ASTVผู้จัดการรายวัน-บลจ.เชื่อภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่พุ่งเป้าอัดเจ้าสัว-กระตุ้นการลงทุนบนที่ดินทิ้งร้าง มากกว่ารายย่อยและกองทุนอสังหาริมทรัพย์"พิชิต"เล็งต่อรองขอยกเว้นสำหรับกองอสังหาฯที่มีรายย่อยเป็นหลัก หลังมีรายละเอียดชัดเจนมากขึ้น ด้านผู้จัดการกองทุนหวั่น พ.ร.บ.ฉบับใหม่ขาดความชัดเจน แยกประเภทประเมิณสิ่งปลูกสร้างไม่ตรงตามความเป็นจริง
นายพิชิต อัครทิพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เอ็ม เอฟซี จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า กระแสการนำพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้ทดแทน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฉบับเดิม น่าจะเป็นความต้องการของรัฐบาลในการลดความเลื่อมล้ำของการกระจายได้ในประเทศ โดยมีเจตนาในการเก็บภาษีจากเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง หรือเจ้าของที่ดินที่ไม่ได้ใช่ประโยชน์มากกว่า
อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.นี้นับเป็นเรื่องใหม่ของประเทศไทย ส่วนจะมีผลกระทบต่อกองทุนอสังหาริมทรัพย์หรือไม่คงต้องติดตามหลังจากนี้เพราะยังไม่แน่นอนว่าจะมีการบังคับใช้ หรือมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง โดยเชื่อว่าเบื้องต้นน่าจะมีเจตนาในการเก็บภาษีกับรายใหญ่มากว่า ส่วนการลงทุนรายย่อยเองก็ควรที่จะได้รับการยกเว้น
ทั้งนี้ หากในอนาคตมีความชัดเจนมากขึ้น อาจต้องมีการหารือกับทางรัฐบาลอีกครั้ง เพื่อลงรายละเอียดว่าสัดส่วนในการเสียภาษีจะเป็นในรูปใด เนื่องจากปัจจุบันกองทุนอสังหาริมทรัพย์เองต้องมีการเสียภาษีโรงเรือนอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นผู้ให้เช่าที่จะต้องจ่ายภาษีในส่วนของรายได้จากการเช่า
ด้าน นายสุทธิพงศ์ พัวพันธ์ประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ-ฝ่ายจัดการกองทุนผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บัวหลวง จำกัด กล่าวว่า พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่คาดว่าจะนำมาใช้แทน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งกำลังมีการผลักดันอยู่ในขณะนี้ นับเป็นแนวทางที่ดีและจะทำให้การจัดเก็บภาษีของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นไปอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น หลังจากที่เดิมที่จะต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ประเมินแต่ละรายเป็นหลัก
“เดิมแล้วภาษีโรงเรียนที่คิดอัตรามันจะแพงมากคือประมาณ 12.5% ต่อปี แบบนี้ค่าใช้จ่ายมันสูงจนอยู่กันไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาต้องมีการทำสัญญา2-3ตัวเพื่อให้ภาษีน้อยลง และอีกอย่างพ.ร.บ.ฉบับเดิมก็เก่ามากเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วเพราะออกมาตั้งแต่ 2475”นายสุทธิพงศ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม การออกพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวในช่วงเวลานี้ มองว่ายังไม่เหมาะสมเท่าไร เพราะเท่ากับเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยที่กำลังเข้าสู่ภาวะทดถอย โดยจะส่งผลต่อความรูสึกของนักลงทุนและผู้ประกอบการในด้านลบจากการจัดเก็บภาษีในรูปแบบใหม่
นอกจากนี้ การออกพ.ร.บ.ฉบับนี้อาจส่งผลกระทบต่อชาวบ้านได้เช่นกัน โดยตามหลักการที่ทราบถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ถ้าจะนำมาเสริมรายได้ในส่วนที่ขาดไปหลังจากออกจากมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือธุรกิจขายบ้านแล้วคงจะไม่เหมาะสมเท่าไรนัก
นายสุทธิพงศ์ กล่าวอีกว่า ปัญหาที่จะเกิดขึ้นหลังจากการออกพ.ร.บ.ฉบับนี้คือ การประเมินมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งหากไม่มีความชัดเจนแล้วจะทำให้เกิดปัญหาได้ในภายหลัง โดยในส่วนของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ และคอนโดมิเนียมยังมีความแตกต่างกันในเรื่องของรายละเอียดทั้ง เฟอร์นเจอร์และสิ่งตกแต่งรวมถึงเครื่องอำนวยความสะดวก หากจะนำมาพิจารณาบนพื้นฐานเดียวกันคงจะไม่เหมาะสม
นอกจากนี้ หากเป็นอาคารหรือศูนย์การค้าที่มีการให้เช่าพื้นที่แบบรายปีแล้ว จะทำให้ภาษีมีความไม่สมดุ หรือผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มขึ้นได้ จาการเสียภาษีที่มีการประเมินแบบรายปี
“ถ้าเป็นการเช่าแบบรายปี จะได้รับผลกระทบค่อนข้างเยอะ เพราถ้าเป็นพื้นที่ศูยน์การค้าเมื่อมีการปรับผู้เช่า หรือเพิ่มราคาในกรณีที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการใช้พื้นที่ภายในให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุด ก็อาจทำให้ราคาที่ปรับขึ้น ต้องนำมาประเมินเป็นรายปีอีกครั้งในส่วนของมูลค่า”นายสุทธิพงศ์กล่าว
นายสุทธิพงศ์ กล่าวอีกว่า การออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ หากมีการบังคับใช้พ.ร.บ.ฉบับนี้จริง คงจะไม่มีผลกระทบ แต่น่าจะกระทบต่อผลตอบแทนมากว่า ซึ่งอัตราภาษีเดิมแต่ละปีจะเสียไม่เกิน 10% แต่เมื่อมีพ.ร.บ.ฉบับนี้อาจต้องมีภาระเพิ่มมากขึ้น โดยทางผู้จัดการกองทุนเองชอบความชัดเจนในการจัดเก็บภาษีอยู่แล้ว แต่เกณฑ์ที่จะนำมาประเมินต้องชัดเจนด้วยถึงจะเป็นผลดี
ขณะที่ นายนกุล ไชยนิล ผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บีที จำกัด กล่าวว่า กองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ผ่านมาต้องเสียภาษีโรงเรียนอยู่แล้ว และการออกพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคงจะไม่กระทบต่อกองทุนประเภทนี้ เนื่องจากกองทุนจะลงทุนในที่ดินเปล่าไม่ได้ แต่จะต้องลงทุนเพื่อให้เกิดผลตอบแทนตามที่ก.ล.ต.กำหนด
นอกจากนี้ การออกพ.ร.บ.ฉบับนี้น่าจะมีจุดประสงค์ในการกระตุ้นการลงทุนและมีผลกระทบต่อคนรวยมากกว่า เพราะปัจจุบันที่ว่างเปล่านั้นมีมากโดยเฉพาะในแถบชายทะเล
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตจะต้องดูรายละเอียดในการจัดเก็บภาษีอีกครั้งว่าจะมีผลกระทบหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนในส่วนนี้
นายพิชิต อัครทิพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เอ็ม เอฟซี จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า กระแสการนำพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้ทดแทน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฉบับเดิม น่าจะเป็นความต้องการของรัฐบาลในการลดความเลื่อมล้ำของการกระจายได้ในประเทศ โดยมีเจตนาในการเก็บภาษีจากเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง หรือเจ้าของที่ดินที่ไม่ได้ใช่ประโยชน์มากกว่า
อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.นี้นับเป็นเรื่องใหม่ของประเทศไทย ส่วนจะมีผลกระทบต่อกองทุนอสังหาริมทรัพย์หรือไม่คงต้องติดตามหลังจากนี้เพราะยังไม่แน่นอนว่าจะมีการบังคับใช้ หรือมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง โดยเชื่อว่าเบื้องต้นน่าจะมีเจตนาในการเก็บภาษีกับรายใหญ่มากว่า ส่วนการลงทุนรายย่อยเองก็ควรที่จะได้รับการยกเว้น
ทั้งนี้ หากในอนาคตมีความชัดเจนมากขึ้น อาจต้องมีการหารือกับทางรัฐบาลอีกครั้ง เพื่อลงรายละเอียดว่าสัดส่วนในการเสียภาษีจะเป็นในรูปใด เนื่องจากปัจจุบันกองทุนอสังหาริมทรัพย์เองต้องมีการเสียภาษีโรงเรือนอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นผู้ให้เช่าที่จะต้องจ่ายภาษีในส่วนของรายได้จากการเช่า
ด้าน นายสุทธิพงศ์ พัวพันธ์ประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ-ฝ่ายจัดการกองทุนผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บัวหลวง จำกัด กล่าวว่า พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่คาดว่าจะนำมาใช้แทน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งกำลังมีการผลักดันอยู่ในขณะนี้ นับเป็นแนวทางที่ดีและจะทำให้การจัดเก็บภาษีของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นไปอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น หลังจากที่เดิมที่จะต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ประเมินแต่ละรายเป็นหลัก
