ASTVผู้จัดการรายวัน - สบน.ยันหนี้สาธารณะที่พุ่งพรวด 42% ไม่กระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของไทยและความสามารถในการชำระคืน ชี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ในประเทศ พร้อมเล็งกู้เงินเสริมสภาพคล่องให้ กฟผ.มากกว่า 2 หมื่นล้านบาท
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ภาระหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ที่ระดับ 41-42% ต่อจีดีพียังไม่ส่งผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือหรือเครดิตเรตติ้ง ของไทย เนื่องจากหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ในประเทศ ขณะที่หนี้ต่างประเทศมีสัดส่วนน้อยมากจึงไม่กระทบต่อความสามารถในการชำระคืนหากเจ้าหนี้มีการเรียกหนี้คืน ประกอบกับขณะนี้ปัจจัยด้านการเมืองที่มีความเสี่ยงต่อประเทศก็คลี่คลายลง ยังเหลือเพียงความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจเท่านั้น ทำให้ สถาบันจัดอันดับเครดิตต่างๆ ไม่มีการปรับลดเครดิตของไทยลง
'ปีนี้สัดส่วนหนี้เมื่อรวมงบกลางปีแสนกว่าล้านยังอยู่ที่ 42% และจะเพิ่มขึ้นในปี 53 เป็น 45% จากการกู้ขาดดุลเพิ่มอีก 3.9 แสนล้านบาทและจากจีดีพีที่หดตัวลงอาจจะลดลงจาก 9-10 ล้านล้านขณะนี้เหลือต่ำกว่า 8 ล้านล้านบาท ซึ่งใกล้กับกรอบที่กำหนดไว้ 50% ของจีดีพีแต่รัฐบาลยังไม่มีแนวคิด จะขยายเพดานการก่อหนี้ออกไปแม้จะมีนโยบายให้กู้เงินจากต่างประเทศมากขึ้น เพราะจะมีความยุ่งยากในการแก้กฎหมายและอาจถูกโจมตีเมื่อเข้าสภา' นายจักรกฤศฎิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม การกู้เงินนั้นคงต้องดูความเหมาะสมของตลาดในและตลาดต่างประเทศด้วย ซึ่งหากเงินกู้ในส่วนของ 2 พันล้านดอลลาร์หรือประมาณ 7 หมื่นล้านบาทที่จะกู้จากไจก้า เอดีบีและธนาคารโลกดำเนินการไม่ทันเนื่องจากต้องผ่านสภาก่อนการใช้เงินเพิ่มทุนสถาบันการเงินของรัฐซึ่งจะใช้เงินจากส่วนนี้ด้วยนั้นก็อาจจะหันมากู้ในประเทศแทน เพราะขณะนี้สภาพคล่องในประเทศยังมีเพียงพอโดยที่รัฐจะไม่ไปแย่งสภาพคล่องกับเอกชน เนื่องจากเอกชนที่มีความสามารถกู้เงินมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น ซึ่งมองว่าไม่น่าจะมีการออกหุ้นกู้ถึง 4 แสนล้านบาทตามที่มีการคาดการณ์ไว้ ประกอบกับตลาดเงินต่างประเทศยังอยู่ในช่วงปิดและน่าจะเข้าสู่ปกติได้ประมาณกลางปีหน้า
ส่วนแผนการกู้เงินของภาครัฐ ปี 52 วงเงิน 1.2 ล้านล้านบาทนั้นจากที่ มีการพิจารณาปรับแผนในเบื้องต้นนั้นได้เพิ่มในส่วนของการกู้เงินเสริมสภาพคล่องของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) จากการดำเนินงาน 6 มาตรการ 6 เดือนตามนโยบายของรัฐบาล และจะรวมถึงการกู้เงินเพื่อใช้สำหรับลงทุนด้วยเพราะรายได้ที่หายไป นั้นส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องที่ใช้ในการลงทุนด้วย ซึ่งอาจจะเป็นวงเงินระดับ หลักพันล้านบาทขึ้นอยู่กับการพิจารณา อนุมัติของกำกับนโยบายและบริหารหนี้ สาธารณะ เนื่องจากหากไม่ได้รับเงินกู้ดังกล่าวอาจ มีผลกระทบต่อการนำส่งรายได้ของกฟผ.ในอนาคตด้วย โดยการ กู้เงินจะเป็นการกู้ระยะสั้นตามที่ครม. อนุมัติไว้ก่อนหน้านี้ 2 แสนล้านบาท
