เอเจนซี - ถ้าอยากมั่นใจว่าทุกอย่างในวันพิเศษจะเป็นไปตามแผน คงต้องลองซ้อมจัดพิธีศพของตัวเองดู แ
ละขณะนี้คงไม่มีที่ไหนเหมาะสมเท่าเวียนนา ที่จะมีพร้อมทั้งดนตรี ดอกไม้ และผู้ร่วมงาน
แกรี โอดอว์เยอร์ และปิแอร์ คอยดี สองศิลปินแนวคอนเซปชวล เชิญชวนผู้คนในย่านคาร์ลสปลาต์ซในเมืองหลวงของออสเตรีย นอนลงบนแท่นสีขาวยกสูงคล้ายหลุมศพ ภายในบรรยากาศที่มีบทเพลงที่สามารถเลือกได้ขับกล่อมตลอดพิธีศพ
งานศิลป์ของศิลปินคู่นี้ที่ตระเวนจัดมาแล้วในแฟรงค์เฟิร์ต อิสตันบูล โทรอนโท และเวนิส สามารถผสมกลมกลืนเป็นอย่างดีกับเวียนนา นครแห่งพิธีศพที่งดงามประณีต และที่ตั้งพิพิธภัณฑ์หนึ่งในไม่กี่แห่งของโลกที่อุทิศแด่ความตาย
“บางคนอยากรู้ บ้างตกใจ เหมือนคุณชวนเขาทำอะไรที่น่ากลัวเหลือเกิน แต่สำหรับเรานี่เป็นการระลึกถึงชีวิต เป็นโอกาสที่เราจะป่าวประกาศผ่านเสียงเพลง” โอดอว์เยอร์อธิบาย
เพลงคลาสสิกเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมากในบ้านเกิดของบีโทเฟน แต่ก็มีบางคนที่เลือกเพลงที่คุ้นหูมากกว่าอย่าง ‘ไอ วิลล์ เซอร์ไวฟ์’ ของกลอเรีย เกย์เนอร์ หรือ ‘ร็อก มี อะมาเดอุส’ ของฟัลโก หนึ่งในเพลงจากเมืองนอกไม่กี่เพลงที่เข้าไปฮิตในออสเตรีย
ฟลอเรียน วากเนอร์ วัย 24 ปี เลือกเพลง ‘รีแล็กซ์ อิตส์ โอนลี อะ โกสต์’ ของแพนตอม/โกสต์ ขณะนอนบนหมอนสีแดงท่ามกลางแสงแดดอ่อน และถัดจากแจกันดอกไม้
คนที่เดินผ่านเพื่อไปยังคอนเสิร์ตเฮาส์มองร่างกายที่ไม่ไหวติงของวากเนอร์อย่างสงสัยเต็มประดา อีกหลายคนยืนร่วมพิธีอย่างเงียบสงบ
“นี่เป็นวิธีหนึ่งในการปลดปล่อย มันไม่ได้น่าขยะแขยงอะไรเลย แถมทำให้คุณมีโอกาสตรึกตรองถึงความตายซึ่งเป็นสิ่งที่ดี” วากเนอร์บอกหลังจากลงจากแท่นตั้งศพพร้อมรอยยิ้ม
ผู้คนจากต่างชาติต่างเผ่าพันธุ์มีปฏิกิริยาต่อนิทรรศการศิลปะนี้แตกต่างกันไป อย่างเช่นคนแก่ชาวอิตาลีค่อนข้างช็อกเมื่อถูกศิลปินเชิญชวน
“บางคนคิดว่าเป็นการยั่วเย้าพระเจ้าหรือโชคชะตา” คอยดีบอก
ชาวออสเตรียบางคนสงสัยว่านิทรรศการนี้เกี่ยวข้องกับพิธีศพเยิร์ก ไฮเดอร์ นักการเมืองขวาจัดของออสเตรีย ที่เสียชีวิตขณะขับรถด้วยความเร็วสูงเมื่อวันที่ 11 ที่ผ่านมาหรือไม่
“เมื่อวานนี้ เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่งเดินเข้ามาเราพร้อมรอยน้ำตา ถ้าเพลงมีจังหวะจะโคนสักหน่อย คนอาจรู้สึกดี แต่ถ้าเพลงเศร้า อารมณ์อาจจะหวั่นไหวไปได้มากเหมือนกัน”
ละขณะนี้คงไม่มีที่ไหนเหมาะสมเท่าเวียนนา ที่จะมีพร้อมทั้งดนตรี ดอกไม้ และผู้ร่วมงาน
แกรี โอดอว์เยอร์ และปิแอร์ คอยดี สองศิลปินแนวคอนเซปชวล เชิญชวนผู้คนในย่านคาร์ลสปลาต์ซในเมืองหลวงของออสเตรีย นอนลงบนแท่นสีขาวยกสูงคล้ายหลุมศพ ภายในบรรยากาศที่มีบทเพลงที่สามารถเลือกได้ขับกล่อมตลอดพิธีศพ
งานศิลป์ของศิลปินคู่นี้ที่ตระเวนจัดมาแล้วในแฟรงค์เฟิร์ต อิสตันบูล โทรอนโท และเวนิส สามารถผสมกลมกลืนเป็นอย่างดีกับเวียนนา นครแห่งพิธีศพที่งดงามประณีต และที่ตั้งพิพิธภัณฑ์หนึ่งในไม่กี่แห่งของโลกที่อุทิศแด่ความตาย
“บางคนอยากรู้ บ้างตกใจ เหมือนคุณชวนเขาทำอะไรที่น่ากลัวเหลือเกิน แต่สำหรับเรานี่เป็นการระลึกถึงชีวิต เป็นโอกาสที่เราจะป่าวประกาศผ่านเสียงเพลง” โอดอว์เยอร์อธิบาย
เพลงคลาสสิกเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมากในบ้านเกิดของบีโทเฟน แต่ก็มีบางคนที่เลือกเพลงที่คุ้นหูมากกว่าอย่าง ‘ไอ วิลล์ เซอร์ไวฟ์’ ของกลอเรีย เกย์เนอร์ หรือ ‘ร็อก มี อะมาเดอุส’ ของฟัลโก หนึ่งในเพลงจากเมืองนอกไม่กี่เพลงที่เข้าไปฮิตในออสเตรีย
ฟลอเรียน วากเนอร์ วัย 24 ปี เลือกเพลง ‘รีแล็กซ์ อิตส์ โอนลี อะ โกสต์’ ของแพนตอม/โกสต์ ขณะนอนบนหมอนสีแดงท่ามกลางแสงแดดอ่อน และถัดจากแจกันดอกไม้
คนที่เดินผ่านเพื่อไปยังคอนเสิร์ตเฮาส์มองร่างกายที่ไม่ไหวติงของวากเนอร์อย่างสงสัยเต็มประดา อีกหลายคนยืนร่วมพิธีอย่างเงียบสงบ
“นี่เป็นวิธีหนึ่งในการปลดปล่อย มันไม่ได้น่าขยะแขยงอะไรเลย แถมทำให้คุณมีโอกาสตรึกตรองถึงความตายซึ่งเป็นสิ่งที่ดี” วากเนอร์บอกหลังจากลงจากแท่นตั้งศพพร้อมรอยยิ้ม
ผู้คนจากต่างชาติต่างเผ่าพันธุ์มีปฏิกิริยาต่อนิทรรศการศิลปะนี้แตกต่างกันไป อย่างเช่นคนแก่ชาวอิตาลีค่อนข้างช็อกเมื่อถูกศิลปินเชิญชวน
“บางคนคิดว่าเป็นการยั่วเย้าพระเจ้าหรือโชคชะตา” คอยดีบอก
ชาวออสเตรียบางคนสงสัยว่านิทรรศการนี้เกี่ยวข้องกับพิธีศพเยิร์ก ไฮเดอร์ นักการเมืองขวาจัดของออสเตรีย ที่เสียชีวิตขณะขับรถด้วยความเร็วสูงเมื่อวันที่ 11 ที่ผ่านมาหรือไม่
“เมื่อวานนี้ เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่งเดินเข้ามาเราพร้อมรอยน้ำตา ถ้าเพลงมีจังหวะจะโคนสักหน่อย คนอาจรู้สึกดี แต่ถ้าเพลงเศร้า อารมณ์อาจจะหวั่นไหวไปได้มากเหมือนกัน”