ภาษาอังกฤษนับว่าสำคัญมากสำหรับโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องจากปัจจุบันมีประชาชนทั่วโลกพูดภาษาอังกฤษมากกว่า 500 ล้านคน และภายใน 10 ปีข้างหน้า จะมีประชาชนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 เป็นจำนวนมากถึง 2,000 ล้านคน ทำให้กลายเป็นภาษาที่มีคนพูดมากที่สุดในโลก มากกว่าภาษาจีนกลางที่พูดกัน 1,100 ล้านคน
จากความสำคัญของภาษาอังกฤษ ทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆ มุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชนของตนเองศึกษาภาษาอังกฤษให้แตกฉาน เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ เป็นต้นว่า มาเลเซียได้กำหนดว่านับตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 เป็นต้นไป การศึกษาในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จะต้องบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ยังได้จัดสรรงบประมาณนับพันล้านบาท เพื่ออบรมภาษาอังกฤษแก่บัณฑิตในช่วงที่ตกงานและอยู่ระหว่างหางานทำ โดยมีบัณฑิตเข้ารับการฝึกอบรมหลายหมื่นคน
สำหรับสิงคโปร์นับว่าประสบผลสำเร็จอย่างมากในด้านภาษาอังกฤษเนื่องจากใช้เป็นภาษาราชการ ทำให้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายภายในประเทศ โดยจากสถิติการสอบ TOEFL เมื่อปี 2547 พบว่าสิงคโปร์ได้คะแนนสูงสุดในทวีปเอเชีย โดยมีคะแนนเฉลี่ย 252 เหนือกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ ฮ่องกง 216 เกาหลีใต้ 213 จีน 213 ไต้หวัน 203 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสิงคโปร์ได้พิจารณาเห็นว่าปัจจุบันประชาชนสิงคโปร์แม้จะเก่งในการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ แต่กลับพูดภาษาอังกฤษไม่ชัด โดยเป็นภาษาอังกฤษสำเนียงจีน พร้อมกับมีคำศัพท์ในภาษาจีนและมาเลย์เข้ามาผสมปนเปกับภาษาอังกฤษอีกด้วย จึงถูกเยาะเย้ยว่าพูดภาษา Singlish ซึ่งเป็นคำประสมระหว่าง Singapore และ English
เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น สิงคโปร์จึงเริ่มดำเนินโครงการ Speak Good English Movement ขึ้นเมื่อปี 2543 เพื่อส่งเสริมให้ชาวสิงคโปร์พูดภาษาอังกฤษแบบมาตรฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน หากประชาชนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ในสำเนียงที่ถูกต้อง จะมีส่วนช่วยเกื้อหนุนอย่างมากในติดต่อธุรกิจ สร้างความประทับใจแก่ชาวต่างประเทศที่มาใช้บริการต่างๆ ในสิงคโปร์ เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษา ท่องเที่ยว ฯลฯ
กรณีของเกาหลีใต้ คณะทำงานของประธานาธิบดีคนใหม่ ได้ประกาศเมื่อเดือนมกราคม 2551 เกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงการศึกษาภาษาอังกฤษใหม่ โดยกำหนดมาตรการหลายประการ เป็นต้นว่า ครูสอนภาษาอังกฤษต้องสอบความรู้ภาษาอังกฤษเป็นระยะๆ โดยต้องสอบผ่านได้คะแนนสูงกว่าระดับหนึ่ง มิฉะนั้น จะไม่อนุญาตให้ทำการสอนภาษาอังกฤษ รวมถึงเพิ่มชั่วโมงภาษาอังกฤษ เป็นต้นว่า กรณีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 จะเพิ่มจาก 3 – 5 เป็น 6 - 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
นอกจากนี้ ในระยะที่ผ่านมารัฐบาลเกาหลีใต้ได้มีแนวคิดที่จะกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการสำหรับใช้ในเขตปลอดอากรที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น โดยเอกสารราชการทุกชิ้นจะต้องมีทั้งภาษาเกาหลีและภาษาอังกฤษ ส่วนกระทรวงศึกษาธิการของเกาหลีใต้ได้ทดลองกำหนดให้โรงเรียนบางส่วนทำการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษาโดยใช้ภาษาอังกฤษนับตั้งแต่ปี 2549
