นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีที่ นายอิบราฮิม กัมบารี ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องพม่า ได้เข้าเยี่ยมคารวะที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อรายงานผลการเยือนพม่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า เรื่องที่ท่านมาเล่าให้ฟัง ท่านจะต้องไปรายงานกับนายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติก่อน ไม่ควรจะนำความใน มาคุยความนอก
นายสมัคร กล่าวว่า การตั้งประเด็นว่า นางอองซานซูจี คือประชาธิไตยโดยรัฐบาลพม่าคือเผด็จการ ตนจึงบอกว่า ถ้าตั้งประเด็นอย่างนี้ไม่มีวันได้พบกัน ตนจึงเสนอมุมมองว่า ต้องตั้งนางอองซานซูจี ไว้ต่างหาก และให้คุยกับพม่าเรื่องจะเป็นประชาธิปไตยอย่างไร รวมทั้งคุยเรื่องรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง โดยจะต้องมีการเชิญให้ผู้แทนต่างๆ เข้ามาสังเกตุการณ์การเลือกตั้ง หากเป็นประชาธิปไตย แต่ไม่เต็มใบก็ไม่เป็นไร ขอให้มีการเลือกตั้ง
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ทางพม่าไม่ได้โกรธนางอองซาน ซูจี แต่เห็นว่ายุโรปเขาก็ใช้นางอองซาน เป็นเครื่องเมือ พม่าจึงต้องใช้นางอองซาน เป็นเครื่องมือบ้างเช่นเดียวกัน แต่ถ้าเราไม่พูดถึงประเด็นนี้ ก็คุยกับพม่าได้ลึก คุยได้เยอะ ดังนั้นยูเอ็นเขาก็มาเพราะเขาอยากรู้ว่า ทำไมเราคุยกับพม่าได้เยอะ
"ผมก็เล่า และก็อยากจะฝากไปอย่างนี้ เพราะว่าปลายเดือนนี้ผมก็จะไปประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชนอยู่แล้ว ผมจะขายไอเดียในจุดนี้ว่า ทำไมไม่คุยเรื่องการเลือกตั้งและประชาธิปไตยในพม่าก่อน ทำไมจะเอาชนะกันตรงที่ว่า จะถือหางนางอองซาน ถ้าทำอย่างนี้ก็จะโกรธกันตลอด มันไม่มีประโยชน์ สู้เอาเธอวางไว้เฉยๆ ก่อน ซึ่งเธอก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรนักหนา แล้วก็ลองมาพูดกันดูตามแนวทางที่ผมว่า และผมก็ช่วยในฐานะเป็นประธานอาเซียน จะช่วยให้เรื่องนี้คืบหน้า จะดูว่าประชาธิปไตยเป็นยังไง รัฐธรรมนูญหากไม่เป็นประชิปไตย ยังพอใช้ได้ไหม เลือกตั้งคุณคุมเองไม่ได้ ก็ต้องเปิดให้คนอื่นเข้าไปช่วยดู โดยหน้าที่ผมจะชวนให้มีคนเข้าไปสังเกตุการเลือกตั้ง ถ้าดูแล้วออกมาดี ก็จะค่อยยังชั่ว" นายสมัคร กล่าว
นายสมัคร กล่าวว่า อีกเรื่องหนึ่งเป็นปัญหาระหว่างรัฐบาลพม่ากับนางอองซาน จะว่ายังไงก็ว่ากันไป แต่ตนไม่เห็นด้วย ถ้าจะใช้วิธีตั้งป้อมโดยชู นางอองซาน ซึ่งนายกัมบารี ก็เข้าใจ
อย่างไรก็ตามนายสมัครกล่าวกำชับผู้สื่อข่าวว่า ให้เสนอข่าวเบาๆ ไม่ให้เอิกเริก เพราะจะเป็นการนำเอาสิ่งที่คุยกันมาออกข่าว
นายสมัคร กล่าวว่า การตั้งประเด็นว่า นางอองซานซูจี คือประชาธิไตยโดยรัฐบาลพม่าคือเผด็จการ ตนจึงบอกว่า ถ้าตั้งประเด็นอย่างนี้ไม่มีวันได้พบกัน ตนจึงเสนอมุมมองว่า ต้องตั้งนางอองซานซูจี ไว้ต่างหาก และให้คุยกับพม่าเรื่องจะเป็นประชาธิปไตยอย่างไร รวมทั้งคุยเรื่องรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง โดยจะต้องมีการเชิญให้ผู้แทนต่างๆ เข้ามาสังเกตุการณ์การเลือกตั้ง หากเป็นประชาธิปไตย แต่ไม่เต็มใบก็ไม่เป็นไร ขอให้มีการเลือกตั้ง
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ทางพม่าไม่ได้โกรธนางอองซาน ซูจี แต่เห็นว่ายุโรปเขาก็ใช้นางอองซาน เป็นเครื่องเมือ พม่าจึงต้องใช้นางอองซาน เป็นเครื่องมือบ้างเช่นเดียวกัน แต่ถ้าเราไม่พูดถึงประเด็นนี้ ก็คุยกับพม่าได้ลึก คุยได้เยอะ ดังนั้นยูเอ็นเขาก็มาเพราะเขาอยากรู้ว่า ทำไมเราคุยกับพม่าได้เยอะ
"ผมก็เล่า และก็อยากจะฝากไปอย่างนี้ เพราะว่าปลายเดือนนี้ผมก็จะไปประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชนอยู่แล้ว ผมจะขายไอเดียในจุดนี้ว่า ทำไมไม่คุยเรื่องการเลือกตั้งและประชาธิปไตยในพม่าก่อน ทำไมจะเอาชนะกันตรงที่ว่า จะถือหางนางอองซาน ถ้าทำอย่างนี้ก็จะโกรธกันตลอด มันไม่มีประโยชน์ สู้เอาเธอวางไว้เฉยๆ ก่อน ซึ่งเธอก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรนักหนา แล้วก็ลองมาพูดกันดูตามแนวทางที่ผมว่า และผมก็ช่วยในฐานะเป็นประธานอาเซียน จะช่วยให้เรื่องนี้คืบหน้า จะดูว่าประชาธิปไตยเป็นยังไง รัฐธรรมนูญหากไม่เป็นประชิปไตย ยังพอใช้ได้ไหม เลือกตั้งคุณคุมเองไม่ได้ ก็ต้องเปิดให้คนอื่นเข้าไปช่วยดู โดยหน้าที่ผมจะชวนให้มีคนเข้าไปสังเกตุการเลือกตั้ง ถ้าดูแล้วออกมาดี ก็จะค่อยยังชั่ว" นายสมัคร กล่าว
นายสมัคร กล่าวว่า อีกเรื่องหนึ่งเป็นปัญหาระหว่างรัฐบาลพม่ากับนางอองซาน จะว่ายังไงก็ว่ากันไป แต่ตนไม่เห็นด้วย ถ้าจะใช้วิธีตั้งป้อมโดยชู นางอองซาน ซึ่งนายกัมบารี ก็เข้าใจ
อย่างไรก็ตามนายสมัครกล่าวกำชับผู้สื่อข่าวว่า ให้เสนอข่าวเบาๆ ไม่ให้เอิกเริก เพราะจะเป็นการนำเอาสิ่งที่คุยกันมาออกข่าว