40. โพธิสัตตบูรณายาน
...ปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 กรุงเทพมหานคร
เช้าตรู่วันนั้น “เขา” รีบลุกขึ้นจากที่นอน และตรงดิ่งไปที่ต้นโพธิ์ใหญ่ข้างบ้านของเขาที่อยู่ริมคลอง พร้อมกับธูปก้านหนึ่งที่จุดแล้วในมือ เพื่อไปบำเพ็ญภาวนาเหมือนเช่นเคย
“สงครามครั้งสุดท้าย” ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ปักหลักยืนหยัดชุมนุมต่อเนื่องเพื่อคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ และการฟื้นคืนชีพของระบอบทักษิณที่เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ยังคงดำรงอยู่ และได้ผ่านการต่อสู้ที่ดุเดือดเข้มข้นมา 90 กว่าวันแล้ว โดยได้สั่งสมชัยชนะน้อยใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ
ตัวเขาได้เข้าไปเป็น ผู้สังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม โดยใกล้ชิดใน “สงครามครั้งสุดท้าย” ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นี้เหมือนกับที่ตัวเขาก็ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการลุกขึ้นสู้กับระบอบทักษิณ ครั้งที่ 1 ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 จนกระทั่งผลิตงานเขียนอย่าง “ยามเฝ้าแผ่นดิน” (สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์, 2551) ออกมา ครั้งนี้ก็เช่นกันน “เขา” ได้ครุ่นคิดถึง ความหมายทางประวัติศาสตร์ ของขบวนการภาคประชาชนยุคใหม่หรือ ขบวนการยามเฝ้าแผ่นดิน ที่ตัวเขาได้มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยตั้งแต่เริ่มแรกอย่างจริงจัง
ต้นโพธิ์ใหญ่ริมคลองต้นนี้ “เขา” เป็นคนปลูกเองกับมือตั้งแต่เมื่อสิบปีก่อน ในช่วงสามสี่ปีมานี้ พร้อมๆ กับการที่ตัวเขาได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการต่อสู้โค่นล้มระบอบทักษิณ เมื่อ พ.ศ. 2548 ตัวเขาก็ได้ใช้โคนต้นโพธิ์ใหญ่ต้นนี้เป็นตำแหน่งแห่งที่ของตัวในจักรวาฬ เพื่อการบำเพ็ญเพียรทางจิตและการเจริญสมาธิภาวนาเรื่อยมา
พลังแรงบันดาลใจ ความสร้างสรรค์ และปัญญาญาณทั้งปวงในงานเขียน งานคิด และการงานอื่นๆ ของตัวเขา ล้วนผุดบังเกิดขึ้นมาจากที่แห่งนี้แทบทั้งสิ้น
ที่โคนต้นโพธิ์ใหญ่ต้นนี้ ตัวเขาได้ปูแผ่นไม้ที่ด้านหนึ่งสูงกว่าอีกด้านหนึ่งสามนิ้วเพื่อใช้รองนั่งแทนอาสนะ หลังจากที่ปักธูปที่จุดแล้วบนพื้นดินตรงหน้า เขาก็นั่งขัดสมาธิสูดลมหายใจลึกๆ ช้าๆ อย่างตั้งมั่น ผ่อนคลายไปสักพักใหญ่ก่อนที่จะทิ้งลมหายใจแล้วหันไปเพ่งความว่างภายใน จนเห็นความว่างทั้งลมหายใจเข้า และลมหายใจออกด้วย สุญญตสมาธิ
“เขา” เป็นผู้ที่ได้ตระหนักถึง “สิ่งที่วิเศษ” หรือ “สิ่งที่เป็นเลิศ” ที่ดำรงอยู่ภายในตัวเขามาได้นานปีแล้ว จนแทบกล่าวได้ว่า กว่าครึ่งค่อนชีวิตของตัวเขาได้หมดไปกับการแสวงหาความเป็นเลิศภายใน และหมดไปกับการฝึกฝนตนเองเพื่อลุถึงความเป็นเลิศภายในตัวเขานี้นั่นเอง