ขณะที่ญี่ปุ่นก็มีทักษะภาษาอังกฤษแย่มาก โดยเป็นรองไม่เพียงแค่ฮ่องกงและสิงคโปร์เท่านั้น เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้ถูกเกาหลีเหนือและอัฟกานิสถานแซงหน้าอีกด้วย รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้ทำการศึกษาและจัดทำรายงาน “English Strategy Initiative” เมื่อปี 2545 เสนอแนะให้ผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต้องมีการสนทนาในภาษาอังกฤษเป็นประจำทุกวัน สำหรับผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัย จะต้องสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานและในการวิจัยได้
รายงานฉบับนี้ยังได้เสนอแนะว่าอาจารย์ภาษาอังกฤษที่สอนในระดับมัธยมศึกษาจะต้องสอบ TOEFL ได้คะแนนอย่างต่ำ 550 และสอบ Test of English for International Communication (TOEIC) ได้คะแนนอย่างต่ำ 730 อย่างไรก็ตาม นโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นไม่บรรลุตัวชี้วัดที่กำหนดเท่าใดนัก โดยจากการสำรวจโรงเรียนรัฐบาล 10,200 แห่ง และโรงเรียนเอกชน 3,800 แห่ง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 พบว่ามีเพียง 8.3% ของอาจารย์สอนภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีคะแนน TOEIC อย่างต่ำ 730 ที่กำหนดเอาไว้ สำหรับอาจารย์ภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน มีไม่ถึง 16.3% ที่มีคะแนนอย่างต่ำ 730
ส่วนประเทศจีนให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษมาก รัฐบาลจีนได้เร่งส่งเสริมการศึกษาภาษาอังกฤษเป็นการใหญ่ โดยมีเหตุผลสำคัญประการหนึ่ง คือ เพื่อเตรียมบุคลากรในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2551 สำหรับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากของจีน คือ มหาวิทยาลัย Qinghua และมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้เริ่มใช้ตำราที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ และในอนาคตมีแผนที่จะบรรยายในชั้นเรียนโดยใช้ภาษาอังกฤษ ในวิชาต่างๆ เช่น การบริหารการเงิน ชีววิทยา เทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ
ขณะที่ฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษยาวนานถึง 155 ปี (ตั้งแต่ปี 2385 – 2540) ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาประชาชนมีทักษะในภาษาอังกฤษค่อนข้างดี แต่ภายหลังอังกฤษมอบฮ่องกงคืนแก่จีนเมื่อปี 2540 ปรากฏว่าทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนฮ่องกงมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ โดยจากการสำรวจความเห็นของภาคธุรกิจของฮ่องกงเมื่อเดือนตุลาคม 2549 พบว่ามีสัดส่วน 60% ที่ไม่พอใจเกี่ยวกับมาตรฐานภาษาอังกฤษของบุคลากร
ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลฮ่องกงได้ทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษแก่บรรดาครูอาจารย์ที่สอนวิชาภาษาอังกฤษเมื่อปี 2547 พบว่าบรรดาครูอาจารย์มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนที่เข้าทดสอบทั้งหมด 3,307 คน มีระดับต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด นับว่าต่ำมากเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่จัดการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษเป็นต้นมา
แม้มีจำนวนครูอาจารย์ภาษาอังกฤษเป็นจำนวนค่อนข้างสูง คือ 63% ที่สามารถสอบผ่านการทดสอบเกี่ยวกับการอ่านภาษาอังกฤษ แต่มีจำนวนเพียง 45% ผ่านการทดสอบการพูดภาษาอังกฤษ ยิ่งไปกว่านั้น มีครูอาจารย์เพียงแค่ 37% ผ่านการทดสอบการเขียนและการฟังภาษาอังกฤษ
