นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง กลุ่มโรฮิงยา ว่า วันนี้( 22 ม.ค.) จะนำเข้าหารือในการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะที่ตนเป็น ผอ.กอ.รมน. จะให้นโยบายในเชิงปฏิบัติ คือเราพยายามหาทางที่จะไม่ให้เรื่องเหล่านี้มาเป็นปัญหาต่อความมั่นคง และ ยึดหลักสิทธิมนุษยชน
ส่วนปัญหาที่มีการกล่าวหากันขณะนี้ ผู้ที่ปฏิบัติก็รับไปตรวจสอบ ส่วนนโยบายต้องปรับปรุงอย่างไรก็จะหารือในการประชุมสมช.ด้วย และอีกส่วนหนึ่งก็คือว่า การชี้แจงก็ได้มีการขอว่าควรจะได้ประสานงานใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมาพอเกิดเรื่องก็มีการสัมภาษณ์ ต่างคนต่างก็ให้คำอธิบาย โดยไม่ได้พูดคุยกันก่อน ซึ่งบางครั้งการสื่อสารออกไปก่อให้เกิดความสับสน
ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศ และทำเนียบฯ จะช่วยกันดูแล แต่หน่วยงานปฏิบัติต้องส่งข้อมูลมา ซึ่งได้ให้แนวทางไปแล้วว่า ช่วยส่งข้อมูลมาให้เราอย่างที่กองทัพเรือบอกว่า มีหลายรูปถ่ายที่ไม่รู้จัก และมีการนำเสนอเป็นข่าวให้เห็นว่าเราปฏิบัติกับคนเหล่านี้อย่างไร ก็ได้บอกไปว่ากรณีอย่างนี้หากมีรูปหรือข้อมูลอะไร ควรส่งให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องชี้แจง
"ต้องยอมรับว่าขณะนี้แรงงานต่างด้าวเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเยอะมาก แล้วเราปล่อยสภาพแบบนี้ไปไม่ได้ ชัดเจนว่าถ้าปล่อยสภาพนี้ต่อไป ก็จะเกิดปัญหามาก พื้นที่ขณะนี้เรียกได้ว่าครอบคลุมเหนือจดใต้ ซึ่งอันนี้สำคัญ ต้องยืนยันที่จะแก้ไขปัญหาต่อไป"
ส่วนกรณี สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) ได้ขอร้องรัฐบาลไทยเพื่อขอเข้าพบกับผู้อพยพชาวโรฮิงยา 126 คน ที่ถูกคุมตัวอยู่ในประเทศไทยนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราบอกว่าเรายินดีจะทำงานร่วมกับหน่วยงานระหว่างประเทศ และจะแสวงความร่วมมือจากประเทศที่เกี่ยวข้องด้วย แต่ต้องมาช่วยดูให้เราด้วยว่าปัญหาพื้นฐานจริงๆ เป็นปัญหาที่ไม่ได้เริ่มต้นจากประเทศเราต้องยอมรับอันนี้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเหลื่อมล้ำเรื่องของการแสวงโอกาส ตรงนี้ต้องเข้าใจด้วย จะมาดูที่ปลายเหตุอย่างเดียวไม่ได้ ซึ่งยูเอ็นเอชซีอาร์ ควรมีการคุยกับเราว่า จะทำงานร่วมกันอย่างไร
"จะบอกกับเขาว่าสามารถเข้ามาทำงานได้ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานความร่วมมือ ความเข้าใจในกติกาที่เหมาะสม อะไรที่เป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม เราก็จะทำ แต่ว่าเราเป็นผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานเหล่านี้ ถ้ามีความข้องใจว่าเราไปละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เขาก็มีสิทธิตรวจสอบ หรือช่วยดูได้ ต้องมาทำความเข้าใจการทำงานร่วมกัน"
เมื่อถามว่าจะใช้วิธีการเดียวกับสิงคโปร์หรือมาเลเซีย หรือไม่ ที่มีการโละแรงงานต่างด้าวทั้งหมด แล้วมาจดทะเบียนใหม่ นายกฯ กล่าวว่า ปัญหาหนึ่งคือว่าในช่วงที่ผ่านมา มันมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของนโยบายแรงงานต่างด้าวในการขึ้นทะเบียนโควต้า สัดส่วน ใจของตนก่อนที่จะมาเป็นรัฐบาลนั้น ไม่อยากให้ใช้คำว่า เสรี ขึ้นทะเบียนโดยไม่จำกัด และมีปัญหาในการบริหาร อยากให้จำกัดเรื่องพื้นที่ ซึ่งจะมีการพูดคุยกับกระทรวงแรงงาน และยิ่งขณะนี้มีปัญหาการว่างงานรุนแรงขึ้น ก็จะเกิดความตึงเครียดมากขึ้น ระหว่างคนไทยที่รู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับโอกาสกับคนที่เข้ามา ซึ่งตนได้พูดกับต่างประเทศด้วย และทุกประเทศก็มีปัญหานี้ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น เชื่อว่าเขาน่าจะเข้าใจ
เมื่อถามว่าจะหารือกับรัฐบาลพม่าหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ยัง แต่จะใช้กรอบความร่วมมือ บีมเทค ที่จะพูดคุยกัน เพื่อหารือแก้ปัญหา
ด้านนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอยู่แล้ว เรื่องนี้อยู่ที่ฝ่ายความมั่นคง ซึ่งได้มีการรายงานเป็นระยะ และทางกระทรวงการต่างประเทศก็ประสานกันเป็นระยะเช่นกัน ไม่หนักใจอะไร และได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นัดเอกอัครราชทูตของประเทศที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวที่ประจำประเทศไทย มาหารือกันในเร็วๆนี้
**กมธ.ต่างประเทศเชิญกองทัพชี้แจง
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก โฆษกคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการฯว่า ได้เชิญตัวแทนกองทัพ และกระทรวงการต่างประเทศ มาชี้แจงกรณีข่าวกองทัพเรือ ทำการทารุณกรรมชาวโรฮิงญา ชาวพม่าไร้สัญชาติ โดย พ.อ.มนัส คงแป้น ผอ.กอ.รมน.ภาค4 ส่วนหน้า และนาย อิทธิพร บุญประคอง รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้มาชี้แจง โดยกองทัพได้ปฏิเสธข่าวที่เกิดขึ้นว่าไม่เป็นความจริง ที่ผ่านมาได้ให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมอย่างดีที่สุดแล้ว
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯได้ขอให้กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงกับเอ็นจีโอ และองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ ว่ากองทัพไทย และประเทศไทยไม่ได้กระทำพฤติกรรมที่รุนแรงกับแรงงานดังกล่าว รวมทั้งขอให้รัฐบาลต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการประสานกับพม่า อินเดียและบังคลาเทศ ร่วมมือกันในระดับอนุภาคีในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง
ส่วนปัญหาที่มีการกล่าวหากันขณะนี้ ผู้ที่ปฏิบัติก็รับไปตรวจสอบ ส่วนนโยบายต้องปรับปรุงอย่างไรก็จะหารือในการประชุมสมช.ด้วย และอีกส่วนหนึ่งก็คือว่า การชี้แจงก็ได้มีการขอว่าควรจะได้ประสานงานใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมาพอเกิดเรื่องก็มีการสัมภาษณ์ ต่างคนต่างก็ให้คำอธิบาย โดยไม่ได้พูดคุยกันก่อน ซึ่งบางครั้งการสื่อสารออกไปก่อให้เกิดความสับสน
ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศ และทำเนียบฯ จะช่วยกันดูแล แต่หน่วยงานปฏิบัติต้องส่งข้อมูลมา ซึ่งได้ให้แนวทางไปแล้วว่า ช่วยส่งข้อมูลมาให้เราอย่างที่กองทัพเรือบอกว่า มีหลายรูปถ่ายที่ไม่รู้จัก และมีการนำเสนอเป็นข่าวให้เห็นว่าเราปฏิบัติกับคนเหล่านี้อย่างไร ก็ได้บอกไปว่ากรณีอย่างนี้หากมีรูปหรือข้อมูลอะไร ควรส่งให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องชี้แจง
"ต้องยอมรับว่าขณะนี้แรงงานต่างด้าวเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเยอะมาก แล้วเราปล่อยสภาพแบบนี้ไปไม่ได้ ชัดเจนว่าถ้าปล่อยสภาพนี้ต่อไป ก็จะเกิดปัญหามาก พื้นที่ขณะนี้เรียกได้ว่าครอบคลุมเหนือจดใต้ ซึ่งอันนี้สำคัญ ต้องยืนยันที่จะแก้ไขปัญหาต่อไป"
ส่วนกรณี สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) ได้ขอร้องรัฐบาลไทยเพื่อขอเข้าพบกับผู้อพยพชาวโรฮิงยา 126 คน ที่ถูกคุมตัวอยู่ในประเทศไทยนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราบอกว่าเรายินดีจะทำงานร่วมกับหน่วยงานระหว่างประเทศ และจะแสวงความร่วมมือจากประเทศที่เกี่ยวข้องด้วย แต่ต้องมาช่วยดูให้เราด้วยว่าปัญหาพื้นฐานจริงๆ เป็นปัญหาที่ไม่ได้เริ่มต้นจากประเทศเราต้องยอมรับอันนี้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเหลื่อมล้ำเรื่องของการแสวงโอกาส ตรงนี้ต้องเข้าใจด้วย จะมาดูที่ปลายเหตุอย่างเดียวไม่ได้ ซึ่งยูเอ็นเอชซีอาร์ ควรมีการคุยกับเราว่า จะทำงานร่วมกันอย่างไร
"จะบอกกับเขาว่าสามารถเข้ามาทำงานได้ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานความร่วมมือ ความเข้าใจในกติกาที่เหมาะสม อะไรที่เป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม เราก็จะทำ แต่ว่าเราเป็นผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานเหล่านี้ ถ้ามีความข้องใจว่าเราไปละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เขาก็มีสิทธิตรวจสอบ หรือช่วยดูได้ ต้องมาทำความเข้าใจการทำงานร่วมกัน"
เมื่อถามว่าจะใช้วิธีการเดียวกับสิงคโปร์หรือมาเลเซีย หรือไม่ ที่มีการโละแรงงานต่างด้าวทั้งหมด แล้วมาจดทะเบียนใหม่ นายกฯ กล่าวว่า ปัญหาหนึ่งคือว่าในช่วงที่ผ่านมา มันมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของนโยบายแรงงานต่างด้าวในการขึ้นทะเบียนโควต้า สัดส่วน ใจของตนก่อนที่จะมาเป็นรัฐบาลนั้น ไม่อยากให้ใช้คำว่า เสรี ขึ้นทะเบียนโดยไม่จำกัด และมีปัญหาในการบริหาร อยากให้จำกัดเรื่องพื้นที่ ซึ่งจะมีการพูดคุยกับกระทรวงแรงงาน และยิ่งขณะนี้มีปัญหาการว่างงานรุนแรงขึ้น ก็จะเกิดความตึงเครียดมากขึ้น ระหว่างคนไทยที่รู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับโอกาสกับคนที่เข้ามา ซึ่งตนได้พูดกับต่างประเทศด้วย และทุกประเทศก็มีปัญหานี้ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น เชื่อว่าเขาน่าจะเข้าใจ
เมื่อถามว่าจะหารือกับรัฐบาลพม่าหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ยัง แต่จะใช้กรอบความร่วมมือ บีมเทค ที่จะพูดคุยกัน เพื่อหารือแก้ปัญหา
ด้านนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอยู่แล้ว เรื่องนี้อยู่ที่ฝ่ายความมั่นคง ซึ่งได้มีการรายงานเป็นระยะ และทางกระทรวงการต่างประเทศก็ประสานกันเป็นระยะเช่นกัน ไม่หนักใจอะไร และได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นัดเอกอัครราชทูตของประเทศที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวที่ประจำประเทศไทย มาหารือกันในเร็วๆนี้
**กมธ.ต่างประเทศเชิญกองทัพชี้แจง
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก โฆษกคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการฯว่า ได้เชิญตัวแทนกองทัพ และกระทรวงการต่างประเทศ มาชี้แจงกรณีข่าวกองทัพเรือ ทำการทารุณกรรมชาวโรฮิงญา ชาวพม่าไร้สัญชาติ โดย พ.อ.มนัส คงแป้น ผอ.กอ.รมน.ภาค4 ส่วนหน้า และนาย อิทธิพร บุญประคอง รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้มาชี้แจง โดยกองทัพได้ปฏิเสธข่าวที่เกิดขึ้นว่าไม่เป็นความจริง ที่ผ่านมาได้ให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมอย่างดีที่สุดแล้ว
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯได้ขอให้กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงกับเอ็นจีโอ และองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ ว่ากองทัพไทย และประเทศไทยไม่ได้กระทำพฤติกรรมที่รุนแรงกับแรงงานดังกล่าว รวมทั้งขอให้รัฐบาลต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการประสานกับพม่า อินเดียและบังคลาเทศ ร่วมมือกันในระดับอนุภาคีในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง