ASTV ผู้จัดการรายวัน - “ไทยยานยนต์กรุ๊ป” ปรับโครงสร้างองค์กรและธุรกิจครบวงจร หลัง “วิทิต ลีนุตพงษ์” แยกออกจาก “ยนตรกิจกรุ๊ป” นำสมบัติกงสีออกมาจัดการเอง เผยดึงมืออาชีพเข้ามาบริหาร ดันคน “ลีนุตพงษ์” ขึ้นเป็นบอร์ดหมด พร้อมขยายธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ “เฌอรี่” จากประเทศจีน และเพิ่มการเป็นดีลเลอร์รถยนต์หลากยี่ห้อ เพื่อลดความเสี่ยงทางธุรกิจ หวังแต่งตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ในอนาคต
นายวิทิต ลีนุตพงษ์ ประธานกรรมการบริหาร ไทยยานยนต์กรุ๊ป เปิดเผยว่า หลังจากยนตรกิจกรุ๊ปได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ โดยแยกธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่ม แยกกันบริหารจากกันเด็ดขาด ได้แก่ ไทยยานยนต์กรุ๊ป ยนตรกิจคอร์ปอเรชั่น และยนตรกิจออโตโมบิลกรุ๊ป ซึ่งในส่วนของตนได้นำธุรกิจในส่วนของไทยยานยนต์กรุ๊ปมาบริหารจัดการเอง
“หลังจากไทยยานยนต์กรุ๊ปได้แยกตัวออกมา ได้มีการปรับโครงสร้างและการบริหารงานใหม่ โดยแยกออกเป็น 2 สายธุรกิจหลัก คือ สายธุรกิจการค้า และสายการผลิต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ คือการเป็นผู้นำในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์แบบครบวงจร และมีการเจริญเติบโตเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (ตลท.)”
ทั้งนี้ในส่วนของสายธุรกิจการค้า ประกอบไปด้วยการเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์โฟล์คสวาเกนในไทย และล่าสุดเพิ่งเซ็นสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ “เฌอรี่” (Chery) จากประเทศจีน ทำให้ไทยยานยนต์กรุ๊ปเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ 2 ยี่ห้อ พร้อมกันนี้ยังดำเนินธุรกิจผู้จำหน่ายรถยนต์ หรือดิสทริบิวเตอร์ จำนวน 11 สาขา 3 แบรนด์ ได้แก่ โฟล์คสวาเกน บีเอ็มดับเบิลยู และมิตซูบิชิ ส่วนสายการผลิตมีโรงงานประกอบรถยนต์ YMC และโรงงานผลิตชิ้นส่วน ATP
“โดยแต่ละสายงานจะมีมืออาชีพแต่ละด้านมานั่งบริหาร เพื่อการบริหารที่เป็นระบบมาตรฐาน และสร้างความเชื่อมั่นและพึงพอใจให้กับผู้บริโภคสูงสุด ขณะที่คนในตระกูลลีนุตพงษ์จะถูกดันให้ขึ้นไปเป็นบอร์ดบริหารหมด ซึ่งจะคอยดูแลในภาพรวมธุรกิจ เพื่อลดปัญหาการบริหารธุรกิจแบบครอบครัว”
นายวิทิตกล่าวว่า สำหรับแผนการผลักดันให้ไทยยานยนต์กรุ๊ปเติบโตตามเป้าหมายนั้น การเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ “เฌอรี่” จากประเทศจีน เป็นอีกความเชื่อมั่นของบริษัทฯ เพราะเป็นแบรนด์ระดับนำของประเทศจีน และมีความแข็งแกร่งทางธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของไทยยานยนต์กรุ๊ป โดยได้ตั้งบริษัท ไทยเฌอรี่ยานยนต์ จำกัด มาดูแลธุรกิจรถยนต์เฌอรี่ในไทย ด้วยการร่วมทุนระหว่างไทยยานยนต์กรุ๊ป และเครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) ในสัดส่วน 50:50 ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท โดยซีพีจะเป็นผู้ดูแลในส่วนของการเงินและบัญชี รวมถึงการประสานงานกับทางเฌอรี่ประเทศจีน ขณะที่ไทยยานยนต์กรุ๊ปจะดูแลการบริหารและทำตลาดทั้งหมด