ไม่แต่เท่านั้น “เขา” ยังตระหนักได้ถึง ความเป็นโพธิสัตว์ ที่ใจเขามุ่งปรารถนามาตั้งแต่วัยเด็ก จนเห็นเป็นความหมายอันสำคัญยิ่งในชีวิตของเขา
“เขา” เห็นทุกข์ที่ดำรงอยู่ในตัวเขาเอง และก็รู้ดีว่า มนุษย์คนอื่นก็เป็นทุกข์ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้คนส่วนใหญ่ มิได้รู้ในสิ่งที่ตัวเขาได้เรียนรู้จาก คุรุ ของเขา ผู้คนส่วนใหญ่จึงประสบกับทุกข์อย่างทุรนทุรายเป็นอันมาก
เว้นจากโพธิสัตว์ทั้งหลายแล้ว ตัวเขาก็ไม่แลเห็นผู้ใดเลยที่จะมีพลังจิต พลังใจ พลังชีวิต พลังความคิด และพลังปัญญาที่มากพอจะมาช่วยบรรเทาทุกข์ให้แก่ชาวโลกและโลกใบนี้ได้ ด้วยเหตุนี้ การบังเกิดขึ้นมาของ โพธิสัตว์ ทั้งหลายจึงเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นเพื่อมาบรรลุ ภารกิจศักดิ์สิทธิ์ ในการกอบกู้โลกใบนี้
โพธิสัตว์ เป็นประเภทบุคคลที่หาได้ยาก อุบัติขึ้นได้ยาก โพธิสัตว์ จึงเป็นผู้ที่น่าเคารพ น่ายกย่องไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ยังใหม่อยู่ หรือผู้ยังอยู่ในระดับขั้นต้นๆ อยู่ก็ตาม ความใหม่ของ โพธิสัตว์ และระดับขั้นแรกเริ่มของ โพธิสัตว์ มิได้ทำให้ผู้นั้นต่ำต้อยแต่อย่างใดเลย เพราะไม่มีใครต่ำต้อยกว่าใครในโลกของ โพธิสัตว์ ไม่ว่าใหม่หรือเก่า ไม่ว่าขั้นต้นๆ หรือขั้นสูงต่างล้วนน่ายกย่องทั้งสิ้น
ผู้ที่ตั้งจิตปณิธานเป็น โพธิสัตว์ นั้น ย่อมมุ่งฝึกฝนตนเอง เพื่อยกระดับจิตของตนเองขึ้นสู่ ระดับจิตของจอมคนเหนือโลก ตามขั้นตอน “รู้กาย” “รู้ลม” “รู้ว่าง” และ “รู้ปัญญา” (รู้ตัวรู้อันยิ่ง) ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
“เขา” เรียก เส้นทางแห่งโพธิสัตว์ ของตัวเขาว่า โพธิสัตตบูรณา แต่ตัวเขายังไม่คิดเอาวิถีของเขามุ่งไปสู่เป้าหมายนิพพาน ก่อนที่จะปลดปล่อยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ เพราะฉะนั้น ถึงแม้ตัวเขาจะมีวาสนาทางธรรมจนได้เรียนรู้ และสามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ พุทธะ พึงรู้จาก คุรุ ของเขาแล้วก็ตาม แต่ตัวเขาจะไม่ทำตัวเองให้หมดจากอาสวะกิเลส เพราะ “เขา” จะต้องกลับมาเกิดอีกเพื่อปลดปล่อยสรรพสัตว์ให้พ้นภัยเหมือนกับ คุรุ ของเขาผู้เป็น พระมหาโพธิสัตว์
“เขา” ตระหนักได้เป็นอย่างดีว่า กำลังเกิดกลียุคขึ้นในสังคมนี้ และโลกใบนี้ “เขา” จึงต้องเรียนรู้การฝึกสติ ฝึกความรู้สึกตัว ฝึกปัญญา ฝึกสมาธิ ฝึกลมปราณ และศึกษาองค์ความรู้ต่างๆ ที่หลากหลายให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อที่จะออกไปช่วยโลก หรือออกไปกู้โลก ด้วยการถ่ายทอด “เทียนแห่งธรรม” หรือ วิถีแห่งการเจริญสติภาวนาอันยิ่งใหญ่ของพุทธะ ที่สามารถช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ภัยได้
