นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคพลังประชาชน แถลงว่า ตนจะยื่นหนังสือถึง คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เพื่อพิจารณาถอดถอนสมาชิกภาพของนายสาย กังกเวคิน พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีจรูญ กับพวกอีก 20 คน ออกจากการเป็นสมาชิกวุฒิสมาชิก (ส.ว.) เนื่องบุคคลดังกล่าวได้กระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 ที่ยื่นหนังสือให้อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ พิจารณาการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ NBT ในรายการ รายการความจริงสัญจร ซึ่งมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โฟนอินเข้ามายังรายการ ซึ่งจัดขึ้นที่สนามกีฬารัชมังคลากีฬาสถาน เมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา
นายสงวน อ้างว่าการกระทำของส.ว.กลุ่มนี้ได้ใช้สถานะตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ให้อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ไม่ให้ถ่ายทอดรายการของ NBT ถือเป็นการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของอธิบดีฯ ถือว่าเป็นการเข้าไปก้าวก่าย และแทรกแซงการทำหน้าที่ของข้าราชการ
นายสงวน กล่าวว่า นอกจากนี้ ในวันเดียวกันได้มีการร่วมแถลงข่าวที่รัฐสภา นำโดยนายสมชาย แสวงการ ส.ส.สรรหา กล่าวว่า จะทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ สถานีโทรทัศน์ NBT ระงับการถ่ายทอดรายการดังกล่าว ถือเป็นการย้ำให้เห็นถึงเจตนาที่จะเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซง เพื่อผลประโยชน์ข องตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรืออ้อม ถือเป็นการกระทำอันต้องห้าม รัฐธรรมนูญ มาตราดังกล่าว
ในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 50 มาตรา 265 ที่บัญญัติห้ามผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองกระทำการต้องห้ามและมาตรา 266 บัญญัติถึงข้อห้ามต่างๆ ซึ่งเป็น มาตราเดียวกับนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกถอดถอนจากตำแหน่ง นายกฯ การกระทำของ ส.ว.กลุ่มนี้ก็เหมือนกัน ถือว่าสมาชิกภาพของบุคคลเหล่านี้ สิ้นสุดลงแล้ว เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนว่าต้องสิ้นสุดเมื่อใด ซึ่งผมจะรอเอกสารของสมาชิกฝ่ายค้านอีกท่าน ที่ทำหนังสือถึงอัยการสูงสุดในลักษณะเดียวกัน และจะดำเนินการยื่นถอดถอนให้พ้นจากสมาชิกภาพส.ส.เช่นเดียวกัน นายสงวน กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคพลังประชาชนต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 50 แต่ขณะเดียวกันกับใช้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้มาถอดถอน ส.ส.และ ส.ว. แสดงว่า เห็นประโยชน์ของการใช้รัฐธรรมนูญ ปี 50 ใช่หรือไม่ นาสงวน กล่าวว่า ตนไม่ได้เห็นว่า รัฐธรรนูญฉบับนี้เป็นประโยชน์ แต่มีการใช้รัฐธรรมนูญ ปี 50 กับพวกตน แต่ตัวเองกับใช้ช่องทางรัฐธรรมนูญ ปี 40 มาแทรกแซงคนอื่น หมายความว่า จะใช้รัฐธรรมนูญปี 50 กับคนที่ไม่เห็นด้วยหรืออย่างไร ตนมองว่า จะเป็นการดีที่จะได้เห็นว่ารัฐธรรมนูญ มีปัญหาอย่างไร อย่างไรก็ตาม ทุกคนต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญถึงจะชอบด้วยกฎหมาย
ผู้สื่อข่ารายงานว่า สมาชิกฝ่ายค้านที่นายสงวน ระบุ คือ นายกรณ์ จาติกวนิช ส.ส.กทม. ที่ทำหนังสือถึงอัยการสูงสุด กรณีที่ไม่ส่งฟ้องคดีการปกปิดรายชื่อผู้ถือครอง หุ้น บริษัท เอสซีเอสเสท
