แบงก์อิสลาม ดอดหารือเฟสต้า สนใจปล่อยเงินกู้ให้เอกชนท่องเที่ยว พร้อมวางหลักเกณฑ์ คิดดอกเบี้ย 1.5% ต่อปีระยะเวลาผ่อนชำระ 3 ปี ปลอดดอกเบี้ย 3-6 เดือน แต่ยังขอติงว่าในส่วนของสปาและร้านอาหาร ควรมีรายชื่อบริษัททัวร์คู่ค้า เป็นหลักฐานประกอบพิจารณาขอสินเชื่อ จิกรัฐบาลทุกอย่างพร้อมรอแค่รัฐไฟเขียว ขืนช้าหลังเม.ย.นี้มีหวังคนตกงานอีกเพียบ
นายอภิชาติ สังฆอารี นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว(แอตต้า) ในฐานะสมาชิกสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย(เฟสต้า) เปิดเผยว่า ธนาคารอิสลามแห่งประเทศ ได้แสดงความจำนงค์ที่จะเข้ามาปล่อยเงินกู้ให้แก่เอกชนในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่จากธนาคารอิสลามได้เดินทางมาพบและหารือกับตัวแทนของเฟสต้าในเรื่องของรายละเอียดและวิธีการในการปล่อยกู้
จากผลหารือสรุปเบื้องต้นว่าทางแบงก์อิสลามจะปล่อยกู้แก่เอกชนในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยคิดอัตราดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระนาน 3 ปี ซึ่งให้ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยไว้ที่ 3-6 เดือน สำหรับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)จะค้ำประกันดอกเบี้ยที่ 1.75% ต่อปี ซึ่งเฟสต้าได้เตรียมยื่นเสนอขอต่อ บสย.ให้ช่วยลดการค้ำประกันผู้ประกอบการจาก 1.75% ต่อปี เหลือที่ 1.25-.15% ต่อปี เพื่อผู้ประกอบการจะได้มีภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายรวมกันแล้วไม่เกิน 3%
"เกณฑ์การยื่นกู้เบื้องต้นสำหรับผู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันธนาคารจะปล่อยกู้ไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท ส่วนผู้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันขึ้นอยู่กับธนาคารจะพิจารณาให้วงเงินกู้ หลักเกณฑ์การพิจารณา ดูจากผลประกอบการในปีที่ผ่านมาๆมาเป็นหลัก ส่วนเฟสต้าจะเซ็นรับรองให้แก่ผู้ยื่นกู้ที่เป็นสมาชิกของสมาคมที่อยู่ในกลุ่มเฟสต้า ดังนั้นขณะนี้ ทุกอย่างพร้อมหมดแล้วทั้งผู้กู้และผู้ปล่อยกู้ จึงรอแต่เพียงให้รัฐอนุมัติวงเงินปล่อยกู้ออกมาโดยเร็ว"
นายอภิชาติ กล่าวว่า ธนาคารอิสลาม แสดงความเป็นห่วงในเรื่องของการปล่อยกู้ให้แก่ผู้ประกอบการสปาและร้านอาหาร โดยระบุว่า ต้องการให้ผู้ประกอบการทั้งสองกลุ่มดังกล่าวควรที่จะต้องมีบริษัทนำเที่ยวที่เป็นคู้ค่าส่งลูกทัวร์ให้แก่กันมาเซ็นรับรองสนับสนุน เพื่อแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจยังมีอนาคตที่จะเดินหน้าต่อไปได้
อย่างไรก็ตามเฟสต้ายังเสนอให้ลดวงเงินกู้เสริมสภาพคล่องสำหรับธุรกิจโรงแรม จากที่ตั้งไว้แห่งละ 100 ล้านบาท ให้ลดเหลือ 40 ล้านบาท เพื่อจะได้สอดคล้องกับวงเงินที่กระทรวงการท่องเที่ยวขอรัฐบาลให้สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต้ำให้แก่ภาคเอกชนที่ลดลงจาก 15,500 ล้านบาท เหลือที่ 5,000 ล้านบาท แต่ถ้าโรงแรมใดมีหลักทรัพย์ดีและต้องการเงินกู้มากกว่าที่กำหนด ในส่วนของวงเงินที่เกินไม่ควรที่จะนำมาใช้สิทธิ์ในวงเงินและหลักเกณฑ์พิเศษนี้แต่ควรไปใช้เงื่อนไขปกติ ทั้งนี้ ความเร่งด่วนที่ต้องการใช้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของผู้ประกอบการท่องเที่ยว น่าจะรอได้ถึงเดือนเมษายนนี้เท่านั้น หากเกินจากนี้ผู้ประกอบการคงไม่มีทุนหรือสภาพคล่องที่จะประคองธุรกิจต่อไปได้ นั่นหมายถึงว่าอาจจะต้องมีการทยอยตกงานของคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเกิดขึ้นแน่นอน
นายอภิชาติ สังฆอารี นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว(แอตต้า) ในฐานะสมาชิกสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย(เฟสต้า) เปิดเผยว่า ธนาคารอิสลามแห่งประเทศ ได้แสดงความจำนงค์ที่จะเข้ามาปล่อยเงินกู้ให้แก่เอกชนในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่จากธนาคารอิสลามได้เดินทางมาพบและหารือกับตัวแทนของเฟสต้าในเรื่องของรายละเอียดและวิธีการในการปล่อยกู้
จากผลหารือสรุปเบื้องต้นว่าทางแบงก์อิสลามจะปล่อยกู้แก่เอกชนในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยคิดอัตราดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระนาน 3 ปี ซึ่งให้ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยไว้ที่ 3-6 เดือน สำหรับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)จะค้ำประกันดอกเบี้ยที่ 1.75% ต่อปี ซึ่งเฟสต้าได้เตรียมยื่นเสนอขอต่อ บสย.ให้ช่วยลดการค้ำประกันผู้ประกอบการจาก 1.75% ต่อปี เหลือที่ 1.25-.15% ต่อปี เพื่อผู้ประกอบการจะได้มีภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายรวมกันแล้วไม่เกิน 3%
"เกณฑ์การยื่นกู้เบื้องต้นสำหรับผู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันธนาคารจะปล่อยกู้ไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท ส่วนผู้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันขึ้นอยู่กับธนาคารจะพิจารณาให้วงเงินกู้ หลักเกณฑ์การพิจารณา ดูจากผลประกอบการในปีที่ผ่านมาๆมาเป็นหลัก ส่วนเฟสต้าจะเซ็นรับรองให้แก่ผู้ยื่นกู้ที่เป็นสมาชิกของสมาคมที่อยู่ในกลุ่มเฟสต้า ดังนั้นขณะนี้ ทุกอย่างพร้อมหมดแล้วทั้งผู้กู้และผู้ปล่อยกู้ จึงรอแต่เพียงให้รัฐอนุมัติวงเงินปล่อยกู้ออกมาโดยเร็ว"
นายอภิชาติ กล่าวว่า ธนาคารอิสลาม แสดงความเป็นห่วงในเรื่องของการปล่อยกู้ให้แก่ผู้ประกอบการสปาและร้านอาหาร โดยระบุว่า ต้องการให้ผู้ประกอบการทั้งสองกลุ่มดังกล่าวควรที่จะต้องมีบริษัทนำเที่ยวที่เป็นคู้ค่าส่งลูกทัวร์ให้แก่กันมาเซ็นรับรองสนับสนุน เพื่อแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจยังมีอนาคตที่จะเดินหน้าต่อไปได้
อย่างไรก็ตามเฟสต้ายังเสนอให้ลดวงเงินกู้เสริมสภาพคล่องสำหรับธุรกิจโรงแรม จากที่ตั้งไว้แห่งละ 100 ล้านบาท ให้ลดเหลือ 40 ล้านบาท เพื่อจะได้สอดคล้องกับวงเงินที่กระทรวงการท่องเที่ยวขอรัฐบาลให้สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต้ำให้แก่ภาคเอกชนที่ลดลงจาก 15,500 ล้านบาท เหลือที่ 5,000 ล้านบาท แต่ถ้าโรงแรมใดมีหลักทรัพย์ดีและต้องการเงินกู้มากกว่าที่กำหนด ในส่วนของวงเงินที่เกินไม่ควรที่จะนำมาใช้สิทธิ์ในวงเงินและหลักเกณฑ์พิเศษนี้แต่ควรไปใช้เงื่อนไขปกติ ทั้งนี้ ความเร่งด่วนที่ต้องการใช้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของผู้ประกอบการท่องเที่ยว น่าจะรอได้ถึงเดือนเมษายนนี้เท่านั้น หากเกินจากนี้ผู้ประกอบการคงไม่มีทุนหรือสภาพคล่องที่จะประคองธุรกิจต่อไปได้ นั่นหมายถึงว่าอาจจะต้องมีการทยอยตกงานของคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเกิดขึ้นแน่นอน