รอยเตอร์ - ผู้หญิงยังคงตามหลังผู้ชายอย่างลิบลับในแสดงบทบาททางการเมืองระดับสูงและอำนาจในการตัดสินใจ อันเป็นการสูญเสียความสามารถของพวกเธอแบบเปล่าประโยชน์ แม้ทั้ง 2 เพศจะมีโอกาสเข้าถึงระบบการศึกษาและสาธารณสุขเกือบเท่าเทียมกันแล้วก็ตาม เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม (ดับเบิลยูอีเอฟ) เผยวานนี้ (12)
ในรายงานช่องว่างด้านเพศสภาพทั่วโลกประจำปี 2008 ของดับเบิลยูอีเอฟชี้ว่า นอร์เวย์, ฟินแลนด์ และสวีเดน เป็นประเทศที่มีความเท่าเทียมทางเพศมากที่สุด ขณะที่ซาอุดีอาระเบีย, ชาด และเยเมน ถูกจัดอยู่ในประเทศซึ่งมีความเท่าเทียมระหว่างชายหญิงน้อยที่สุด
รายงานฉบับนี้บอกว่า เด็กหญิงและผู้หญิงมีโอกาสเกือบจะเท่าเทียมผู้ชายในด้านการศึกษา, สาธารณสุขและความอยู่รอด ทั้งในประเทศร่ำรวยและยากจน
แต่ด้านเศรษฐกิจแล้วกลับตรงข้ามกับอย่างสิ้นเชิง เพราะสำหรับการมีส่วนร่วมในทำงานและโอกาสด้านการจ้างงาน หรือแม้แต่ในทางการเมืองเรื่องการใช้อำนาจนั้น ช่องว่างระหว่างชายและหญิงยังคงห่างกันลิบลิ่ว
"เฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้หญิงมีโอกาสเกือบเท่าเทียมผู้ชายในเรื่องการศึกษาและสาธารณสุข จึงเป็นการสูญเสียความสามารถของพวกเธอแบบเปล่าประโยชน์ หากผู้หญิงไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจและการเมืองได้" ซาเดีย ซาฮีดี จากดับเบิลยูอีเอฟกล่าว
ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวรวมรวบจากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติและหน่วยงานต่าง ๆ ในการพิจารณาและประเมินว่า แต่ละประเทศแบ่งปันทรัพยากรและโอกาสต่าง ๆ ระหว่างชายหญิงอย่างไร
ในรายงานช่องว่างด้านเพศสภาพทั่วโลกประจำปี 2008 ของดับเบิลยูอีเอฟชี้ว่า นอร์เวย์, ฟินแลนด์ และสวีเดน เป็นประเทศที่มีความเท่าเทียมทางเพศมากที่สุด ขณะที่ซาอุดีอาระเบีย, ชาด และเยเมน ถูกจัดอยู่ในประเทศซึ่งมีความเท่าเทียมระหว่างชายหญิงน้อยที่สุด
รายงานฉบับนี้บอกว่า เด็กหญิงและผู้หญิงมีโอกาสเกือบจะเท่าเทียมผู้ชายในด้านการศึกษา, สาธารณสุขและความอยู่รอด ทั้งในประเทศร่ำรวยและยากจน
แต่ด้านเศรษฐกิจแล้วกลับตรงข้ามกับอย่างสิ้นเชิง เพราะสำหรับการมีส่วนร่วมในทำงานและโอกาสด้านการจ้างงาน หรือแม้แต่ในทางการเมืองเรื่องการใช้อำนาจนั้น ช่องว่างระหว่างชายและหญิงยังคงห่างกันลิบลิ่ว
"เฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้หญิงมีโอกาสเกือบเท่าเทียมผู้ชายในเรื่องการศึกษาและสาธารณสุข จึงเป็นการสูญเสียความสามารถของพวกเธอแบบเปล่าประโยชน์ หากผู้หญิงไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจและการเมืองได้" ซาเดีย ซาฮีดี จากดับเบิลยูอีเอฟกล่าว
ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวรวมรวบจากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติและหน่วยงานต่าง ๆ ในการพิจารณาและประเมินว่า แต่ละประเทศแบ่งปันทรัพยากรและโอกาสต่าง ๆ ระหว่างชายหญิงอย่างไร