ปัญหาข้างต้นทำให้รัฐบาลฮ่องกงกังวลมาก เนื่องจากกระทบต่อภาพลักษณ์การลงทุนของฮ่องกงที่ปัจจุบันกำลังแย่งชิงกับสิงคโปร์ในการเป็นศูนย์กลางทางการเงินของทวีปเอเชีย รวมถึงกระทบต่อการท่องเที่ยวอีกด้วย ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ว่าจ้างครูจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย ฯลฯ จำนวนมาก เพื่อมาสอนนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการของฮ่องกงยังได้กำหนดให้ครูอาจารย์ภาษาอังกฤษจำนวน 163 คน ที่สอบตกวิชาภาษาอังกฤษหลายครั้ง หยุดการสอนนับตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 เป็นต้นไป โดยเท่าที่ผ่านมาครูอาจารย์ที่ถูกห้ามสอนนี้ บางส่วนได้ลาออกจากราชการ และอีกส่วนหนึ่งต้องไปอบรมเพิ่มเติมเพื่อเปลี่ยนไปสอนวิชาอื่นแทน
สำหรับฟิลิปปินส์นับเป็นประเทศที่ประชาชนมีทักษะภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี โดยประชาชนสัดส่วนมากถึง 95% สามารถพูดหรือฟังภาษาอังกฤษอย่างเข้าใจ แต่ต้องเผชิญกับกระแสชาตินิยมภายหลังการโค่นล้มรัฐบาลของประธานาธิบดีมาร์กอส ส่งผลทำให้กระทรวงศึกษาธิการซึ่งเดิมใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน ต้องเปลี่ยนมาสอนโดยใช้ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษและภาษาตากาล๊อก นับตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา ยิ่งไปกว่านั้น การเรียนการสอนในระยะหลังได้เปลี่ยนมาใช้ภาษาตากาล๊อกเป็นสัดส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษลดลง
นโยบายข้างต้นได้ส่งผลกระทบอย่างมาก ทำให้ประชากรมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษลดลงอย่างรวดเร็ว กระทบต่อจุดขายสำคัญของประเทศที่ภาษาอังกฤษนับเป็นปัจจัยสำคัญในการชักจูงการลงทุน โดยจากการศึกษาของหอการค้าฟิลิปปินส์เมื่อปี 2549 พบว่าในจำนวนผู้สำเร็จปริญญาตรีจำนวน 400,000 คน มีสัดส่วนเพียง 25% ของทั้งหมด ที่ภาษาอังกฤษอยู่ในขั้นใช้ได้ ขณะที่รัฐบาลได้ทำการสำรวจผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่ามีสัดส่วนเพียง 7% ที่ภาษาอังกฤษอยู่ในขั้นใช้ได้
ปัญหาข้างต้นส่งผลกระทบอย่างมากต่อความพยายามของฟิลิปปินส์ที่จะเป็นศูนย์ธุรกิจ Shared Services and Outsourcing (SSO) ซึ่งเป็นบริการร่วมทั้งเพื่อให้บริการตนเองและรับจ้างให้บริการแก่บริษัทอื่น โดยเฉพาะการให้บริการผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังต่างประเทศ นับว่าน่าสนใจมาก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันสภาพการทำงานดี ทำงานในห้องแอร์ ไม่ต้องแบกหามใช้แรงงานมาก
นาย Edgardo J. Angara สมาชิกวุฒิสภา ได้ให้ทัศนะว่าปัญหาข้างต้นนับเป็นระเบิดเวลาที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ต้องรีบเร่งแก้ไข โดยล่าสุดรัฐสภาของฟิลิปปินส์ได้ออกกฎหมายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 กำหนดให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการเรียนการสอนนับตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นต้นไป
สำหรับกรณีของประเทศไทย จากข้อมูลเมื่อปี 2548 ของศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พบว่าคนไทยทำคะแนนสอบภาษาอังกฤษค่อนข้างต่ำ โดยค่าเฉลี่ยคะแนนภาษาอังกฤษจากการสอบเอนทรานซ์ตั้งแต่การสอบในเดือนมีนาคม 2545 – มีนาคม 2548 พบว่าไม่มีปีใดเลยที่ผู้เข้าสอบทำคะแนนเฉลี่ยได้เกิน 50%
ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน พบว่าไทยมีทักษะภาษาอังกฤษค่อนข้างอ่อน แม้การสอบ TOEIC ที่เป็นการสอบภาษาอังกฤษเพื่อนำคะแนนไปใช้ในการสมัครงานในต่างประเทศ ไทยจะมีคะแนนเฉลี่ยค่อนข้างสูง โดยในช่วงปี 2547 - 2548 ไทยอยู่ในลำดับที่ 4 ของอาเซียน แต่การสอบ TOEFL ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2547 –มิถุนายน 2548 กลับพบว่าไทยได้คะแนนเฉลี่ยเพียง 201 นับว่าเป็นอันดับที่ 8 ของอาเซียนที่มีทั้งหมด 10 ประเทศ ซึ่งหากประเทศไทยต้องการเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจในภูมิภาคแล้ว จะต้องรีบเร่งแก้ไขปัญหานี้โดยด่วนที่สุด
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
จากความสำคัญของภาษาอังกฤษ ทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆ มุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชนของตนเองศึกษาภาษาอังกฤษให้แตกฉาน เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ เป็นต้นว่า มาเลเซียได้กำหนดว่านับตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 เป็นต้นไป การศึกษาในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จะต้องบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ยังได้จัดสรรงบประมาณนับพันล้านบาท เพื่ออบรมภาษาอังกฤษแก่บัณฑิตในช่วงที่ตกงานและอยู่ระหว่างหางานทำ โดยมีบัณฑิตเข้ารับการฝึกอบรมหลายหมื่นคน
สำหรับสิงคโปร์นับว่าประสบผลสำเร็จอย่างมากในด้านภาษาอังกฤษเนื่องจากใช้เป็นภาษาราชการ ทำให้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายภายในประเทศ โดยจากสถิติการสอบ TOEFL เมื่อปี 2547 พบว่าสิงคโปร์ได้คะแนนสูงสุดในทวีปเอเชีย โดยมีคะแนนเฉลี่ย 252 เหนือกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ ฮ่องกง 216 เกาหลีใต้ 213 จีน 213 ไต้หวัน 203 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสิงคโปร์ได้พิจารณาเห็นว่าปัจจุบันประชาชนสิงคโปร์แม้จะเก่งในการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ แต่กลับพูดภาษาอังกฤษไม่ชัด โดยเป็นภาษาอังกฤษสำเนียงจีน พร้อมกับมีคำศัพท์ในภาษาจีนและมาเลย์เข้ามาผสมปนเปกับภาษาอังกฤษอีกด้วย จึงถูกเยาะเย้ยว่าพูดภาษา Singlish ซึ่งเป็นคำประสมระหว่าง Singapore และ English
เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น สิงคโปร์จึงเริ่มดำเนินโครงการ Speak Good English Movement ขึ้นเมื่อปี 2543 เพื่อส่งเสริมให้ชาวสิงคโปร์พูดภาษาอังกฤษแบบมาตรฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน หากประชาชนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ในสำเนียงที่ถูกต้อง จะมีส่วนช่วยเกื้อหนุนอย่างมากในติดต่อธุรกิจ สร้างความประทับใจแก่ชาวต่างประเทศที่มาใช้บริการต่างๆ ในสิงคโปร์ เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษา ท่องเที่ยว ฯลฯ
กรณีของเกาหลีใต้ คณะทำงานของประธานาธิบดีคนใหม่ ได้ประกาศเมื่อเดือนมกราคม 2551 เกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงการศึกษาภาษาอังกฤษใหม่ โดยกำหนดมาตรการหลายประการ เป็นต้นว่า ครูสอนภาษาอังกฤษต้องสอบความรู้ภาษาอังกฤษเป็นระยะๆ โดยต้องสอบผ่านได้คะแนนสูงกว่าระดับหนึ่ง มิฉะนั้น จะไม่อนุญาตให้ทำการสอนภาษาอังกฤษ รวมถึงเพิ่มชั่วโมงภาษาอังกฤษ เป็นต้นว่า กรณีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 จะเพิ่มจาก 3 – 5 เป็น 6 - 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
นอกจากนี้ ในระยะที่ผ่านมารัฐบาลเกาหลีใต้ได้มีแนวคิดที่จะกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการสำหรับใช้ในเขตปลอดอากรที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น โดยเอกสารราชการทุกชิ้นจะต้องมีทั้งภาษาเกาหลีและภาษาอังกฤษ ส่วนกระทรวงศึกษาธิการของเกาหลีใต้ได้ทดลองกำหนดให้โรงเรียนบางส่วนทำการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษาโดยใช้ภาษาอังกฤษนับตั้งแต่ปี 2549