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ภาระหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ที่ระดับ 41-42% ต่อจีดีพียังไม่ส่งผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือหรือเครดิตเรตติ้ง ของไทย เนื่องจากหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ในประเทศ ขณะที่หนี้ต่างประเทศมีสัดส่วนน้อยมากจึงไม่กระทบต่อความสามารถในการชำระคืนหากเจ้าหนี้มีการเรียกหนี้คืน ประกอบกับขณะนี้ปัจจัยด้านการเมืองที่มีความเสี่ยงต่อประเทศก็คลี่คลายลง ยังเหลือเพียงความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจเท่านั้น ทำให้ สถาบันจัดอันดับเครดิตต่างๆ ไม่มีการปรับลดเครดิตของไทยลง
'ปีนี้สัดส่วนหนี้เมื่อรวมงบกลางปีแสนกว่าล้านยังอยู่ที่ 42% และจะเพิ่มขึ้นในปี 53 เป็น 45% จากการกู้ขาดดุลเพิ่มอีก 3.9 แสนล้านบาทและจากจีดีพีที่หดตัวลงอาจจะลดลงจาก 9-10 ล้านล้านขณะนี้เหลือต่ำกว่า 8 ล้านล้านบาท ซึ่งใกล้กับกรอบที่กำหนดไว้ 50% ของจีดีพีแต่รัฐบาลยังไม่มีแนวคิด จะขยายเพดานการก่อหนี้ออกไปแม้จะมีนโยบายให้กู้เงินจากต่างประเทศมากขึ้น เพราะจะมีความยุ่งยากในการแก้กฎหมายและอาจถูกโจมตีเมื่อเข้าสภา' นายจักรกฤศฎิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม การกู้เงินนั้นคงต้องดูความเหมาะสมของตลาดในและตลาดต่างประเทศด้วย ซึ่งหากเงินกู้ในส่วนของ 2 พันล้านดอลลาร์หรือประมาณ 7 หมื่นล้านบาทที่จะกู้จากไจก้า เอดีบีและธนาคารโลกดำเนินการไม่ทันเนื่องจากต้องผ่านสภาก่อนการใช้เงินเพิ่มทุนสถาบันการเงินของรัฐซึ่งจะใช้เงินจากส่วนนี้ด้วยนั้นก็อาจจะหันมากู้ในประเทศแทน เพราะขณะนี้สภาพคล่องในประเทศยังมีเพียงพอโดยที่รัฐจะไม่ไปแย่งสภาพคล่องกับเอกชน เนื่องจากเอกชนที่มีความสามารถกู้เงินมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น ซึ่งมองว่าไม่น่าจะมีการออกหุ้นกู้ถึง 4 แสนล้านบาทตามที่มีการคาดการณ์ไว้ ประกอบกับตลาดเงินต่างประเทศยังอยู่ในช่วงปิดและน่าจะเข้าสู่ปกติได้ประมาณกลางปีหน้า
ส่วนแผนการกู้เงินของภาครัฐ ปี 52 วงเงิน 1.2 ล้านล้านบาทนั้นจากที่ มีการพิจารณาปรับแผนในเบื้องต้นนั้นได้เพิ่มในส่วนของการกู้เงินเสริมสภาพคล่องของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) จากการดำเนินงาน 6 มาตรการ 6 เดือนตามนโยบายของรัฐบาล และจะรวมถึงการกู้เงินเพื่อใช้สำหรับลงทุนด้วยเพราะรายได้ที่หายไป นั้นส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องที่ใช้ในการลงทุนด้วย ซึ่งอาจจะเป็นวงเงินระดับ หลักพันล้านบาทขึ้นอยู่กับการพิจารณา อนุมัติของกำกับนโยบายและบริหารหนี้ สาธารณะ เนื่องจากหากไม่ได้รับเงินกู้ดังกล่าวอาจ มีผลกระทบต่อการนำส่งรายได้ของกฟผ.ในอนาคตด้วย โดยการ กู้เงินจะเป็นการกู้ระยะสั้นตามที่ครม. อนุมัติไว้ก่อนหน้านี้ 2 แสนล้านบาท