ASTVผู้จัดการรายวัน- เทรนด์การใช้อีเว้นท์มาแรง ฉายซ้ำภาพช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ลูกค้าต่างชาติหันเพิ่งอีเว้นท์ ดันยอดขาย ลดการใช้สื่อแมส คาดตลาดอีเว้นท์มูลค่า 5,500 ล้านบาท โตถึง 5% “กูรู” ฟันธง อีเว้นท์ยังมีอนาคตที่สดใสอีกหลายปี
หลังเกิดวิกฤติในประเทศไทยในปี 2551 ที่ผ่านมา ที่มีทั้งเรื่องปัญหาทางการเมือง การที่ไทยมีนายกรัฐมนตรี 4 คนในรอบ 1 ปี ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน นักธุรกิจ รวมถึงผู้บริโภคที่เจอพิษระลอกสองกับปัญหาเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นโดยเฉพาะช่วงกลางปีที่แล้ว ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมด้านต่างๆในประเทศกันเป็นทอดๆ
โดยเฉพาะในภาคธุรกิจ ที่ในปีก่อนส่วนใหญ่พบว่ามียอดขายที่ลดลง ส่งผลให้วิธีการดำเนินธุรกิจปีนี้ดูจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบกันมากยิ่งขึ้น ขณะที่บริษัทข้ามชาติ มีใบสั่งลดเม็ดเงินทำตลาดลง เหตุจากการหวั่นใจในสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่จะลุกลามประเทศไทยในปีนี้
นายเกรียงไกร กาญจนโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท อินเด็กซ์ อีเว้นท์ เอเจนซี่ จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในปีนี้จะคล้ายกับวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่ผ่านมา ที่พบว่าตัวเลขเม็ดเงินโฆษณาจะลดลง แต่ในส่วนที่ลดลงนี้จะถูกนำมาใช้ในการทำอีเว้นท์แทน ซึ่งในปีนั้นยังพบด้วยว่าอีเว้นท์ถือเป็นเครื่องมือตัวใหม่ที่ลูกค้าเพิ่งรู้จักและนำมาใช้ในการทำตลาด จึงทำให้สัดส่วนการเติบโตสูงมากถึง 30% ในขณะที่ฐานเม็ดเงินยังน้อยอยู่
แต่สำหรับปี 2552 นี้ แน่นอนว่าทิศทางการใช้อีเว้นท์ในการทำมาร์เก็ตติ้งจะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ลูกค้าจะมุ่งใช้งบที่จำกัดไปกับการทำอีเว้นท์มากขึ้น ขณะที่การใช้สื่อโฆษณาจะลดลง หรือในปีนี้มั่นใจว่า ตลาดอีเว้นท์ มาร์เก็ตติ้งมูลค่า 5,500 ล้านบาท จะโตได้ถึง 5% จากที่ปีก่อนนั้น มีการเติบโตจากปี 2550 เพียง 2-3% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การเติบโตของอีเว้นท์ครั้งนี้ นายเกรียงไกรยังมองว่า ไม่ใช่แค่เกิดจากการที่เศรษฐกิจหดตัวเท่านั้น แต่มองว่าเป็นเทรนด์ของอีเว้นท์ที่ลูกค้าเล็งเห็นถึงความสำคัญและประสิทธิภาพของการจัดอีเว้นท์ที่ส่งผลต่อยอดขายที่เพิ่มขึ้นด้วยมากกว่า จากเดิมที่ผ่านมาลูกค้าหันมาใช้อีเว้นท์เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างกระแส และสร้างแบรนด์ให้เกิดการรับรู้เท่านั้น แต่หลังจากนี้อีเว้นท์จะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือลำดับต้นๆเพื่อใช้ในการทำตลาดและสร้างยอดขายต่อไป