ขณะที่ญี่ปุ่นก็มีทักษะภาษาอังกฤษแย่มาก โดยเป็นรองไม่เพียงแค่ฮ่องกงและสิงคโปร์เท่านั้น เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้ถูกเกาหลีเหนือและอัฟกานิสถานแซงหน้าอีกด้วย รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้ทำการศึกษาและจัดทำรายงาน “English Strategy Initiative” เมื่อปี 2545 เสนอแนะให้ผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต้องมีการสนทนาในภาษาอังกฤษเป็นประจำทุกวัน สำหรับผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัย จะต้องสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานและในการวิจัยได้
รายงานฉบับนี้ยังได้เสนอแนะว่าอาจารย์ภาษาอังกฤษที่สอนในระดับมัธยมศึกษาจะต้องสอบ TOEFL ได้คะแนนอย่างต่ำ 550 และสอบ Test of English for International Communication (TOEIC) ได้คะแนนอย่างต่ำ 730 อย่างไรก็ตาม นโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นไม่บรรลุตัวชี้วัดที่กำหนดเท่าใดนัก โดยจากการสำรวจโรงเรียนรัฐบาล 10,200 แห่ง และโรงเรียนเอกชน 3,800 แห่ง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 พบว่ามีเพียง 8.3% ของอาจารย์สอนภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีคะแนน TOEIC อย่างต่ำ 730 ที่กำหนดเอาไว้ สำหรับอาจารย์ภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน มีไม่ถึง 16.3% ที่มีคะแนนอย่างต่ำ 730
ส่วนประเทศจีนให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษมาก รัฐบาลจีนได้เร่งส่งเสริมการศึกษาภาษาอังกฤษเป็นการใหญ่ โดยมีเหตุผลสำคัญประการหนึ่ง คือ เพื่อเตรียมบุคลากรในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2551 สำหรับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากของจีน คือ มหาวิทยาลัย Qinghua และมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้เริ่มใช้ตำราที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ และในอนาคตมีแผนที่จะบรรยายในชั้นเรียนโดยใช้ภาษาอังกฤษ ในวิชาต่างๆ เช่น การบริหารการเงิน ชีววิทยา เทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ
ขณะที่ฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษยาวนานถึง 155 ปี (ตั้งแต่ปี 2385 – 2540) ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาประชาชนมีทักษะในภาษาอังกฤษค่อนข้างดี แต่ภายหลังอังกฤษมอบฮ่องกงคืนแก่จีนเมื่อปี 2540 ปรากฏว่าทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนฮ่องกงมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ โดยจากการสำรวจความเห็นของภาคธุรกิจของฮ่องกงเมื่อเดือนตุลาคม 2549 พบว่ามีสัดส่วน 60% ที่ไม่พอใจเกี่ยวกับมาตรฐานภาษาอังกฤษของบุคลากร
ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลฮ่องกงได้ทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษแก่บรรดาครูอาจารย์ที่สอนวิชาภาษาอังกฤษเมื่อปี 2547 พบว่าบรรดาครูอาจารย์มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนที่เข้าทดสอบทั้งหมด 3,307 คน มีระดับต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด นับว่าต่ำมากเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่จัดการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษเป็นต้นมา
แม้มีจำนวนครูอาจารย์ภาษาอังกฤษเป็นจำนวนค่อนข้างสูง คือ 63% ที่สามารถสอบผ่านการทดสอบเกี่ยวกับการอ่านภาษาอังกฤษ แต่มีจำนวนเพียง 45% ผ่านการทดสอบการพูดภาษาอังกฤษ ยิ่งไปกว่านั้น มีครูอาจารย์เพียงแค่ 37% ผ่านการทดสอบการเขียนและการฟังภาษาอังกฤษ
ปัญหาข้างต้นทำให้รัฐบาลฮ่องกงกังวลมาก เนื่องจากกระทบต่อภาพลักษณ์การลงทุนของฮ่องกงที่ปัจจุบันกำลังแย่งชิงกับสิงคโปร์ในการเป็นศูนย์กลางทางการเงินของทวีปเอเชีย รวมถึงกระทบต่อการท่องเที่ยวอีกด้วย ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ว่าจ้างครูจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย ฯลฯ จำนวนมาก เพื่อมาสอนนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการของฮ่องกงยังได้กำหนดให้ครูอาจารย์ภาษาอังกฤษจำนวน 163 คน ที่สอบตกวิชาภาษาอังกฤษหลายครั้ง หยุดการสอนนับตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 เป็นต้นไป โดยเท่าที่ผ่านมาครูอาจารย์ที่ถูกห้ามสอนนี้ บางส่วนได้ลาออกจากราชการ และอีกส่วนหนึ่งต้องไปอบรมเพิ่มเติมเพื่อเปลี่ยนไปสอนวิชาอื่นแทน
