือไม่ว่าน้ำที่ได้อาจมาจาก คนแบกหม้อก้นดำ ที่แม้จะดำที่ก้นหม้อเพราะผ่านการต้มด้วยฟืนแต่ภายในกลับใสสะอาด และที่สำคัญก็คือมิได้คำนึงว่าทำไมตนจึงต้องรับภาระแบกหม้อก้นดำนี้เอาไว้ มิใช่เพราะความรักที่ คนแบกหม้อก้นดำ มีให้ต่อมนุษยชาติดอกหรือ
คนแบกหม้อก้นดำ จึงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในสังคม และเป็นความงดงามของมนุษย์ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ มิเช่นนั้นแล้วมนุษยชาติคงไม่สามารถดำรงเผ่าพันธุ์ในโลกนี้ต่อไปได้หากปราศจากซึ่งความรักความหวังดีต่อเพื่อนมนุษย์เช่นนี้
ระหว่างซ้อเจ็ด พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับอัศวินแห่งรัตติกาลจากภาพยนตร์ Batman ตอนล่าสุดเรื่อง The Dark Knight ต่างก็เป็นฮีโร่ซึ่งเป็น คนแบกหม้อก้นดำ เหมือนกันทั้งสิ้น เพราะพวกเขาต่างตระหนักถึงความรักที่พวกเขามีต่อมวลมนุษยชาติจึงตัดสินใจยอมเสียสละกระทำในสิ่งที่วิญญูชนพึงกระทำ
การเปิดโปงความชั่วร้ายของคนบางคนหรือบางกลุ่มจึงเป็นสิ่งที่วิญญูชนบางครั้งพึงกระทำเพราะหากมิกระทำก็อย่าหวังว่าจะมีผู้อื่นกระทำแทนให้ การออกมา “แฉ” ให้สังคมรับรู้ก็เป็นการยับยั้งความชั่ววิธีการหนึ่ง แม้ในบางครั้งจะมีเสียงสะท้อนกลับมาในหลายมิติก็ตามทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ แต่สิ่งที่ “แฉ” ออกมาในภายหลังส่วนใหญ่ก็ปรากฏว่าเป็นความจริงมิใช่หรือ การกระทำของพวกเขาเหล่านี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงคำกล่าวของนักบวชสายมหายานที่กล่าวอยู่เสมอๆ ด้วยคำพูดหรือประพฤติปฏิบัติว่า “หากเราไม่ยอมลงอเวจีแล้วใครจะยอมลงอเวจี”
ต่อพงษ์ เศวตามร์ ที่ถูกคนร้ายดักตีหัวเมื่อเร็วๆ นี้ไม่ใช่ซ้อเจ็ดแต่กลับกลายเป็นผู้รับเคราะห์แทนซ้อเจ็ดเพียงเพราะเขาเป็นบรรณาธิการฝ่ายบันเทิงของสื่อ ASTVผู้จัดการรายวัน เท่านั้น แล้วซ้อเจ็ดเป็นใครกันแน่?
