เอเอฟพี - ความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้นทุกขณะสำหรับจุนเจือประชากรทั่วโลกที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ตลอดจนความต้องการใช้พลังงานชีวภาพที่เพิ่มสูงเรื่อย ๆ ส่งผลให้ปริมาณน้ำสำรองทั่วโลกลดลงอย่างน่าวิตก คณะผู้เชี่ยวชาญเผยเมื่อวันอาทิตย์ (24)
"หากเราคำนึงเพียงแค่ต้องการใช้น้ำอีกมากมายเพียงใดในการผลิตอาหาร และอีกมากมายสักเท่าใดสำหรับผลิตพลังงานชีวภาพเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ...นี่เป็นเรื่องที่น่าวิตก" แยน ลุนด์ควิสต์ ผู้นำโครงการวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันน้ำระหว่างประเทศ (เอสไอดับเบิลยูไอ) ณ กรุงสตอกโฮล์มของสวีเดนกล่าว
ความต้องการอาหารทั่วโลกคาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวภายในปี 2050 อันเป็นเวลาเดียวกับที่ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และปริมาณน้ำมันสำรองทั่วโลกร่อยหรอลงเรื่อย ๆ ก็เป็นปัจจัยที่บีบบังคับให้ประเทศต่าง ๆ ต้องกันพื้นที่มากขึ้นในการผลิตมวลชีวภาพ เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจก
แนวโน้มดังกล่าวทั่วโลกเสี่ยงจะขัดแย้งกับ"ความจริงทางชีวกายภาพของทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโลกใบนี้" ทั้งนี้จากข้อมูลของสถาบันเอสไอดับเบิลยูไอ ที่เป็นเจ้าภาพจัดสัปดาห์น้ำโลก ณ กรุงสตอกโฮล์มเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
"หากเราคำนึงเพียงแค่ต้องการใช้น้ำอีกมากมายเพียงใดในการผลิตอาหาร และอีกมากมายสักเท่าใดสำหรับผลิตพลังงานชีวภาพเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ...นี่เป็นเรื่องที่น่าวิตก" แยน ลุนด์ควิสต์ ผู้นำโครงการวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันน้ำระหว่างประเทศ (เอสไอดับเบิลยูไอ) ณ กรุงสตอกโฮล์มของสวีเดนกล่าว
ความต้องการอาหารทั่วโลกคาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวภายในปี 2050 อันเป็นเวลาเดียวกับที่ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และปริมาณน้ำมันสำรองทั่วโลกร่อยหรอลงเรื่อย ๆ ก็เป็นปัจจัยที่บีบบังคับให้ประเทศต่าง ๆ ต้องกันพื้นที่มากขึ้นในการผลิตมวลชีวภาพ เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจก
แนวโน้มดังกล่าวทั่วโลกเสี่ยงจะขัดแย้งกับ"ความจริงทางชีวกายภาพของทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโลกใบนี้" ทั้งนี้จากข้อมูลของสถาบันเอสไอดับเบิลยูไอ ที่เป็นเจ้าภาพจัดสัปดาห์น้ำโลก ณ กรุงสตอกโฮล์มเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว