หลังจากหน่วยงานทางด้านความมั่นคงในพื้นที่ของ จ.ยะลาได้มีการแจ้งเตือนให้เจ้าหน้าที่ ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง ชุดรักษาความปลอดภัยในชุมชน หมู่บ้าน ให้เฝ้าระมัดระวัง กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่อาจจะล้อมเข้ามาก่อเหตุร้ายครั้งใหญ่ในพื้นที่อีกครั้งในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ ปรากฎว่าเมื่อช่วงเช้าวานนี้ (2 ก.พ.) พล.ต.ต.สายันต์ กระแสแสน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา ได้ขึ้นวิทยุแจ้งเตือนและสั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนาย และทุกโรงพักในพื้นที่ของ จ.ยะลา เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา และหมั่นสังเกตดูบุคคลต้องสงสัยที่อาจจะแต่งกายปลอมแปลงเป็นผู้หญิงที่จะเข้ามาภายในโรงพัก หรือภายในฐานปฏิบัติการ โดยอย่ามีความประมาทเป็นโดยเด็ดขาด
พร้อมทั้งให้มีการตอบโต้กับกลุ่มคนร้ายได้ทันท่วงที หากมีเหตุการณ์จัดชุดสายตรวจรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ในส่วนบรรยากาศทางเข้าตัวเมืองยะลา ทั้ง 4 มุมเมือง มีเจ้าหน้าที่ ตำรวจ ทหาร ตั้งด่าน จุดตรวจจุดสกัด พร้อมทั้งคอยดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนที่ออกมาจับจ่ายซื้อของตามย่านการค้า ภายในเขตเทศบาลนครยะลาอย่างเข้มงวด
**นราฯเพิ่มความเข้มดูแลพื้นที่เฝ้าระวัง
ด้านเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ จ.นราธิวาส ทั้งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง ก็ได้มีการกระจายกำลังดูแลความปลอดภัยตามสถานที่ราชการและสถานที่สาธารณะอย่างเข้มงวด เนื่องจากมีการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการเตรียมก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่เช่นกัน โดยเฉพาะบริเวณจุดตรวจบ้านปลักปลา อ.เมือง จ.นราธิวาส เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เพิ่มความเข้มในการตรวจรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกคันเพื่อป้องกันการนำสิ่งของผิดกฎหมายเข้ามาในพื้นที่ โดยจุดตรวจดังกล่าวถือเป็นจุดตรวจแรกก่อนที่จะเข้าตัวเมืองนราธิวาสเจ้าหน้าที่จึงเพิ่มความเข้มเป็นพิเศษ
พ.ต.อ.โชติ ชวาลวิวัฒน์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายมีการเพิ่มความเข้มในการเฝ้าระวังตามสถานที่ต่างๆ เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น
โดยเฉพาะในเขตของอำเภอเมือง และอำเภอสุไหงโก-ลก นอกจากมีเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบคอยดูแลแล้วยังมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบคอยตรวจสอบอีกด้วย ส่วนการรายงานเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบเพื่อเตรียมก่อเหตุนั้นมีการรายงานเป็นระยะ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่เองต้องคอยเฝ้าระวัง เพิ่มความเข้มงวด และระมัดระวังตนเอง
**ฆ่าตัดคอเผาศพ2ทหารพราน
ส่วนที่ จ.ปัตตานี้วานนี้ (2 ก.พ.) เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ ยะรัง จ.ปัตตานี ได้รับแจ้งเกิดเหตุคนร้ายยิงและฆ่าตัดคอ เจ้าหน้าที่ทหารพรานชุดพัฒนาสันติ 43-7 กรมทหารพรานที่ 43 เสียชีวิต 2 นาย เหตุเกิดบนถนนสายบ้านบือแนปีแน -บ้านบือแนกือบง ม.3 ต,ประจัน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ผู้เสียชีวิต คือ ส.ต. นิฮาซัน นิแว อายุ 30 ปี อยู่บ้านเลขที่ 22/5ถ.สะบารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี สภาพศพไหม้เกรียมไม่มีศีรษะ และ อส.ทพ. เชื้อ โชติรัตน์ อายุ 56 ปี สภาพศพไหม้เกรียมถูกเชือดคอศีรษะไม่ขาด
โดยก่อนเกิดเหตุขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารทั้ง 2 นายซึ่งแต่งกายชุดนอกเครื่องแบบกำลังขับขี่รถจักรยานยนต์ออกปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อสืบหาข่าว เมื่อขับรถออกจากฐานได้ประมาณ 2 กิโลเมตร ได้มีคนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้อาวุธปืนสงครามอาก้าซุ่มยิงจากริมทางซึ่งเป็นป่าสวนยางพารา ทำให้รถเสียหลักล้ม หลังจากนั้นคนร้ายได้เข้ามายิงซ้ำด้วยอาวุธปืนลูกซองและได้ฆ่าตัดคอพร้อมกับราดน้ำมันจุดไฟเผา ก่อนหลบหนีไป
นอกจากนี้คนร้ายยังได้เอาอาวุธปืนพกสั้น ขนาด. 38 และอาวุธปืนพกสั้นขนาด. 9 มมของผู้ตายไปด้วย พร้อมกับโปรยตะปูเรือใบและวางวัตถุต้องสงสัยในเส้นทางที่เกิดเหตุ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้มีการสนธิกำลังไล่ล่าคนร้ายและติดตามชิ้นส่วนศีรษะของ ส.ต.นิฮาซัน นิแว ที่หายไปด้วย