อนึ่งคำว่า “ช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ภัย” นี้เป็น ภาษาธรรม ถ้าแปลคำนี้ออกมาเป็น ภาษาคน จะหมายถึง “การออกไปช่วยผลักดันให้เกิด วิวัฒนาการทางจิตแบบรวมหมู่ ขึ้นในสังคมไทย ซึ่งมีกลุ่มคนจำนวนมากที่มีระดับจิตที่หลากหลายแตกต่างกัน เพื่อให้สามารถยกระดับจิตของผู้คนทั้งหลายเหล่านั้นให้สูงขึ้นกว่าระดับจิตที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ และสามารถแลเห็นแนวทางที่จะพัฒนายกระดับจิตใจและจิตสำนึกของตนไปสู่ระดับสูงสุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ในชีวิตนี้”
ครั้งหนึ่งเคยมีคนถาม “เขา” ว่า
“อาจารย์คิดว่า คนที่เดินสายโพธิสัตว์ที่เป็นฆราวาสมีจำนวนมากหรือไม่ในปัจจุบัน และตัวอาจารย์เคยพบกับพวกเขาแล้วหรือยัง”
“เขา” ได้ตอบไปว่า
ผู้คนที่เคยเข้าร่วมกับตัวเขาและอาจารย์บูรพา ผดุงไทย ในการทำพิธีใช้พลังจิตเพ่งพีระมิดเพื่อบรรเทาภัยพิบัติโลกเมื่อหลายปีก่อน ก็เป็น สายโพธิสัตว์ ส่วนในปัจจุบัน เหล่าแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ตัวเขาได้เข้าไปร่วมเคลื่อนไหวด้วยตั้งแต่แรกเริ่มที่เกิด “ปรากฏการณ์สนธิ” เมื่อปลายปี 2548 สืบต่อเนื่องมาจนถึงปรากฏการณ์ “สงครามครั้งสุดท้ายของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ใน พ.ศ. 2551 ก็เป็น สายโพธิสัตว์ เช่นกัน
ไม่แต่เท่านั้น ผู้คนและผู้กล้านิรนามจำนวนมากที่แห่เข้ามาร่วม “กู้ชาติ” กับขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในช่วงสามสี่ปีนี้ ตัวเขาก็ถือว่า ผู้คนเหล่านี้ล้วนอยู่ใน สายโพธิสัตว์ นี้ด้วยเช่นกัน
ขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในสายตาของ “เขา” จึงเปรียบเสมือน ยานแห่งโพธิสัตตบูรณา ลำใหญ่ลำหนึ่งที่มีภารกิจศักดิ์สิทธิ์ในการกู้ชาติและสร้าง “การเมืองใหม่” เพื่อขับเคลื่อนและผลักดันวิวัฒนาการในทุกมิติให้บังเกิดขึ้นกับสังคมนี้ให้จงได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า
โพธิสัตตบูรณายาน แห่งขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยลำนี้ จักเป็นยานลำใหญ่เพื่อขนชาวพันธมิตรฯ ทุกคนให้สามารถ ก้าวล่วง ระบอบทุนนิยมสามานย์อย่างระบอบทักษิณ และการเมืองสามานย์ที่เป็นการเมืองเก่า รวมทั้งสามารถ ก้าวข้าม ข้อจำกัดแห่งวิวัฒนการของสังคมนี้ในขั้นตอนปัจจุบันของสังคมไทยให้จงได้
ยังมีคำถามที่ถาม “เขา” ต่ออีกว่า
“อาจารย์คะ ในสายตาของอาจารย์ ใครเป็นผู้กุมกระบวนการของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยคะ”
“เขา” ได้ตอบไปว่า
ถ้าหากได้อ่านหนังสือ “ยามเฝ้าแผ่นดิน” (สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์, พ.ศ. 2551) ซึ่งเป็นงานเขียนชิ้นก่อนของเขา ผู้อ่านก็จะจับความได้เองว่า ตัวเขามองว่า “จิตศักดิ์สิทธิ์” เป็นผู้กุมกระบวนการของขบวนการพันธมิตรฯ นี้จากโลกที่ยากจะหยั่งถึง และไม่อาจประมาณได้ แต่ครั้นพอปรากฏออกมาในโลกแห่งปรากฏการณ์นี้ มันจะเผยออกมาในรูปการ จิตสำนึกสูงสุด เป็นรูปการของ จิตสำนึกเชิงบูรณาการ โดยที่รูปการ จิตสำนึกเฉลี่ย ที่ชี้นำขบวนการอยู่คือ คติแบบราชาชาตินิยม ซึ่งเป็นภาษาและวาทกรรมที่สามารถสื่อสารกับผู้คนในวงกว้างได้
