เอเจนซี - พบคนที่หาเวลายืดเส้นยืดสายในออฟฟิศ จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข อีกทั้งสามารถรับมือกับความเครียดและปัญหาที่ถาโถมเข้ามาอย่างมีสติมากกว่า
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริสตอลของอังกฤษพบว่า พนักงานที่ออกกำลังกายก่อนทำงาน หรือระหว่างพักกลางวัน จะสามารถรับมือกับความเครียดหรือสิ่งใดๆ ก็ตามที่ถาโถมเข้าใส่ และอารมณ์โดยรวมยังดีขึ้นตลอดทั้งวัน ในทางกลับกัน อารมณ์จะเยือกเย็นน้อยลงในวันที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
งานวิจัยชิ้นนี้ที่ตีพิมพ์ในวารสารอินเตอร์เนชันแนล เจอร์นัล ออฟ เวิร์กเพลซ เฮลท์ แมเนจเมนท์ ถือเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่พิสูจน์ว่าการออกกำลังกายระหว่างชั่วโมงทำงานมีประโยชน์ทั้งต่อร่างกายและจิตใจ
“ผลลัพธ์ในเชิงสถิติของเรามีความสำคัญมาก กล่าวคือในวันออกกำลังกาย อารมณ์ของคนเราจะดีขึ้นอย่างชัดเจนหลังออกกำลังกาย แต่อารมณ์จะเป็นแบบเดียวกันตลอดทั้งวันถ้าไม่ได้ออกกำลังกาย ยกเว้นความรู้สึกเยือกเย็นที่จะเสื่อมลง
“ที่สำคัญ พนักงานจะทำงานได้ดีขึ้นในวันที่ออกกำลังกายในทั้งสามด้านที่เราวัดผล คือการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ผลงาน และเวลาที่ใช้ในการทำงาน” โจ โคลสัน จากแผนกวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย โภชนาการ และสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยบริสตอลกล่าว
กลุ่มศึกษาประกอบด้วยเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของมหาวิทยาลัย 200 คนที่ทำงานให้บริษัทบริหารระบบบำนาญและบริษัทไอที
พนักงานแต่ละคนจะทำแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพอารมณ์ งานที่ได้รับมอบหมาย และประสิทธภาพการทำงานในวันที่ออกกำลังกาย
จากนั้น นักวิจัยนำข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับคำตอบของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
สำหรับพนักงานที่ออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว จะเลือกโหมดของตัวเอง ความถี่ และระดับการออกกำลังกายที่สะท้อนถึงสถานการณ์ในชีวิตจริงได้ดียิ่งขึ้น
ผลลัพธ์ที่พบคือ 72% บอกว่าบริหารเวลาได้ดีขึ้นในวันออกกำลังกายเทียบกับวันที่ไม่ได้ออกกำลังกาย, 79% มีประสิทธิภาพในการใช้ความคิดและโต้ตอบกับผู้อื่นดีขึ้นในวันออกกำลังกาย และ 74% รับผิดชอบงานได้ดีขึ้น
นอกจากนี้ยังพบว่า 27% สามารถจัดการกับความเครียดได้ดีขึ้นในวันออกกำลังกาย และกระตือรือร้นในการทำงานมากขึ้น 41%
คนที่ออกกำลังกายยังมีสมาธิกับการทำงานมากขึ้น 21%, 25% ทำงานได้ภายในกำหนดเวลา และ 22% ทำงานเสร็จทันเวลา
สำหรับกลุ่มควบคุมพบว่า คนที่ออกกำลังกายในเวลางานรู้สึกกระปรี้กระเปร่า สงบ และสามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้น
โคลสันสำทับว่า งานวิจัยนี้เป็นการตั้งคำถามต่อนายจ้างว่าสมควรหรือไม่ที่จะส่งเสริมให้พนักงานมีกิจกรรมการออกกำลังกายในออฟฟิศ
