เดลิเมล์ - งานวิจัยใหม่พบการเล่นนอกบ้านแค่วันละ 2-3 ชั่วโมง ช่วยลดความเสี่ยงที่เด็กจะสายตาสั้นได้ถึงครึ่งหนึ่ง
การค้นพบนี้นับเป็นการท้าทายความเชื่อที่ว่าอาการสายตาสั้นเกิดจากการเล่นคอมพิวเตอร์ ดูทีวี หรืออ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสลัว
ปกติแล้วภาวะสายตาสั้นจะเกิดขึ้นในวัยเด็ก แต่สายตาผู้ใหญ่มากมายแย่ลงหลังเริ่มทำงานในออฟฟิศ
นักวิจัยของรัฐบาลออสเตรเลียเชื่อว่า แสงแดดอาจช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเคมีที่ปกป้องการเติบโตผิดรูปของลูกตา ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะสายตาสั้น
นักวิจัยกลุ่มนี้ได้เปรียบเทียบความสามารถในการมองเห็นกับพฤติกรรมของเด็กอายุ 6-7 ขวบในสิงคโปร์และออสเตรเลีย ทั้งนี้ เด็ก 30% ในแดนลอดช่องสายตาสั้น หรือสิบเท่าของเด็กเมืองจิงโจ้
รูปแบบเดียวกันนี้ปรากฏขึ้นเมื่อนักวิจัยจำกัดวงการวิเคราะห์กับเด็กจีนเท่านั้น หมายความว่าพันธุกรรมไม่สามารถอธิบายความแตกต่างนี้ได้
เด็กทั้งสองกลุ่มใช้เวลาอ่านหนังสือ ดูทีวี และเล่นเกมคอมพิวเตอร์เท่ากัน แต่เด็กออสซี่ใช้เวลาเล่นนอกบ้านเฉลี่ยวันละสองชั่วโมง มากกว่าเด็กเอเชียประมาณ 90 นาที
“เราพบว่าภาวะสายตาสั้นแพร่หลายมากขึ้นในเด็กที่อาศัยอยู่ในเมืองทั่วโลก และปัจจัยร่วมที่สำคัญมากอาจเป็นการที่เด็กใช้เวลาอยู่กลางแจ้งน้อยลงเรื่อยๆ “ศาสตราจารย์เอียน มอร์แกน จากศูนย์เพื่อการมองเห็นของสภาวิจัยแห่งออสเตรเลีย กล่าวและเสริมว่า
“ความคิดที่ว่าการอ่านหนังสือทำให้คนเราสายตาสั้นเป็นสิ่งที่กล่าวขานกันมานานนับร้อยปี แต่ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเวลาที่ใช้นอกบ้านเป็นปัจจัยที่สำคัญกว่า”
ศาสตราจารย์มอร์แกนเชื่อว่า แสงจากธรรมชาติที่สว่างกว่าแสงภายในอาคารเป็นร้อยเท่า กระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดพามีนออกมา และฮอร์โมนชนิดนี้ช่วยหยุดยั้งไม่ให้ลูกตาโตขึ้นมาผิดรูป และทำให้เกิดภาวะสายตาสั้น
ทั้งนี้ งานวิเคราะห์ในอินเดียและสหรัฐฯ ได้ผลลัพธ์ออกมาคล้ายกัน
การศึกษาเด็กออสเตรเลียที่จัดทำขึ้นเมื่อปีที่แล้วพบว่า เด็กที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่นอกบ้านจะมีสายตาดีกว่า โดยสรุปว่าการอยู่ในแสงธรรมชาติวันละสามชั่วโมงช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสายตาสั้นได้ครึ่งหนึ่ง
ศาสตราจารย์มอร์แกนสำทับว่า ปกติแล้วคนเราสายตายาวตามธรรมชาติ แต่ภาวะสายตาสั้นจะเพิ่มขึ้นเมื่อเริ่มเข้าโรงเรียนและใช้เวลาอยู่กลางแจ้งน้อยลง
“ในบางเมืองของเอเชียตะวันออก มีเด็กที่สายตาสั้นถึง 80-90% รัฐบาลและองค์การอนามัยโลกกังวลกับเรื่องนี้มาก”
ดร. แคทลีน โรส ผู้ร่วมวิจัย ขานรับว่า “หลักฐานของเราบ่งชี้ว่าปัจจัยสำคัญคือการอยู่กลางแจ้ง โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องปิกนิกหรือเล่นกีฬา เพราะการอยู่ท่ามกลางแสงธรรมชาติจะช่วยป้องกันไม่ให้ดวงตาของเด็กขยายเกินไปอันเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะสายตาสั้น”