ส่วนแผนการทำตลาดในช่วงแรก จะมีการนำเข้าเรถยนต์เฌอรี่ 3 รุ่นมาจำหน่าย ได้แก่ รถยนต์ขนาดเล็กรุ่นคิวคิว (QQ) รถยนต์อเนกประสงค์ หรือเอสยูวี ขนาด 5 ที่นั่ง รุ่นทิกโก้(Tiggor) และรถอเนกประสงค์แบบเอ็มพีวีรุ่นครอส (Cross) ทั้งนี้จะเปิดตัวสู่สาธารณะในงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ 2009 ปลายเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ โดยวางเป้าหมายการขายปีละ 3,000-5,000 คัน จากนั้นจะมีการประกอบในประเทศไทยต่อไปในอนาคต
ด้านรถยนต์โฟล์คสวาเกนยืนยัน ไทยยานยนต์กรุ๊ป ยังเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย และปีนี้จะมีการรุกตลาดอย่างจริงจัง จากเดิมจะมีทำตลาดเพียงรถตู้เท่านั้น แต่ปีนี้จะมีการแนะนำสินค้าใหม่สู่ตลาดมากขึ้น อาทิ โฟล์คสวาเกน พาสสาท ซีซี, บีทเทิล, ซีรอคโค และกอล์ฟ เป็นต้น โดยตั้งเป้าหมายยอดขายปีนี้ที่ 950 คัน แบ่งเป็นรถตู้ 500 คัน จากปีที่ผ่านมาทำได้กว่า 400 คัน และรถยนต์นั่ง หรือเก๋งอีก 450 คัน
ขณะที่ธุรกิจผู้จำหน่ายรถยนต์จากปัจจุบัน 3 แบรนด์ 11 สาขา จะมีการขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้เซ็นสัญญาเป็นดีลเลอร์จำหน่ายรถยนต์มาสด้าและฟอร์ด ซึ่งในอนาคตจะขยายให้ได้ 20-30 สาขา แต่จะไม่เน้นเพียงยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง เพื่อลดความเสี่ยงของแต่ละแบรนด์ ที่จะมีช่วงขึ้นและลงตามไลน์โปรดักซ์
“แน่นอนว่าหากเป็นไปตามเป้าหมาย แต่ละสาขามีรายได้ปีละกว่า 100 ล้านบาท จะทำให้กลุ่มธุรกิจนี้มีรายได้รวมไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท ทำให้กลุ่มธุรกิจสาขาจำหน่ายรถยนต์สามารถนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างมั่นคง โดยขณะนี้ได้มีการเตรียมพร้อมแล้ว อย่างเช่นการทำระบบบัญชีให้เป็นมาตรฐาน สามารถตรวจสอบได้ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะเป็นปีไหน”นายวิทิตกล่าว
นายวิทิต ลีนุตพงษ์ ประธานกรรมการบริหาร ไทยยานยนต์กรุ๊ป เปิดเผยว่า หลังจากยนตรกิจกรุ๊ปได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ โดยแยกธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่ม แยกกันบริหารจากกันเด็ดขาด ได้แก่ ไทยยานยนต์กรุ๊ป ยนตรกิจคอร์ปอเรชั่น และยนตรกิจออโตโมบิลกรุ๊ป ซึ่งในส่วนของตนได้นำธุรกิจในส่วนของไทยยานยนต์กรุ๊ปมาบริหารจัดการเอง
“หลังจากไทยยานยนต์กรุ๊ปได้แยกตัวออกมา ได้มีการปรับโครงสร้างและการบริหารงานใหม่ โดยแยกออกเป็น 2 สายธุรกิจหลัก คือ สายธุรกิจการค้า และสายการผลิต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ คือการเป็นผู้นำในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์แบบครบวงจร และมีการเจริญเติบโตเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (ตลท.)”