อย่างไรก็ดี งานวิจัยกลับพบว่า พนักงานไม่สามารถหาเวลายืดเส้นยืดสายในที่ทำงานได้ ซ้ำรู้สึกผิดและกลัวว่าจะถูกเพื่อนร่วมงานตำหนิหากปลีกเวลาลุกจากโต๊ะทำงาน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริสตอลของอังกฤษพบว่า พนักงานที่ออกกำลังกายก่อนทำงาน หรือระหว่างพักกลางวัน จะสามารถรับมือกับความเครียดหรือสิ่งใดๆ ก็ตามที่ถาโถมเข้าใส่ และอารมณ์โดยรวมยังดีขึ้นตลอดทั้งวัน ในทางกลับกัน อารมณ์จะเยือกเย็นน้อยลงในวันที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
งานวิจัยชิ้นนี้ที่ตีพิมพ์ในวารสารอินเตอร์เนชันแนล เจอร์นัล ออฟ เวิร์กเพลซ เฮลท์ แมเนจเมนท์ ถือเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่พิสูจน์ว่าการออกกำลังกายระหว่างชั่วโมงทำงานมีประโยชน์ทั้งต่อร่างกายและจิตใจ
“ผลลัพธ์ในเชิงสถิติของเรามีความสำคัญมาก กล่าวคือในวันออกกำลังกาย อารมณ์ของคนเราจะดีขึ้นอย่างชัดเจนหลังออกกำลังกาย แต่อารมณ์จะเป็นแบบเดียวกันตลอดทั้งวันถ้าไม่ได้ออกกำลังกาย ยกเว้นความรู้สึกเยือกเย็นที่จะเสื่อมลง
“ที่สำคัญ พนักงานจะทำงานได้ดีขึ้นในวันที่ออกกำลังกายในทั้งสามด้านที่เราวัดผล คือการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ผลงาน และเวลาที่ใช้ในการทำงาน” โจ โคลสัน จากแผนกวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย โภชนาการ และสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยบริสตอลกล่าว
กลุ่มศึกษาประกอบด้วยเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของมหาวิทยาลัย 200 คนที่ทำงานให้บริษัทบริหารระบบบำนาญและบริษัทไอที
พนักงานแต่ละคนจะทำแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพอารมณ์ งานที่ได้รับมอบหมาย และประสิทธภาพการทำงานในวันที่ออกกำลังกาย
จากนั้น นักวิจัยนำข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับคำตอบของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
สำหรับพนักงานที่ออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว จะเลือกโหมดของตัวเอง ความถี่ และระดับการออกกำลังกายที่สะท้อนถึงสถานการณ์ในชีวิตจริงได้ดียิ่งขึ้น
ผลลัพธ์ที่พบคือ 72% บอกว่าบริหารเวลาได้ดีขึ้นในวันออกกำลังกายเทียบกับวันที่ไม่ได้ออกกำลังกาย, 79% มีประสิทธิภาพในการใช้ความคิดและโต้ตอบกับผู้อื่นดีขึ้นในวันออกกำลังกาย และ 74% รับผิดชอบงานได้ดีขึ้น
นอกจากนี้ยังพบว่า 27% สามารถจัดการกับความเครียดได้ดีขึ้นในวันออกกำลังกาย และกระตือรือร้นในการทำงานมากขึ้น 41%
คนที่ออกกำลังกายยังมีสมาธิกับการทำงานมากขึ้น 21%, 25% ทำงานได้ภายในกำหนดเวลา และ 22% ทำงานเสร็จทันเวลา
สำหรับกลุ่มควบคุมพบว่า คนที่ออกกำลังกายในเวลางานรู้สึกกระปรี้กระเปร่า สงบ และสามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้น
โคลสันสำทับว่า งานวิจัยนี้เป็นการตั้งคำถามต่อนายจ้างว่าสมควรหรือไม่ที่จะส่งเสริมให้พนักงานมีกิจกรรมการออกกำลังกายในออฟฟิศ
อย่างไรก็ดี งานวิจัยกลับพบว่า พนักงานไม่สามารถหาเวลายืดเส้นยืดสายในที่ทำงานได้ ซ้ำรู้สึกผิดและกลัวว่าจะถูกเพื่อนร่วมงานตำหนิหากปลีกเวลาลุกจากโต๊ะทำงาน