สาเหตุที่ทำให้อีเว้นท์กลายมาเป็นเครื่องมือยอดฮิตของนักการตลาดนั้น เนื่องจากอีเว้นท์หลังจากนี้จะมีการอ้างอิงตัวเลขงานวิจัย เพื่อใช้กับด้านการขายได้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ลูกค้าจะหันมาทุ่มเงินให้กับการตลาดแบบการทำอีเว้นท์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นเทรนด์อีเว้นท์ในปีนี้จะต้องเป็นอีเว้นท์ที่ชี้วัดผลได้จริง มีตัวเลขชัดเจนในการเพิ่มยอดขายได้ รวมถึงต้องเป็นงานอีเว้นท์ที่ดูมีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า จากเทรนด์ดังกล่าว ส่งผลให้ลูกค้าที่หันมาให้ความสำคัญกับการทำตลาดผ่านงานอีเว้นท์นั้น จะมีการเซ็นสัญญาแบบระยะยาวกับบริษัทด้านอีเว้นท์มากขึ้น ในลักษณะปีต่อปีขึ้นไป ขณะที่งานอีเว้นท์จะมีความต่อเนื่องตลอดทั้งปี และมีความถี่ในการจัดมากขึ้น โดยในส่วนของบริษัทอีเว้นท์จะมีการทำงานที่ใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้นตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
อย่างไรก็ตามจากกระแสอีเว้นท์ที่มาแรงนี้ พบว่ากลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะให้ความสำคัญกับอีเว้นท์อย่างมาก คือ รถยนต์, รถจักยานยนต์, ธุรกิจขายตรง รวมถึงกลุ่มผุ้ให้บริการสัญญาณมือถือ เพราะถึงแม้เศรษฐกิจไม่ดี แต่การแข่งขันในตลาดยังมีอยู่ โดยเฉพาะในช่วงนี้จะเป็นการแข่งขันกันเพื่อชิงแชร์กันในตลาดมากกว่า มุ่งเน้นเรื่องของการเพิ่มยอดขาย เพราะเป็นเรื่องที่ทำได้ยากในภาวะที่ผู้บริโภคชะลอการใช้เงินสูง ขณะที่กลุ่มคอนซูเมอร์โปรดักส์ เชื่อว่า ปีนี้จะมุ่งเน้นการทำตลาดแบบโปรโมชั่น ส่งเสริมการขาย ลด แลก แจก แถม มากกว่า มาเล่นเรื่องของการจัดงานอีเว้นท์แทน
หลังเกิดวิกฤติในประเทศไทยในปี 2551 ที่ผ่านมา ที่มีทั้งเรื่องปัญหาทางการเมือง การที่ไทยมีนายกรัฐมนตรี 4 คนในรอบ 1 ปี ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน นักธุรกิจ รวมถึงผู้บริโภคที่เจอพิษระลอกสองกับปัญหาเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นโดยเฉพาะช่วงกลางปีที่แล้ว ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมด้านต่างๆในประเทศกันเป็นทอดๆ
โดยเฉพาะในภาคธุรกิจ ที่ในปีก่อนส่วนใหญ่พบว่ามียอดขายที่ลดลง ส่งผลให้วิธีการดำเนินธุรกิจปีนี้ดูจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบกันมากยิ่งขึ้น ขณะที่บริษัทข้ามชาติ มีใบสั่งลดเม็ดเงินทำตลาดลง เหตุจากการหวั่นใจในสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่จะลุกลามประเทศไทยในปีนี้
นายเกรียงไกร กาญจนโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท อินเด็กซ์ อีเว้นท์ เอเจนซี่ จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในปีนี้จะคล้ายกับวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่ผ่านมา ที่พบว่าตัวเลขเม็ดเงินโฆษณาจะลดลง แต่ในส่วนที่ลดลงนี้จะถูกนำมาใช้ในการทำอีเว้นท์แทน ซึ่งในปีนั้นยังพบด้วยว่าอีเว้นท์ถือเป็นเครื่องมือตัวใหม่ที่ลูกค้าเพิ่งรู้จักและนำมาใช้ในการทำตลาด จึงทำให้สัดส่วนการเติบโตสูงมากถึง 30% ในขณะที่ฐานเม็ดเงินยังน้อยอยู่
แต่สำหรับปี 2552 นี้ แน่นอนว่าทิศทางการใช้อีเว้นท์ในการทำมาร์เก็ตติ้งจะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ลูกค้าจะมุ่งใช้งบที่จำกัดไปกับการทำอีเว้นท์มากขึ้น ขณะที่การใช้สื่อโฆษณาจะลดลง หรือในปีนี้มั่นใจว่า ตลาดอีเว้นท์ มาร์เก็ตติ้งมูลค่า 5,500 ล้านบาท จะโตได้ถึง 5% จากที่ปีก่อนนั้น มีการเติบโตจากปี 2550 เพียง 2-3% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การเติบโตของอีเว้นท์ครั้งนี้ นายเกรียงไกรยังมองว่า ไม่ใช่แค่เกิดจากการที่เศรษฐกิจหดตัวเท่านั้น แต่มองว่าเป็นเทรนด์ของอีเว้นท์ที่ลูกค้าเล็งเห็นถึงความสำคัญและประสิทธิภาพของการจัดอีเว้นท์ที่ส่งผลต่อยอดขายที่เพิ่มขึ้นด้วยมากกว่า จากเดิมที่ผ่านมาลูกค้าหันมาใช้อีเว้นท์เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างกระแส และสร้างแบรนด์ให้เกิดการรับรู้เท่านั้น แต่หลังจากนี้อีเว้นท์จะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือลำดับต้นๆเพื่อใช้ในการทำตลาดและสร้างยอดขายต่อไป
สาเหตุที่ทำให้อีเว้นท์กลายมาเป็นเครื่องมือยอดฮิตของนักการตลาดนั้น เนื่องจากอีเว้นท์หลังจากนี้จะมีการอ้างอิงตัวเลขงานวิจัย เพื่อใช้กับด้านการขายได้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ลูกค้าจะหันมาทุ่มเงินให้กับการตลาดแบบการทำอีเว้นท์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นเทรนด์อีเว้นท์ในปีนี้จะต้องเป็นอีเว้นท์ที่ชี้วัดผลได้จริง มีตัวเลขชัดเจนในการเพิ่มยอดขายได้ รวมถึงต้องเป็นงานอีเว้นท์ที่ดูมีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า จากเทรนด์ดังกล่าว ส่งผลให้ลูกค้าที่หันมาให้ความสำคัญกับการทำตลาดผ่านงานอีเว้นท์นั้น จะมีการเซ็นสัญญาแบบระยะยาวกับบริษัทด้านอีเว้นท์มากขึ้น ในลักษณะปีต่อปีขึ้นไป ขณะที่งานอีเว้นท์จะมีความต่อเนื่องตลอดทั้งปี และมีความถี่ในการจัดมากขึ้น โดยในส่วนของบริษัทอีเว้นท์จะมีการทำงานที่ใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้นตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
อย่างไรก็ตามจากกระแสอีเว้นท์ที่มาแรงนี้ พบว่ากลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะให้ความสำคัญกับอีเว้นท์อย่างมาก คือ รถยนต์, รถจักยานยนต์, ธุรกิจขายตรง รวมถึงกลุ่มผุ้ให้บริการสัญญาณมือถือ เพราะถึงแม้เศรษฐกิจไม่ดี แต่การแข่งขันในตลาดยังมีอยู่ โดยเฉพาะในช่วงนี้จะเป็นการแข่งขันกันเพื่อชิงแชร์กันในตลาดมากกว่า มุ่งเน้นเรื่องของการเพิ่มยอดขาย เพราะเป็นเรื่องที่ทำได้ยากในภาวะที่ผู้บริโภคชะลอการใช้เงินสูง ขณะที่กลุ่มคอนซูเมอร์โปรดักส์ เชื่อว่า ปีนี้จะมุ่งเน้นการทำตลาดแบบโปรโมชั่น ส่งเสริมการขาย ลด แลก แจก แถม มากกว่า มาเล่นเรื่องของการจัดงานอีเว้นท์แทน