ASTVผู้จัดการรายวัน - สหภาพฯ ยาสูบร้องนายกรัฐมนตรีเบรกโครงการย้ายโรงงานยาสูบออกจากพื้นที่เดิมพร้อมยกเลิกการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หวั่นหากย้ายโรงงานจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตพนักงานกว่า 4 พันรายรวมทั้งครอบครัวที่ยังไม่พร้อมปรับตัว
นายสรกฤต พลเคน ประธานสหภาพ แรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบ เปิดเผยว่า วานนี้ (17 ก.พ.) ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ยุตินโยบาย การย้ายโรงงานยาสูบและจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เนื่องจากเห็นว่าอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการดังกล่าวในขณะนี้
สำหรับการยึดเอาพื้นที่ของโรงงานยาสูบเพื่อขยายศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และการย้ายพื้นที่โรงงานยาสูบไปยังพื้นที่ อื่นนั้นในภาวะความไม่พร้อมทางเศรษฐกิจ และเสถียรภาพทางการเมืองของชาติใน ขณะนี้ยังไม่มีความพร้อมที่จะดำเนินนโยบายดังกล่าว
'หากมีการย้ายโรงงานยาสูบออกไปอยู่พื้นที่อื่นจะสร้างความเดือดร้อนให้แก่พนักงานโรงงานยาสูบที่มีกว่า 4 พันคนรวมทั้งครอบครัว ของพนักงานโรงงานยาสูบที่ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขนาดใหญ่ หากมีการย้ายโรงงานเกิด ขึ้นจริงจะเกิดปัญหาขึ้นตามมามากครอบครัวจะไม่ได้อยู่กันพร้อมหน้า'
นายสรกฤตกล่าวว่า ตัวแทนสหภาพ แรงงานยาสูบจะเดินหน้าคัดค้านการย้ายโรงงาน ยาสูบต่อไปโดยจะยื่นฎีกาถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเพื่อขออนุญาตใช้พื้นที่โรงงานยาสูบเดิมทำงานต่อไปเนื่องจากมองว่าการย้ายโรงงานยาสูบเป็นเกมทางการเมือง ของนักการเมืองบางกลุ่มเท่านั้นและไม่เป็นธรรม ต่อพนักงานโรงงานยาสูบแต่อย่างใด
ทั้งนี้ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้สหภาพแรงงานยาสูบจะเปิดเวทีปราศรัยตั้งแต่เวลา 10.00 น.เป็นต้นไป บริเวณหน้าตึกอำนวย การโรงงานยาสูบ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจพร้อมทั้งแสวงหาและคุ้มครอง ผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างงานของลูกจ้าง
'การเปลี่ยนแปลงอะไรที่เกิดขึ้นพนักงานไม่มีสิทธิแสดงความคิดเห็นใดๆ และฝ่ายบริหาร ก็ไม่ยอมทำประชาพิจารณ์รวมทั้งคัดค้านการแปลงสภาพโรงงานยาสูบตามพระราชกฤษฎีกา ซึ่งจะทำให้ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบสามารถตั้งบริษัทลูกได้และท้ายที่สุดก็จะมีการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯแน่นอน' นายสรกฤต กล่าว
นายสรกฤต พลเคน ประธานสหภาพ แรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบ เปิดเผยว่า วานนี้ (17 ก.พ.) ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ยุตินโยบาย การย้ายโรงงานยาสูบและจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เนื่องจากเห็นว่าอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการดังกล่าวในขณะนี้
สำหรับการยึดเอาพื้นที่ของโรงงานยาสูบเพื่อขยายศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และการย้ายพื้นที่โรงงานยาสูบไปยังพื้นที่ อื่นนั้นในภาวะความไม่พร้อมทางเศรษฐกิจ และเสถียรภาพทางการเมืองของชาติใน ขณะนี้ยังไม่มีความพร้อมที่จะดำเนินนโยบายดังกล่าว
'หากมีการย้ายโรงงานยาสูบออกไปอยู่พื้นที่อื่นจะสร้างความเดือดร้อนให้แก่พนักงานโรงงานยาสูบที่มีกว่า 4 พันคนรวมทั้งครอบครัว ของพนักงานโรงงานยาสูบที่ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขนาดใหญ่ หากมีการย้ายโรงงานเกิด ขึ้นจริงจะเกิดปัญหาขึ้นตามมามากครอบครัวจะไม่ได้อยู่กันพร้อมหน้า'
นายสรกฤตกล่าวว่า ตัวแทนสหภาพ แรงงานยาสูบจะเดินหน้าคัดค้านการย้ายโรงงาน ยาสูบต่อไปโดยจะยื่นฎีกาถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเพื่อขออนุญาตใช้พื้นที่โรงงานยาสูบเดิมทำงานต่อไปเนื่องจากมองว่าการย้ายโรงงานยาสูบเป็นเกมทางการเมือง ของนักการเมืองบางกลุ่มเท่านั้นและไม่เป็นธรรม ต่อพนักงานโรงงานยาสูบแต่อย่างใด
ทั้งนี้ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้สหภาพแรงงานยาสูบจะเปิดเวทีปราศรัยตั้งแต่เวลา 10.00 น.เป็นต้นไป บริเวณหน้าตึกอำนวย การโรงงานยาสูบ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจพร้อมทั้งแสวงหาและคุ้มครอง ผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างงานของลูกจ้าง
'การเปลี่ยนแปลงอะไรที่เกิดขึ้นพนักงานไม่มีสิทธิแสดงความคิดเห็นใดๆ และฝ่ายบริหาร ก็ไม่ยอมทำประชาพิจารณ์รวมทั้งคัดค้านการแปลงสภาพโรงงานยาสูบตามพระราชกฤษฎีกา ซึ่งจะทำให้ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบสามารถตั้งบริษัทลูกได้และท้ายที่สุดก็จะมีการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯแน่นอน' นายสรกฤต กล่าว