สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไร ต่อแนวทางการเลือกตั้งใหม่ คืนอำนาจให้กับประชาชนในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน” โดยสำรวจประชาชนใน 26 จังหวัดทั่วประเทศ 4,447 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 11-15 ก.ย.2551
ผลการสำรวจพบว่าแนวโน้มความคิดเห็นของสาธารณชนต่อแนวทางการเลือกตั้งใหม่ คืนอำนาจให้ประชาชน เป็นทางออกของสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน เพิ่มสูงขึ้น จากร้อยละ 57.4 ในช่วงต้นเดือน ก.ย. มาอยู่ที่ ร้อยละ 69.7 ในการสำรวจครั้งล่าสุด โดยเห็นว่าเป็นการรักษาระบอบประชาธิปไตย / ให้ประชาชนทั้งประเทศมีส่วนร่วมตัดสินใจแก้ปัญหาการเมือง / เป็นทางออกที่ดีกว่าการยึดอำนาจ หรือรัฐประหาร และไม่มีทางออกอื่นที่ดีกว่า และน่าจะทำให้บ้านเมืองสงบสุขได้ ขณะที่ ร้อยละ 30.3 ระบุ การเลือกตั้งใหม่ไม่ใช่ทางออก เพราะ เลือกตั้งอีกก็มีการซื้อสิทธิขายเสียง และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ
ทั้งนี้ เมื่อจำแนกออกตามลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ในทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ทุกระดับการศึกษา ทุกระดับรายได้ และทุกภูมิภาค ต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า การเลือกตั้งใหม่เป็นทางออกของสถานการณ์การเมือง
ที่น่าสนใจคือ กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีข่าวว่า กำลังมีบทบาทสูง ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองขณะนี้ เห็นด้วยถึงร้อยละ 74.1 กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาล เห็นด้วย ร้อยละ 78.9 และกลุ่มพลังเงียบ เห็นด้วย ร้อยละ 74.3 ขณะที่กลุ่มสนับสนุนรัฐบาล แม้จะเห็นด้วยน้อยกว่า แต่ก็ยังมีจำนวนเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ ร้อยละ 53.9
นอกจากนี้ เมื่อจำแนกประชาชน ตามพรรคการเมืองที่เคยเลือก พบว่า กลุ่มที่เคยเลือกพรรคพลังประชาชน ร้อยละ 60.2 กลุ่มที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มที่เคยเลือกพรรคอื่น ๆ ร้อยละ 72.4 ต่างเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ เห็นด้วยกับการคืนอำนาจให้ประชาชน
ผลการสำรวจพบว่าแนวโน้มความคิดเห็นของสาธารณชนต่อแนวทางการเลือกตั้งใหม่ คืนอำนาจให้ประชาชน เป็นทางออกของสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน เพิ่มสูงขึ้น จากร้อยละ 57.4 ในช่วงต้นเดือน ก.ย. มาอยู่ที่ ร้อยละ 69.7 ในการสำรวจครั้งล่าสุด โดยเห็นว่าเป็นการรักษาระบอบประชาธิปไตย / ให้ประชาชนทั้งประเทศมีส่วนร่วมตัดสินใจแก้ปัญหาการเมือง / เป็นทางออกที่ดีกว่าการยึดอำนาจ หรือรัฐประหาร และไม่มีทางออกอื่นที่ดีกว่า และน่าจะทำให้บ้านเมืองสงบสุขได้ ขณะที่ ร้อยละ 30.3 ระบุ การเลือกตั้งใหม่ไม่ใช่ทางออก เพราะ เลือกตั้งอีกก็มีการซื้อสิทธิขายเสียง และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ
ทั้งนี้ เมื่อจำแนกออกตามลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ในทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ทุกระดับการศึกษา ทุกระดับรายได้ และทุกภูมิภาค ต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า การเลือกตั้งใหม่เป็นทางออกของสถานการณ์การเมือง
ที่น่าสนใจคือ กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีข่าวว่า กำลังมีบทบาทสูง ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองขณะนี้ เห็นด้วยถึงร้อยละ 74.1 กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาล เห็นด้วย ร้อยละ 78.9 และกลุ่มพลังเงียบ เห็นด้วย ร้อยละ 74.3 ขณะที่กลุ่มสนับสนุนรัฐบาล แม้จะเห็นด้วยน้อยกว่า แต่ก็ยังมีจำนวนเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ ร้อยละ 53.9
นอกจากนี้ เมื่อจำแนกประชาชน ตามพรรคการเมืองที่เคยเลือก พบว่า กลุ่มที่เคยเลือกพรรคพลังประชาชน ร้อยละ 60.2 กลุ่มที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มที่เคยเลือกพรรคอื่น ๆ ร้อยละ 72.4 ต่างเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ เห็นด้วยกับการคืนอำนาจให้ประชาชน