“เดิมแล้วภาษีโรงเรียนที่คิดอัตรามันจะแพงมากคือประมาณ 12.5% ต่อปี แบบนี้ค่าใช้จ่ายมันสูงจนอยู่กันไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาต้องมีการทำสัญญา2-3ตัวเพื่อให้ภาษีน้อยลง และอีกอย่างพ.ร.บ.ฉบับเดิมก็เก่ามากเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วเพราะออกมาตั้งแต่ 2475”นายสุทธิพงศ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม การออกพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวในช่วงเวลานี้ มองว่ายังไม่เหมาะสมเท่าไร เพราะเท่ากับเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยที่กำลังเข้าสู่ภาวะทดถอย โดยจะส่งผลต่อความรูสึกของนักลงทุนและผู้ประกอบการในด้านลบจากการจัดเก็บภาษีในรูปแบบใหม่
นอกจากนี้ การออกพ.ร.บ.ฉบับนี้อาจส่งผลกระทบต่อชาวบ้านได้เช่นกัน โดยตามหลักการที่ทราบถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ถ้าจะนำมาเสริมรายได้ในส่วนที่ขาดไปหลังจากออกจากมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือธุรกิจขายบ้านแล้วคงจะไม่เหมาะสมเท่าไรนัก
นายสุทธิพงศ์ กล่าวอีกว่า ปัญหาที่จะเกิดขึ้นหลังจากการออกพ.ร.บ.ฉบับนี้คือ การประเมินมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งหากไม่มีความชัดเจนแล้วจะทำให้เกิดปัญหาได้ในภายหลัง โดยในส่วนของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ และคอนโดมิเนียมยังมีความแตกต่างกันในเรื่องของรายละเอียดทั้ง เฟอร์นเจอร์และสิ่งตกแต่งรวมถึงเครื่องอำนวยความสะดวก หากจะนำมาพิจารณาบนพื้นฐานเดียวกันคงจะไม่เหมาะสม
นอกจากนี้ หากเป็นอาคารหรือศูนย์การค้าที่มีการให้เช่าพื้นที่แบบรายปีแล้ว จะทำให้ภาษีมีความไม่สมดุ หรือผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มขึ้นได้ จาการเสียภาษีที่มีการประเมินแบบรายปี
“ถ้าเป็นการเช่าแบบรายปี จะได้รับผลกระทบค่อนข้างเยอะ เพราถ้าเป็นพื้นที่ศูยน์การค้าเมื่อมีการปรับผู้เช่า หรือเพิ่มราคาในกรณีที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการใช้พื้นที่ภายในให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุด ก็อาจทำให้ราคาที่ปรับขึ้น ต้องนำมาประเมินเป็นรายปีอีกครั้งในส่วนของมูลค่า”นายสุทธิพงศ์กล่าว
นายสุทธิพงศ์ กล่าวอีกว่า การออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ หากมีการบังคับใช้พ.ร.บ.ฉบับนี้จริง คงจะไม่มีผลกระทบ แต่น่าจะกระทบต่อผลตอบแทนมากว่า ซึ่งอัตราภาษีเดิมแต่ละปีจะเสียไม่เกิน 10% แต่เมื่อมีพ.ร.บ.ฉบับนี้อาจต้องมีภาระเพิ่มมากขึ้น โดยทางผู้จัดการกองทุนเองชอบความชัดเจนในการจัดเก็บภาษีอยู่แล้ว แต่เกณฑ์ที่จะนำมาประเมินต้องชัดเจนด้วยถึงจะเป็นผลดี
ขณะที่ นายนกุล ไชยนิล ผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บีที จำกัด กล่าวว่า กองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ผ่านมาต้องเสียภาษีโรงเรียนอยู่แล้ว และการออกพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคงจะไม่กระทบต่อกองทุนประเภทนี้ เนื่องจากกองทุนจะลงทุนในที่ดินเปล่าไม่ได้ แต่จะต้องลงทุนเพื่อให้เกิดผลตอบแทนตามที่ก.ล.ต.กำหนด
นอกจากนี้ การออกพ.ร.บ.ฉบับนี้น่าจะมีจุดประสงค์ในการกระตุ้นการลงทุนและมีผลกระทบต่อคนรวยมากกว่า เพราะปัจจุบันที่ว่างเปล่านั้นมีมากโดยเฉพาะในแถบชายทะเล
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตจะต้องดูรายละเอียดในการจัดเก็บภาษีอีกครั้งว่าจะมีผลกระทบหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนในส่วนนี้