อนึ่งคำว่า “จิตศักดิ์สิทธิ์” ในที่นี้เป็น ภาษาธรรม ถ้าหากเป็นภาษาคนก็คือ ฟ้าลิขิต หรือทุกอย่างที่เกิดขึ้นมิใช่เรื่องบังเอิญนั่นเอง
ส่วนคำว่า จิตแบบโพธิสัตว์ นั้นก็เป็น ภาษาธรรม เช่นกัน ถ้าเป็น ภาษาคน จะเรียกว่า จิตสำนึกสาธารณะ
ความหมายของคำว่า “เทียนแห่งธรรม” ที่ใช้ใน โพธิสัตตบูรณายานแห่งขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงมี 3 ความหมายซ้อนกันอยู่คือ
ความหมายที่ 1 เป็นความหมายในเชิง เหนือโลก หมายถึง วิถีแห่งการเจริญสติภาวนา อันยิ่งใหญ่ของพุทธะที่สามารถช่วยให้มนุษย์ทุกคนพ้นทุกข์ได้ โดยไม่เกี่ยวกับเชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา หรือความเชื่อทางอุดมการณ์การเมืองใดๆ
ความหมายที่ 2 เป็นความหมายในเชิง ในโลก หมายถึง องค์ความรู้และวิสัยทัศน์เชิงบูรณาการแห่ง “การเมืองใหม่” หรือ การเมืองเชิงบูรณาการ ซึ่งสามารถเสนอแนวทางใน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงลึก หรือ การยกระดับจิตสำนึกอย่างรวมหมู่ ให้แก่ผู้คนหลากชนชั้น หลากฐานะ หลากระดับจิต ให้มีวิวัฒนาการทางจิตควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน เชิงระบบอย่างเหมาะสมได้
ความหมายที่ 3 เป็นความหมายในเชิง ปฏิบัติการ หมายถึง ขบวนการของการเมืองภาคประชาชน และพรรคการเมืองในระบบเพื่อผลักดัน “การเมืองใหม่” ให้ปรากฏเป็นจริง โดยมีโทรทัศน์เสรีของภาคประชาชนอย่าง ASTV และสื่อต่างๆ ในเครือผู้จัดการเป็นศูนย์กลาง
***
หลังจากที่ “เขา” ได้มีประสบการณ์ปาฏิหาริย์กับเทพเจ้า เมื่อ พ.ศ. 2542 (รายละเอียดอยู่ในหนังสือ “ยอดคนมังกรจักรวาล”, สำนักพิมพ์มังกรบูรณา, 2551) ตัว “เขา” ค่อยพบว่า เบื้องหลังของเขามี “จิตศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งเป็นดุจหัตถ์แห่งโชคชะตา หรือหัตถ์เทวะคอยหนุนหลังตัวเขาอยู่ ไม่ใช่แค่ตัวเขาเท่านั้นหรอกที่รู้สึกได้เช่นนี้ เขาเชื่อว่า สนธิ ลิ้มทองกุล หนึ่งในแกนนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็รู้สึกเหมือนอย่างตัว “เขา” เช่นกัน
แม้แต่การที่ตัวเขาได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์สนธิ และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตั้งแต่เริ่มแรกซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องบังเอิญ แต่ “เขา” ก็ยังรู้สึกว่า มันเป็นผลจากการผลักดันของหัตถ์แห่งโชคชะตาคู่นี้ต่างหาก ถึงกระนั้นก็ตาม ตัวเขาก็ยังรู้สึกว่าทุกประการยังคงไม่อาจหยั่งรู้ได้ และสุดที่จะคาดคำนวณได้ทั้งหมดทั้งสิ้น “เขา” มีแต่ความมุ่งมั่นและเด็ดเดี่ยว เฉกเช่นเดียวกับเหล่าพี่น้องพันธมิตรฯ ของเขาที่ได้หลอมหัวใจรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น
ขณะนั้นเป็นรุ่งเช้าของวันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ก่อนการชุมนุมใหญ่ซึ่งเป็นการเป่านกหวีดครั้งสุดท้ายของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเพียงหนึ่งวันเท่านั้น
...ปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 กรุงเทพมหานคร
เช้าตรู่วันนั้น “เขา” รีบลุกขึ้นจากที่นอน และตรงดิ่งไปที่ต้นโพธิ์ใหญ่ข้างบ้านของเขาที่อยู่ริมคลอง พร้อมกับธูปก้านหนึ่งที่จุดแล้วในมือ เพื่อไปบำเพ็ญภาวนาเหมือนเช่นเคย
“สงครามครั้งสุดท้าย” ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ปักหลักยืนหยัดชุมนุมต่อเนื่องเพื่อคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ และการฟื้นคืนชีพของระบอบทักษิณที่เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ยังคงดำรงอยู่ และได้ผ่านการต่อสู้ที่ดุเดือดเข้มข้นมา 90 กว่าวันแล้ว โดยได้สั่งสมชัยชนะน้อยใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ
ตัวเขาได้เข้าไปเป็น ผู้สังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม โดยใกล้ชิดใน “สงครามครั้งสุดท้าย” ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นี้เหมือนกับที่ตัวเขาก็ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการลุกขึ้นสู้กับระบอบทักษิณ ครั้งที่ 1 ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 จนกระทั่งผลิตงานเขียนอย่าง “ยามเฝ้าแผ่นดิน” (สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์, 2551) ออกมา ครั้งนี้ก็เช่นกันน “เขา” ได้ครุ่นคิดถึง ความหมายทางประวัติศาสตร์ ของขบวนการภาคประชาชนยุคใหม่หรือ ขบวนการยามเฝ้าแผ่นดิน ที่ตัวเขาได้มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยตั้งแต่เริ่มแรกอย่างจริงจัง
ต้นโพธิ์ใหญ่ริมคลองต้นนี้ “เขา” เป็นคนปลูกเองกับมือตั้งแต่เมื่อสิบปีก่อน ในช่วงสามสี่ปีมานี้ พร้อมๆ กับการที่ตัวเขาได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการต่อสู้โค่นล้มระบอบทักษิณ เมื่อ พ.ศ. 2548 ตัวเขาก็ได้ใช้โคนต้นโพธิ์ใหญ่ต้นนี้เป็นตำแหน่งแห่งที่ของตัวในจักรวาฬ เพื่อการบำเพ็ญเพียรทางจิตและการเจริญสมาธิภาวนาเรื่อยมา
พลังแรงบันดาลใจ ความสร้างสรรค์ และปัญญาญาณทั้งปวงในงานเขียน งานคิด และการงานอื่นๆ ของตัวเขา ล้วนผุดบังเกิดขึ้นมาจากที่แห่งนี้แทบทั้งสิ้น
ที่โคนต้นโพธิ์ใหญ่ต้นนี้ ตัวเขาได้ปูแผ่นไม้ที่ด้านหนึ่งสูงกว่าอีกด้านหนึ่งสามนิ้วเพื่อใช้รองนั่งแทนอาสนะ หลังจากที่ปักธูปที่จุดแล้วบนพื้นดินตรงหน้า เขาก็นั่งขัดสมาธิสูดลมหายใจลึกๆ ช้าๆ อย่างตั้งมั่น ผ่อนคลายไปสักพักใหญ่ก่อนที่จะทิ้งลมหายใจแล้วหันไปเพ่งความว่างภายใน จนเห็นความว่างทั้งลมหายใจเข้า และลมหายใจออกด้วย สุญญตสมาธิ
“เขา” เป็นผู้ที่ได้ตระหนักถึง “สิ่งที่วิเศษ” หรือ “สิ่งที่เป็นเลิศ” ที่ดำรงอยู่ภายในตัวเขามาได้นานปีแล้ว จนแทบกล่าวได้ว่า กว่าครึ่งค่อนชีวิตของตัวเขาได้หมดไปกับการแสวงหาความเป็นเลิศภายใน และหมดไปกับการฝึกฝนตนเองเพื่อลุถึงความเป็นเลิศภายในตัวเขานี้นั่นเอง
ไม่แต่เท่านั้น “เขา” ยังตระหนักได้ถึง ความเป็นโพธิสัตว์ ที่ใจเขามุ่งปรารถนามาตั้งแต่วัยเด็ก จนเห็นเป็นความหมายอันสำคัญยิ่งในชีวิตของเขา
