เอเอฟพี - โอเปกเปิดประชุมระดับรัฐมนตรีกันในวันพรุ่งนี้(9) โดยพวกนักวิเคราะห์มองว่า ประเด็นที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันแห่งนี้จะพิจารณา ไม่ใช่ประเด็นที่ว่าจะตัดลดเป้าหมายการผลิตหรือไม่ แต่อยู่ที่จะลงมือทำเมื่อใดมากกว่า ในเมื่อราคาน้ำมันดิบกำลังถอยหลังลงเรื่อยๆ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกตีบตัน
นักวิเคราะห์ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นในการสำรวจของเอเอฟพี ส่วนใหญ่คาดหมายว่า ในการประชุมวันพรุ่งนี้ 13 ชาติที่ประกอบกันเป็นองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะเพียงแค่ตกลงลดการผลิตที่เป็นจริงทว่าไม่เป็นทางการ และรอจนถึงการหารือนัดหน้าในเดือนธันวาคมจึงจะมีการปรับเปลี่ยนโควตาการผลิตที่ประกาศเป็นทางการ
การปรับลดกำลังผลิตที่เป็นจริงแต่ไม่เป็นทางการนี้ สามารถบรรลุได้โดยที่บรรดาสมาชิก โดยเฉพาะซาอุดีอาระเบีย ตกลงลดกำลังผลิตส่วนที่เกินจากโควตาที่ได้รับการจัดสรรจากองค์การ อันจะทำให้ปริมาณน้ำมันที่เป็นจริงขาดหายไปจากตลาด แต่ไม่ถึงกับทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นทางการในด้านนโยบาย
ในช่วงไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ภายใต้แรงกดดันมหาศาลจากสหรัฐฯ ทำให้ซาอุดีอาระเบียตกลงเพิ่มการผลิตในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน เพื่อฟื้นเสถียรภาพราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ที่พุ่งทำลายสถิติเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ที่ระดับ 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
มานูเชชร์ เทกิน จากศูนย์เพื่อการศึกษาพลังงานโลก (ซีจีเอสอี) ชี้ว่าแม้แต่ซาอุดีฯ สมาชิกโอเปกสายกลางที่เอนเอียงเข้าข้างอเมริกา ก็ยังไม่ต้องการให้ราคาน้ำมันตกต่ำเกินไป
เดิมพันครั้งนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากในการประชุมครั้งล่าสุดในเดือนมีนาคม เมื่อราคาน้ำมันดิบทะยานผ่านหลัก 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลโดยไม่มีทีท่าจะสงบลงง่ายๆ
เพราะคราวนี้ ราคาน้ำมันอยู่ในช่วงขาลงเตรียมฝ่าแนวต้านทางจิตวิทยาที่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่สมาชิกหลายชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกสายเหยี่ยวอย่างอิหร่านและเวเนซุเอลา ไม่อยากจะเห็น
ทว่า สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันกำลังบ่อนทำลายความต้องการใช้น้ำมัน และดูเหมือนจะเลวร้ายลงเรื่อยๆ โดยที่หลายประเทศในยุโรปมีแนวโน้มเผชิญภาวะถดถอย ส่วนสหรัฐฯ ซวนเซหนัก และเริ่มมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ของตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย
ผู้ผลิตโอเปกจำเป็นต้องรักษาสมดุลระหว่างความต้องการรายได้จากน้ำมันราคาแพง กับความเสี่ยงที่ภาวะน้ำมันแพงจะทำลายการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม
โน แวน ฮัลสต์ เลขาธิการใหญ่เวทีประชุมด้านพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Forum) แสดงทัศนะว่ามีความไม่แน่นอนอย่างมากเกี่ยวกับทิศทางดีมานด์น้ำมันท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย
ขณะที่ จอห์น ฮอลล์ นักวิเคราะห์และเจ้าของบริษัทที่ปรึกษาด้านน้ำมัน จอห์น ฮอลล์ แอสโซซิเอตส์ คาดว่าจะมีการปรับลดกำลังผลิต โดยเฉพาะในส่วนของกำลังผลิตที่ล้นเกินของซาอุดีอาระเบีย ทว่า จะไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการในวันอังคารนี้
ฮอลล์ประเมินว่า โอเปกผลิตน้ำมันเกินโควตาอยู่รวมประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน (บีพีดี) โดย 700,000 บีพีดีเป็นผลผลิตของทางการริยาด
สำหรับคณะนักวิเคราะห์จากพีเอฟซี อิเนอร์จี บริษัทที่ปรึกษาด้านพลังงานในวอชิงตัน มองว่าโอเปกจะขยับตัวมากกว่านั้นด้วยซ้ำ โดยแม้ชี้เช่นกันว่า "ประเด็นสำคัญในการประชุมโอเปกที่เวียนนาสัปดาห์นี้ ไม่ใช่เรื่องที่ว่าจำเป็นต้องลดการผลิตน้ำมันดิบลงหรือไม่ แต่อยู่ที่จะลดเมื่อใดมากกว่า"
แต่พีเอฟซีเชื่อว่าโอเปกจะตัดสินใจลดกำลังผลิตอย่างเป็นทางการในวันอังคารนี้เลย เนื่องจากมีแรงสนับสนุนเพิ่มขึ้นมาก แม้ความเคลื่อนไหวนี้อาจไม่เป็นที่พอใจของประเทศผู้บริโภคที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนขนส่งและพลังงานพุ่งขึ้นก็ตาม
พีเอฟซีคาดหมายว่า หากไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้ โอเปกก็จะประกาศลดเพดานการผลิตในการประชุมครั้งต่อไปเดือนธันวาคม
การประชุมระดับรัฐมนตรีของโอเปกในวันพรุ่งนี้ ถือเป็นการนัดหารือกันตามกำหนดปกติ โดยที่มีบางชาติสมาชิกแสดงความคิดเห็นแบบหยั่งเชิงออกมาบ้างแล้ว อาทิ อิหร่านแนะว่าควรหารือเรื่องการผลิตล้นเกิน ขณะที่ลิเบียตั้งข้อสังเกตว่าขณะนี้น้ำมันกำลังท่วมตลาด
นักวิเคราะห์ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นในการสำรวจของเอเอฟพี ส่วนใหญ่คาดหมายว่า ในการประชุมวันพรุ่งนี้ 13 ชาติที่ประกอบกันเป็นองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะเพียงแค่ตกลงลดการผลิตที่เป็นจริงทว่าไม่เป็นทางการ และรอจนถึงการหารือนัดหน้าในเดือนธันวาคมจึงจะมีการปรับเปลี่ยนโควตาการผลิตที่ประกาศเป็นทางการ
การปรับลดกำลังผลิตที่เป็นจริงแต่ไม่เป็นทางการนี้ สามารถบรรลุได้โดยที่บรรดาสมาชิก โดยเฉพาะซาอุดีอาระเบีย ตกลงลดกำลังผลิตส่วนที่เกินจากโควตาที่ได้รับการจัดสรรจากองค์การ อันจะทำให้ปริมาณน้ำมันที่เป็นจริงขาดหายไปจากตลาด แต่ไม่ถึงกับทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นทางการในด้านนโยบาย
ในช่วงไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ภายใต้แรงกดดันมหาศาลจากสหรัฐฯ ทำให้ซาอุดีอาระเบียตกลงเพิ่มการผลิตในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน เพื่อฟื้นเสถียรภาพราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ที่พุ่งทำลายสถิติเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ที่ระดับ 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
มานูเชชร์ เทกิน จากศูนย์เพื่อการศึกษาพลังงานโลก (ซีจีเอสอี) ชี้ว่าแม้แต่ซาอุดีฯ สมาชิกโอเปกสายกลางที่เอนเอียงเข้าข้างอเมริกา ก็ยังไม่ต้องการให้ราคาน้ำมันตกต่ำเกินไป
เดิมพันครั้งนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากในการประชุมครั้งล่าสุดในเดือนมีนาคม เมื่อราคาน้ำมันดิบทะยานผ่านหลัก 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลโดยไม่มีทีท่าจะสงบลงง่ายๆ
เพราะคราวนี้ ราคาน้ำมันอยู่ในช่วงขาลงเตรียมฝ่าแนวต้านทางจิตวิทยาที่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่สมาชิกหลายชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกสายเหยี่ยวอย่างอิหร่านและเวเนซุเอลา ไม่อยากจะเห็น
ทว่า สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันกำลังบ่อนทำลายความต้องการใช้น้ำมัน และดูเหมือนจะเลวร้ายลงเรื่อยๆ โดยที่หลายประเทศในยุโรปมีแนวโน้มเผชิญภาวะถดถอย ส่วนสหรัฐฯ ซวนเซหนัก และเริ่มมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ของตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย
ผู้ผลิตโอเปกจำเป็นต้องรักษาสมดุลระหว่างความต้องการรายได้จากน้ำมันราคาแพง กับความเสี่ยงที่ภาวะน้ำมันแพงจะทำลายการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม
โน แวน ฮัลสต์ เลขาธิการใหญ่เวทีประชุมด้านพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Forum) แสดงทัศนะว่ามีความไม่แน่นอนอย่างมากเกี่ยวกับทิศทางดีมานด์น้ำมันท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย
ขณะที่ จอห์น ฮอลล์ นักวิเคราะห์และเจ้าของบริษัทที่ปรึกษาด้านน้ำมัน จอห์น ฮอลล์ แอสโซซิเอตส์ คาดว่าจะมีการปรับลดกำลังผลิต โดยเฉพาะในส่วนของกำลังผลิตที่ล้นเกินของซาอุดีอาระเบีย ทว่า จะไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการในวันอังคารนี้
ฮอลล์ประเมินว่า โอเปกผลิตน้ำมันเกินโควตาอยู่รวมประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน (บีพีดี) โดย 700,000 บีพีดีเป็นผลผลิตของทางการริยาด
สำหรับคณะนักวิเคราะห์จากพีเอฟซี อิเนอร์จี บริษัทที่ปรึกษาด้านพลังงานในวอชิงตัน มองว่าโอเปกจะขยับตัวมากกว่านั้นด้วยซ้ำ โดยแม้ชี้เช่นกันว่า "ประเด็นสำคัญในการประชุมโอเปกที่เวียนนาสัปดาห์นี้ ไม่ใช่เรื่องที่ว่าจำเป็นต้องลดการผลิตน้ำมันดิบลงหรือไม่ แต่อยู่ที่จะลดเมื่อใดมากกว่า"
แต่พีเอฟซีเชื่อว่าโอเปกจะตัดสินใจลดกำลังผลิตอย่างเป็นทางการในวันอังคารนี้เลย เนื่องจากมีแรงสนับสนุนเพิ่มขึ้นมาก แม้ความเคลื่อนไหวนี้อาจไม่เป็นที่พอใจของประเทศผู้บริโภคที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนขนส่งและพลังงานพุ่งขึ้นก็ตาม
พีเอฟซีคาดหมายว่า หากไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้ โอเปกก็จะประกาศลดเพดานการผลิตในการประชุมครั้งต่อไปเดือนธันวาคม
การประชุมระดับรัฐมนตรีของโอเปกในวันพรุ่งนี้ ถือเป็นการนัดหารือกันตามกำหนดปกติ โดยที่มีบางชาติสมาชิกแสดงความคิดเห็นแบบหยั่งเชิงออกมาบ้างแล้ว อาทิ อิหร่านแนะว่าควรหารือเรื่องการผลิตล้นเกิน ขณะที่ลิเบียตั้งข้อสังเกตว่าขณะนี้น้ำมันกำลังท่วมตลาด