ขณะที่ นาย ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา 1 ใน ส.ว.ที่ถูกส.ส.พรรคพลังประชาชนยื่นเรื่องให้กกต.วินิจฉัยคุณสมบัติเนื่องจากกระทำการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 266 ที่ทักท้วงการถ่ายทอดสดรายการความจริงวันนี้ กล่าวว่า ก่อนที่ 22 ส.ว. จะทำหนังสือไปยังอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ก็ได้พิจารณาแล้วว่าขัด มาตรา 266 หรือไม่ เพราะหากปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่ระวังประเทศอาจจะเสียหายได้ แต่เห็นว่าเป็นการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ฉะนั้นการที่ส.ส.พรรคพลังประชาชนยื่นเรื่องให้กกต. วินิจฉัยคุณสมบัติ ส.ว.ทั้ง 22 คนนั้น พวกตนได้หารือกันแล้วเห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นการแก้เกี้ยวทางการเมือง อยากทำให้เป็นข่าวทั้งที่รู้อยู่แล้วว่า ไม่เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยังประสงค์จะให้เห็นปัญหาในมาตราดังกล่าว เพื่อสอดคล้องกับการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคพลังประชาชนกำลังดำเนินการอยู่
มาตรา 266 เป็นข้อดี เพราะป้องกันการแทรกแซงฝ่ายราชการโดยนักการเมือง จึงควรมีไว้ในรัฐธรรมนูญ ถ้าจะถือว่าการกระทำใดเข้าข่ายขัดมาตรานี้ น่าจะไปลองดูกรณีที่ส.ส.พรรคพลังประชาชนไปแทรกแซงเพื่อออกรายการทางสถานีโทรทัศน์ NBT ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐเพื่อประโยชน์ทางการเมือง ขณะนี้ ส.ว.ทราบว่า ข้าราชการหลายกระทรวงถูกแทรกแซงจากส.ส.มาก จึงขอเชิญชวนให้มาร้องเรียนกับส.ว. เพื่อใช้มาตรา 266 ดำเนินการ เพื่อความมีธรรมาภิบาลทางระบอบการเมือง
นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา กล่าวว่าการที่นายสงวนออกมาระบุว่า ตนและพวกแทรกแซงการทำหน้าที่ของข้าราชการประจำผิดมาตรา 266 นั้นตนเห็นว่า การแทรกแซงคือการที่เข้าไปก้าวก่ายในการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ และการที่ตนทำหนังสือถึงนายเผชิญ ขำโพธิ์ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อพิจารณา การนำเทปความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 2 มาเผยแพร่ผ่านรายการความจริงวันนี้ เนื่องจากมีผลกระทบต่อสถาบัน ทั้งนี้หาก กกต.เห็นว่าพวกตนกระทำผิดจริง ก็ดำเนินการตามขั้นตอน หากไม่เป็นความจริงพวกตนจะดำเนินการตอบโต้กลับอย่างแน่นอน เนื่องจาก สมาชิกวุฒิสภามีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและนักการเมืองที่วันๆ เอาแต่สนใจเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว
นายสงวน อ้างว่าการกระทำของส.ว.กลุ่มนี้ได้ใช้สถานะตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ให้อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ไม่ให้ถ่ายทอดรายการของ NBT ถือเป็นการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของอธิบดีฯ ถือว่าเป็นการเข้าไปก้าวก่าย และแทรกแซงการทำหน้าที่ของข้าราชการ
นายสงวน กล่าวว่า นอกจากนี้ ในวันเดียวกันได้มีการร่วมแถลงข่าวที่รัฐสภา นำโดยนายสมชาย แสวงการ ส.ส.สรรหา กล่าวว่า จะทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ สถานีโทรทัศน์ NBT ระงับการถ่ายทอดรายการดังกล่าว ถือเป็นการย้ำให้เห็นถึงเจตนาที่จะเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซง เพื่อผลประโยชน์ข องตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรืออ้อม ถือเป็นการกระทำอันต้องห้าม รัฐธรรมนูญ มาตราดังกล่าว
ในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 50 มาตรา 265 ที่บัญญัติห้ามผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองกระทำการต้องห้ามและมาตรา 266 บัญญัติถึงข้อห้ามต่างๆ ซึ่งเป็น มาตราเดียวกับนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกถอดถอนจากตำแหน่ง นายกฯ การกระทำของ ส.ว.กลุ่มนี้ก็เหมือนกัน ถือว่าสมาชิกภาพของบุคคลเหล่านี้ สิ้นสุดลงแล้ว เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนว่าต้องสิ้นสุดเมื่อใด ซึ่งผมจะรอเอกสารของสมาชิกฝ่ายค้านอีกท่าน ที่ทำหนังสือถึงอัยการสูงสุดในลักษณะเดียวกัน และจะดำเนินการยื่นถอดถอนให้พ้นจากสมาชิกภาพส.ส.เช่นเดียวกัน นายสงวน กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคพลังประชาชนต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 50 แต่ขณะเดียวกันกับใช้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้มาถอดถอน ส.ส.และ ส.ว. แสดงว่า เห็นประโยชน์ของการใช้รัฐธรรมนูญ ปี 50 ใช่หรือไม่ นาสงวน กล่าวว่า ตนไม่ได้เห็นว่า รัฐธรรนูญฉบับนี้เป็นประโยชน์ แต่มีการใช้รัฐธรรมนูญ ปี 50 กับพวกตน แต่ตัวเองกับใช้ช่องทางรัฐธรรมนูญ ปี 40 มาแทรกแซงคนอื่น หมายความว่า จะใช้รัฐธรรมนูญปี 50 กับคนที่ไม่เห็นด้วยหรืออย่างไร ตนมองว่า จะเป็นการดีที่จะได้เห็นว่ารัฐธรรมนูญ มีปัญหาอย่างไร อย่างไรก็ตาม ทุกคนต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญถึงจะชอบด้วยกฎหมาย
ผู้สื่อข่ารายงานว่า สมาชิกฝ่ายค้านที่นายสงวน ระบุ คือ นายกรณ์ จาติกวนิช ส.ส.กทม. ที่ทำหนังสือถึงอัยการสูงสุด กรณีที่ไม่ส่งฟ้องคดีการปกปิดรายชื่อผู้ถือครอง หุ้น บริษัท เอสซีเอสเสท
ขณะที่ นาย ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา 1 ใน ส.ว.ที่ถูกส.ส.พรรคพลังประชาชนยื่นเรื่องให้กกต.วินิจฉัยคุณสมบัติเนื่องจากกระทำการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 266 ที่ทักท้วงการถ่ายทอดสดรายการความจริงวันนี้ กล่าวว่า ก่อนที่ 22 ส.ว. จะทำหนังสือไปยังอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ก็ได้พิจารณาแล้วว่าขัด มาตรา 266 หรือไม่ เพราะหากปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่ระวังประเทศอาจจะเสียหายได้ แต่เห็นว่าเป็นการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ฉะนั้นการที่ส.ส.พรรคพลังประชาชนยื่นเรื่องให้กกต. วินิจฉัยคุณสมบัติ ส.ว.ทั้ง 22 คนนั้น พวกตนได้หารือกันแล้วเห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นการแก้เกี้ยวทางการเมือง อยากทำให้เป็นข่าวทั้งที่รู้อยู่แล้วว่า ไม่เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยังประสงค์จะให้เห็นปัญหาในมาตราดังกล่าว เพื่อสอดคล้องกับการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคพลังประชาชนกำลังดำเนินการอยู่
มาตรา 266 เป็นข้อดี เพราะป้องกันการแทรกแซงฝ่ายราชการโดยนักการเมือง จึงควรมีไว้ในรัฐธรรมนูญ ถ้าจะถือว่าการกระทำใดเข้าข่ายขัดมาตรานี้ น่าจะไปลองดูกรณีที่ส.ส.พรรคพลังประชาชนไปแทรกแซงเพื่อออกรายการทางสถานีโทรทัศน์ NBT ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐเพื่อประโยชน์ทางการเมือง ขณะนี้ ส.ว.ทราบว่า ข้าราชการหลายกระทรวงถูกแทรกแซงจากส.ส.มาก จึงขอเชิญชวนให้มาร้องเรียนกับส.ว. เพื่อใช้มาตรา 266 ดำเนินการ เพื่อความมีธรรมาภิบาลทางระบอบการเมือง
นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา กล่าวว่าการที่นายสงวนออกมาระบุว่า ตนและพวกแทรกแซงการทำหน้าที่ของข้าราชการประจำผิดมาตรา 266 นั้นตนเห็นว่า การแทรกแซงคือการที่เข้าไปก้าวก่ายในการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ และการที่ตนทำหนังสือถึงนายเผชิญ ขำโพธิ์ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อพิจารณา การนำเทปความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 2 มาเผยแพร่ผ่านรายการความจริงวันนี้ เนื่องจากมีผลกระทบต่อสถาบัน ทั้งนี้หาก กกต.เห็นว่าพวกตนกระทำผิดจริง ก็ดำเนินการตามขั้นตอน หากไม่เป็นความจริงพวกตนจะดำเนินการตอบโต้กลับอย่างแน่นอน เนื่องจาก สมาชิกวุฒิสภามีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและนักการเมืองที่วันๆ เอาแต่สนใจเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว