เอเอฟพี - ชาวอเมริกันนับล้านแห่เข้าคิวยาวเหยียดเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าก่อนกำหนดการจริงในวันที่ 4 พฤศจิกายน บางรายต้องร้องเพลงรอนานถึง 2 ชั่วโมง แต่ดูเหมือนส่วนใหญ่ยินดีเทใจให้บารัก โอบามา ผู้สมัครชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต ซี่งกำลังเป็นความหวังสู่การเปลี่ยนแปลง
"อนาคตของบ้านเมืองกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง" เซซิล จอห์นสัน วัย 72 ปี บอกในระหว่างที่เขาขยับย้ายเก้าอี้นั่งรอคิวยาวเหยียดเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าที่เมืองแกรีในรัฐอินดีแอนา เขาให้เหตุผลที่เลือกโอบามาว่า "แปดปีที่ผ่านมานั้นกลายเป็นห้วงหายนะ ผมว่าคราวนี้เราได้ผู้สมัครที่คงจะมาช่วยเราได้แล้วนะ"
จากการรวบรวมข้อมูลของมหาวิทยาลัยจอร์จ เมสันเมื่อวันพุธ (29) ระบุว่าขณะนี้มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าแล้วถึง 16.1 ล้านคน โดยในอดีตที่ผ่านมาผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกันจะนิยมออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ามากกว่าผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครต แต่ในครั้งนี้การรณรงค์ของเดโมแครตดูเหมือนจะสำเร็จ อย่างน้อยก็ในมลรัฐที่มีรายงานผลการเลือกตั้งล่วงหน้าออกมาแล้ว
ตามรายงานของมหาวิทยาลัยจอร์จ เมสัน ในรัฐแคลิฟอร์เนียมีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าแล้ว 2.3 ล้านคน รัฐเทกซัส 2.4 ล้านคน และรัฐจอร์เจีย 1.5 ล้านคน
สำหรับในสนามเลือกตั้งที่สองพรรคจะต้องขับเคี่ยวกันอย่างหนักเช่นฟลอริดาก็มีผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าแล้ว 2.6 ล้านคนในวันพุธ โดยมีผู้เลือกเดโมแครต 45 เปอร์เซ็นต์ และเลือกรีพับลิกัน 39 เปอร์เซ็นต์
ที่นอร์ทแคโรไลนาซึ่งเป็นรัฐสำคัญแห่งหนึ่งเนื่องจากไม่ได้เป็นฐานคะแนนของพรรคใดพรรคหนึ่งอย่างเด็ดขาด ก็มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าแล้ว 1.5 ล้านคน โดยเลือกเดโมแครตสูงกว่ารีพับลิกันถึง 35 เปอร์เซ็นต์
ทางด้านมลรัฐโคโลราโด มีผู้ไปใช้สิทธิล่วงหน้าแล้ว 199,000 คนจากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 2.6 ล้านคน โดย 39 เปอร์เซ็นต์เลือกเดโมแครต 38 เปอร์เซ็นต์เลือกรีพับลิกัน และอีก 24 เปอร์เซ็นต์เลือกผู้สมัครอิสระ
ที่รัฐหลุยส์เซียนา ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า 266,880 คนก็เลือกเดโมแครตมากกว่ารีพับลิกันในสัดส่วนสองต่อหนึ่ง ส่วนไอโอวานั้น เดโมแครตได้คะแนนนำหน้ารีพับลิกัน 20 เปอร์เซ็นต์ โดยมีผู้ออกเสียงราว 13 เปอร์เซ็นต์บอกว่าจะใช้สิทธิก่อนวันจริง
"ข่าวดีสำหรับโอบามาก็คือ มีสิ่งบ่งชี้ถึงความกระตือรือร้นของผู้คน โดยพวกเขายินดียืนรอคิวยาวเหยียดเพราะรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ครั้งสำคัญนี้" ไมเคิล แมคโดนัลด์ นักรัฐศาสตร์แห่งจอร์จ เมสัน กล่าวและว่า "ส่วนข่าวดีสำหรับรีพับลิกันก็คือ พวกเขาไม่ได้ผลักดันให้คนออกมาใช้สิทธิล่วงหน้ามากนัก จนกระทั่งถึงช่วงสุดสัปดาห์ก่อนกำหนดการเลือกตั้ง" ดังนั้น การที่เดโมแครตมีคะแนนนำในการโหวตล่วงหน้า จึงยังไม่ใช่สัญญาณของการชี้ขาดเป็นตายอะไร
ยิ่งกว่านั้น สิ่งที่น่าจับตาก็คือ ผู้สนับสนุนพรรคการเมืองไม่จำเป็นต้องลงคะแนนให้พรรคของตนเสมอไป อย่างกรณีของเบอร์ทา เจสเซ็น ผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกันในรัฐอินดีแอนา ซึ่งไม่เคยลงคะแนนเลือกเดโมแครตเลยนับตั้งแต่ยุคของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี เมื่อปี 1960 ทว่าคราวนี้เธอบอก "ดิฉันเลือกการเปลี่ยนแปลง ดิฉันชอบโอบามา และไม่ต้องการให้แพลิน (แซราห์ แพลิน) ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้"
ทั้งนี้ การกระตุ้นให้ผู้คนออกมาใช้สิทธิล่วงหน้าเพื่อบรรเทาความแออัดในวันเลือกตั้งจริง ทำให้มีผู้มาเข้าคิวรอใช้สิทธิกันยาวเหยียดในบางพื้นที่ อย่างเช่นที่เมืองแกรีในรัฐอินดีแอนา ซึ่งพรรครีพับลิกันถึงกับพยายามขอให้ปิดหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าเพราะเกรงว่าอาจมีการโกงเกิดขึ้น ทว่าก็มีเสียงบ่นเช่นกันว่าในรัฐที่มีประชากรผิวขาวมากนั้นมีการจัดสรรคอมพิวเตอร์รองรับเป็นจำนวนมากกว่า ทำให้ไม่ต้องรอนาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามสกัดกั้นเดโมแครตนั่นเอง
"อนาคตของบ้านเมืองกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง" เซซิล จอห์นสัน วัย 72 ปี บอกในระหว่างที่เขาขยับย้ายเก้าอี้นั่งรอคิวยาวเหยียดเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าที่เมืองแกรีในรัฐอินดีแอนา เขาให้เหตุผลที่เลือกโอบามาว่า "แปดปีที่ผ่านมานั้นกลายเป็นห้วงหายนะ ผมว่าคราวนี้เราได้ผู้สมัครที่คงจะมาช่วยเราได้แล้วนะ"
จากการรวบรวมข้อมูลของมหาวิทยาลัยจอร์จ เมสันเมื่อวันพุธ (29) ระบุว่าขณะนี้มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าแล้วถึง 16.1 ล้านคน โดยในอดีตที่ผ่านมาผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกันจะนิยมออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ามากกว่าผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครต แต่ในครั้งนี้การรณรงค์ของเดโมแครตดูเหมือนจะสำเร็จ อย่างน้อยก็ในมลรัฐที่มีรายงานผลการเลือกตั้งล่วงหน้าออกมาแล้ว
ตามรายงานของมหาวิทยาลัยจอร์จ เมสัน ในรัฐแคลิฟอร์เนียมีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าแล้ว 2.3 ล้านคน รัฐเทกซัส 2.4 ล้านคน และรัฐจอร์เจีย 1.5 ล้านคน
