เอเอฟพี - สหภาพยุโรป (อียู) ย้ำชัดไม่มีแผนจะบีบคั้นกีดกันสินค้าอาหารส่งออกจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพียงแต่ประเทศผู้ผลิตเหล่านี้จะต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับด้านความปลอดภัยอันเข้มงวด หัวหน้าผู้แทนอียูกล่าว พร้อมชื่นชมไทยและมาเลเซียที่เร่งปรับปรุงมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหาร
กลุ่มอียูจะจัดหาความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีให้กับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคดังกล่าว เพื่อช่วยยกระดับข้อบกพร่องด้านสุขอนามัย ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้า เฌอโรม เลอแปงเทรอะ หัวหน้าคณะผู้แทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและคุ้มครองผู้บริโภคของสหภาพยุโรปกล่าว
“อียูจะไม่พยายามบีบคั้นกีดกันสินค้าออกอาหารจากประเทศใด ๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เลอแปงเทรอะบอกกับเอเอฟพี หลังทำหน้าที่ผู้นำการประชุมร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่อียูและสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ตลอดจนตัวแทนจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) เรื่องมาตรฐานอาหารเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (21)
“ข้อกังวลสำคัญของเราคือ อาหารทุกชนิดซึ่งนำเข้ามาในสหภาพยุโรป จะต้องปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์” เลอแปงเทรอะกล่าว “ประเทศแถบอาเซียนคือผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ที่นำเข้ามาบริโภคในอียู โดยการส่งออกดังกล่าวมีมูลค่าสูงถึง 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว”
หัวหน้าคณะผู้แทนอียูกล่าวบอกว่า “ทางอียูทราบดีว่า การบรรลุมาตรฐานอันเข้มงวดเหล่านี้ อาจจะยากเย็นและใช้เงินทุนจำนวนมากสำหรับบรรดาประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้นทางกลุ่มจึงเสนอจะจัดหาความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี เพื่อช่วยให้ประเทศแถบอาเซียนสามารถปรับปรุงสินค้าจนบรรลุมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป”
เลอแปงเทรอะกล่าวด้วยว่า บางประเทศเช่น ไทยและมาเลเซียต่างกระตือรือร้นในการปรับปรุงมาตรฐานอาหารส่งออก ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านที่เหลืออย่างกัมพูชา, ลาว และเวียดนามยังคงตามหลังอยู่
กลุ่มอียูจะจัดหาความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีให้กับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคดังกล่าว เพื่อช่วยยกระดับข้อบกพร่องด้านสุขอนามัย ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้า เฌอโรม เลอแปงเทรอะ หัวหน้าคณะผู้แทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและคุ้มครองผู้บริโภคของสหภาพยุโรปกล่าว
“อียูจะไม่พยายามบีบคั้นกีดกันสินค้าออกอาหารจากประเทศใด ๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เลอแปงเทรอะบอกกับเอเอฟพี หลังทำหน้าที่ผู้นำการประชุมร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่อียูและสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ตลอดจนตัวแทนจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) เรื่องมาตรฐานอาหารเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (21)
“ข้อกังวลสำคัญของเราคือ อาหารทุกชนิดซึ่งนำเข้ามาในสหภาพยุโรป จะต้องปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์” เลอแปงเทรอะกล่าว “ประเทศแถบอาเซียนคือผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ที่นำเข้ามาบริโภคในอียู โดยการส่งออกดังกล่าวมีมูลค่าสูงถึง 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว”
หัวหน้าคณะผู้แทนอียูกล่าวบอกว่า “ทางอียูทราบดีว่า การบรรลุมาตรฐานอันเข้มงวดเหล่านี้ อาจจะยากเย็นและใช้เงินทุนจำนวนมากสำหรับบรรดาประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้นทางกลุ่มจึงเสนอจะจัดหาความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี เพื่อช่วยให้ประเทศแถบอาเซียนสามารถปรับปรุงสินค้าจนบรรลุมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป”
เลอแปงเทรอะกล่าวด้วยว่า บางประเทศเช่น ไทยและมาเลเซียต่างกระตือรือร้นในการปรับปรุงมาตรฐานอาหารส่งออก ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านที่เหลืออย่างกัมพูชา, ลาว และเวียดนามยังคงตามหลังอยู่