การค้นพบนี้นับเป็นการท้าทายความเชื่อที่ว่าอาการสายตาสั้นเกิดจากการเล่นคอมพิวเตอร์ ดูทีวี หรืออ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสลัว
ปกติแล้วภาวะสายตาสั้นจะเกิดขึ้นในวัยเด็ก แต่สายตาผู้ใหญ่มากมายแย่ลงหลังเริ่มทำงานในออฟฟิศ
นักวิจัยของรัฐบาลออสเตรเลียเชื่อว่า แสงแดดอาจช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเคมีที่ปกป้องการเติบโตผิดรูปของลูกตา ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะสายตาสั้น
นักวิจัยกลุ่มนี้ได้เปรียบเทียบความสามารถในการมองเห็นกับพฤติกรรมของเด็กอายุ 6-7 ขวบในสิงคโปร์และออสเตรเลีย ทั้งนี้ เด็ก 30% ในแดนลอดช่องสายตาสั้น หรือสิบเท่าของเด็กเมืองจิงโจ้
รูปแบบเดียวกันนี้ปรากฏขึ้นเมื่อนักวิจัยจำกัดวงการวิเคราะห์กับเด็กจีนเท่านั้น หมายความว่าพันธุกรรมไม่สามารถอธิบายความแตกต่างนี้ได้
เด็กทั้งสองกลุ่มใช้เวลาอ่านหนังสือ ดูทีวี และเล่นเกมคอมพิวเตอร์เท่ากัน แต่เด็กออสซี่ใช้เวลาเล่นนอกบ้านเฉลี่ยวันละสองชั่วโมง มากกว่าเด็กเอเชียประมาณ 90 นาที
“เราพบว่าภาวะสายตาสั้นแพร่หลายมากขึ้นในเด็กที่อาศัยอยู่ในเมืองทั่วโลก และปัจจัยร่วมที่สำคัญมากอาจเป็นการที่เด็กใช้เวลาอยู่กลางแจ้งน้อยลงเรื่อยๆ “ศาสตราจารย์เอียน มอร์แกน จากศูนย์เพื่อการมองเห็นของสภาวิจัยแห่งออสเตรเลีย กล่าวและเสริมว่า
“ความคิดที่ว่าการอ่านหนังสือทำให้คนเราสายตาสั้นเป็นสิ่งที่กล่าวขานกันมานานนับร้อยปี แต่ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเวลาที่ใช้นอกบ้านเป็นปัจจัยที่สำคัญกว่า”
ศาสตราจารย์มอร์แกนเชื่อว่า แสงจากธรรมชาติที่สว่างกว่าแสงภายในอาคารเป็นร้อยเท่า กระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดพามีนออกมา และฮอร์โมนชนิดนี้ช่วยหยุดยั้งไม่ให้ลูกตาโตขึ้นมาผิดรูป และทำให้เกิดภาวะสายตาสั้น
ทั้งนี้ งานวิเคราะห์ในอินเดียและสหรัฐฯ ได้ผลลัพธ์ออกมาคล้ายกัน
การศึกษาเด็กออสเตรเลียที่จัดทำขึ้นเมื่อปีที่แล้วพบว่า เด็กที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่นอกบ้านจะมีสายตาดีกว่า โดยสรุปว่าการอยู่ในแสงธรรมชาติวันละสามชั่วโมงช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสายตาสั้นได้ครึ่งหนึ่ง
ศาสตราจารย์มอร์แกนสำทับว่า ปกติแล้วคนเราสายตายาวตามธรรมชาติ แต่ภาวะสายตาสั้นจะเพิ่มขึ้นเมื่อเริ่มเข้าโรงเรียนและใช้เวลาอยู่กลางแจ้งน้อยลง
“ในบางเมืองของเอเชียตะวันออก มีเด็กที่สายตาสั้นถึง 80-90% รัฐบาลและองค์การอนามัยโลกกังวลกับเรื่องนี้มาก”
ดร. แคทลีน โรส ผู้ร่วมวิจัย ขานรับว่า “หลักฐานของเราบ่งชี้ว่าปัจจัยสำคัญคือการอยู่กลางแจ้ง โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องปิกนิกหรือเล่นกีฬา เพราะการอยู่ท่ามกลางแสงธรรมชาติจะช่วยป้องกันไม่ให้ดวงตาของเด็กขยายเกินไปอันเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะสายตาสั้น”