เดิลเมล์ - นักวิจัยแนะถ้าอยากรู้ว่าคนตรงหน้าพูดจริงหรือโกหก ให้มองตาคนๆ นั้นให้ดี เพราะระหว่างและหลังจากที่ปั้นเรื่อง จังหวะการกระพริบตาของคนเรามักไม่เหมือนเดิม
ดร.ชารอน ลีล จากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัท อังกฤษ ผู้ร่วมจัดทำรายงานฉบับนี้ แจงว่าระหว่างเล่าความเท็จ คนๆ นั้นจะกระพริบตาน้อยกว่าปกติ แต่หลังจากนั้นจะกระพริบตาถี่ขึ้นแปดเท่า
“ที่ผ่านมาความแตกต่างด้านพฤติกรรมระหว่างคนพูดจริงกับคนพูดโกหกไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญมากนักในการวิจัยเกี่ยวกับการตบตา”
นักจิตวิทยาพูดถึงการค้นพบนี้ที่รายงานอยู่ในเจอร์นัล ออฟ นอน-เวอร์บัล บีแฮฟวิเออร์ ว่าเจ้าหน้าที่สอบสวนสามารถนำอัตราการกระพริบตาไปใช้ในการจับเท็จได้
ในการศึกษา อาสาสมัครกลุ่มหนึ่งถูกขอให้ทำกิจกรรมประจำวันตามปกตินานสิบนาที ขณะที่อีกกลุ่มได้โจทย์ให้ขโมยข้อสอบจากออฟฟิศ และปฏิเสธว่าไม่ได้ทำ
หลังจากนั้น นักทดลองซึ่งไม่รู้ว่าอาสาสมัครกลุ่มไหนพูดจริงกลุ่มไหนโกหก จะขอให้อาสาสมัครแต่ละคนเล่าสิ่งที่ทำไป โดยระหว่างนั้นจะมีการใช้อุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหวของดวงตาของอาสาสมัคร
ผลปรากฏว่า เมื่อมีการถาม-ตอบ อัตราการกระพริบตาของกลุ่มที่โกหกจะลดลง ขณะที่ของกลุ่มที่พูดความจริงเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะความกังวลในการทดสอบ
หลังจากการถาม-ตอบจบลง อัตราการกระพริบตาของคนโกหกจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่อีกกลุ่มคงเดิม
นักวิจัยอธิบายว่า การใช้สมาธิเพื่อสร้างเรื่องเท็จอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้กลุ่มที่โกหกไม่กระพริบตาระหว่างที่ปั้นเรื่อง
“คนโกหกต้องพยายามกุเรื่อง และต้องจดจ่อกับเรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อให้เรื่องนั้นดูน่าเชื่อถือ แถมยังต้องพยายามจำเรื่องที่โกหกให้ได้ตั้งแต่ประโยคแรกๆ เพื่อที่ว่าเมื่อเล่าใหม่เรื่องราวจะเหมือนเดิม รวมทั้งต้องจำให้ได้ด้วยว่าเล่าให้ใครฟังบ้าง
“คนโกหกมีแนวโน้มมากกว่าคนพูดจริงที่จะพยายามควบคุมพฤติกรรมของตนเองเพื่อให้ดูน่าไว้ใจ
“ส่วนเหตุผลที่อัตราการกระพริบตาถี่ขึ้นหลังการโกหกนั้นยังไม่เป็นที่ชัดเจน อาจเป็นเพราะการกระพริบตาบ่งบอกถึงความรู้สึกปลอดภัย เหมือนการปลดปล่อยพลังงานหลังจากความเครียดในการโกหก”
ดร.ชารอน ลีล จากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัท อังกฤษ ผู้ร่วมจัดทำรายงานฉบับนี้ แจงว่าระหว่างเล่าความเท็จ คนๆ นั้นจะกระพริบตาน้อยกว่าปกติ แต่หลังจากนั้นจะกระพริบตาถี่ขึ้นแปดเท่า
“ที่ผ่านมาความแตกต่างด้านพฤติกรรมระหว่างคนพูดจริงกับคนพูดโกหกไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญมากนักในการวิจัยเกี่ยวกับการตบตา”
นักจิตวิทยาพูดถึงการค้นพบนี้ที่รายงานอยู่ในเจอร์นัล ออฟ นอน-เวอร์บัล บีแฮฟวิเออร์ ว่าเจ้าหน้าที่สอบสวนสามารถนำอัตราการกระพริบตาไปใช้ในการจับเท็จได้
ในการศึกษา อาสาสมัครกลุ่มหนึ่งถูกขอให้ทำกิจกรรมประจำวันตามปกตินานสิบนาที ขณะที่อีกกลุ่มได้โจทย์ให้ขโมยข้อสอบจากออฟฟิศ และปฏิเสธว่าไม่ได้ทำ
หลังจากนั้น นักทดลองซึ่งไม่รู้ว่าอาสาสมัครกลุ่มไหนพูดจริงกลุ่มไหนโกหก จะขอให้อาสาสมัครแต่ละคนเล่าสิ่งที่ทำไป โดยระหว่างนั้นจะมีการใช้อุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหวของดวงตาของอาสาสมัคร
ผลปรากฏว่า เมื่อมีการถาม-ตอบ อัตราการกระพริบตาของกลุ่มที่โกหกจะลดลง ขณะที่ของกลุ่มที่พูดความจริงเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะความกังวลในการทดสอบ
หลังจากการถาม-ตอบจบลง อัตราการกระพริบตาของคนโกหกจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่อีกกลุ่มคงเดิม
นักวิจัยอธิบายว่า การใช้สมาธิเพื่อสร้างเรื่องเท็จอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้กลุ่มที่โกหกไม่กระพริบตาระหว่างที่ปั้นเรื่อง
“คนโกหกต้องพยายามกุเรื่อง และต้องจดจ่อกับเรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อให้เรื่องนั้นดูน่าเชื่อถือ แถมยังต้องพยายามจำเรื่องที่โกหกให้ได้ตั้งแต่ประโยคแรกๆ เพื่อที่ว่าเมื่อเล่าใหม่เรื่องราวจะเหมือนเดิม รวมทั้งต้องจำให้ได้ด้วยว่าเล่าให้ใครฟังบ้าง
“คนโกหกมีแนวโน้มมากกว่าคนพูดจริงที่จะพยายามควบคุมพฤติกรรมของตนเองเพื่อให้ดูน่าไว้ใจ
“ส่วนเหตุผลที่อัตราการกระพริบตาถี่ขึ้นหลังการโกหกนั้นยังไม่เป็นที่ชัดเจน อาจเป็นเพราะการกระพริบตาบ่งบอกถึงความรู้สึกปลอดภัย เหมือนการปลดปล่อยพลังงานหลังจากความเครียดในการโกหก”