คำตอบของผู้เขียนก็คือ ซ้อเจ็ดเป็นใครไม่สำคัญเท่ากับสิ่งที่ซ้อเจ็ดได้กระทำลงไปนั้นแทบไม่ต่างจากอัศวินแห่งรัตติกาลในภาพยนตร์แต่อย่างใดเลย เพราะการรุกขึ้นมาโรมรันกับความเน่าเฟะในวงการบันเทิงไทยด้วยการ “แฉ” ของซ้อเจ็ดเป็นสิ่งที่ทำให้ซ้อเจ็ดกลายเป็นที่เกลียดชังของคนที่ถูกเปิดโปงเหมือนอย่างที่บทบาทของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็เป็นที่เกลียดชังของคนโกงชาติและเป็นที่ขัดเคืองสายตาของสื่อและปัญญาชนจอมปลอมกลุ่มหนึ่ง
ผู้เขียนอยากจะถามไถ่กับสังคมนี้ดังๆ ว่า สังคมไทยจะผิดเพี้ยนจากสังคมที่ศิวิไลซ์ไปมากแค่ไหน หากผู้ที่ทำความผิด ความชั่ว เมื่อถูกเปิดโปงแล้วทำไมจึงไม่หยุด แต่กลับมาต่อว่าผู้ที่เปิดโปงว่านำเรื่องดังกล่าวมาพูดทำไม
หากมาตรฐานความดียังเริ่มที่คนเหล่านั้นไม่ได้เพราะเขาเหล่านั้นยังเห็นกงจักรเป็นดอกบัว แต่อย่างน้อยคนอื่นๆ รอบข้างที่ไม่เห็นกงจักรงามเป็นดอกบัวไปด้วย เมื่อทราบข้อเท็จจริงก็จะแสดงออกให้เห็นถึงปฏิกิริยาต่อการกระทำของเขาเหล่านั้นผู้ที่มีดวงตาอันมืดบอดได้ว่าสมควรจะทำต่อไปอีกหรือไม่เพราะไม่มีใครเห็นดีเห็นงามไปด้วยกับการกระทำของตนเอง ถือได้ว่าเป็นการร่วมตรวจสอบหรือ peer review อีกแบบหนึ่งที่สังคมที่ดีพึงมีเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยการกดดันทางสังคมหรือ peer pressureต่อไป
ดาราและนักการเมืองจึงไม่แตกต่างกันเลยในกรณีนี้เพราะเขาเหล่านั้นต้องมีมาตรฐานของความดีสูงกว่าคนทั่วไปเพราะเขาเหล่านั้นเป็นบุคคลสาธารณะที่มีอิทธิพลเป็นแบบอย่างให้คนทั่วไปประพฤติปฏิบัติ ไม่อย่างนั้นบริษัทห้างร้านทำไมจึงชอบเลือกดารามากกว่าคนทั่วไปมาเป็นนายแบบหรือนางแบบที่เรียกโดยทั่วไปว่า presenter เพื่อโฆษณาหรือแนะนำสินค้าให้คนทั่วไปเลือกใช้
ดังนั้นหากมีโอกาสถามเด็กว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร นอกเหนือจากอาชีพอื่นๆแล้ว อาชีพดาราก็น่าจะเป็นอาชีพหนึ่งในใจของเด็กๆ เช่นกันไม่มากก็น้อย เพราะดูเผินๆแล้วทำงานสบายมีรายได้ดี แต่ที่น่าค้นคว้าต่อไปอีกก็คือภายใต้ประพฤติปฏิบัติที่เป็นอยู่ของนักการเมืองในปัจจุบันจะมีเด็กอีกสักเท่าไรที่โตขึ้นแล้วอยากเป็นนักการเมืองทั้งๆ ที่มีการเปิดทำเนียบฯ ให้เด็กมานั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีทุกปีในวันเด็ก ดังนั้นหากพวกคุณที่เป็นดาราหรือนักการเมืองไม่สามารถกระทำรักษามาตรฐานความดีไว้ได้ก็อย่าเข้ามาเป็นเสียดีกว่าเพราะจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันที่พวกคุณสังกัด
การประพฤติปฏิบัติไม่สามารถกำหนดได้ด้วยกฎหมายเสมอไป เพราะกฎหมายเป็นเพียงมาตรฐานขั้นต่ำที่สังคมได้กำหนดเอาไว้ให้ถือปฏิบัติ หากแต่ยังถูกกำหนดด้วยขนบธรรมเนียมและประเพณีที่ได้ปฏิบัติมาเป็นมาตรฐานให้ประพฤติปฏิบัติโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายมารองรับแต่ประการใดเพราะเป็นมาตรฐานขั้นสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้
ประเพณี การหมอบคลานเวลาเข้าเฝ้ากษัตริย์ในประเทศไทยจึงเป็น “ขนบ” ที่ไม่เฉพาะแต่เพียงข้าราชการจะประพฤติปฏิบัติแต่เพียงกลุ่มเดียว หากแต่บุคคลทั่วไปก็ยินยอมพร้อมใจประพฤติปฏิบัติตามไปด้วย มิใช่ถูกบังคับหรือไร้ซึ่งอารยะแต่ประการใด เพราะความรักความเสียสละที่กษัตริย์ไทยมีต่อพสกนิกรของตนที่มีมาแต่ช้านานต่างหากที่สร้างให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับสถาบันกษัตริย์ไทย ทำให้เกิดเป็นธรรมเนียมประเพณีในการเข้าเฝ้าของคนไทย และก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่มีระบบกษัตริย์เพราะความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับสถาบันกษัตริย์ก็จะแตกต่างกันออกไปตามบริบทที่มีอยู่ของประเทศนั้นๆ
