พล.ท. พีระพงษ์ มานะกิจ โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่พล.อ.ขวัญชาติ กล้าหาญ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และอดีตที่ปรึกษา รมว.กลาโหม เดินทางไปประเทศอินโดนีเซีย ร่วมพูดคุยกับนายยูซุฟ คาลลา รองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย และตัวแทนชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อคลี่คลายสถานการณ์รุนแรงในภาคใต้ของไทย ว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหม ซึ่งพล.อ.ขวัญชาติ เดินทางไปในนามส่วนตัว และเป็นเพียงการเดินทางไปพูดคุย ไม่ใช่การเจรจาตามที่เป็นข่าว
ทั้งนี้ พล.อ.ขวัญชาติ ไม่มีความสัมพันธ์กับกระทรวงกลาโหม เพราะตำแหน่งที่ปรึกษารมว.กลาโหม สิ้นสุดไปพร้อมกับนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เพราะเป็นตำแหน่งทางการเมือง
พล.ท.พีระพงษ์ กล่าวว่า การเดินทางไปของพล.อ. ขวัญชาติ ครั้งนี้ คงเป็นความคุ้นเคยส่วนตัวกับทางอินโดนีเซีย เนื่องจากพล.อ.ขวัญชาติ เคยเป็นแม่ทัพภาคที่ 4 ซึ่งทราบว่าทางอินโดนีเซียหรือมาเลเซีย เป็นผู้ติดต่อมาให้พล.อ. ขวัญชาติ เดินทางไป
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวไม่เกี่ยวกับกองทัพ เพราะเกษียณอายุราชการแล้ว และไม่มีตำแหน่งในกระทรวงกลาโหม
พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ ผอ.กองปฏิบัติการข่าวสาร กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 กล่าวว่า ทางกองทัพภาคที่ 4 ไม่รู้เรื่อง และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการของ พล.อ.ขวัญชาติ เพราะกองทัพภาคที่ 4 ยึดถือตามแนวทางของพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. และผอ.กอ.รมน. คือไม่มีนโยบายที่จะประสาน หรือเจรจา และปฏิบัติต่อผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้เป็นกระทำความผิดตามกฎหมาย เพราะการกระทำที่เกิดขึ้นถือเป็นการกระทำของอาชญากร ที่เราไม่สามารถจะไปเจรจาได้ ซึ่งเราจะต้องนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมายให้ได้ ซึ่งอาจจะควบคุมตัวโดยใช้กฎอัยการศึก หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และจะดำเนินการให้มีการสั่งฟ้องตามกฎหมายต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดทั้งวัน ผู้สื่อข่าวพยายามโทรศัพท์ติดต่อไปยัง พล.อ.ขวัญชาติ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งเมื่อ พล.อ.ขวัญชาติ รับโทรศัพท์ กลับปฏิเสธให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับกรณีที่เดินทางไปเป็นตัวแทนรัฐบาลไทยที่ไปเจรจากับประเทศอินโดนีเซีย เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ของไทย โดย พล.อ.ขวัญชาติ กล่าวเพียงสั้นๆว่า ผมไม่รู้เรื่อง ผมไม่เกี่ยว ก่อนที่จะวางสายไปในทันที
แหล่งข่าวจากกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า การที่ พล.อ.ขวัญชาติ เดินทางไปยังประเทศอินโดนีเซีย เป็นไปตามนโยบายเดิมของนายสมัคร สุนทรเ วช อดีตนายกฯ ที่จะช่วยแก้ปัญหาภาคใต้ในอีกทางหนึ่ง ด้วยการจัดทีมงานไปประสานกับประเทศต่างๆ ที่เข้าข่ายต้องสงสัยว่า มีบางกลุ่มในประเทศนั้นๆให้การสนับสนุนขบวนการก่อความไม่สงบในภาคใต้ของไทย เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ติมอร์ตะวันออก และประเทศในตะวันออกกลางอีกหลายประเทศ โดยมีการตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ รวมทั้งการช่วยเหลือในการปราบปรามกลุ่มที่สนับสนุนผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ซึ่งถือเป็นการตัดการสนับสนุนจากภายนอกประเทศในอีกทางหนึ่ง
แหล่งข่าว เปิดเผยว่า การเดินทางครั้งนี้เป็นการเดินทางไปอินโดนีเซีย ครั้งที่ 2 ซึ่งการเดินทางไปในครั้งนี้ไม่ได้พบกับกลุ่มที่ให้การสนับสนุนผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้โดยตรง เพียงแต่ประสานผ่านไปยังรองประธานธิบดีอินโดนีเซียเท่านั้น และพล.อ.ขวัญชาติ ไม่รู้ตัวมาก่อนว่า การที่เดินทางไปตกลงกับประเทศอินโดนีเซียจะกลายเป็นข่าว เพราะเรื่องที่เกิดขึ้น ถือเป็นเรื่องลับทางราชการ ทำให้พล.อ.ขวัญชาติ รู้สึกไม่สบายใจกับข่าวที่เกิดขึ้น เพราะพล.อ.ขวัญชาติ เพิ่งพ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษารมว.กลาโหม ไปพร้อมกับนายสมัคร