“เขา” เห็นทุกข์ที่ดำรงอยู่ในตัวเขาเอง และก็รู้ดีว่า มนุษย์คนอื่นก็เป็นทุกข์ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้คนส่วนใหญ่ มิได้รู้ในสิ่งที่ตัวเขาได้เรียนรู้จาก คุรุ ของเขา ผู้คนส่วนใหญ่จึงประสบกับทุกข์อย่างทุรนทุรายเป็นอันมาก
เว้นจากโพธิสัตว์ทั้งหลายแล้ว ตัวเขาก็ไม่แลเห็นผู้ใดเลยที่จะมีพลังจิต พลังใจ พลังชีวิต พลังความคิด และพลังปัญญาที่มากพอจะมาช่วยบรรเทาทุกข์ให้แก่ชาวโลกและโลกใบนี้ได้ ด้วยเหตุนี้ การบังเกิดขึ้นมาของ โพธิสัตว์ ทั้งหลายจึงเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นเพื่อมาบรรลุ ภารกิจศักดิ์สิทธิ์ ในการกอบกู้โลกใบนี้
โพธิสัตว์ เป็นประเภทบุคคลที่หาได้ยาก อุบัติขึ้นได้ยาก โพธิสัตว์ จึงเป็นผู้ที่น่าเคารพ น่ายกย่องไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ยังใหม่อยู่ หรือผู้ยังอยู่ในระดับขั้นต้นๆ อยู่ก็ตาม ความใหม่ของ โพธิสัตว์ และระดับขั้นแรกเริ่มของ โพธิสัตว์ มิได้ทำให้ผู้นั้นต่ำต้อยแต่อย่างใดเลย เพราะไม่มีใครต่ำต้อยกว่าใครในโลกของ โพธิสัตว์ ไม่ว่าใหม่หรือเก่า ไม่ว่าขั้นต้นๆ หรือขั้นสูงต่างล้วนน่ายกย่องทั้งสิ้น
ผู้ที่ตั้งจิตปณิธานเป็น โพธิสัตว์ นั้น ย่อมมุ่งฝึกฝนตนเอง เพื่อยกระดับจิตของตนเองขึ้นสู่ ระดับจิตของจอมคนเหนือโลก ตามขั้นตอน “รู้กาย” “รู้ลม” “รู้ว่าง” และ “รู้ปัญญา” (รู้ตัวรู้อันยิ่ง) ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
“เขา” เรียก เส้นทางแห่งโพธิสัตว์ ของตัวเขาว่า โพธิสัตตบูรณา แต่ตัวเขายังไม่คิดเอาวิถีของเขามุ่งไปสู่เป้าหมายนิพพาน ก่อนที่จะปลดปล่อยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ เพราะฉะนั้น ถึงแม้ตัวเขาจะมีวาสนาทางธรรมจนได้เรียนรู้ และสามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ พุทธะ พึงรู้จาก คุรุ ของเขาแล้วก็ตาม แต่ตัวเขาจะไม่ทำตัวเองให้หมดจากอาสวะกิเลส เพราะ “เขา” จะต้องกลับมาเกิดอีกเพื่อปลดปล่อยสรรพสัตว์ให้พ้นภัยเหมือนกับ คุรุ ของเขาผู้เป็น พระมหาโพธิสัตว์
“เขา” ตระหนักได้เป็นอย่างดีว่า กำลังเกิดกลียุคขึ้นในสังคมนี้ และโลกใบนี้ “เขา” จึงต้องเรียนรู้การฝึกสติ ฝึกความรู้สึกตัว ฝึกปัญญา ฝึกสมาธิ ฝึกลมปราณ และศึกษาองค์ความรู้ต่างๆ ที่หลากหลายให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อที่จะออกไปช่วยโลก หรือออกไปกู้โลก ด้วยการถ่ายทอด “เทียนแห่งธรรม” หรือ วิถีแห่งการเจริญสติภาวนาอันยิ่งใหญ่ของพุทธะ ที่สามารถช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ภัยได้
อนึ่งคำว่า “ช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ภัย” นี้เป็น ภาษาธรรม ถ้าแปลคำนี้ออกมาเป็น ภาษาคน จะหมายถึง “การออกไปช่วยผลักดันให้เกิด วิวัฒนาการทางจิตแบบรวมหมู่ ขึ้นในสังคมไทย ซึ่งมีกลุ่มคนจำนวนมากที่มีระดับจิตที่หลากหลายแตกต่างกัน เพื่อให้สามารถยกระดับจิตของผู้คนทั้งหลายเหล่านั้นให้สูงขึ้นกว่าระดับจิตที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ และสามารถแลเห็นแนวทางที่จะพัฒนายกระดับจิตใจและจิตสำนึกของตนไปสู่ระดับสูงสุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ในชีวิตนี้”
ครั้งหนึ่งเคยมีคนถาม “เขา” ว่า
“อาจารย์คิดว่า คนที่เดินสายโพธิสัตว์ที่เป็นฆราวาสมีจำนวนมากหรือไม่ในปัจจุบัน และตัวอาจารย์เคยพบกับพวกเขาแล้วหรือยัง”
“เขา” ได้ตอบไปว่า
ผู้คนที่เคยเข้าร่วมกับตัวเขาและอาจารย์บูรพา ผดุงไทย ในการทำพิธีใช้พลังจิตเพ่งพีระมิดเพื่อบรรเทาภัยพิบัติโลกเมื่อหลายปีก่อน ก็เป็น สายโพธิสัตว์ ส่วนในปัจจุบัน เหล่าแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ตัวเขาได้เข้าไปร่วมเคลื่อนไหวด้วยตั้งแต่แรกเริ่มที่เกิด “ปรากฏการณ์สนธิ” เมื่อปลายปี 2548 สืบต่อเนื่องมาจนถึงปรากฏการณ์ “สงครามครั้งสุดท้ายของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ใน พ.ศ. 2551 ก็เป็น สายโพธิสัตว์ เช่นกัน
ไม่แต่เท่านั้น ผู้คนและผู้กล้านิรนามจำนวนมากที่แห่เข้ามาร่วม “กู้ชาติ” กับขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในช่วงสามสี่ปีนี้ ตัวเขาก็ถือว่า ผู้คนเหล่านี้ล้วนอยู่ใน สายโพธิสัตว์ นี้ด้วยเช่นกัน
ขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในสายตาของ “เขา” จึงเปรียบเสมือน ยานแห่งโพธิสัตตบูรณา ลำใหญ่ลำหนึ่งที่มีภารกิจศักดิ์สิทธิ์ในการกู้ชาติและสร้าง “การเมืองใหม่” เพื่อขับเคลื่อนและผลักดันวิวัฒนาการในทุกมิติให้บังเกิดขึ้นกับสังคมนี้ให้จงได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า
โพธิสัตตบูรณายาน แห่งขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยลำนี้ จักเป็นยานลำใหญ่เพื่อขนชาวพันธมิตรฯ ทุกคนให้สามารถ ก้าวล่วง ระบอบทุนนิยมสามานย์อย่างระบอบทักษิณ และการเมืองสามานย์ที่เป็นการเมืองเก่า รวมทั้งสามารถ ก้าวข้าม ข้อจำกัดแห่งวิวัฒนการของสังคมนี้ในขั้นตอนปัจจุบันของสังคมไทยให้จงได้
ยังมีคำถามที่ถาม “เขา” ต่ออีกว่า
“อาจารย์คะ ในสายตาของอาจารย์ ใครเป็นผู้กุมกระบวนการของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยคะ”
“เขา” ได้ตอบไปว่า
ถ้าหากได้อ่านหนังสือ “ยามเฝ้าแผ่นดิน” (สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์, พ.ศ. 2551) ซึ่งเป็นงานเขียนชิ้นก่อนของเขา ผู้อ่านก็จะจับความได้เองว่า ตัวเขามองว่า “จิตศักดิ์สิทธิ์” เป็นผู้กุมกระบวนการของขบวนการพันธมิตรฯ นี้จากโลกที่ยากจะหยั่งถึง และไม่อาจประมาณได้ แต่ครั้นพอปรากฏออกมาในโลกแห่งปรากฏการณ์นี้ มันจะเผยออกมาในรูปการ จิตสำนึกสูงสุด เป็นรูปการของ จิตสำนึกเชิงบูรณาการ โดยที่รูปการ จิตสำนึกเฉลี่ย ที่ชี้นำขบวนการอยู่คือ คติแบบราชาชาตินิยม ซึ่งเป็นภาษาและวาทกรรมที่สามารถสื่อสารกับผู้คนในวงกว้างได้
อนึ่งคำว่า “จิตศักดิ์สิทธิ์” ในที่นี้เป็น ภาษาธรรม ถ้าหากเป็นภาษาคนก็คือ ฟ้าลิขิต หรือทุกอย่างที่เกิดขึ้นมิใช่เรื่องบังเอิญนั่นเอง
ส่วนคำว่า จิตแบบโพธิสัตว์ นั้นก็เป็น ภาษาธรรม เช่นกัน ถ้าเป็น ภาษาคน จะเรียกว่า จิตสำนึกสาธารณะ
ความหมายของคำว่า “เทียนแห่งธรรม” ที่ใช้ใน โพธิสัตตบูรณายานแห่งขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงมี 3 ความหมายซ้อนกันอยู่คือ
ความหมายที่ 1 เป็นความหมายในเชิง เหนือโลก หมายถึง วิถีแห่งการเจริญสติภาวนา อันยิ่งใหญ่ของพุทธะที่สามารถช่วยให้มนุษย์ทุกคนพ้นทุกข์ได้ โดยไม่เกี่ยวกับเชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา หรือความเชื่อทางอุดมการณ์การเมืองใดๆ
ความหมายที่ 2 เป็นความหมายในเชิง ในโลก หมายถึง องค์ความรู้และวิสัยทัศน์เชิงบูรณาการแห่ง “การเมืองใหม่” หรือ การเมืองเชิงบูรณาการ ซึ่งสามารถเสนอแนวทางใน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงลึก หรือ การยกระดับจิตสำนึกอย่างรวมหมู่ ให้แก่ผู้คนหลากชนชั้น หลากฐานะ หลากระดับจิต ให้มีวิวัฒนาการทางจิตควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน เชิงระบบอย่างเหมาะสมได้
ความหมายที่ 3 เป็นความหมายในเชิง ปฏิบัติการ หมายถึง ขบวนการของการเมืองภาคประชาชน และพรรคการเมืองในระบบเพื่อผลักดัน “การเมืองใหม่” ให้ปรากฏเป็นจริง โดยมีโทรทัศน์เสรีของภาคประชาชนอย่าง ASTV และสื่อต่างๆ ในเครือผู้จัดการเป็นศูนย์กลาง
***
หลังจากที่ “เขา” ได้มีประสบการณ์ปาฏิหาริย์กับเทพเจ้า เมื่อ พ.ศ. 2542 (รายละเอียดอยู่ในหนังสือ “ยอดคนมังกรจักรวาล”, สำนักพิมพ์มังกรบูรณา, 2551) ตัว “เขา” ค่อยพบว่า เบื้องหลังของเขามี “จิตศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งเป็นดุจหัตถ์แห่งโชคชะตา หรือหัตถ์เทวะคอยหนุนหลังตัวเขาอยู่ ไม่ใช่แค่ตัวเขาเท่านั้นหรอกที่รู้สึกได้เช่นนี้ เขาเชื่อว่า สนธิ ลิ้มทองกุล หนึ่งในแกนนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็รู้สึกเหมือนอย่างตัว “เขา” เช่นกัน
แม้แต่การที่ตัวเขาได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์สนธิ และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตั้งแต่เริ่มแรกซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องบังเอิญ แต่ “เขา” ก็ยังรู้สึกว่า มันเป็นผลจากการผลักดันของหัตถ์แห่งโชคชะตาคู่นี้ต่างหาก ถึงกระนั้นก็ตาม ตัวเขาก็ยังรู้สึกว่าทุกประการยังคงไม่อาจหยั่งรู้ได้ และสุดที่จะคาดคำนวณได้ทั้งหมดทั้งสิ้น “เขา” มีแต่ความมุ่งมั่นและเด็ดเดี่ยว เฉกเช่นเดียวกับเหล่าพี่น้องพันธมิตรฯ ของเขาที่ได้หลอมหัวใจรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น
ขณะนั้นเป็นรุ่งเช้าของวันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ก่อนการชุมนุมใหญ่ซึ่งเป็นการเป่านกหวีดครั้งสุดท้ายของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเพียงหนึ่งวันเท่านั้น