ดังนั้นหากจะกล่าวว่ากฎหมายในสังคมปัจจุบันเป็นกติกาหรือข้อตกลงในการดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างคนในสังคมแล้ว กฎหมายจึงมีที่มาจากสังคมและสามารถปรับโดยการแก้ไขให้ถูกต้องกับกาลเทศะได้ นั่นคือหากจะแก้กฎหมายก็จำเป็นต้องสอดคล้องกับธรรมเนียมประเพณีที่สังคมนั้นยึดถือนั่นคือมี “เทศะ” ด้วยมิใช่หรือ
การเข้าชื่อร่วมกันของกลุ่มนักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนและมหาวิทยาลัยอื่นๆ บางคนที่จะเสนอขอยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยอ้างวาทกรรมว่าเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมืองที่สามารถกระทำได้ และบุคคลอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับการขอยกเลิกกฎหมายนี้ก็ไม่มีสิทธิที่จะป้ายสีให้กับผู้ที่เห็นต่างให้กลายเป็นศัตรูไม่ว่าจะด้วยเหตุผลของความมั่นคงหรือเหตุผลด้านความจงรักภักดี จึงเป็นวาทกรรมที่มี “เจตนาพิเศษ” แอบแฝงอยู่
พระไตรปิฎกเปรียบได้กับกฎหมายสูงสุดของสงฆ์ที่ต้องยึดถือปฏิบัติหากยังปรารถนาที่จะดำรงความเป็นสงฆ์อยู่ พระไตรปิฎกไม่สามารถแก้ไขได้เพราะผู้ที่จะแก้ไขได้ก็มีเพียงพระพุทธเจ้าแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น แต่การที่พระไตรปิฎกไม่ถูกแก้ไขก็เพราะมันเป็นความจริงอันเป็นนิรันดรหรือพ้นไปจากการแตะต้องของมนุษย์
ดังนั้นเป็นเวลากว่า 2,500 ปีหลังจากการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า จะมีแต่พวกที่ถูกเรียกว่า “อลัชชี” เท่านั้นที่ไม่สามารถยอมรับและปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนี้ได้พยายามที่จะ “ตะแบง” หรือฝ่าฝืนอยู่ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่ในปัจจุบันเพราะอยากเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่ามีมาตรฐานของความดี แต่ไม่สามารถปฏิบัติหรือรักษามาตรฐานของความดีนั้นไว้ได้ ดังนั้นจึงได้แต่อ้างถึงวาทกรรมแปลกๆ ซึ่งแตกต่างไปจากที่บัญญัติไว้ในพระไตรปิฎกอยู่ตลอดเวลา
การเสนอขอยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจึงมิใช่การคิดต่างแล้วถูกประณามป้ายสี ดังเช่นที่กล่าวอ้างด้วยวาทกรรมแปลกๆ เช่น เห็นต่างไม่ผิดกฎหมาย หรือ การแก้กฎหมายไม่ใช่อาชญากรทางความคิด เพราะหากพวกคุณไม่มี “เจตนาพิเศษ” ทำไมจึงมาริเริ่มยกเลิกในตอนนี้ในขณะที่มีขบวนการล้มเจ้าอยู่ทั้งๆ ที่มีกฎหมายนี้อยู่มาเป็นเวลานานแล้วมิใช่เพิ่งจะมี และที่สำคัญก็คือการแก้ไขกฎหมายต้องสอดคล้องกับธรรมเนียมประเพณีที่สังคมนั้นยึดถือจึงจะถูก “กาลเทศะ” และไม่ถูกสังคมตำหนิ ดุจดังการอยู่กับสีกาตามลำพังในที่ลับตากับพระสงฆ์ซึ่งไม่ผิดกฎหมายแน่นอนเพราะเป็นมาตรฐานขั้นต่ำสุดแต่หากไม่มี “เจตนาพิเศษ” ทำไมจึงทำทั้งที่การกระทำนี้หากถูกเผยแพร่ออกไป สีกาคนนั้นจะถูกสังคมตำหนิแน่นอนเพราะไม่ถูก “กาลเทศะ”
วาทกรรมของนักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนและมหาวิทยาลัยอื่นๆ บางคนที่จะเสนอขอยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจึงสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินการที่กลุ่มคนเสื้อแดงและระบอบทักษิณใช้อยู่ เพราะเน้นการต่อต้านระบบศักดินา แล้วอวดอ้างตนว่ากำลังปกป้องระบอบประชาธิปไตยโดยไม่สนใจว่าประชาธิปไตยจะมาจากการซื้อเสียงคอร์รัปชันหรือไม่ ทำตัวเหมือนเป็นพวกหัวก้าวหน้าที่มีอุดมการณ์ในการต่อสู้
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะกล่าวหาการปฏิวัติเมื่อ 19 ก.ย. 49 และผู้ที่ไม่คัดค้านการปฏิวัติดังกล่าวว่าไม่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยเท่ากับที่พวกตนกระทำ เป็นการอ้างความชอบธรรมกับการเคลื่อนไหวของพวกนี้โดยไม่พูดถึงว่าระบอบทักษิณได้สร้างความเสียหายอะไรกับบ้านเมืองไทยในระหว่างที่ ทักษิณ ชินวัตร มีอำนาจปกครองประเทศอยู่บ้าง ทำเป็นมองไม่เห็นและยกย่องว่า ทักษิณ ชินวัตรเป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
ท้ายที่สุดผู้เขียนอยากจะส่งความรักไปถึงนาย Giles Ungpakorn ที่เขียนบทความเรื่อง “การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของไทย” (Thailand’s Battle for Democracy) ว่าเป็นวาทกรรมแบบอลัชชี เช่นกันเพราะการที่นายGilesอ้างว่าการวิพากษ์การปฏิวัติโดยทหารเมื่อ 19 ก.ย.49 มิใช่คำตอบและถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจากข้อเขียนในหนังสือของนายGilesนั้น หากนายGilesคิดว่าเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมายทำไมจึงหนีกระบวนการยุติธรรมไทยเหมือน ทักษิณ ชินวัตร
แต่การที่นายGilesเขียน “แถลงการณ์แดงสยาม” ที่เผยแพร่ในภายหลังนั่นแหละที่เป็นจุดตายของนายGiles เพราะเท่าที่ดูข้อเขียนล่าสุดของนายGilesแล้วผู้เขียนเห็นว่านายGilesไม่รู้อะไรดีพอที่จะวิพากษ์เรื่องประชาธิปไตยไม่ว่าในประเทศใดก็ตาม ไม่เชื่อลองอ่านตัวอย่างบางส่วนที่ยกมาให้ดูก็ได้ซึ่งมีวาทกรรมเหมือนทักษิณ ชินวัตรที่ “ตะแบง” ว่าเหตุใดตนจึงไม่มีความผิดและทำไมตนจึงหนีกระบวนการยุติธรรมไทย
Five years ago, Thailand had a thriving and developing democracy with freedom of expression, a relatively free press and an active civil society, where social movements campaigned to protect the interests of the poor. Today, the country is creeping towards totalitarianism.
The government, led by the inappropriately named Democrat party, is only in power because of the military who staged a coup in 2006. It is vicious and paranoid. Its priority is to stifle dissent by using lese-majesty. It censors the electronic media and community radio stations, and is encouraging citizens to inform on each other. People are being arrested and thrown into jail, before trial, for posting comments on the internet. The TV and print media are already working hand in glove with the military. The courts have been used as an instrument of dictatorship, repeatedly dissolving the party that won most of the popular vote. Judges protect themselves by threatening anyone who dares to criticise them with a jail sentence for “contempt of court”. Lese-majesty trials are given little publicity. There is no transparency and accountability, no justice, no freedom of speech and no academic freedom.
