ดร.สุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่น เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี ปัญหากำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง รวมไปถึงข่าวกระแสการเลิกจ้างงานในภาคเอกชนที่จะมีมากขึ้นในปีหน้านี้ ส่งผลให้ตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ การขายแฟรนไชส์ของร้านเซเว่นอีเลฟเว่นมีมากขึ้นและเติบโตอย่างมากเมื่อเทียบกับในช่วงอดีตที่ผ่านมา และคาดว่าภาวะการณ์เช่นนี้จะมีมากขึ้นในปีหน้าด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ภายในสิ้นปีนี้บริษัทฯคาดว่า จะมีร้านเซเว่นอีเลฟเว่นเปิดบริการทั้งสิ้นประมาณ 4,750 สาขาจากปัจจุบันที่มีประมาณ 4,700 สาขาแล้ว และคาดว่าปีหน้าจะมีสาขารวมทั้งสิ้น 5,000 สาขา อย่างไรก็ตามบริษัทฯยังคงสัดส่วนการเป็นเจ้าของลงทุนเองประมาณ 60% และสาขาของแฟรนไชส์ประมาณ 40% จะเพิ่มมากขึ้นในปีหน้า โดยจะเน้นที่การขายแฟรนไชส์ ซึ่งแต่ละปีเปิดใหม่ประมาณ 400-450 สาขาต่อปี
ปัจจุบันรูปแบบแฟรนไชส์ของเซเว่นอีเลฟเว่นมี 2 รูปแบบคือ 1.ลงทุน 1.5 ล้านบาท ผลตอบแทนที่แฟรนไชส์ได้รับจะตายตัวอยู่ที่ 20,000 บาทต่อเดือน (ซึ่งจริงๆแล้วลงทุนเพียงแค่ 5 แสนบาทเท่านั้น เพราะอีก 1 ล้านบาทนั้นเป็นเงินค้ำประกัน) รูปแบบที่ 2.ลงทุน 2.6 ล้านบาท ซึ่งในอดีตรูปแบบนี้ลงทุนสูงสุด 3.5 ล้านบาท ผลตอบแทนนั้นจะแบ่งกันตามสัดส่วนของรายได้รวมที่ทำได้จริง คือ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้รับ 54% และเซเว่นอีเลฟเว่นรับส่วนแบ่ง 46% โดยมีระยะเวลาสัญญา 6 ปี ซึ่งรูปแบบที่ 2 นั้นในอดีตส่วนแบ่งของแฟรนไชส์อยู่ที่ 65% บริษัทฯ 35%
บริษัทฯมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและรูปแบบแฟรนไชส์มาโดยตลอด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและจูงใจผู้ซื้อแฟรนไชส์มากขึ้น ตอนนี้เรามีแบงก์นครหลวงไทยเป็นผู้สนับสนุนการเงิน ซึ่งก่อนหน้านี้เข้มงวดเรื่องหลักการประกันอย่างมาก แต่ตอนนี้ก็มีการผ่อนปรนมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มาเป็นแฟรนไชส์ซี่ของเซเว่นอีเลฟเว่น
"เรายังคงเน้นการขายแฟรนไชส์มากขึ้น ซึ่งบางครั้งเรารอไม่ได้ เพราะได้ทำเลที่ดี และตลาดในบริเวณนั้นมีความต้องการสูง เราต้องลงทุนไปก่อน แล้วรอให้ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์มาสวมแทน" ดร.สุวิทย์กล่าว