สำหรับฟิลิปปินส์นับเป็นประเทศที่ประชาชนมีทักษะภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี โดยประชาชนสัดส่วนมากถึง 95% สามารถพูดหรือฟังภาษาอังกฤษอย่างเข้าใจ แต่ต้องเผชิญกับกระแสชาตินิยมภายหลังการโค่นล้มรัฐบาลของประธานาธิบดีมาร์กอส ส่งผลทำให้กระทรวงศึกษาธิการซึ่งเดิมใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน ต้องเปลี่ยนมาสอนโดยใช้ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษและภาษาตากาล๊อก นับตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา ยิ่งไปกว่านั้น การเรียนการสอนในระยะหลังได้เปลี่ยนมาใช้ภาษาตากาล๊อกเป็นสัดส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษลดลง
นโยบายข้างต้นได้ส่งผลกระทบอย่างมาก ทำให้ประชากรมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษลดลงอย่างรวดเร็ว กระทบต่อจุดขายสำคัญของประเทศที่ภาษาอังกฤษนับเป็นปัจจัยสำคัญในการชักจูงการลงทุน โดยจากการศึกษาของหอการค้าฟิลิปปินส์เมื่อปี 2549 พบว่าในจำนวนผู้สำเร็จปริญญาตรีจำนวน 400,000 คน มีสัดส่วนเพียง 25% ของทั้งหมด ที่ภาษาอังกฤษอยู่ในขั้นใช้ได้ ขณะที่รัฐบาลได้ทำการสำรวจผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่ามีสัดส่วนเพียง 7% ที่ภาษาอังกฤษอยู่ในขั้นใช้ได้
ปัญหาข้างต้นส่งผลกระทบอย่างมากต่อความพยายามของฟิลิปปินส์ที่จะเป็นศูนย์ธุรกิจ Shared Services and Outsourcing (SSO) ซึ่งเป็นบริการร่วมทั้งเพื่อให้บริการตนเองและรับจ้างให้บริการแก่บริษัทอื่น โดยเฉพาะการให้บริการผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังต่างประเทศ นับว่าน่าสนใจมาก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันสภาพการทำงานดี ทำงานในห้องแอร์ ไม่ต้องแบกหามใช้แรงงานมาก
นาย Edgardo J. Angara สมาชิกวุฒิสภา ได้ให้ทัศนะว่าปัญหาข้างต้นนับเป็นระเบิดเวลาที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ต้องรีบเร่งแก้ไข โดยล่าสุดรัฐสภาของฟิลิปปินส์ได้ออกกฎหมายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 กำหนดให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการเรียนการสอนนับตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นต้นไป
สำหรับกรณีของประเทศไทย จากข้อมูลเมื่อปี 2548 ของศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พบว่าคนไทยทำคะแนนสอบภาษาอังกฤษค่อนข้างต่ำ โดยค่าเฉลี่ยคะแนนภาษาอังกฤษจากการสอบเอนทรานซ์ตั้งแต่การสอบในเดือนมีนาคม 2545 – มีนาคม 2548 พบว่าไม่มีปีใดเลยที่ผู้เข้าสอบทำคะแนนเฉลี่ยได้เกิน 50%
ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน พบว่าไทยมีทักษะภาษาอังกฤษค่อนข้างอ่อน แม้การสอบ TOEIC ที่เป็นการสอบภาษาอังกฤษเพื่อนำคะแนนไปใช้ในการสมัครงานในต่างประเทศ ไทยจะมีคะแนนเฉลี่ยค่อนข้างสูง โดยในช่วงปี 2547 - 2548 ไทยอยู่ในลำดับที่ 4 ของอาเซียน แต่การสอบ TOEFL ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2547 –มิถุนายน 2548 กลับพบว่าไทยได้คะแนนเฉลี่ยเพียง 201 นับว่าเป็นอันดับที่ 8 ของอาเซียนที่มีทั้งหมด 10 ประเทศ ซึ่งหากประเทศไทยต้องการเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจในภูมิภาคแล้ว จะต้องรีบเร่งแก้ไขปัญหานี้โดยด่วนที่สุด
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th