ASTVผู้จัดการรายวัน – ไทยแอร์เอเชีย ลุยเปิดบริการเสริม เรียกลูกค้ากลุ่มนักธุรกิจเพิ่มเป็น 3-5% ยอมรับวิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลทุกธุรกิจแข่งขันสูง อัดงบการตลาดและประชาสัมพันธ์เพิ่มจากปีก่อน 50% เป็น 180 ล้าน ยอมรับพิษเก็งซื้อน้ำมันล่วงหน้าทำประกอบการปีก่อนขาดทุน แต่ปีนี้ยังฝันโต 10-15%
นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย เปิดเผยว่า กำลังซื้อที่ลดลงจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้ทุกธุรกิจเกิดการแข่งขันสูงเพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่าและช่วงชิงลูกค้าใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่จะเป็นลำดับต้นๆที่จะได้รับผลกระทบ เพราะเป็นค่าใช้จ่ายลำดับต้นๆที่คนจะตัดทิ้ง ภาคธุรกิจจึงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด
ในส่วนของ ไทยแอร์เอเชีย ปีนี้ เตรียมใช้งบตลาดและประชาสัมพันธ์เพิ่ม 50% เป็น 150-180 ล้านบาท จากปีก่อนที่ใช้ 120 ล้านบาท เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และจัดแคมเปญส่งเสริมการขายตลอดปี ด้วยวิธีปรับเปลี่ยนการใช้สื่อให้เจาะตรงถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น รวมถึงการศึกษาความต้องการของลูกค้าเพื่อเพิ่มบริการได้ตรงใจ
**ขยายฐานลูกค้านักธุรกิจ***
ล่าสุดเปิดตัวบริการเสริมใหม่ “เลือกที่นั่งให้ถูกใจ”(Pick A Seat) ลูกค้าใช้บริการดังกล่าวจะสามารถเลือกที่นั่งได้ โดยแบ่งเป็นสองประเภท คือ แถวที่นั่งพิเศษ(Hot Seat) และที่นั่งแบบมาตรฐาน(Standard Seat) โดยผู้โดยสารสามารถเลือกซื้อที่นั่งแถวพิเศษ ได้แก่ ที่นั่งใน 5 แถวแรก และที่นั่ง 2 แถวที่ติดประตูทางออกฉุกเฉินของเครื่อง ในอัตราค่าบริการ 250 บาท ต่อที่นั่งต่อเที่ยว ผู้โดยสารที่เลือกบริการนี้จะได้สิทธิพิเศษในบริการขึ้นเครื่องก่อนใคร (Xpress boarding) ด้วย สำหรับที่นั่งแบบมาตรฐาน คือที่นั่งทั้งหมดที่เหลืออยู่นอกเหนือจากตำแหน่ง 5 แถวแรก และ 2 แถวที่ประตูฉุกเฉิน ที่กล่าวมา โดยจะเสียค่าบริการที่นั่งละ 50 บาท ต่อเที่ยว
“นับจากวันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ไปแอร์เอเชียในทุกประเทศจะเริ่มบริการให้เลขที่นั่งแก่ผู้โดยสารทุกคน ส่วนคนที่ไม่ได้ใช้บริการเสริมทางสายการบินจะเป็นผู้เลือกที่นั่งให้เองโดยจะระบุเลขที่นั่งลงไปในตั๋วโดยสาร โดยได้ออกหนังโฆษณาทีวี 1 เรื่องใช้งบรวมเกือบ 40 ล้านบาท”
บริการเสริมใหม่นี้จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มนักธุรกิจ คาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนลูกค้ากลุ่มนักธุรกิจได้เป็น 3-5% ต่อเที่ยวบิน จากปัจจุบันสัดส่วนลูกค้ากลุ่มนี้อยู่ที่ 1-2% นอกจากนั้นยังรองรับกับผู้โดยสารที่เดินทางเป็นครอบครัว หรือเป็นหมู่คณะได้ดี
“เมื่อรวมบริการใหม่นี้แล้วทำให้ปัจจุบันเรามีบริการเสริมรวมทั้งสิ้น 4 รายการ สร้างรายได้ให้บริษัท 7-8% จากรายได้รวม ตั้งเป้าอีก 5 ปี รายได้จากบริการเสริมจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 15% ของรายได้รวม และเพิ่มเป็น 25% ในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นสัดส่วนเท่ากับสายการบินใหญ่ๆในโลก และ บริการเสริมนี้จะทำให้เราสามารถปรับลดค่าตั๋วโดยสารได้ถูกลง เรียกลูกค้ามาใช้บริการได้เพิ่มขึ้น”
***ปี51’ขาดทุนจากซื้อน้ำมันล่วงหน้า**
ด้านผลประกอบการ ในปี 2551 ขนส่งผู้โดยสารทั้งปีได้รวม 4.2 ล้านคน ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะได้ 4.5 ล้านคน เพราะปัญหาการเมืองและการปิดสนามบิน แต่ปีนี้จากนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ททท.และรัฐบาลรวมถึงภาคเอกชน ไทยแอร์เอเชียจึงตั้งเป้าว่าปีนี้จะขนส่งผู้โดยสารได้รวมทั้งปีที่ 5.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นเกือบ 1 ล้านคนจากปีก่อน และมีรายได้รวมปีนี้อยู่ที่ 1 หมื่นล้านบาท เติบโตจากปีก่อนราว 10-15% ขณะที่ปีก่อน ยอมรับว่า ผลประกอบการขาดทุนซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการขาดทุนจากการทำสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้า(เฮดจิ้ง)
“ช่วงต้นปี 2551 ราคาน้ำมันปรับตัวสูงมาก เราจึงทำสัญญาซื้อล่วงหน้าเพื่อประกันความเสี่ยง แต่พอช่วงครึ่งปีหลัง ราคาน้ำมันลดลงเร็วมาก ทำให้เราขาดทุนตรงนี้เยอะ แต่ปีนี้เรายังไม่ทำสัญญาซื้อล่วงหน้า ต้องรอดูภาวะตลาด ซึ่งขณะนี้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงของธุรกิจอยู่ที่สัดส่วน 25-30%ของต้นทุนทั้งหมด ลดลงจากช่วงที่ราคาน้ำมันแพงทำให้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงพุ่งขึ้นไปแตะที่เกือบ 60%”
แผนธุรกิจปีนี้จะขยายเส้นทางบินตามแผนเดิม โดยปีนี้จะส่งมอบเครื่องบินใหม่อีก 4 ลำ โดยลำแรกส่งมอบไปแล้วเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ส่วนอีก 3 ลำจะทยอยส่งมอบช่วงกลางปี และปลายปี ทำให้สิ้นปีนี้ ไทยแอร์เอเชียจะมีฝูงบินรวม 19 ลำ จากปัจจุบันมี 16 ลำ และเมื่อได้เครื่องใหม่มา ไทยแอร์เอเชียก็จะขยายเส้นทางบินไปประเทศ อินเดีย และ จีน ประเทศละ 2-3 เส้นทาง ซึ่งการเพิ่มเส้นทางบินใหม่จะช่วยสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น
นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย เปิดเผยว่า กำลังซื้อที่ลดลงจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้ทุกธุรกิจเกิดการแข่งขันสูงเพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่าและช่วงชิงลูกค้าใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่จะเป็นลำดับต้นๆที่จะได้รับผลกระทบ เพราะเป็นค่าใช้จ่ายลำดับต้นๆที่คนจะตัดทิ้ง ภาคธุรกิจจึงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด
ในส่วนของ ไทยแอร์เอเชีย ปีนี้ เตรียมใช้งบตลาดและประชาสัมพันธ์เพิ่ม 50% เป็น 150-180 ล้านบาท จากปีก่อนที่ใช้ 120 ล้านบาท เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และจัดแคมเปญส่งเสริมการขายตลอดปี ด้วยวิธีปรับเปลี่ยนการใช้สื่อให้เจาะตรงถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น รวมถึงการศึกษาความต้องการของลูกค้าเพื่อเพิ่มบริการได้ตรงใจ
**ขยายฐานลูกค้านักธุรกิจ***
ล่าสุดเปิดตัวบริการเสริมใหม่ “เลือกที่นั่งให้ถูกใจ”(Pick A Seat) ลูกค้าใช้บริการดังกล่าวจะสามารถเลือกที่นั่งได้ โดยแบ่งเป็นสองประเภท คือ แถวที่นั่งพิเศษ(Hot Seat) และที่นั่งแบบมาตรฐาน(Standard Seat) โดยผู้โดยสารสามารถเลือกซื้อที่นั่งแถวพิเศษ ได้แก่ ที่นั่งใน 5 แถวแรก และที่นั่ง 2 แถวที่ติดประตูทางออกฉุกเฉินของเครื่อง ในอัตราค่าบริการ 250 บาท ต่อที่นั่งต่อเที่ยว ผู้โดยสารที่เลือกบริการนี้จะได้สิทธิพิเศษในบริการขึ้นเครื่องก่อนใคร (Xpress boarding) ด้วย สำหรับที่นั่งแบบมาตรฐาน คือที่นั่งทั้งหมดที่เหลืออยู่นอกเหนือจากตำแหน่ง 5 แถวแรก และ 2 แถวที่ประตูฉุกเฉิน ที่กล่าวมา โดยจะเสียค่าบริการที่นั่งละ 50 บาท ต่อเที่ยว
“นับจากวันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ไปแอร์เอเชียในทุกประเทศจะเริ่มบริการให้เลขที่นั่งแก่ผู้โดยสารทุกคน ส่วนคนที่ไม่ได้ใช้บริการเสริมทางสายการบินจะเป็นผู้เลือกที่นั่งให้เองโดยจะระบุเลขที่นั่งลงไปในตั๋วโดยสาร โดยได้ออกหนังโฆษณาทีวี 1 เรื่องใช้งบรวมเกือบ 40 ล้านบาท”
บริการเสริมใหม่นี้จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มนักธุรกิจ คาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนลูกค้ากลุ่มนักธุรกิจได้เป็น 3-5% ต่อเที่ยวบิน จากปัจจุบันสัดส่วนลูกค้ากลุ่มนี้อยู่ที่ 1-2% นอกจากนั้นยังรองรับกับผู้โดยสารที่เดินทางเป็นครอบครัว หรือเป็นหมู่คณะได้ดี
“เมื่อรวมบริการใหม่นี้แล้วทำให้ปัจจุบันเรามีบริการเสริมรวมทั้งสิ้น 4 รายการ สร้างรายได้ให้บริษัท 7-8% จากรายได้รวม ตั้งเป้าอีก 5 ปี รายได้จากบริการเสริมจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 15% ของรายได้รวม และเพิ่มเป็น 25% ในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นสัดส่วนเท่ากับสายการบินใหญ่ๆในโลก และ บริการเสริมนี้จะทำให้เราสามารถปรับลดค่าตั๋วโดยสารได้ถูกลง เรียกลูกค้ามาใช้บริการได้เพิ่มขึ้น”
***ปี51’ขาดทุนจากซื้อน้ำมันล่วงหน้า**
ด้านผลประกอบการ ในปี 2551 ขนส่งผู้โดยสารทั้งปีได้รวม 4.2 ล้านคน ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะได้ 4.5 ล้านคน เพราะปัญหาการเมืองและการปิดสนามบิน แต่ปีนี้จากนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ททท.และรัฐบาลรวมถึงภาคเอกชน ไทยแอร์เอเชียจึงตั้งเป้าว่าปีนี้จะขนส่งผู้โดยสารได้รวมทั้งปีที่ 5.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นเกือบ 1 ล้านคนจากปีก่อน และมีรายได้รวมปีนี้อยู่ที่ 1 หมื่นล้านบาท เติบโตจากปีก่อนราว 10-15% ขณะที่ปีก่อน ยอมรับว่า ผลประกอบการขาดทุนซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการขาดทุนจากการทำสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้า(เฮดจิ้ง)
“ช่วงต้นปี 2551 ราคาน้ำมันปรับตัวสูงมาก เราจึงทำสัญญาซื้อล่วงหน้าเพื่อประกันความเสี่ยง แต่พอช่วงครึ่งปีหลัง ราคาน้ำมันลดลงเร็วมาก ทำให้เราขาดทุนตรงนี้เยอะ แต่ปีนี้เรายังไม่ทำสัญญาซื้อล่วงหน้า ต้องรอดูภาวะตลาด ซึ่งขณะนี้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงของธุรกิจอยู่ที่สัดส่วน 25-30%ของต้นทุนทั้งหมด ลดลงจากช่วงที่ราคาน้ำมันแพงทำให้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงพุ่งขึ้นไปแตะที่เกือบ 60%”
แผนธุรกิจปีนี้จะขยายเส้นทางบินตามแผนเดิม โดยปีนี้จะส่งมอบเครื่องบินใหม่อีก 4 ลำ โดยลำแรกส่งมอบไปแล้วเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ส่วนอีก 3 ลำจะทยอยส่งมอบช่วงกลางปี และปลายปี ทำให้สิ้นปีนี้ ไทยแอร์เอเชียจะมีฝูงบินรวม 19 ลำ จากปัจจุบันมี 16 ลำ และเมื่อได้เครื่องใหม่มา ไทยแอร์เอเชียก็จะขยายเส้นทางบินไปประเทศ อินเดีย และ จีน ประเทศละ 2-3 เส้นทาง ซึ่งการเพิ่มเส้นทางบินใหม่จะช่วยสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น