**คนยะลากว่า3พันรับผลกระทบ
วันเดียวกันนายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานในพิธีมอบเงินช่วยเหลือเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดยะลา โดยมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบเข้ารับการช่วยเหลือเยียวยาจำนวน 68 ราย เป็นเงิน 6 ล้าน 3 แสน 8 หมื่น 5 พันบาท
นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า ตั้งแต่ ปี 2547 - 2551 มีผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดยะลา มีทั้งสิ้น 3,192 ราย แยกเป็นผู้เสียชีวิต 844 ราย ทุพลภาพ 26 ราย บาดเจ็บสาหัส 388 ราย บาดเจ็บเล็กน้อย 748 ราย บาดเจ็บปานกลาง 592 ราย ซึ่งทางจังหวัดได้ติดตาม และให้การช่วยเหลือเยียวยามาโดยตลอด
สำหรับวงเงินที่ใช้ในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นกรณีเสียชีวิต การบาดเจ็บ และกรณีทรัพย์สินได้รับความเสียหายโดยมีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบและให้การช่วยเหลือดังนี้ จากสำนักนายกรัฐมนตรี รวม 5 ปีเป็นเงินกว่า 276 ล้านบาท กรมคุ้มครองสิทธิกรณีบาดเจ็บและเสียชีวิต ประมาณ 60 ล้านบาท สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกระทรวงมหาดไทย ได้ช่วยเหลือเยียวยา ประมาณ 50 ล้านบาท กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 40 ล้านบาท กระทรวงศึกษาธิการ โดยเขตพื้นที่การศึกษาให้การดูแลในเรื่องทุนการศึกษาของบุตรผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 10 ล้านบาท รวมทั้งหมด 418 ล้านบาท
นอกจากการดูแลช่วยเหลือเยียวยาด้านงบประมาณแล้ว จังหวัดยะลายังเร่งให้การช่วยเหลือเยียวยาในเรื่องจิตใจของผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยมีการดูแลถึง 2 กรณีด้วยกัน คือ ไปดูแลถึงสถานที่ หรือครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งโรงพยาบาลศูนย์ยะลาได้เข้าไปดูแลผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
นอกจากนี้จังหวัดยะลายังเปิดคลินิกจิตเวชขึ้นที่ ซึ่งมีแห่งเดียวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะรักษาเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ โดยจะมีการติดตามผลผู้ที่เข้ารับการรักษาเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของศูนย์ไปติดตามผลในระยะสั้น เป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน เพื่อนำมารายงานผล และให้การช่วยเหลือต่อไป" ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าว
พร้อมทั้งให้มีการตอบโต้กับกลุ่มคนร้ายได้ทันท่วงที หากมีเหตุการณ์จัดชุดสายตรวจรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ในส่วนบรรยากาศทางเข้าตัวเมืองยะลา ทั้ง 4 มุมเมือง มีเจ้าหน้าที่ ตำรวจ ทหาร ตั้งด่าน จุดตรวจจุดสกัด พร้อมทั้งคอยดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนที่ออกมาจับจ่ายซื้อของตามย่านการค้า ภายในเขตเทศบาลนครยะลาอย่างเข้มงวด
**นราฯเพิ่มความเข้มดูแลพื้นที่เฝ้าระวัง
ด้านเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ จ.นราธิวาส ทั้งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง ก็ได้มีการกระจายกำลังดูแลความปลอดภัยตามสถานที่ราชการและสถานที่สาธารณะอย่างเข้มงวด เนื่องจากมีการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการเตรียมก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่เช่นกัน โดยเฉพาะบริเวณจุดตรวจบ้านปลักปลา อ.เมือง จ.นราธิวาส เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เพิ่มความเข้มในการตรวจรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกคันเพื่อป้องกันการนำสิ่งของผิดกฎหมายเข้ามาในพื้นที่ โดยจุดตรวจดังกล่าวถือเป็นจุดตรวจแรกก่อนที่จะเข้าตัวเมืองนราธิวาสเจ้าหน้าที่จึงเพิ่มความเข้มเป็นพิเศษ
พ.ต.อ.โชติ ชวาลวิวัฒน์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายมีการเพิ่มความเข้มในการเฝ้าระวังตามสถานที่ต่างๆ เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น
โดยเฉพาะในเขตของอำเภอเมือง และอำเภอสุไหงโก-ลก นอกจากมีเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบคอยดูแลแล้วยังมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบคอยตรวจสอบอีกด้วย ส่วนการรายงานเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบเพื่อเตรียมก่อเหตุนั้นมีการรายงานเป็นระยะ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่เองต้องคอยเฝ้าระวัง เพิ่มความเข้มงวด และระมัดระวังตนเอง
**ฆ่าตัดคอเผาศพ2ทหารพราน
ส่วนที่ จ.ปัตตานี้วานนี้ (2 ก.พ.) เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ ยะรัง จ.ปัตตานี ได้รับแจ้งเกิดเหตุคนร้ายยิงและฆ่าตัดคอ เจ้าหน้าที่ทหารพรานชุดพัฒนาสันติ 43-7 กรมทหารพรานที่ 43 เสียชีวิต 2 นาย เหตุเกิดบนถนนสายบ้านบือแนปีแน -บ้านบือแนกือบง ม.3 ต,ประจัน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ผู้เสียชีวิต คือ ส.ต. นิฮาซัน นิแว อายุ 30 ปี อยู่บ้านเลขที่ 22/5ถ.สะบารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี สภาพศพไหม้เกรียมไม่มีศีรษะ และ อส.ทพ. เชื้อ โชติรัตน์ อายุ 56 ปี สภาพศพไหม้เกรียมถูกเชือดคอศีรษะไม่ขาด
โดยก่อนเกิดเหตุขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารทั้ง 2 นายซึ่งแต่งกายชุดนอกเครื่องแบบกำลังขับขี่รถจักรยานยนต์ออกปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อสืบหาข่าว เมื่อขับรถออกจากฐานได้ประมาณ 2 กิโลเมตร ได้มีคนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้อาวุธปืนสงครามอาก้าซุ่มยิงจากริมทางซึ่งเป็นป่าสวนยางพารา ทำให้รถเสียหลักล้ม หลังจากนั้นคนร้ายได้เข้ามายิงซ้ำด้วยอาวุธปืนลูกซองและได้ฆ่าตัดคอพร้อมกับราดน้ำมันจุดไฟเผา ก่อนหลบหนีไป
นอกจากนี้คนร้ายยังได้เอาอาวุธปืนพกสั้น ขนาด. 38 และอาวุธปืนพกสั้นขนาด. 9 มมของผู้ตายไปด้วย พร้อมกับโปรยตะปูเรือใบและวางวัตถุต้องสงสัยในเส้นทางที่เกิดเหตุ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้มีการสนธิกำลังไล่ล่าคนร้ายและติดตามชิ้นส่วนศีรษะของ ส.ต.นิฮาซัน นิแว ที่หายไปด้วย
**คนยะลากว่า3พันรับผลกระทบ
วันเดียวกันนายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานในพิธีมอบเงินช่วยเหลือเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดยะลา โดยมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบเข้ารับการช่วยเหลือเยียวยาจำนวน 68 ราย เป็นเงิน 6 ล้าน 3 แสน 8 หมื่น 5 พันบาท
นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า ตั้งแต่ ปี 2547 - 2551 มีผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดยะลา มีทั้งสิ้น 3,192 ราย แยกเป็นผู้เสียชีวิต 844 ราย ทุพลภาพ 26 ราย บาดเจ็บสาหัส 388 ราย บาดเจ็บเล็กน้อย 748 ราย บาดเจ็บปานกลาง 592 ราย ซึ่งทางจังหวัดได้ติดตาม และให้การช่วยเหลือเยียวยามาโดยตลอด
สำหรับวงเงินที่ใช้ในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นกรณีเสียชีวิต การบาดเจ็บ และกรณีทรัพย์สินได้รับความเสียหายโดยมีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบและให้การช่วยเหลือดังนี้ จากสำนักนายกรัฐมนตรี รวม 5 ปีเป็นเงินกว่า 276 ล้านบาท กรมคุ้มครองสิทธิกรณีบาดเจ็บและเสียชีวิต ประมาณ 60 ล้านบาท สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกระทรวงมหาดไทย ได้ช่วยเหลือเยียวยา ประมาณ 50 ล้านบาท กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 40 ล้านบาท กระทรวงศึกษาธิการ โดยเขตพื้นที่การศึกษาให้การดูแลในเรื่องทุนการศึกษาของบุตรผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 10 ล้านบาท รวมทั้งหมด 418 ล้านบาท
นอกจากการดูแลช่วยเหลือเยียวยาด้านงบประมาณแล้ว จังหวัดยะลายังเร่งให้การช่วยเหลือเยียวยาในเรื่องจิตใจของผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยมีการดูแลถึง 2 กรณีด้วยกัน คือ ไปดูแลถึงสถานที่ หรือครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งโรงพยาบาลศูนย์ยะลาได้เข้าไปดูแลผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
นอกจากนี้จังหวัดยะลายังเปิดคลินิกจิตเวชขึ้นที่ ซึ่งมีแห่งเดียวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะรักษาเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ โดยจะมีการติดตามผลผู้ที่เข้ารับการรักษาเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของศูนย์ไปติดตามผลในระยะสั้น เป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน เพื่อนำมารายงานผล และให้การช่วยเหลือต่อไป" ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าว