รัฐบาลเล็งยกเลิกระบบแทรกแซงสินค้าเกษตร ชูแก้ปัญหาแบบใหม่ เล็ง 4 ชนิดนำร่อง เผยโมเดลเตรียมสกัดพ่อค้าหัวใส รอรัฐฯขายสินค้าเกษตรราคาถูกจากการแทรกแซง เตรียมกำหนดราคารับจำนำอิงต้นทุนบวกกำไร 20% พร้อมตั้งคกก.มีรองนายกรัฐมนตรีนั่งแท่นแก้ปัญหาเป็นรายชนิด
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปพิจารณารูปแบบการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารและจัดการสินค้าเกษตรสำคัญ 4 ชนิด คือ ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด และปาล์มน้ำมัน เพื่อดูแลและบริหารจัดการสินค้าทั้ง 4 ชนิดเป็นการเฉพาะตัว เช่นเดียวกับคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กนข.) เพื่อให้แก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรแต่ละชนิดได้ครบวงจรและให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า ระบบการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรของคชก.ในปัจจุบัน ไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นการประกันราคาไปทั้งหมด เพราะจากที่คิดว่า เมื่อแทรกแซงราคาแล้วทำให้สินค้าราคาดีขึ้น แต่ไม่สามารถดึงราคาได้จริง และยังไปแทรกแซงในราคาที่สูงกว่าตลาด ขณะที่ฝ่ายพ่อค้าก็ไม่ยอมซื้อสินค้าจากเกษตรกร และยังรอให้รัฐบาลขายในราคาที่ถูก ฉะนั้น จากนี้ไปสินค้าเกษตรใดที่รัฐบาลเข้าแทรกแซง จะกำหนดราคารับจำนำในราคาต้นทุนบวกกำไร 20% ส่วนแนวทางการระบายสินค้าจะมีนโยบายชัดเจนไม่ให้นำกลับมาขายในประเทศ แต่จะขายออกไปต่างประเทศในรูปแบบของรัฐต่อรัฐ เช่น กรณีของการจำนำข้าวโพด หรือการหากระบวนการแปรสภาพไม่ให้สินค้าเกษตรเหล่านั้น กลับเข้าสู่ระบบในประเทศอีก เพื่อทำให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นได้จริง และให้การแทรกแซงของรัฐกลายเป็นการแทรกแซงที่แท้จริง
นอกจากนี้ การพัฒนาสินค้าเกษตรแต่ละชนิด ยังจำเป็นต้องร่วมมือกับหน่วยงานอื่นอีกมาก ซึ่งคชก.ครอบคลุมไม่ถึง เช่น การแก้ไขปัญหามันสำปะหลัง ต้องมีกระบวนการแปรรูปเป็นเอทานอล ซึ่งต้องหารือร่วมกับกระทรวงพลังงาน อุตสาหกรรม บมจ.ปตท. เพื่อดำเนินการร่วมกัน ร่วมถึงต้องหารือกับกระทรวงการคลัง ในการลดภาษีนำเข้ารถยนต์อี 85, อี 20 เป็นต้น ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีคณะกรรมการพัฒนาสินค้าเกษตรแต่ละชนิดออกมาให้ชัดเจน
" ฉะนั้นจากนี้ไปสินค้าเกษตรใดที่รัฐบาลแทรกแซงมา ก็จะไม่นำกลับมาขายในประเทศแต่จะขายออกไปต่างประเทศในรูปแบบของรัฐต่อรัฐ เช่น ข้าวโพด หรือ หากกระบวนการแปรสภาพไม่ให้สินค้าเกษตรเหล่านั้นกลับเข้าสู่ระบบ เพื่อทำให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นได้จริง และให้การแทรกแซงของรัฐกลายเป็นการแทรงแซงที่แท้จริง”
รายงานข่าวแจ้งว่า การพิจารณาถึงรูปแบบการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารและจัดการสินค้าเกษตรนี้นั้น เป็นแนวทางหนึ่งที่จะเร่งดำเนินการแก้ปัญหากลุ่มผู้ชุมนุมเกษตรกรที่ปิดถนนในพื้นที่ต่างๆ
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปพิจารณารูปแบบการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารและจัดการสินค้าเกษตรสำคัญ 4 ชนิด คือ ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด และปาล์มน้ำมัน เพื่อดูแลและบริหารจัดการสินค้าทั้ง 4 ชนิดเป็นการเฉพาะตัว เช่นเดียวกับคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กนข.) เพื่อให้แก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรแต่ละชนิดได้ครบวงจรและให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า ระบบการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรของคชก.ในปัจจุบัน ไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นการประกันราคาไปทั้งหมด เพราะจากที่คิดว่า เมื่อแทรกแซงราคาแล้วทำให้สินค้าราคาดีขึ้น แต่ไม่สามารถดึงราคาได้จริง และยังไปแทรกแซงในราคาที่สูงกว่าตลาด ขณะที่ฝ่ายพ่อค้าก็ไม่ยอมซื้อสินค้าจากเกษตรกร และยังรอให้รัฐบาลขายในราคาที่ถูก ฉะนั้น จากนี้ไปสินค้าเกษตรใดที่รัฐบาลเข้าแทรกแซง จะกำหนดราคารับจำนำในราคาต้นทุนบวกกำไร 20% ส่วนแนวทางการระบายสินค้าจะมีนโยบายชัดเจนไม่ให้นำกลับมาขายในประเทศ แต่จะขายออกไปต่างประเทศในรูปแบบของรัฐต่อรัฐ เช่น กรณีของการจำนำข้าวโพด หรือการหากระบวนการแปรสภาพไม่ให้สินค้าเกษตรเหล่านั้น กลับเข้าสู่ระบบในประเทศอีก เพื่อทำให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นได้จริง และให้การแทรกแซงของรัฐกลายเป็นการแทรกแซงที่แท้จริง
นอกจากนี้ การพัฒนาสินค้าเกษตรแต่ละชนิด ยังจำเป็นต้องร่วมมือกับหน่วยงานอื่นอีกมาก ซึ่งคชก.ครอบคลุมไม่ถึง เช่น การแก้ไขปัญหามันสำปะหลัง ต้องมีกระบวนการแปรรูปเป็นเอทานอล ซึ่งต้องหารือร่วมกับกระทรวงพลังงาน อุตสาหกรรม บมจ.ปตท. เพื่อดำเนินการร่วมกัน ร่วมถึงต้องหารือกับกระทรวงการคลัง ในการลดภาษีนำเข้ารถยนต์อี 85, อี 20 เป็นต้น ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีคณะกรรมการพัฒนาสินค้าเกษตรแต่ละชนิดออกมาให้ชัดเจน
" ฉะนั้นจากนี้ไปสินค้าเกษตรใดที่รัฐบาลแทรกแซงมา ก็จะไม่นำกลับมาขายในประเทศแต่จะขายออกไปต่างประเทศในรูปแบบของรัฐต่อรัฐ เช่น ข้าวโพด หรือ หากกระบวนการแปรสภาพไม่ให้สินค้าเกษตรเหล่านั้นกลับเข้าสู่ระบบ เพื่อทำให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นได้จริง และให้การแทรกแซงของรัฐกลายเป็นการแทรงแซงที่แท้จริง”
รายงานข่าวแจ้งว่า การพิจารณาถึงรูปแบบการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารและจัดการสินค้าเกษตรนี้นั้น เป็นแนวทางหนึ่งที่จะเร่งดำเนินการแก้ปัญหากลุ่มผู้ชุมนุมเกษตรกรที่ปิดถนนในพื้นที่ต่างๆ