สพท. ปิ๊งไอเดีย จัดโครงการประกวดแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยใช้งบประมาณเหลือจ่าย สนับสนุนโครงการ หวังปลูกจิตสำนึกเยาวชน แบบยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ทั้งได้แหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ และ ยังได้ปั้นเยาวชนขึ้นเป็นบุคลากรด้านการท่องเที่ยว เผยครั้งนี้เป็นปีที่ 2 จับกลุ่มเด็กมหาวิทยาลัยของรัฐบาล จากปีก่อนเน้นกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ
นางธนิฎฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า สพท. อยู่ระหว่างการจัดทำโครงการ ประกวดแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ปีที่ 2 โดยเป็นโครงการต่อเนื่องจากปีก่อน โดยปีนี้ จะเปิดรับสมัครนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐบาลทั่วประเทศ ที่สนใจนำผลงานเข้าประกวด โดยให้จัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในพื้นที่ของตัวเองที่มองเห็นว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และ ยังไม่มีคนรู้จักมากนัก ส่งมายังสพท.ซึ่งจะมีคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก โดยจะมีรางวัลเป็นเป็นทุนการศึกษาจำนวน 3 รางวัล
สำหรับโครงการนี้จะใช้งบประมาณราว 1-2 แสนบาท เป็นงบปี 2551 ที่เหลือจากการดำเนินงานนำมารวบรวมคิดเป็นโครงการนี้ขึ้นมา ซึ่งจะได้ประโยชน์ถึง 2 แนวทาง คือ ได้แหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่จะนำมาเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวของจังหวัด เสนอแก่ชาวไทยและต่างชาติ เป็นทางเลือกให้หลากหลายขึ้น และ ยังได้ผลิตบุคคลากรทางการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีก เพราะ นักศึกษาเหล่านี้จะให้ความสนใจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มากขึ้น หันมาศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง แถมยังได้ทดลองปฏิบัติงานจริง ด้วยการเขียนแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตามความคิดและมุมมองของตัวเอง ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ ย่อมจะเห็นศักยภาพได้ดีที่สุด
ทั้งนี้ในปีก่อนสพท.ได้ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเปิดรับสมัครจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ มหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของปีก่อน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพชรบุรี อันดับรองคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งปีก่อน ก็ใช้งบประมาณเหลือจ่ายจากปี 2550 จำนวนเงิน 1.5 แสนบาท เช่นกัน
อย่างไรก็ตามหน้าที่หลักของสพท. คือ เรื่องของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และพัฒนาบุคคลากรด้านการท่องเที่ยว ซึ่งสพท.ได้มีการทำอย่างต่อเนื่องมาตลอด เช่นการสร้างห้องสุขาในแหล่งท่องเที่ยว การปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว และการติดไฟส่องสว่าง โบราญสถาน และวัดสำคัญสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงการพัฒนาบุคลากรมัคคุเทศก์ ในภาษาที่ขาดแคลน เช่น รัสเซีย เกาหลี เยอรมัน เป็นต้น
ดังนั้นโครงการประกวดแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในกลุ่มเยาวชนที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยจึงตอบโจทย์ภารกิจของสพท.ได้เป็นอย่างดี และเป็นการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าสูงสุด เพราะนอกจากปลูกจิตสำนึก ให้เยาวชนรู้รักแหล่งท่องเที่ยว ยังช่วยให้เกิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในบ้านเกิดของตัวเองได้อีกด้วย
นางธนิฎฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า สพท. อยู่ระหว่างการจัดทำโครงการ ประกวดแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ปีที่ 2 โดยเป็นโครงการต่อเนื่องจากปีก่อน โดยปีนี้ จะเปิดรับสมัครนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐบาลทั่วประเทศ ที่สนใจนำผลงานเข้าประกวด โดยให้จัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในพื้นที่ของตัวเองที่มองเห็นว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และ ยังไม่มีคนรู้จักมากนัก ส่งมายังสพท.ซึ่งจะมีคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก โดยจะมีรางวัลเป็นเป็นทุนการศึกษาจำนวน 3 รางวัล
สำหรับโครงการนี้จะใช้งบประมาณราว 1-2 แสนบาท เป็นงบปี 2551 ที่เหลือจากการดำเนินงานนำมารวบรวมคิดเป็นโครงการนี้ขึ้นมา ซึ่งจะได้ประโยชน์ถึง 2 แนวทาง คือ ได้แหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่จะนำมาเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวของจังหวัด เสนอแก่ชาวไทยและต่างชาติ เป็นทางเลือกให้หลากหลายขึ้น และ ยังได้ผลิตบุคคลากรทางการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีก เพราะ นักศึกษาเหล่านี้จะให้ความสนใจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มากขึ้น หันมาศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง แถมยังได้ทดลองปฏิบัติงานจริง ด้วยการเขียนแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตามความคิดและมุมมองของตัวเอง ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ ย่อมจะเห็นศักยภาพได้ดีที่สุด
ทั้งนี้ในปีก่อนสพท.ได้ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเปิดรับสมัครจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ มหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของปีก่อน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพชรบุรี อันดับรองคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งปีก่อน ก็ใช้งบประมาณเหลือจ่ายจากปี 2550 จำนวนเงิน 1.5 แสนบาท เช่นกัน
อย่างไรก็ตามหน้าที่หลักของสพท. คือ เรื่องของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และพัฒนาบุคคลากรด้านการท่องเที่ยว ซึ่งสพท.ได้มีการทำอย่างต่อเนื่องมาตลอด เช่นการสร้างห้องสุขาในแหล่งท่องเที่ยว การปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว และการติดไฟส่องสว่าง โบราญสถาน และวัดสำคัญสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงการพัฒนาบุคลากรมัคคุเทศก์ ในภาษาที่ขาดแคลน เช่น รัสเซีย เกาหลี เยอรมัน เป็นต้น
ดังนั้นโครงการประกวดแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในกลุ่มเยาวชนที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยจึงตอบโจทย์ภารกิจของสพท.ได้เป็นอย่างดี และเป็นการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าสูงสุด เพราะนอกจากปลูกจิตสำนึก ให้เยาวชนรู้รักแหล่งท่องเที่ยว ยังช่วยให้เกิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในบ้านเกิดของตัวเองได้อีกด้วย