องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย (Transparency Thailand) เปิดเผยผลการจัดอันดับดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันประจำปี พ.ศ. 2551 พบว่า ประเทศไทยได้ 3.5 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน อยู่อันดับที่ 80 จากทั้งหมด 180 ประเทศทั่วโลก และอยู่อันดับที่ 10 จาก 21 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย
CPI (Corruption Perceptions Index) คือ ดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์ปัญหาคอร์รัปชันของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่มีค่าคะแนนตั้งแต่ 0 (คอร์รัปชันมากที่สุด) – 10 (คอร์รัปชันน้อยที่สุด) จัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์ แก้ไขปัญหาคอร์รัปชันและมีเครือข่ายใน 120 ประเทศทั่วโลก และได้จัดทำดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันของประเทศต่างๆ เป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ซึ่งในปี พ.ศ. 2551 นี้ ได้จัดอันดับจากประเทศต่างๆ จำนวน 180 ประเทศทั่วโลก
ผลการจัดอันดับประจำปี 2551 พบว่า คะแนนและอันดับของประเทศไทย ดีขึ้นจากเดิมที่ได้อันดับที่ 84 (3.3 คะแนน) เมื่อปีที่แล้ว มาเป็นอันดับที่ 80 (3.5 คะแนน) เท่ากับประเทศบราซิล บูกินนาฟาโซล โมร็อกโก และซาอุดิอาราเบีย ขณะที่เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ และสวีเดน เป็นกลุ่มประเทศที่ครองอันดับที่หนึ่ง (9.3 คะแนน) ส่วนประเทศโซมาเลียได้อันดับสุดท้าย (1.0 คะแนน) โดยมีประเทศอิรักและพม่า อยู่ในอันดับรองสุดท้าย (1.3 คะแนน)
และเมื่อพิจารณาเฉพาะการจัดอันดับของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย พบว่า ประเทศไทย อยู่ในลำดับที่ 10 จาก 21 ประเทศ ประเทศที่มีคะแนนเป็นอันดับที่ 1 คือ สิงคโปร์ (9.2 คะแนน) รองลงมาคือฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวั่น เกาหลีใต้ มาเก๊า ภูฎาน มาเลเซีย จีน และ ไทย ส่วนประเทศที่มีคะแนนต่ำที่สุดคือ พม่า (1.3 คะแนน) และเป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศเกาหลีใต้มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (จาก 5.1 เป็น 5.6 คะแนน)
CPI (Corruption Perceptions Index) คือ ดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์ปัญหาคอร์รัปชันของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่มีค่าคะแนนตั้งแต่ 0 (คอร์รัปชันมากที่สุด) – 10 (คอร์รัปชันน้อยที่สุด) จัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์ แก้ไขปัญหาคอร์รัปชันและมีเครือข่ายใน 120 ประเทศทั่วโลก และได้จัดทำดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันของประเทศต่างๆ เป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ซึ่งในปี พ.ศ. 2551 นี้ ได้จัดอันดับจากประเทศต่างๆ จำนวน 180 ประเทศทั่วโลก
ผลการจัดอันดับประจำปี 2551 พบว่า คะแนนและอันดับของประเทศไทย ดีขึ้นจากเดิมที่ได้อันดับที่ 84 (3.3 คะแนน) เมื่อปีที่แล้ว มาเป็นอันดับที่ 80 (3.5 คะแนน) เท่ากับประเทศบราซิล บูกินนาฟาโซล โมร็อกโก และซาอุดิอาราเบีย ขณะที่เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ และสวีเดน เป็นกลุ่มประเทศที่ครองอันดับที่หนึ่ง (9.3 คะแนน) ส่วนประเทศโซมาเลียได้อันดับสุดท้าย (1.0 คะแนน) โดยมีประเทศอิรักและพม่า อยู่ในอันดับรองสุดท้าย (1.3 คะแนน)
และเมื่อพิจารณาเฉพาะการจัดอันดับของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย พบว่า ประเทศไทย อยู่ในลำดับที่ 10 จาก 21 ประเทศ ประเทศที่มีคะแนนเป็นอันดับที่ 1 คือ สิงคโปร์ (9.2 คะแนน) รองลงมาคือฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวั่น เกาหลีใต้ มาเก๊า ภูฎาน มาเลเซีย จีน และ ไทย ส่วนประเทศที่มีคะแนนต่ำที่สุดคือ พม่า (1.3 คะแนน) และเป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศเกาหลีใต้มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (จาก 5.1 เป็น 5.6 คะแนน)