ทั้งนี้ในส่วนของสายธุรกิจการค้า ประกอบไปด้วยการเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์โฟล์คสวาเกนในไทย และล่าสุดเพิ่งเซ็นสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ “เฌอรี่” (Chery) จากประเทศจีน ทำให้ไทยยานยนต์กรุ๊ปเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ 2 ยี่ห้อ พร้อมกันนี้ยังดำเนินธุรกิจผู้จำหน่ายรถยนต์ หรือดิสทริบิวเตอร์ จำนวน 11 สาขา 3 แบรนด์ ได้แก่ โฟล์คสวาเกน บีเอ็มดับเบิลยู และมิตซูบิชิ ส่วนสายการผลิตมีโรงงานประกอบรถยนต์ YMC และโรงงานผลิตชิ้นส่วน ATP
“โดยแต่ละสายงานจะมีมืออาชีพแต่ละด้านมานั่งบริหาร เพื่อการบริหารที่เป็นระบบมาตรฐาน และสร้างความเชื่อมั่นและพึงพอใจให้กับผู้บริโภคสูงสุด ขณะที่คนในตระกูลลีนุตพงษ์จะถูกดันให้ขึ้นไปเป็นบอร์ดบริหารหมด ซึ่งจะคอยดูแลในภาพรวมธุรกิจ เพื่อลดปัญหาการบริหารธุรกิจแบบครอบครัว”
นายวิทิตกล่าวว่า สำหรับแผนการผลักดันให้ไทยยานยนต์กรุ๊ปเติบโตตามเป้าหมายนั้น การเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ “เฌอรี่” จากประเทศจีน เป็นอีกความเชื่อมั่นของบริษัทฯ เพราะเป็นแบรนด์ระดับนำของประเทศจีน และมีความแข็งแกร่งทางธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของไทยยานยนต์กรุ๊ป โดยได้ตั้งบริษัท ไทยเฌอรี่ยานยนต์ จำกัด มาดูแลธุรกิจรถยนต์เฌอรี่ในไทย ด้วยการร่วมทุนระหว่างไทยยานยนต์กรุ๊ป และเครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) ในสัดส่วน 50:50 ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท โดยซีพีจะเป็นผู้ดูแลในส่วนของการเงินและบัญชี รวมถึงการประสานงานกับทางเฌอรี่ประเทศจีน ขณะที่ไทยยานยนต์กรุ๊ปจะดูแลการบริหารและทำตลาดทั้งหมด
ส่วนแผนการทำตลาดในช่วงแรก จะมีการนำเข้าเรถยนต์เฌอรี่ 3 รุ่นมาจำหน่าย ได้แก่ รถยนต์ขนาดเล็กรุ่นคิวคิว (QQ) รถยนต์อเนกประสงค์ หรือเอสยูวี ขนาด 5 ที่นั่ง รุ่นทิกโก้(Tiggor) และรถอเนกประสงค์แบบเอ็มพีวีรุ่นครอส (Cross) ทั้งนี้จะเปิดตัวสู่สาธารณะในงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ 2009 ปลายเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ โดยวางเป้าหมายการขายปีละ 3,000-5,000 คัน จากนั้นจะมีการประกอบในประเทศไทยต่อไปในอนาคต
ด้านรถยนต์โฟล์คสวาเกนยืนยัน ไทยยานยนต์กรุ๊ป ยังเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย และปีนี้จะมีการรุกตลาดอย่างจริงจัง จากเดิมจะมีทำตลาดเพียงรถตู้เท่านั้น แต่ปีนี้จะมีการแนะนำสินค้าใหม่สู่ตลาดมากขึ้น อาทิ โฟล์คสวาเกน พาสสาท ซีซี, บีทเทิล, ซีรอคโค และกอล์ฟ เป็นต้น โดยตั้งเป้าหมายยอดขายปีนี้ที่ 950 คัน แบ่งเป็นรถตู้ 500 คัน จากปีที่ผ่านมาทำได้กว่า 400 คัน และรถยนต์นั่ง หรือเก๋งอีก 450 คัน
ขณะที่ธุรกิจผู้จำหน่ายรถยนต์จากปัจจุบัน 3 แบรนด์ 11 สาขา จะมีการขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้เซ็นสัญญาเป็นดีลเลอร์จำหน่ายรถยนต์มาสด้าและฟอร์ด ซึ่งในอนาคตจะขยายให้ได้ 20-30 สาขา แต่จะไม่เน้นเพียงยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง เพื่อลดความเสี่ยงของแต่ละแบรนด์ ที่จะมีช่วงขึ้นและลงตามไลน์โปรดักซ์
“แน่นอนว่าหากเป็นไปตามเป้าหมาย แต่ละสาขามีรายได้ปีละกว่า 100 ล้านบาท จะทำให้กลุ่มธุรกิจนี้มีรายได้รวมไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท ทำให้กลุ่มธุรกิจสาขาจำหน่ายรถยนต์สามารถนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างมั่นคง โดยขณะนี้ได้มีการเตรียมพร้อมแล้ว อย่างเช่นการทำระบบบัญชีให้เป็นมาตรฐาน สามารถตรวจสอบได้ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะเป็นปีไหน”นายวิทิตกล่าว