Thailand’s Battle for Democracy
The Guardian, 18 Feb. 2009
นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆ ล่าสุดของวาทกรรมแบบอลัชชีของขบวนการล้มเจ้าในสังคมไทยเท่านั้น
หมายเหตุ : เป็นความเห็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับหน่วยงานที่สังกัด
คนแบกหม้อก้นดำ จึงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในสังคม และเป็นความงดงามของมนุษย์ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ มิเช่นนั้นแล้วมนุษยชาติคงไม่สามารถดำรงเผ่าพันธุ์ในโลกนี้ต่อไปได้หากปราศจากซึ่งความรักความหวังดีต่อเพื่อนมนุษย์เช่นนี้
ระหว่างซ้อเจ็ด พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับอัศวินแห่งรัตติกาลจากภาพยนตร์ Batman ตอนล่าสุดเรื่อง The Dark Knight ต่างก็เป็นฮีโร่ซึ่งเป็น คนแบกหม้อก้นดำ เหมือนกันทั้งสิ้น เพราะพวกเขาต่างตระหนักถึงความรักที่พวกเขามีต่อมวลมนุษยชาติจึงตัดสินใจยอมเสียสละกระทำในสิ่งที่วิญญูชนพึงกระทำ
การเปิดโปงความชั่วร้ายของคนบางคนหรือบางกลุ่มจึงเป็นสิ่งที่วิญญูชนบางครั้งพึงกระทำเพราะหากมิกระทำก็อย่าหวังว่าจะมีผู้อื่นกระทำแทนให้ การออกมา “แฉ” ให้สังคมรับรู้ก็เป็นการยับยั้งความชั่ววิธีการหนึ่ง แม้ในบางครั้งจะมีเสียงสะท้อนกลับมาในหลายมิติก็ตามทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ แต่สิ่งที่ “แฉ” ออกมาในภายหลังส่วนใหญ่ก็ปรากฏว่าเป็นความจริงมิใช่หรือ การกระทำของพวกเขาเหล่านี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงคำกล่าวของนักบวชสายมหายานที่กล่าวอยู่เสมอๆ ด้วยคำพูดหรือประพฤติปฏิบัติว่า “หากเราไม่ยอมลงอเวจีแล้วใครจะยอมลงอเวจี”
ต่อพงษ์ เศวตามร์ ที่ถูกคนร้ายดักตีหัวเมื่อเร็วๆ นี้ไม่ใช่ซ้อเจ็ดแต่กลับกลายเป็นผู้รับเคราะห์แทนซ้อเจ็ดเพียงเพราะเขาเป็นบรรณาธิการฝ่ายบันเทิงของสื่อ ASTVผู้จัดการรายวัน เท่านั้น แล้วซ้อเจ็ดเป็นใครกันแน่?
คำตอบของผู้เขียนก็คือ ซ้อเจ็ดเป็นใครไม่สำคัญเท่ากับสิ่งที่ซ้อเจ็ดได้กระทำลงไปนั้นแทบไม่ต่างจากอัศวินแห่งรัตติกาลในภาพยนตร์แต่อย่างใดเลย เพราะการรุกขึ้นมาโรมรันกับความเน่าเฟะในวงการบันเทิงไทยด้วยการ “แฉ” ของซ้อเจ็ดเป็นสิ่งที่ทำให้ซ้อเจ็ดกลายเป็นที่เกลียดชังของคนที่ถูกเปิดโปงเหมือนอย่างที่บทบาทของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็เป็นที่เกลียดชังของคนโกงชาติและเป็นที่ขัดเคืองสายตาของสื่อและปัญญาชนจอมปลอมกลุ่มหนึ่ง
ผู้เขียนอยากจะถามไถ่กับสังคมนี้ดังๆ ว่า สังคมไทยจะผิดเพี้ยนจากสังคมที่ศิวิไลซ์ไปมากแค่ไหน หากผู้ที่ทำความผิด ความชั่ว เมื่อถูกเปิดโปงแล้วทำไมจึงไม่หยุด แต่กลับมาต่อว่าผู้ที่เปิดโปงว่านำเรื่องดังกล่าวมาพูดทำไม
หากมาตรฐานความดียังเริ่มที่คนเหล่านั้นไม่ได้เพราะเขาเหล่านั้นยังเห็นกงจักรเป็นดอกบัว แต่อย่างน้อยคนอื่นๆ รอบข้างที่ไม่เห็นกงจักรงามเป็นดอกบัวไปด้วย เมื่อทราบข้อเท็จจริงก็จะแสดงออกให้เห็นถึงปฏิกิริยาต่อการกระทำของเขาเหล่านั้นผู้ที่มีดวงตาอันมืดบอดได้ว่าสมควรจะทำต่อไปอีกหรือไม่เพราะไม่มีใครเห็นดีเห็นงามไปด้วยกับการกระทำของตนเอง ถือได้ว่าเป็นการร่วมตรวจสอบหรือ peer review อีกแบบหนึ่งที่สังคมที่ดีพึงมีเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยการกดดันทางสังคมหรือ peer pressureต่อไป
ดาราและนักการเมืองจึงไม่แตกต่างกันเลยในกรณีนี้เพราะเขาเหล่านั้นต้องมีมาตรฐานของความดีสูงกว่าคนทั่วไปเพราะเขาเหล่านั้นเป็นบุคคลสาธารณะที่มีอิทธิพลเป็นแบบอย่างให้คนทั่วไปประพฤติปฏิบัติ ไม่อย่างนั้นบริษัทห้างร้านทำไมจึงชอบเลือกดารามากกว่าคนทั่วไปมาเป็นนายแบบหรือนางแบบที่เรียกโดยทั่วไปว่า presenter เพื่อโฆษณาหรือแนะนำสินค้าให้คนทั่วไปเลือกใช้
ดังนั้นหากมีโอกาสถามเด็กว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร นอกเหนือจากอาชีพอื่นๆแล้ว อาชีพดาราก็น่าจะเป็นอาชีพหนึ่งในใจของเด็กๆ เช่นกันไม่มากก็น้อย เพราะดูเผินๆแล้วทำงานสบายมีรายได้ดี แต่ที่น่าค้นคว้าต่อไปอีกก็คือภายใต้ประพฤติปฏิบัติที่เป็นอยู่ของนักการเมืองในปัจจุบันจะมีเด็กอีกสักเท่าไรที่โตขึ้นแล้วอยากเป็นนักการเมืองทั้งๆ ที่มีการเปิดทำเนียบฯ ให้เด็กมานั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีทุกปีในวันเด็ก ดังนั้นหากพวกคุณที่เป็นดาราหรือนักการเมืองไม่สามารถกระทำรักษามาตรฐานความดีไว้ได้ก็อย่าเข้ามาเป็นเสียดีกว่าเพราะจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันที่พวกคุณสังกัด
การประพฤติปฏิบัติไม่สามารถกำหนดได้ด้วยกฎหมายเสมอไป เพราะกฎหมายเป็นเพียงมาตรฐานขั้นต่ำที่สังคมได้กำหนดเอาไว้ให้ถือปฏิบัติ หากแต่ยังถูกกำหนดด้วยขนบธรรมเนียมและประเพณีที่ได้ปฏิบัติมาเป็นมาตรฐานให้ประพฤติปฏิบัติโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายมารองรับแต่ประการใดเพราะเป็นมาตรฐานขั้นสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้
ประเพณี การหมอบคลานเวลาเข้าเฝ้ากษัตริย์ในประเทศไทยจึงเป็น “ขนบ” ที่ไม่เฉพาะแต่เพียงข้าราชการจะประพฤติปฏิบัติแต่เพียงกลุ่มเดียว หากแต่บุคคลทั่วไปก็ยินยอมพร้อมใจประพฤติปฏิบัติตามไปด้วย มิใช่ถูกบังคับหรือไร้ซึ่งอารยะแต่ประการใด เพราะความรักความเสียสละที่กษัตริย์ไทยมีต่อพสกนิกรของตนที่มีมาแต่ช้านานต่างหากที่สร้างให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับสถาบันกษัตริย์ไทย ทำให้เกิดเป็นธรรมเนียมประเพณีในการเข้าเฝ้าของคนไทย และก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่มีระบบกษัตริย์เพราะความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับสถาบันกษัตริย์ก็จะแตกต่างกันออกไปตามบริบทที่มีอยู่ของประเทศนั้นๆ
ดังนั้นหากจะกล่าวว่ากฎหมายในสังคมปัจจุบันเป็นกติกาหรือข้อตกลงในการดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างคนในสังคมแล้ว กฎหมายจึงมีที่มาจากสังคมและสามารถปรับโดยการแก้ไขให้ถูกต้องกับกาลเทศะได้ นั่นคือหากจะแก้กฎหมายก็จำเป็นต้องสอดคล้องกับธรรมเนียมประเพณีที่สังคมนั้นยึดถือนั่นคือมี “เทศะ” ด้วยมิใช่หรือ
การเข้าชื่อร่วมกันของกลุ่มนักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนและมหาวิทยาลัยอื่นๆ บางคนที่จะเสนอขอยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยอ้างวาทกรรมว่าเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมืองที่สามารถกระทำได้ และบุคคลอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับการขอยกเลิกกฎหมายนี้ก็ไม่มีสิทธิที่จะป้ายสีให้กับผู้ที่เห็นต่างให้กลายเป็นศัตรูไม่ว่าจะด้วยเหตุผลของความมั่นคงหรือเหตุผลด้านความจงรักภักดี จึงเป็นวาทกรรมที่มี “เจตนาพิเศษ” แอบแฝงอยู่
พระไตรปิฎกเปรียบได้กับกฎหมายสูงสุดของสงฆ์ที่ต้องยึดถือปฏิบัติหากยังปรารถนาที่จะดำรงความเป็นสงฆ์อยู่ พระไตรปิฎกไม่สามารถแก้ไขได้เพราะผู้ที่จะแก้ไขได้ก็มีเพียงพระพุทธเจ้าแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น แต่การที่พระไตรปิฎกไม่ถูกแก้ไขก็เพราะมันเป็นความจริงอันเป็นนิรันดรหรือพ้นไปจากการแตะต้องของมนุษย์
ดังนั้นเป็นเวลากว่า 2,500 ปีหลังจากการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า จะมีแต่พวกที่ถูกเรียกว่า “อลัชชี” เท่านั้นที่ไม่สามารถยอมรับและปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนี้ได้พยายามที่จะ “ตะแบง” หรือฝ่าฝืนอยู่ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่ในปัจจุบันเพราะอยากเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่ามีมาตรฐานของความดี แต่ไม่สามารถปฏิบัติหรือรักษามาตรฐานของความดีนั้นไว้ได้ ดังนั้นจึงได้แต่อ้างถึงวาทกรรมแปลกๆ ซึ่งแตกต่างไปจากที่บัญญัติไว้ในพระไตรปิฎกอยู่ตลอดเวลา
การเสนอขอยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจึงมิใช่การคิดต่างแล้วถูกประณามป้ายสี ดังเช่นที่กล่าวอ้างด้วยวาทกรรมแปลกๆ เช่น เห็นต่างไม่ผิดกฎหมาย หรือ การแก้กฎหมายไม่ใช่อาชญากรทางความคิด เพราะหากพวกคุณไม่มี “เจตนาพิเศษ” ทำไมจึงมาริเริ่มยกเลิกในตอนนี้ในขณะที่มีขบวนการล้มเจ้าอยู่ทั้งๆ ที่มีกฎหมายนี้อยู่มาเป็นเวลานานแล้วมิใช่เพิ่งจะมี และที่สำคัญก็คือการแก้ไขกฎหมายต้องสอดคล้องกับธรรมเนียมประเพณีที่สังคมนั้นยึดถือจึงจะถูก “กาลเทศะ” และไม่ถูกสังคมตำหนิ ดุจดังการอยู่กับสีกาตามลำพังในที่ลับตากับพระสงฆ์ซึ่งไม่ผิดกฎหมายแน่นอนเพราะเป็นมาตรฐานขั้นต่ำสุดแต่หากไม่มี “เจตนาพิเศษ” ทำไมจึงทำทั้งที่การกระทำนี้หากถูกเผยแพร่ออกไป สีกาคนนั้นจะถูกสังคมตำหนิแน่นอนเพราะไม่ถูก “กาลเทศะ”
วาทกรรมของนักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนและมหาวิทยาลัยอื่นๆ บางคนที่จะเสนอขอยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจึงสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินการที่กลุ่มคนเสื้อแดงและระบอบทักษิณใช้อยู่ เพราะเน้นการต่อต้านระบบศักดินา แล้วอวดอ้างตนว่ากำลังปกป้องระบอบประชาธิปไตยโดยไม่สนใจว่าประชาธิปไตยจะมาจากการซื้อเสียงคอร์รัปชันหรือไม่ ทำตัวเหมือนเป็นพวกหัวก้าวหน้าที่มีอุดมการณ์ในการต่อสู้
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะกล่าวหาการปฏิวัติเมื่อ 19 ก.ย. 49 และผู้ที่ไม่คัดค้านการปฏิวัติดังกล่าวว่าไม่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยเท่ากับที่พวกตนกระทำ เป็นการอ้างความชอบธรรมกับการเคลื่อนไหวของพวกนี้โดยไม่พูดถึงว่าระบอบทักษิณได้สร้างความเสียหายอะไรกับบ้านเมืองไทยในระหว่างที่ ทักษิณ ชินวัตร มีอำนาจปกครองประเทศอยู่บ้าง ทำเป็นมองไม่เห็นและยกย่องว่า ทักษิณ ชินวัตรเป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
ท้ายที่สุดผู้เขียนอยากจะส่งความรักไปถึงนาย Giles Ungpakorn ที่เขียนบทความเรื่อง “การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของไทย” (Thailand’s Battle for Democracy) ว่าเป็นวาทกรรมแบบอลัชชี เช่นกันเพราะการที่นายGilesอ้างว่าการวิพากษ์การปฏิวัติโดยทหารเมื่อ 19 ก.ย.49 มิใช่คำตอบและถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจากข้อเขียนในหนังสือของนายGilesนั้น หากนายGilesคิดว่าเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมายทำไมจึงหนีกระบวนการยุติธรรมไทยเหมือน ทักษิณ ชินวัตร
แต่การที่นายGilesเขียน “แถลงการณ์แดงสยาม” ที่เผยแพร่ในภายหลังนั่นแหละที่เป็นจุดตายของนายGiles เพราะเท่าที่ดูข้อเขียนล่าสุดของนายGilesแล้วผู้เขียนเห็นว่านายGilesไม่รู้อะไรดีพอที่จะวิพากษ์เรื่องประชาธิปไตยไม่ว่าในประเทศใดก็ตาม ไม่เชื่อลองอ่านตัวอย่างบางส่วนที่ยกมาให้ดูก็ได้ซึ่งมีวาทกรรมเหมือนทักษิณ ชินวัตรที่ “ตะแบง” ว่าเหตุใดตนจึงไม่มีความผิดและทำไมตนจึงหนีกระบวนการยุติธรรมไทย
Five years ago, Thailand had a thriving and developing democracy with freedom of expression, a relatively free press and an active civil society, where social movements campaigned to protect the interests of the poor. Today, the country is creeping towards totalitarianism.
The government, led by the inappropriately named Democrat party, is only in power because of the military who staged a coup in 2006. It is vicious and paranoid. Its priority is to stifle dissent by using lese-majesty. It censors the electronic media and community radio stations, and is encouraging citizens to inform on each other. People are being arrested and thrown into jail, before trial, for posting comments on the internet. The TV and print media are already working hand in glove with the military. The courts have been used as an instrument of dictatorship, repeatedly dissolving the party that won most of the popular vote. Judges protect themselves by threatening anyone who dares to criticise them with a jail sentence for “contempt of court”. Lese-majesty trials are given little publicity. There is no transparency and accountability, no justice, no freedom of speech and no academic freedom.
Thailand’s Battle for Democracy
The Guardian, 18 Feb. 2009
นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆ ล่าสุดของวาทกรรมแบบอลัชชีของขบวนการล้มเจ้าในสังคมไทยเท่านั้น
หมายเหตุ : เป็นความเห็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับหน่วยงานที่สังกัด