ศูนย์ข่าวภูเก็ต- เทศบาลนครภูเก็ตเร่งดึงเอกชนเข้ามาลงทุนเตาเผาขยะหัวที่สอง 900 ล้านบาท ให้เสร็จก่อน 31 ธ.ค.นี้ เพื่อจูงใจเอกชนขายกระแสไฟฟ้าในราคาที่กระทรวงพลังงานเพิ่มค่ากระแสไฟฟ้าให้ เผยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนขอความเห็นชอบจากผู้ว่าฯ มีเอกชนหลายประเทศสนใจนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาลงทุนแล้วทั้งจีน ญี่ปุ่น เยอรมนี
นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างเตาเผาขยะหัวที่สอง เพื่อแก้ปัญหาขยะของจังหวัดภูเก็ต ที่กำลังวิกฤตอยู่ในขณะนี้ว่า จากการที่จังหวัดภูเก็ตได้รับการสนับสนุนการก่อสร้างเตาเผาขยะหัวเมื่อปี 2541 ที่สามารถรองรับขยะได้วันละ 250 ตัน และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย แต่มาถึงวันนี้ขยะของภูเก็ตได้เพิ่มสูงขึ้นวันละ 550 ตัน จำเป็นที่จะต้องสร้างเตาเผาขยะเพิ่มขึ้นอีก 1 หัว โดยเทศบาลนครภูเก็ต ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการกำจัดขยะได้ข้อสรุปแล้วว่า การจัดการขยะที่เพิ่มสูงขึ้นจนเกินที่เตาเผาหัวแรกจะกำจัดได้หมดนั้นจะมีการก่อสร้างเตาเผาขยะเพิ่มขึ้นอีก 1 หัว โดยให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการลงทุนแทนหน่วยงานของรัฐที่ขาดงบประมาณในการดำเนินการ
ข้อเสนอให้เอกชนเข้ามาลงทุนก่อสร้างเตาเผาขยะแทนภาครัฐ ได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารจัดการขยะจังหวัดภูเก็ต และผ่านการเห็นชอบจากสภาเทศบาลนครภูเก็ตเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนขอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เมื่อผ่านการเห็นชอบจากผู้ว่าฯแล้ว เทศบาลฯจะสามารถประกาศเชิญชวนให้เอกชนเสนอตัวเข้ามาลงทุนได้เลย
ขณะนี้มีเอกชนที่มีเทคโนโลยีทันสมัยในการกำจัดขยะได้เสนอตัวที่จะเข้ามาดำเนินการแล้ว 3-4 ราย ทั้งจากประเทศญี่ปุ่น จีน เยอรมนี และประเทศในยุโรป ซึ่งเอกชนที่ลงทุนจะได้รับค่าตอบแทนที่เป็นค่ากำจัดขยะตันละ 300 บาท จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ในภูเก็ตที่นำขยะมากำจัด และรายได้ที่เกิดจากการผลิตกระแสไฟฟ้าจากการเผาขยะ ซึ่งขณะนี้กระทรวงพลังงานได้เข้ามาสนับสนุนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะ โดยการเพิ่มค่ากระแสไฟฟ้าในการขายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสูงถึง 4 บาทต่อหน่วย ทำให้เอกชนที่เข้ามาลงทุนก่อสร้างเตาเผาขยะสามารถที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าขายในราคาที่สูงและคุ้มค่ากับการลงทุน
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มค่ากระแสไฟฟ้าในการขายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงพลังงานจะดำเนินการไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เท่านั้น เพื่อที่จะให้เอกชนสามารถขายกระแสไฟฟ้าในราคาที่สูง เพราะหากไม่ได้เข้าร่วมโครงการการผลิตกระแสไฟฟ้าขาย ก็จะไม่คุ้มค่าการลงทุน ไม่เป็นการจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุน ดังนั้น เทศบาลฯจะต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จก่อน 31 ธันวาคม เพราะสามารถดำเนินการคัดเลือกเอกชนในระดับพื้นที่ได้เลย เนื่องจากเงินลงทุนที่ต้องใช้อยู่ที่ 900 ล้านบาท
นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างเตาเผาขยะหัวที่สอง เพื่อแก้ปัญหาขยะของจังหวัดภูเก็ต ที่กำลังวิกฤตอยู่ในขณะนี้ว่า จากการที่จังหวัดภูเก็ตได้รับการสนับสนุนการก่อสร้างเตาเผาขยะหัวเมื่อปี 2541 ที่สามารถรองรับขยะได้วันละ 250 ตัน และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย แต่มาถึงวันนี้ขยะของภูเก็ตได้เพิ่มสูงขึ้นวันละ 550 ตัน จำเป็นที่จะต้องสร้างเตาเผาขยะเพิ่มขึ้นอีก 1 หัว โดยเทศบาลนครภูเก็ต ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการกำจัดขยะได้ข้อสรุปแล้วว่า การจัดการขยะที่เพิ่มสูงขึ้นจนเกินที่เตาเผาหัวแรกจะกำจัดได้หมดนั้นจะมีการก่อสร้างเตาเผาขยะเพิ่มขึ้นอีก 1 หัว โดยให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการลงทุนแทนหน่วยงานของรัฐที่ขาดงบประมาณในการดำเนินการ
ข้อเสนอให้เอกชนเข้ามาลงทุนก่อสร้างเตาเผาขยะแทนภาครัฐ ได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารจัดการขยะจังหวัดภูเก็ต และผ่านการเห็นชอบจากสภาเทศบาลนครภูเก็ตเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนขอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เมื่อผ่านการเห็นชอบจากผู้ว่าฯแล้ว เทศบาลฯจะสามารถประกาศเชิญชวนให้เอกชนเสนอตัวเข้ามาลงทุนได้เลย
ขณะนี้มีเอกชนที่มีเทคโนโลยีทันสมัยในการกำจัดขยะได้เสนอตัวที่จะเข้ามาดำเนินการแล้ว 3-4 ราย ทั้งจากประเทศญี่ปุ่น จีน เยอรมนี และประเทศในยุโรป ซึ่งเอกชนที่ลงทุนจะได้รับค่าตอบแทนที่เป็นค่ากำจัดขยะตันละ 300 บาท จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ในภูเก็ตที่นำขยะมากำจัด และรายได้ที่เกิดจากการผลิตกระแสไฟฟ้าจากการเผาขยะ ซึ่งขณะนี้กระทรวงพลังงานได้เข้ามาสนับสนุนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะ โดยการเพิ่มค่ากระแสไฟฟ้าในการขายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสูงถึง 4 บาทต่อหน่วย ทำให้เอกชนที่เข้ามาลงทุนก่อสร้างเตาเผาขยะสามารถที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าขายในราคาที่สูงและคุ้มค่ากับการลงทุน
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มค่ากระแสไฟฟ้าในการขายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงพลังงานจะดำเนินการไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เท่านั้น เพื่อที่จะให้เอกชนสามารถขายกระแสไฟฟ้าในราคาที่สูง เพราะหากไม่ได้เข้าร่วมโครงการการผลิตกระแสไฟฟ้าขาย ก็จะไม่คุ้มค่าการลงทุน ไม่เป็นการจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุน ดังนั้น เทศบาลฯจะต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จก่อน 31 ธันวาคม เพราะสามารถดำเนินการคัดเลือกเอกชนในระดับพื้นที่ได้เลย เนื่องจากเงินลงทุนที่ต้องใช้อยู่ที่ 900 ล้านบาท