สำหรับในสนามเลือกตั้งที่สองพรรคจะต้องขับเคี่ยวกันอย่างหนักเช่นฟลอริดาก็มีผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าแล้ว 2.6 ล้านคนในวันพุธ โดยมีผู้เลือกเดโมแครต 45 เปอร์เซ็นต์ และเลือกรีพับลิกัน 39 เปอร์เซ็นต์
ที่นอร์ทแคโรไลนาซึ่งเป็นรัฐสำคัญแห่งหนึ่งเนื่องจากไม่ได้เป็นฐานคะแนนของพรรคใดพรรคหนึ่งอย่างเด็ดขาด ก็มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าแล้ว 1.5 ล้านคน โดยเลือกเดโมแครตสูงกว่ารีพับลิกันถึง 35 เปอร์เซ็นต์
ทางด้านมลรัฐโคโลราโด มีผู้ไปใช้สิทธิล่วงหน้าแล้ว 199,000 คนจากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 2.6 ล้านคน โดย 39 เปอร์เซ็นต์เลือกเดโมแครต 38 เปอร์เซ็นต์เลือกรีพับลิกัน และอีก 24 เปอร์เซ็นต์เลือกผู้สมัครอิสระ
ที่รัฐหลุยส์เซียนา ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า 266,880 คนก็เลือกเดโมแครตมากกว่ารีพับลิกันในสัดส่วนสองต่อหนึ่ง ส่วนไอโอวานั้น เดโมแครตได้คะแนนนำหน้ารีพับลิกัน 20 เปอร์เซ็นต์ โดยมีผู้ออกเสียงราว 13 เปอร์เซ็นต์บอกว่าจะใช้สิทธิก่อนวันจริง
"ข่าวดีสำหรับโอบามาก็คือ มีสิ่งบ่งชี้ถึงความกระตือรือร้นของผู้คน โดยพวกเขายินดียืนรอคิวยาวเหยียดเพราะรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ครั้งสำคัญนี้" ไมเคิล แมคโดนัลด์ นักรัฐศาสตร์แห่งจอร์จ เมสัน กล่าวและว่า "ส่วนข่าวดีสำหรับรีพับลิกันก็คือ พวกเขาไม่ได้ผลักดันให้คนออกมาใช้สิทธิล่วงหน้ามากนัก จนกระทั่งถึงช่วงสุดสัปดาห์ก่อนกำหนดการเลือกตั้ง" ดังนั้น การที่เดโมแครตมีคะแนนนำในการโหวตล่วงหน้า จึงยังไม่ใช่สัญญาณของการชี้ขาดเป็นตายอะไร
ยิ่งกว่านั้น สิ่งที่น่าจับตาก็คือ ผู้สนับสนุนพรรคการเมืองไม่จำเป็นต้องลงคะแนนให้พรรคของตนเสมอไป อย่างกรณีของเบอร์ทา เจสเซ็น ผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกันในรัฐอินดีแอนา ซึ่งไม่เคยลงคะแนนเลือกเดโมแครตเลยนับตั้งแต่ยุคของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี เมื่อปี 1960 ทว่าคราวนี้เธอบอก "ดิฉันเลือกการเปลี่ยนแปลง ดิฉันชอบโอบามา และไม่ต้องการให้แพลิน (แซราห์ แพลิน) ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้"
ทั้งนี้ การกระตุ้นให้ผู้คนออกมาใช้สิทธิล่วงหน้าเพื่อบรรเทาความแออัดในวันเลือกตั้งจริง ทำให้มีผู้มาเข้าคิวรอใช้สิทธิกันยาวเหยียดในบางพื้นที่ อย่างเช่นที่เมืองแกรีในรัฐอินดีแอนา ซึ่งพรรครีพับลิกันถึงกับพยายามขอให้ปิดหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าเพราะเกรงว่าอาจมีการโกงเกิดขึ้น ทว่าก็มีเสียงบ่นเช่นกันว่าในรัฐที่มีประชากรผิวขาวมากนั้นมีการจัดสรรคอมพิวเตอร์รองรับเป็นจำนวนมากกว่า ทำให้ไม่ต้องรอนาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามสกัดกั้นเดโมแครตนั่นเอง