ทั้งนี้ พล.อ.ขวัญชาติ ไม่มีความสัมพันธ์กับกระทรวงกลาโหม เพราะตำแหน่งที่ปรึกษารมว.กลาโหม สิ้นสุดไปพร้อมกับนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เพราะเป็นตำแหน่งทางการเมือง
พล.ท.พีระพงษ์ กล่าวว่า การเดินทางไปของพล.อ. ขวัญชาติ ครั้งนี้ คงเป็นความคุ้นเคยส่วนตัวกับทางอินโดนีเซีย เนื่องจากพล.อ.ขวัญชาติ เคยเป็นแม่ทัพภาคที่ 4 ซึ่งทราบว่าทางอินโดนีเซียหรือมาเลเซีย เป็นผู้ติดต่อมาให้พล.อ. ขวัญชาติ เดินทางไป
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวไม่เกี่ยวกับกองทัพ เพราะเกษียณอายุราชการแล้ว และไม่มีตำแหน่งในกระทรวงกลาโหม
พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ ผอ.กองปฏิบัติการข่าวสาร กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 กล่าวว่า ทางกองทัพภาคที่ 4 ไม่รู้เรื่อง และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการของ พล.อ.ขวัญชาติ เพราะกองทัพภาคที่ 4 ยึดถือตามแนวทางของพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. และผอ.กอ.รมน. คือไม่มีนโยบายที่จะประสาน หรือเจรจา และปฏิบัติต่อผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้เป็นกระทำความผิดตามกฎหมาย เพราะการกระทำที่เกิดขึ้นถือเป็นการกระทำของอาชญากร ที่เราไม่สามารถจะไปเจรจาได้ ซึ่งเราจะต้องนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมายให้ได้ ซึ่งอาจจะควบคุมตัวโดยใช้กฎอัยการศึก หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และจะดำเนินการให้มีการสั่งฟ้องตามกฎหมายต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดทั้งวัน ผู้สื่อข่าวพยายามโทรศัพท์ติดต่อไปยัง พล.อ.ขวัญชาติ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งเมื่อ พล.อ.ขวัญชาติ รับโทรศัพท์ กลับปฏิเสธให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับกรณีที่เดินทางไปเป็นตัวแทนรัฐบาลไทยที่ไปเจรจากับประเทศอินโดนีเซีย เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ของไทย โดย พล.อ.ขวัญชาติ กล่าวเพียงสั้นๆว่า ผมไม่รู้เรื่อง ผมไม่เกี่ยว ก่อนที่จะวางสายไปในทันที
แหล่งข่าวจากกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า การที่ พล.อ.ขวัญชาติ เดินทางไปยังประเทศอินโดนีเซีย เป็นไปตามนโยบายเดิมของนายสมัคร สุนทรเ วช อดีตนายกฯ ที่จะช่วยแก้ปัญหาภาคใต้ในอีกทางหนึ่ง ด้วยการจัดทีมงานไปประสานกับประเทศต่างๆ ที่เข้าข่ายต้องสงสัยว่า มีบางกลุ่มในประเทศนั้นๆให้การสนับสนุนขบวนการก่อความไม่สงบในภาคใต้ของไทย เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ติมอร์ตะวันออก และประเทศในตะวันออกกลางอีกหลายประเทศ โดยมีการตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ รวมทั้งการช่วยเหลือในการปราบปรามกลุ่มที่สนับสนุนผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ซึ่งถือเป็นการตัดการสนับสนุนจากภายนอกประเทศในอีกทางหนึ่ง
แหล่งข่าว เปิดเผยว่า การเดินทางครั้งนี้เป็นการเดินทางไปอินโดนีเซีย ครั้งที่ 2 ซึ่งการเดินทางไปในครั้งนี้ไม่ได้พบกับกลุ่มที่ให้การสนับสนุนผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้โดยตรง เพียงแต่ประสานผ่านไปยังรองประธานธิบดีอินโดนีเซียเท่านั้น และพล.อ.ขวัญชาติ ไม่รู้ตัวมาก่อนว่า การที่เดินทางไปตกลงกับประเทศอินโดนีเซียจะกลายเป็นข่าว เพราะเรื่องที่เกิดขึ้น ถือเป็นเรื่องลับทางราชการ ทำให้พล.อ.ขวัญชาติ รู้สึกไม่สบายใจกับข่าวที่เกิดขึ้น เพราะพล.อ.ขวัญชาติ เพิ่งพ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษารมว.กลาโหม ไปพร้อมกับนายสมัคร