ททท. ปรับกลยุทธ์รับมือวิกฤตซับไพร์ม จัดแผนก๊อกสอง ปรับการใช้เงิน โยกงบประมาณโหมอุดหนุนตลาดที่ยังมีศักยภาพ เจาะ 3 กลุ่มหลัก ไฮเอนด์ นีชมาร์เก็ต และรักษาพยาบาล ระบุงานนี้ต้องร่วมมือกับ บริษัทนำเที่ยวในต่างประเทศ และสมาคมโรงแรมไทย มอนิเตอร์ยอดจอดล่วงหน้า ก่อนฟันธงเดินหน้าแผนใหม่
นายสุรพล เศวตเศรนี รองผู้ว่าการฝ่ายนโยบายและแผน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า ททท.ได้มีการเฝ้าระวังผลจากวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง ที่จะเข้ามากระทบกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พร้อมจัดทำแผนสำรองไว้ เพื่อสามารถปรับใช้ได้ทันทีเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม โดยล่าสุดได้กำหนดกลุ่มตลาดที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ยุโรปบางประเทศ และอีกหลายประเทศในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ทั้งนี้เพราะประเทศเหล่านี้มีการลงทุนและ ส่งออกไปประเทศอเมริกาจำนวนมาก
ทั้งนี้แผนงานที่ ททท.จะดำเนินการหากเห็นว่าวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ จะมีผลทำให้เกิดการจับจ่ายด้านการท่องเที่ยวลดลง คือ จะปรับลดแผนการใช้เงินในตลาดที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต เพราะหากทุ่มเทงบประมาณไปมากก็จะสูญเปล่า แต่จะไม่ทำการตลาดเสียเลย ก็จะสูญเสียตลาดได้ในอนาคต โดยเงินที่ปรับลดนั้นจะนำมาเพิ่มในตลาดที่มีศักยภาพของการเติบโต เช่น ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ บางประเทศในยุโรปและสแกนดิเนเวีย สหราชอาณาจักร และ อินเดีย เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังแยกเป็นรายเซกเมนต์ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้น้อย หรือไม่ได้รับเลย เช่น ตลาดไฮเอนด์ ตลาดความสนใจพิเศษ (นีชมาร์เก็ต) เช่น กอล์ฟ ดำน้ำ และ กลุ่ม เฮลล์ แอนด์ เมดิแคร์ ซึ่งเข้ามาเพื่อรักษาพยาบาล หรือพักฟื้น
"ยังมีกลุ่มกิจกรรมการท่องเที่ยวหลายประเภท เช่น กอล์ฟ ดำน้ำ ที่ใช้วิฤกต เป็นโอกาสในการออกรอบเดินทาง เพราะ มองว่า แต่ละประเทศต้องอัดโปรโมชั่น ให้อินเซนทีฟ เพื่อดึงนักท่องเที่ยว หรือทริปทัวร์เข้าประเทศ เขาก็จะสนุกกับการเดินทางมาโดยเสียค่าใช้จ่ายราคาถูก หรือ ได้อินเซนทีฟในรูปแบบต่างๆ"
นายสุรพล กล่าวว่า การทำงานของ ททท. จะร่วมกับสมาคมโรงแรมไทย บริษัทนำเที่ยวในต่างประเทศ และ หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอดูและติดตาม ยอดบุ๊คกิ้งล่วงหน้าในแต่ละประเทศดังกล่าวข้างต้น ทั้งที่ได้รับผลกระทบและที่ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะจะเป็นตัวชี้วัดได้ดีที่สุดให้ ททท.ตัดสินใจปรับแผนการใช้งบประมาณ
อย่างไรก็ตาม แผนกู้วิกฤตที่สหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ที่ได้ออก 6 มาตรการกู้เศรษฐกิจ ททท.ก็ต้องติดตามผลด้วยว่า เกิดผลในทางปฏิบัติเป็นอย่างไรบ้าง เพราะ ถ้าแผนหรือมาตรการที่ออกมาสามารถช่วยบรรเทาปัญหาได้ ททท.ก็ยังคงใช้แผนการตลาดแบบเดิม หรือปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยให้เหมาะกับสถานการณ์เท่านั้น
นายสุรพล เศวตเศรนี รองผู้ว่าการฝ่ายนโยบายและแผน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า ททท.ได้มีการเฝ้าระวังผลจากวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง ที่จะเข้ามากระทบกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พร้อมจัดทำแผนสำรองไว้ เพื่อสามารถปรับใช้ได้ทันทีเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม โดยล่าสุดได้กำหนดกลุ่มตลาดที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ยุโรปบางประเทศ และอีกหลายประเทศในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ทั้งนี้เพราะประเทศเหล่านี้มีการลงทุนและ ส่งออกไปประเทศอเมริกาจำนวนมาก
ทั้งนี้แผนงานที่ ททท.จะดำเนินการหากเห็นว่าวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ จะมีผลทำให้เกิดการจับจ่ายด้านการท่องเที่ยวลดลง คือ จะปรับลดแผนการใช้เงินในตลาดที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต เพราะหากทุ่มเทงบประมาณไปมากก็จะสูญเปล่า แต่จะไม่ทำการตลาดเสียเลย ก็จะสูญเสียตลาดได้ในอนาคต โดยเงินที่ปรับลดนั้นจะนำมาเพิ่มในตลาดที่มีศักยภาพของการเติบโต เช่น ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ บางประเทศในยุโรปและสแกนดิเนเวีย สหราชอาณาจักร และ อินเดีย เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังแยกเป็นรายเซกเมนต์ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้น้อย หรือไม่ได้รับเลย เช่น ตลาดไฮเอนด์ ตลาดความสนใจพิเศษ (นีชมาร์เก็ต) เช่น กอล์ฟ ดำน้ำ และ กลุ่ม เฮลล์ แอนด์ เมดิแคร์ ซึ่งเข้ามาเพื่อรักษาพยาบาล หรือพักฟื้น
"ยังมีกลุ่มกิจกรรมการท่องเที่ยวหลายประเภท เช่น กอล์ฟ ดำน้ำ ที่ใช้วิฤกต เป็นโอกาสในการออกรอบเดินทาง เพราะ มองว่า แต่ละประเทศต้องอัดโปรโมชั่น ให้อินเซนทีฟ เพื่อดึงนักท่องเที่ยว หรือทริปทัวร์เข้าประเทศ เขาก็จะสนุกกับการเดินทางมาโดยเสียค่าใช้จ่ายราคาถูก หรือ ได้อินเซนทีฟในรูปแบบต่างๆ"
นายสุรพล กล่าวว่า การทำงานของ ททท. จะร่วมกับสมาคมโรงแรมไทย บริษัทนำเที่ยวในต่างประเทศ และ หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอดูและติดตาม ยอดบุ๊คกิ้งล่วงหน้าในแต่ละประเทศดังกล่าวข้างต้น ทั้งที่ได้รับผลกระทบและที่ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะจะเป็นตัวชี้วัดได้ดีที่สุดให้ ททท.ตัดสินใจปรับแผนการใช้งบประมาณ
อย่างไรก็ตาม แผนกู้วิกฤตที่สหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ที่ได้ออก 6 มาตรการกู้เศรษฐกิจ ททท.ก็ต้องติดตามผลด้วยว่า เกิดผลในทางปฏิบัติเป็นอย่างไรบ้าง เพราะ ถ้าแผนหรือมาตรการที่ออกมาสามารถช่วยบรรเทาปัญหาได้ ททท.ก็ยังคงใช้แผนการตลาดแบบเดิม หรือปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยให้เหมาะกับสถานการณ์เท่านั้น