เดิลเมล์ - พ่อแม่ที่พยายามสอนลูกเล็กให้รู้จักแบ่งปันและความเท่าเทียมอาจเสียเวลาเปล่า หลังผลวิจัยระบุเด็กอายุ 3-4 ขวบส่วนใหญ่ยังเห็นแก่ตัวเองเป็นหลัก กระทั่ง 7 ขวบถึงจะเรียนรู้เอาใจเขาใส่ใจเรา
ผลศึกษาชิ้นนี้คงไม่สร้างความประหลาดใจให้พ่อแม่ที่พยายามสอนให้ลูกเล็กเล่นเกมและแบ่งของเล่นกับเพื่อนโดยไม่ต้องเสียน้ำตาหรือได้รอยฟกช้ำดำเขียวกลับมาดูต่างหน้า
งานนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซูริกขอให้นักเรียนสวิส 229 คนจับคู่แบ่งขนมกับเด็กอายุเท่ากัน โดยสามารถเลือกได้ว่าจะแบ่งขนมแบบ ‘ชิ้นหนึ่งของฉัน ชิ้นหนึ่งของเธอ’ หรือแบ่งตามอำเภอใจ เช่น ‘ชิ้นหนึ่งของฉัน ของเธอผลัดไปก่อน’ หรือว่า ‘ชิ้นหนึ่งของเธอ ฉันต้องสองชิ้น’
รายงานในวารสารเนเจอร์แจกแจงว่า เด็กนักเรียนอายุ 3-4 ขวบที่เข้าร่วมการทดลองมีแนวโน้มคิดถึงตัวเองเป็นหลัก และแทบไม่ยอมแบ่งขนม แม้นักวิจัยให้ขนมคืนสำหรับกรณีที่เด็กยอมแบ่งขนมก็ตาม มีเพียง 10% เท่านั้นที่แบ่งขนมให้คู่ของตนคนละชิ้นเท่ากัน
แต่เมื่อทดลองกับนักเรียนอายุ 7-8 ปี รูปแบบการแบ่งปันเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง กล่าวคือเด็กช่วงวัยนี้ส่วนใหญ่เลือกทางเลือกที่เป็นธรรมที่สุดในการแบ่งขนม โดยเฉพาะเมื่อต้องแบ่งกับเพื่อน
รายงานการวิจัยที่นำทีมโดยดร.เอิร์นสต์ เฟอร์ ระบุว่า เด็กอายุ 3-4 ขวบเกือบทั้งหมดมักมีพฤติกรรมเห็นแก่ตัวเองเป็นหลัก ขณะที่เด็กอายุ 7-8 ปีส่วนใหญ่ชอบที่จะแบ่งปันของอย่างยุติธรรม
เมื่อเร็วๆ นี้มีการทดลองในลักษณะคล้ายกันนี้กับชิมแปนซี ซึ่งพบว่าสัตว์สายพันธุ์นี้เห็นแก่ตัวตั้งแต่เกิดจนตาย
นักจิตวิทยาแสดงทัศนะว่า เด็กเล็กจะมีพัฒนาการความสามารถในการเข้าใจความคิดความรู้สึกของผู้อื่นน้อยมาก จนกว่าจะเข้าสู่วัยประถม
ตัวอย่างเช่น ผลการศึกษาในอดีตที่ระบุว่า เด็กสามขวบส่วนใหญ่โกหกไม่เป็น เมื่อขอให้วิจารณ์ภาพวาดภาพหนึ่งในระหว่างการทดลอง เด็กส่วนใหญ่จะวิจารณ์อย่างแสบสันตรงไปตรงมาที่สุด แม้ว่าผู้วาดยืนอยู่ตรงนั้นด้วยก็ตาม
แต่สำหรับเด็กสี่ขวบจะวิจารณ์ในแนวบวกเมื่อผู้วาดอยู่ด้วย บ่งชี้ว่าเด็กวัยนี้เริ่มเรียนรู้ที่จะเยินยอฉอเลาะ
แม้บ่อยครั้งเด็กเล็กคิดถึงคนอื่นไม่เป็นถ้าปราศจากการชี้นำของผู้ใหญ่ แต่นักการศึกษาจำนวนมากแนะว่า พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักความสำคัญของการเล่นและแบ่งปันอย่างเท่าเทียม เพราะอย่างน้อยที่สุดจะช่วยลดแนวโน้มการทะเลาะวิวาทลงได้
ผลศึกษาชิ้นนี้คงไม่สร้างความประหลาดใจให้พ่อแม่ที่พยายามสอนให้ลูกเล็กเล่นเกมและแบ่งของเล่นกับเพื่อนโดยไม่ต้องเสียน้ำตาหรือได้รอยฟกช้ำดำเขียวกลับมาดูต่างหน้า
งานนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซูริกขอให้นักเรียนสวิส 229 คนจับคู่แบ่งขนมกับเด็กอายุเท่ากัน โดยสามารถเลือกได้ว่าจะแบ่งขนมแบบ ‘ชิ้นหนึ่งของฉัน ชิ้นหนึ่งของเธอ’ หรือแบ่งตามอำเภอใจ เช่น ‘ชิ้นหนึ่งของฉัน ของเธอผลัดไปก่อน’ หรือว่า ‘ชิ้นหนึ่งของเธอ ฉันต้องสองชิ้น’
รายงานในวารสารเนเจอร์แจกแจงว่า เด็กนักเรียนอายุ 3-4 ขวบที่เข้าร่วมการทดลองมีแนวโน้มคิดถึงตัวเองเป็นหลัก และแทบไม่ยอมแบ่งขนม แม้นักวิจัยให้ขนมคืนสำหรับกรณีที่เด็กยอมแบ่งขนมก็ตาม มีเพียง 10% เท่านั้นที่แบ่งขนมให้คู่ของตนคนละชิ้นเท่ากัน
แต่เมื่อทดลองกับนักเรียนอายุ 7-8 ปี รูปแบบการแบ่งปันเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง กล่าวคือเด็กช่วงวัยนี้ส่วนใหญ่เลือกทางเลือกที่เป็นธรรมที่สุดในการแบ่งขนม โดยเฉพาะเมื่อต้องแบ่งกับเพื่อน
รายงานการวิจัยที่นำทีมโดยดร.เอิร์นสต์ เฟอร์ ระบุว่า เด็กอายุ 3-4 ขวบเกือบทั้งหมดมักมีพฤติกรรมเห็นแก่ตัวเองเป็นหลัก ขณะที่เด็กอายุ 7-8 ปีส่วนใหญ่ชอบที่จะแบ่งปันของอย่างยุติธรรม
เมื่อเร็วๆ นี้มีการทดลองในลักษณะคล้ายกันนี้กับชิมแปนซี ซึ่งพบว่าสัตว์สายพันธุ์นี้เห็นแก่ตัวตั้งแต่เกิดจนตาย
นักจิตวิทยาแสดงทัศนะว่า เด็กเล็กจะมีพัฒนาการความสามารถในการเข้าใจความคิดความรู้สึกของผู้อื่นน้อยมาก จนกว่าจะเข้าสู่วัยประถม
ตัวอย่างเช่น ผลการศึกษาในอดีตที่ระบุว่า เด็กสามขวบส่วนใหญ่โกหกไม่เป็น เมื่อขอให้วิจารณ์ภาพวาดภาพหนึ่งในระหว่างการทดลอง เด็กส่วนใหญ่จะวิจารณ์อย่างแสบสันตรงไปตรงมาที่สุด แม้ว่าผู้วาดยืนอยู่ตรงนั้นด้วยก็ตาม
แต่สำหรับเด็กสี่ขวบจะวิจารณ์ในแนวบวกเมื่อผู้วาดอยู่ด้วย บ่งชี้ว่าเด็กวัยนี้เริ่มเรียนรู้ที่จะเยินยอฉอเลาะ
แม้บ่อยครั้งเด็กเล็กคิดถึงคนอื่นไม่เป็นถ้าปราศจากการชี้นำของผู้ใหญ่ แต่นักการศึกษาจำนวนมากแนะว่า พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักความสำคัญของการเล่นและแบ่งปันอย่างเท่าเทียม เพราะอย่างน้อยที่สุดจะช่วยลดแนวโน้มการทะเลาะวิวาทลงได้