สำหรับผลประกอบการในช่วง 3 ไตรมาสปีนี้ และไตรมาสที่สามปีนี้ ถือว่ามีผลประกอบการที่น่าพอใจ สูงกว่าเป้าหมาย เนื่องจาก บริษัทฯมีการปรับเปลี่ยนและนำเสนอสินค้าที่ตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น โดยปัจจุบันสัดส่วนสินค้าอาหาร 80% และไม่ใช่อาหาร 20% การทำโปรโมชั่น ซึ่งทำได้ดี ล่าสุดคือการสะสมแสตมป์โดราเอมอน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วการทำโปรโมชั่นแต่ละครั้งบริษัทฯคาดหวังยอดขายเพิ่มขึ้น 20%
ทั้งนี้ภายในสิ้นปีนี้บริษัทฯคาดว่า จะมีร้านเซเว่นอีเลฟเว่นเปิดบริการทั้งสิ้นประมาณ 4,750 สาขาจากปัจจุบันที่มีประมาณ 4,700 สาขาแล้ว และคาดว่าปีหน้าจะมีสาขารวมทั้งสิ้น 5,000 สาขา อย่างไรก็ตามบริษัทฯยังคงสัดส่วนการเป็นเจ้าของลงทุนเองประมาณ 60% และสาขาของแฟรนไชส์ประมาณ 40% จะเพิ่มมากขึ้นในปีหน้า โดยจะเน้นที่การขายแฟรนไชส์ ซึ่งแต่ละปีเปิดใหม่ประมาณ 400-450 สาขาต่อปี
ปัจจุบันรูปแบบแฟรนไชส์ของเซเว่นอีเลฟเว่นมี 2 รูปแบบคือ 1.ลงทุน 1.5 ล้านบาท ผลตอบแทนที่แฟรนไชส์ได้รับจะตายตัวอยู่ที่ 20,000 บาทต่อเดือน (ซึ่งจริงๆแล้วลงทุนเพียงแค่ 5 แสนบาทเท่านั้น เพราะอีก 1 ล้านบาทนั้นเป็นเงินค้ำประกัน) รูปแบบที่ 2.ลงทุน 2.6 ล้านบาท ซึ่งในอดีตรูปแบบนี้ลงทุนสูงสุด 3.5 ล้านบาท ผลตอบแทนนั้นจะแบ่งกันตามสัดส่วนของรายได้รวมที่ทำได้จริง คือ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้รับ 54% และเซเว่นอีเลฟเว่นรับส่วนแบ่ง 46% โดยมีระยะเวลาสัญญา 6 ปี ซึ่งรูปแบบที่ 2 นั้นในอดีตส่วนแบ่งของแฟรนไชส์อยู่ที่ 65% บริษัทฯ 35%
บริษัทฯมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและรูปแบบแฟรนไชส์มาโดยตลอด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและจูงใจผู้ซื้อแฟรนไชส์มากขึ้น ตอนนี้เรามีแบงก์นครหลวงไทยเป็นผู้สนับสนุนการเงิน ซึ่งก่อนหน้านี้เข้มงวดเรื่องหลักการประกันอย่างมาก แต่ตอนนี้ก็มีการผ่อนปรนมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มาเป็นแฟรนไชส์ซี่ของเซเว่นอีเลฟเว่น
"เรายังคงเน้นการขายแฟรนไชส์มากขึ้น ซึ่งบางครั้งเรารอไม่ได้ เพราะได้ทำเลที่ดี และตลาดในบริเวณนั้นมีความต้องการสูง เราต้องลงทุนไปก่อน แล้วรอให้ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์มาสวมแทน" ดร.สุวิทย์กล่าว
สำหรับผลประกอบการในช่วง 3 ไตรมาสปีนี้ และไตรมาสที่สามปีนี้ ถือว่ามีผลประกอบการที่น่าพอใจ สูงกว่าเป้าหมาย เนื่องจาก บริษัทฯมีการปรับเปลี่ยนและนำเสนอสินค้าที่ตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น โดยปัจจุบันสัดส่วนสินค้าอาหาร 80% และไม่ใช่อาหาร 20% การทำโปรโมชั่น ซึ่งทำได้ดี ล่าสุดคือการสะสมแสตมป์โดราเอมอน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วการทำโปรโมชั่นแต่ละครั้งบริษัทฯคาดหวังยอดขายเพิ่มขึ้น 20%