ชี้เกมคอมพิวเตอร์ฝึกสมองที่ออกแบบมาสำหรับผู้สูงวัยไม่ได้ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์อย่างที่ผู้ผลิตอวดอ้าง ซ้ำยังอาจแย่งเวลาการออกกำลังกายที่มีประโยชน์กว่าไปด้วย
ความนิยมในเกมมือถือแพร่หลายอย่างมาก หลังผู้ผลิตโหมโฆษณาโดยใช้คนดังอย่างนิโคล คิดแมน และจูลี วอลเตอร์ส เป็นพรีเซนเตอร์ และอวดอ้างว่าเกมของตนสามารถกระตุ้นสมองควบคู่ไปกับการไหลเวียนของโลหิต และฝึกฝนสติปัญญาไปในตัว
กระนั้น งานศึกษาที่จัดทำโดยองค์กรด้านสุขภาพของสหรัฐฯ ที่ชื่อว่าไลฟ์สแปน และตีพิมพ์ในวารสารอัลไซเมอร์ส แอนด์ ดีเมนเทีย ชี้ว่าการเล่นเกมดังกล่าวอาจมีผลลบมากกว่าผลดี หากผู้สูงวัยหลงเชื่อจนละเลยการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแท้จริง
การศึกษาดังกล่าวไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าเกมคอมพิวเตอร์ฝึกสมองชะลอการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการรับรู้และความคิดในผู้สูงวัยแต่อย่างใด
นักวิจัยศึกษาจากผลการทดลองที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1992 เกี่ยวกับผลของการฝึกสมองที่เรียกว่า ‘การออกกำลังจิต’ ที่มีต่อผู้สูงอายุ ซึ่งพบว่ามีการทดลองน้อยมากที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ ขณะที่การทดลองที่มีคุณสมบัติถูกต้องมักจำกัดหรือขาดแคลนการติดตามผล และอาจสรุปได้ว่าจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมในระยะยาวและระยะกลางในเรื่องผลของจากการฝึกสมอง
ปีเตอร์ ชไนเดอร์ ศาสตราจารย์ด้านประสาทศาสตร์คลินิกจากคณะแพทย์ศาสตร์วอร์เรน อัลเพิร์ต มหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย กล่าวว่าธุรกิจทั่วโลกได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ฝึกสมองขึ้นมาโดยปราศจากข้อพิสูจน์ชัดเจนถึงประสิทธิภาพที่อวดอ้าง
เฉพาะในอเมริกานั้น เครื่องเล่นดีเอสของนินเทนโด ซึ่งประกอบด้วยเกมเกี่ยวกับตัวเลข และปริศนาอักษร เป็นต้น ทำยอดขายได้ถึง 100 ล้านเครื่อง
ศาสตราจารย์ชไนเดอร์บอกว่า ผลิตภัณฑ์ฝึกสมองสำหรับคนชราที่ขายกันอยู่ทุกวันนี้อาจเป็นการใช้เงินโดยเปล่าประโยชน์ และทำให้การใช้ชีวิตในรูปแบบที่พิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์มากกว่า เช่น การออกกำลังกาย ถูกบั่นทอนความสำคัญลงไป
นอกจากนี้ ยังทำให้คนหวังลมๆ แล้งๆ ว่าจะมีโอกาสชะลอการเสื่อมถอยของสมองได้ โดยผลิตภัณฑ์บางชิ้นถึงขั้นโปรโมทว่าเป็นอาวุธต่อสู้โรคอัลไซเมอร์
อนึ่ง เดือนที่ผ่านมา นักวิจัยฝรั่งเศสค้นพบว่าเกมฝึกสมองไม่ได้ดีไปกว่าการใช้กระดาษกับปากกา สำหรับการกระตุ้นความจำและปรับปรุงพลังสมองแต่อย่างใด โดยในการศึกษานักเรียนอายุ 10 ปีจำนวน 67 คน พบว่าการทำการบ้าน อ่านหนังสือ เล่มเกมปริศนา เช่น โซโดกุ และเกมกระดาน เช่น สแครบเบิล มีประโยชน์พอๆ กับเกมคอมพิวเตอร์ฝึกสมอง
ขณะเดียวกัน นักวิจัยสวีเดนได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความยืนนานของผลการกระตุ้นสมองโดยใช้เกมคอมพิวเตอร์ พร้อมระบุว่าการฝึกฝนอย่างเคร่งครัดในภารกิจความจำ เช่น การจดจำหมายเลขโทรศัพท์ในระยะเวลาสั้นๆ ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
ศาสตราจารย์ชไนเดอร์เรียกร้องให้มีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบว่า คำกล่าวอ้างของบริษัทเกมในการฝึกสมองเป็นจริงหรือไม่ เพื่อให้สาธารณชนได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเลือกรูปแบบการใช้ชีวิต
นีล ฮันต์ ประธานบริหารกลุ่มอัลไซเมอร์ส โซไซตี้ ขานรับว่าความคิดที่ว่าการฝึกสมองอาจป้องกันการเสื่อมถอยของสมองได้เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง แต่ขณะเดียวกันก็น่าเป็นห่วงพอกันเนื่องจากมีหลักฐานพิสูจน์เพียงจำกัด
ฮันต์ยังตั้งข้อสังเกตว่า ในอีกสิบปีข้างหน้า จะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในอเมริกาถึงล้านคน ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรีบค้นหาวิธีป้องกันโรคนี้ และว่าวิธีลดความเสี่ยงที่ดีที่สุดเท่าที่รู้กันในปัจจุบันคือ การกินผักและผลไม้ ออกกำลังกายเป็นประจำ และตรวจระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด
ความนิยมในเกมมือถือแพร่หลายอย่างมาก หลังผู้ผลิตโหมโฆษณาโดยใช้คนดังอย่างนิโคล คิดแมน และจูลี วอลเตอร์ส เป็นพรีเซนเตอร์ และอวดอ้างว่าเกมของตนสามารถกระตุ้นสมองควบคู่ไปกับการไหลเวียนของโลหิต และฝึกฝนสติปัญญาไปในตัว
กระนั้น งานศึกษาที่จัดทำโดยองค์กรด้านสุขภาพของสหรัฐฯ ที่ชื่อว่าไลฟ์สแปน และตีพิมพ์ในวารสารอัลไซเมอร์ส แอนด์ ดีเมนเทีย ชี้ว่าการเล่นเกมดังกล่าวอาจมีผลลบมากกว่าผลดี หากผู้สูงวัยหลงเชื่อจนละเลยการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแท้จริง
การศึกษาดังกล่าวไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าเกมคอมพิวเตอร์ฝึกสมองชะลอการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการรับรู้และความคิดในผู้สูงวัยแต่อย่างใด
นักวิจัยศึกษาจากผลการทดลองที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1992 เกี่ยวกับผลของการฝึกสมองที่เรียกว่า ‘การออกกำลังจิต’ ที่มีต่อผู้สูงอายุ ซึ่งพบว่ามีการทดลองน้อยมากที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ ขณะที่การทดลองที่มีคุณสมบัติถูกต้องมักจำกัดหรือขาดแคลนการติดตามผล และอาจสรุปได้ว่าจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมในระยะยาวและระยะกลางในเรื่องผลของจากการฝึกสมอง
ปีเตอร์ ชไนเดอร์ ศาสตราจารย์ด้านประสาทศาสตร์คลินิกจากคณะแพทย์ศาสตร์วอร์เรน อัลเพิร์ต มหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย กล่าวว่าธุรกิจทั่วโลกได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ฝึกสมองขึ้นมาโดยปราศจากข้อพิสูจน์ชัดเจนถึงประสิทธิภาพที่อวดอ้าง
เฉพาะในอเมริกานั้น เครื่องเล่นดีเอสของนินเทนโด ซึ่งประกอบด้วยเกมเกี่ยวกับตัวเลข และปริศนาอักษร เป็นต้น ทำยอดขายได้ถึง 100 ล้านเครื่อง
ศาสตราจารย์ชไนเดอร์บอกว่า ผลิตภัณฑ์ฝึกสมองสำหรับคนชราที่ขายกันอยู่ทุกวันนี้อาจเป็นการใช้เงินโดยเปล่าประโยชน์ และทำให้การใช้ชีวิตในรูปแบบที่พิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์มากกว่า เช่น การออกกำลังกาย ถูกบั่นทอนความสำคัญลงไป
นอกจากนี้ ยังทำให้คนหวังลมๆ แล้งๆ ว่าจะมีโอกาสชะลอการเสื่อมถอยของสมองได้ โดยผลิตภัณฑ์บางชิ้นถึงขั้นโปรโมทว่าเป็นอาวุธต่อสู้โรคอัลไซเมอร์
อนึ่ง เดือนที่ผ่านมา นักวิจัยฝรั่งเศสค้นพบว่าเกมฝึกสมองไม่ได้ดีไปกว่าการใช้กระดาษกับปากกา สำหรับการกระตุ้นความจำและปรับปรุงพลังสมองแต่อย่างใด โดยในการศึกษานักเรียนอายุ 10 ปีจำนวน 67 คน พบว่าการทำการบ้าน อ่านหนังสือ เล่มเกมปริศนา เช่น โซโดกุ และเกมกระดาน เช่น สแครบเบิล มีประโยชน์พอๆ กับเกมคอมพิวเตอร์ฝึกสมอง
ขณะเดียวกัน นักวิจัยสวีเดนได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความยืนนานของผลการกระตุ้นสมองโดยใช้เกมคอมพิวเตอร์ พร้อมระบุว่าการฝึกฝนอย่างเคร่งครัดในภารกิจความจำ เช่น การจดจำหมายเลขโทรศัพท์ในระยะเวลาสั้นๆ ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
ศาสตราจารย์ชไนเดอร์เรียกร้องให้มีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบว่า คำกล่าวอ้างของบริษัทเกมในการฝึกสมองเป็นจริงหรือไม่ เพื่อให้สาธารณชนได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเลือกรูปแบบการใช้ชีวิต
นีล ฮันต์ ประธานบริหารกลุ่มอัลไซเมอร์ส โซไซตี้ ขานรับว่าความคิดที่ว่าการฝึกสมองอาจป้องกันการเสื่อมถอยของสมองได้เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง แต่ขณะเดียวกันก็น่าเป็นห่วงพอกันเนื่องจากมีหลักฐานพิสูจน์เพียงจำกัด
ฮันต์ยังตั้งข้อสังเกตว่า ในอีกสิบปีข้างหน้า จะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในอเมริกาถึงล้านคน ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรีบค้นหาวิธีป้องกันโรคนี้ และว่าวิธีลดความเสี่ยงที่ดีที่สุดเท่าที่รู้กันในปัจจุบันคือ การกินผักและผลไม้ ออกกำลังกายเป็นประจำ และตรวจระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด