1. เข้าใจสิทธิและอำนาจของประชาชนที่จะโค่นล้มรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรม
ผมตั้งใจจะเขียนบทความนี้ให้เป็นคู่มือสำหรับประชาชนที่รักประชาธิปไตย เอาไว้ปราบรัฐบาลกบฏ รัฐบาลกบฏคือรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรม
รัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมเป็นอย่างไร อาจจะดูได้ง่ายๆ 2 ข้อ คือ หนึ่ง รัฐบาลนั้นมาอย่างชอบธรรมหรือไม่ และ สอง ไม่ว่าจะมาอย่างไรรัฐบาลนั้นอยู่อย่างชอบธรรมหรือไม่ อยู่อย่างชอบธรรมก็คืออยู่ด้วยการกระทำความดี ทำประโยชน์ให้ประชาชนอย่างทั่วถึงยุติธรรม จนสังคมบังเกิดความสุข ถ้าตอบทั้งข้อหนึ่งและข้อสองว่า ไม่ รัฐบาลนั้นก็ไม่มีสิทธิต่อรองว่าตนจะต้องไปดีตามกติกา เพราะตนเป็นรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรม ประชาชนมีอำนาจโค่นล้ม
หลายคนพากันถามว่า การโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือหลักประชาธิปไตยหรือ
คงจะต้องตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า ถ้าเป็นการโค่นล้มภายในสภาฯ เองก็ไม่เป็นไร นอกจากนั้น ย่อมแล้วแต่เงื่อนไข และสถานการณ์ โดยยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นหลัก และแน่นอน จำต้องตอบคำถามเรื่องความชอบธรรมของรัฐบาลทั้ง 2 ข้อให้ได้เสียก่อน ถ้าคำตอบว่าไม่ ก็ไม่ขัดอะไรทั้งสิ้น
การที่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งหาเป็นข้ออ้างที่เพียงพอว่าจะโค่นล้มรัฐบาลมิได้ไม่ อนึ่งการเลือกตั้งที่ดูเหมือนว่าจะเป็นประชาธิปไตย หาได้ทำให้รัฐบาลเป็นประชาธิปไตยไปโดยอัตโนมัติอีกเช่นกัน ยกตัวอย่าง ฮิตเลอร์ของเยอรมนี มาร์กอส และแอสตราดาของฟิลิปปินส์ และมูกาเบของซิมบับเวในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่เป็นยอดเผด็จการที่มาจากเลือกตั้งทั้งสิ้น
มาร์กอสและแอสตราดาต่างก็มาจากประชาชนในการเลือกประธานาธิบดีโดยตรงด้วยคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น แต่ทั้งคู่ถูกขับไล่โดยการเดินขบวนและพลังของประชาชน หลังจากที่ถูกตัดสินให้สอบตกในเรื่องความชอบธรรมข้อที่ 2
ในสหรัฐอเมริกา ไม่นานมานี้ ผู้ว่าราชการเดวีส์แห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ชนะเลือกตั้งโดยตรงมาจากประชาชน ไม่มีผู้ใดกล่าวหาเขาว่ากระทำความผิดใดๆ เลยไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกฎหมายหรือจริยธรรม เพียงแต่ว่าเขาทำงานงุ่มง่ามไม่ถูกใจผู้เลือกตั้งเท่านั้นเอง ก็ถูกรวบรวมรายชื่อบังคับให้ออกโดยประชามติ ในครั้งเดียวกันนั้นชาวแคลิฟอร์เนียก็เลือกดาราหนังกล้ามใหญ่เชื้อสายออสเตรียนที่คนไทยรู้จักดี คือ อาร์โนลด์ ชวาเซเนกเกอร์ขึ้นมาแทนจนครบเทอม
ประธานาธิบดี ได้คะแนนเสียงถล่มทลายและจะไม่มีผู้ใดทำลายสถิติเขาได้ในประวัติศาสตร์อเมริกัน คือ ชนะ 49 ต่อ 1 มลรัฐ 49 ล้านต่อ 29 ล้านเสียง และ 521 ต่อ 17 เสียงอิเล็กตอรัลโหวตหรือคะแนนจากคณะผู้เลือกตั้ง นิกสันถูกบังคับให้ลาออกจากตำแหน่งผู้แทนการติดคุก) เพราะช่วยปิดบังความผิดของลูกน้องที่แอบไปงัดแงะเอาความลับเลือกตั้งของคู่ต่อสู้ที่ตึกวอเตอร์เกต เมื่อเทียบกับคดีความและคำพิพากษารัฐบาลนายสมัคร ความผิดนิกสันก็ขี้ปะติ๋วนี๊ดเดียว
ดังนั้นจะยกเอาการเลือกตั้งมาอ้างหาได้ไม่ ยิ่งในกรณีรัฐบาลพรรคพลังประชาชนจะต้องนำความชอบธรรมทั้ง 2 หลักในข้อ 1 และ ข้อ 2 มาพิจารณาประกอบกัน
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับเครือข่ายทั้งที่เป็นอิสระและอยู่ในสังกัด อาทิ
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ศิลปินแห่งชาติทุกสาขา ได้แก่ศิลปกรรม วรรณกรรม และการแสดง อาจารย์แพทย์และชมรมแพทย์ชนบท เภสัชกร อดีตเอกอัครราชทูตชั้นนำหลายท่าน อดีตนายพลทุกกองทัพและตำรวจ อดีตอธิบดีหลายกระทรวง อดีต ส.ว. อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดราชนิกุล และคณะสุภาพสตรีสูงศักดิ์ สมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทยในทุกภาคหลายจังหวัด สมณะและญาติธรรมในกองทัพธรรมของสันติอโศก และผู้แทนคนไทยในต่างประเทศจากทั่วโลก ฯลฯ ได้ดำเนินการชุมนุมขับไล่รัฐบาลทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมาเป็นเวลากว่า 84 วัน นับเป็นสถิติโลกในกินเนสบุ๊กออฟเรคคอร์ดได้ทั้งในด้านความยาวนาน และความสวยงามสุภาพเรียบร้อยสันติอหิงสาของผู้ประท้วง แม้วิธีอารยะขัดขืนที่นำมาใช้จะเป็นเพียงระดับกลาง มิใช่สุดยอดวิธีของการประท้วงที่เคยทำกันในประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ ก็มีผลมหาศาลในการปลุกตื่นความรู้และการมีส่วนร่วมของการเมืองภาคประชาชน ที่รัฐบาลยังดื้อแพ่งอยู่ได้นั้นก็เพราะผลประโยชน์อันซับซ้อนที่ชักไยอยู่เบื้องหลัง รวมทั้งสภาพจิตไร้จริยธรรมและความรับผิดชอบอย่างสิ้นเชิงของรัฐบาล
ศัตรูโดยตรงของการประท้วงก็คือผลประโยชน์และอำนาจเก่ากับอวิชชามิจฉาทิฐิในสังคมไทย สื่อและนักวิชาการที่ตกปลักอยู่ในความตื้นเขินและตรรกะชั้นต่ำ พากันโจมตีว่า การชุมนุมเช่นนี้เป็นอนาธิปไตยและมิใช่ประชาธิปไตย ทำลายทั้งความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศ เขาเหล่านี้หลอกลวงตัวเองและประชาชน เพราะเขาไม่รู้ว่าทั้งในทฤษฎีและภาคปฏิบัติของการเมืองประชาธิปไตยนั้น ประชาชนมีสิทธิและอำนาจที่จะทำได้ยิ่งกว่านี้หลายเท่านัก
ทฤษฎีหรือปรัชญาการเมืองทั้งตะวันตกของฝรั่ง ทั้งตะวันออก เช่น ทัศนะของศาสนาพุทธและจีน ต่างก็สนับสนุนให้ประชาชนโค่นล้มรัฐบาลที่เป็นกบฏมิใช่สนับสนุนอย่างเดียว แต่บังคับกลายๆ ให้ถือว่าเป็นหน้าที่ด้วยซ้ำไป
1. “จอห์น ล็อก กับสิทธิ (ของประชาชน) ในการปราบรัฐบาลที่เป็นขบถ” นี่คือบทความ
ของศ.ดร.สมบัติ จันทรวงศ์ ที่กล่าวถึงปรัชญาเมธีที่มีอิทธิพลที่สุดต่อความคิดและการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอเมริกัน อังกฤษ และฝรั่งเศส คือ ฮอบส์ ล็อก และรุสโซ ต้นตำรับทฤษฎี สัญญาประชาคม หรือความยินยอมของประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครอง ที่ยอมอยู่ใต้อำนาจรัฐบาล เพื่อแลกกับหลักประกันความสุขและสันติภาพในสังคม หลักคำสอนทางการเมืองของจอห์น ล็อก ที่ให้แก่ผู้มีศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย มีอยู่สั้นๆ ว่า รัฐบาลที่ชอบธรรมทั้งปวง มีอำนาจที่จำกัด และดำรงอยู่ได้ด้วยความยินยอม (consent) ของผู้อยู่ใต้ปกครอง อำนาจที่ยุติธรรมในการปกครองจะต้องมาจากความยินยอมที่รู้แจ้งเห็นจริง (enlightened consent) จากผู้ที่เข้าใจในความเสมอภาคโดยธรรมชาติอย่างถ่องแท้ เพราะฉะนั้น หลักการเรื่องความเสมอภาคกันของมนุษย์ จึงเป็นทั้งตัวกำหนดที่มาของอำนาจอันยุติธรรมของรัฐบาล ว่าต้องมาจากความยินยอม และเป็นทั้งตัวกำหนดว่ารัฐบาลที่ชอบธรรมจะต้องเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจจำกัด
แต่เมื่อผู้มีอำนาจแสวงหาผลประ โยชน์ส่วนตนโดยที่ผู้รับภาระคือประชาชน เมื่อนั้น เขาทำให้ผลประโยชน์ของเขาแปลกแยกออกไปจากผลประโยชน์ของประชาชน ผู้ปกครองเช่นว่า แยกตัวเองออกจากสังคมการเมืองนั้น เขาเอาตัวเองกลับไปสู่สภาพธรรมชาติ และเมื่อเขาใช้กำลังต่อประชาชนโดยไม่มีสิทธิ เมื่อนั้นเขาย่อมอยู่ในสภาพสงครามกับประชาชน ผู้ปกครองซึ่งกลายเป็นทรราชทำลายล้างรัฐบาลของประชาชนเสียเอง เขาไม่ใช่ผู้ปกครองอีกต่อไปแล้ว ในกรณีเช่นนั้น ประชาชนมีสิทธิโดยธรรมชาติที่จะป้องกันตนเอง การขัดขืนต่อการใช้อำนาจของรัฐบาลดังกล่าว ยังเป็นการปกปักรักษาสังคมการเมืองของพวกเขาไว้ด้วย รัฐบาลที่หันมาทำลายสิทธิต่างๆ ที่สังคมการเมืองถูกสร้างขึ้นเพื่อปกปักรักษา คือผู้ที่ก่อการขบถ ไม่ใช่ประชาชน ข้อสำคัญได้แก่การที่ล็อกกล่าวว่าสิทธิที่จะปราบรัฐบาลซึ่งเป็นขบถนั้น ไม่ใช่สิทธิทางการเมือง แต่เป็นสิทธิโดยธรรมชาติที่มาก่อนการเมือง เมื่อวิเคราะห์กันให้ถึงที่สุดแล้ว เป็นสิทธิโดยธรรมชาติของประชาชนที่จะแข็งขืนและปราบปรามรัฐบาลที่มุ่งประโยชน์ส่วนตน ยิ่งกว่าประโยชน์ของผู้อยู่ใต้ปกครอง รัฐบาลที่กลายเป็นพิษเป็นภัยแก่เสรีภาพของประชาชน คือเครื่องมืออย่างเดียวที่ทรงประสิทธิภาพสูงสุด ในการจำกัดอำนาจอันไม่ชอบธรรมของรัฐบาล ไม่ใช่ตัวบทกฎหมาย หรือกรอบทางรัฐธรรมนูญใดๆ ทั้งสิ้น
2. “การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม” เป็นชื่อบทความของผม ซึ่งเกือบจะซ้ำซ้อนกับดร.สมบัติในเรื่องทฤษฎีสัญญาประชาคม อันเป็นแรงบันดาลใจอย่างยิ่งในคำประกาศอิสรภาพของอเมริกัน มีข้อความส่วนหนึ่ง ดังนี้
“ฯลฯ รัฐบาลที่ได้จัดตั้งมาช้านานแล้ว ไม่ควรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วยเหตุเพียงเล็กน้อยและชั่วแล่น ฯลฯ แต่เมื่อการใช้อำนาจไปในทางที่ผิดและการช่วงชิงอำนาจมีอยู่อย่างยาวนาน โดยมุ่งหมายต่อวัตถุประสงค์เดิมอย่างไม่เสื่อมคลายจนชี้ให้เห็นว่ามีแผนการที่จะกดให้พวกเขาลงภายใต้การปกครองโดยเด็ดขาดของคนคนเดียวแล้ว ย่อมเป็นสิทธิ ย่อมเป็นหน้าที่ของพวกเขาที่จะล้มล้างรัฐบาลเช่นนั้น”
3. “การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทัศนะพุทธ” ผมเขียนไว้มากมาย
แต่จะขอคัดมาเฉพาะ “มิลินทปัญหา” ที่พระพุทธองค์ส่งพระอรหันต์องค์หนึ่งลงมาเป็นพระนาคเสน เพื่อตอบพระเจ้ามิลินท์ว่าดังนี้
“หากบุคคลขาดคุณสมบัติที่ดี ไร้ความสามารถ ไร้ศีลธรรมจรรยา ไม่เหมาะสมได้ขึ้นบัลลังก์มาเป็นใหญ่ มีอำนาจมากเพียงใด เขาจะถูกฉีกเนื้อ และลงฑัณฑ์โดยประชาชน เพราะเขามิได้ขึ้นมาและมิได้อยู่ในอำนาจด้วยความชอบธรรม ผู้ปกครองเยี่ยงนี้ เหมือนผู้ปกครองทั้งหลายที่ฝ่าฝืน ทำลายศีลธรรมจรรยา และกฎเกณฑ์ของสังคม ก็จะถูกประชาทัณฑ์ เยี่ยงเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ปกครองที่ประพฤติตนเหมือนโจรปล้นสมบัติของแผ่นดิน”
พระพุทธองค์ทรงเปรียบผู้ปกครองว่า “คนพาลผู้สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ปกครองหมู่คณะ ตกอยู่ในอำนาจจิต ของตนแล้ว พึงนอนตาย เหมือนลิงจ่าฝูง นอนตายอยู่ ฉะนั้น”
อย่างไรจึงจะขึ้นชื่อว่ารัฐบาลขบถทรยศต่อประชาชน ความเข้าใจนี้สำคัญมาก เพราะปราศจากความเข้าใจเหล่านี้แล้ว ทหาร ตำรวจ และข้าราชการฝ่ายปกครองจะปกป้องรัฐบาลอย่างไม่ลืมหูลืมตา และยิ่งกว่านั้นอาจจะขัดขวางการเคลื่อนไหวโดยชอบธรรมของประชาชน หรือทำร้ายประชาชนเพื่อรักษาผลประโยชน์อำนาจและตำแหน่งของตน ด้วยความสำนึกที่ผิดว่านั่นเป็นของขวัญที่รัฐบาลผู้มีอำนาจเป็นผู้มอบให้ อย่างดีก็นิ่งเฉยเสียเป็นทองไม่รู้ร้อน อ้างว่าต้องเป็นกลางอย่างเลวก็ออกมาทำร้ายประชาชนตามคำสั่งของรัฐบาล (ที่ตนไม่รู้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย)
ในขณะเดียวกัน สื่อ นักวิชาการ และประชาชนก็จะพากันหงอ หดหัวอยู่ในกระดอง ไม่มีใครลุกขึ้นมาต่อสู้ แม้รัฐบาลจะชั่วร้ายขาดความชอบธรรมถึงเพียงใด ก็ปล่อยให้ลอยนวลอยู่ได้ภายใต้คาถาหรือข้ออ้างอย่างเดียวว่า เขาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ผมตั้งใจจะเขียนบทความนี้ให้เป็นคู่มือสำหรับประชาชนที่รักประชาธิปไตย เอาไว้ปราบรัฐบาลกบฏ รัฐบาลกบฏคือรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรม
รัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมเป็นอย่างไร อาจจะดูได้ง่ายๆ 2 ข้อ คือ หนึ่ง รัฐบาลนั้นมาอย่างชอบธรรมหรือไม่ และ สอง ไม่ว่าจะมาอย่างไรรัฐบาลนั้นอยู่อย่างชอบธรรมหรือไม่ อยู่อย่างชอบธรรมก็คืออยู่ด้วยการกระทำความดี ทำประโยชน์ให้ประชาชนอย่างทั่วถึงยุติธรรม จนสังคมบังเกิดความสุข ถ้าตอบทั้งข้อหนึ่งและข้อสองว่า ไม่ รัฐบาลนั้นก็ไม่มีสิทธิต่อรองว่าตนจะต้องไปดีตามกติกา เพราะตนเป็นรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรม ประชาชนมีอำนาจโค่นล้ม
หลายคนพากันถามว่า การโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือหลักประชาธิปไตยหรือ
คงจะต้องตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า ถ้าเป็นการโค่นล้มภายในสภาฯ เองก็ไม่เป็นไร นอกจากนั้น ย่อมแล้วแต่เงื่อนไข และสถานการณ์ โดยยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นหลัก และแน่นอน จำต้องตอบคำถามเรื่องความชอบธรรมของรัฐบาลทั้ง 2 ข้อให้ได้เสียก่อน ถ้าคำตอบว่าไม่ ก็ไม่ขัดอะไรทั้งสิ้น
การที่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งหาเป็นข้ออ้างที่เพียงพอว่าจะโค่นล้มรัฐบาลมิได้ไม่ อนึ่งการเลือกตั้งที่ดูเหมือนว่าจะเป็นประชาธิปไตย หาได้ทำให้รัฐบาลเป็นประชาธิปไตยไปโดยอัตโนมัติอีกเช่นกัน ยกตัวอย่าง ฮิตเลอร์ของเยอรมนี มาร์กอส และแอสตราดาของฟิลิปปินส์ และมูกาเบของซิมบับเวในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่เป็นยอดเผด็จการที่มาจากเลือกตั้งทั้งสิ้น
มาร์กอสและแอสตราดาต่างก็มาจากประชาชนในการเลือกประธานาธิบดีโดยตรงด้วยคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น แต่ทั้งคู่ถูกขับไล่โดยการเดินขบวนและพลังของประชาชน หลังจากที่ถูกตัดสินให้สอบตกในเรื่องความชอบธรรมข้อที่ 2
ในสหรัฐอเมริกา ไม่นานมานี้ ผู้ว่าราชการเดวีส์แห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ชนะเลือกตั้งโดยตรงมาจากประชาชน ไม่มีผู้ใดกล่าวหาเขาว่ากระทำความผิดใดๆ เลยไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกฎหมายหรือจริยธรรม เพียงแต่ว่าเขาทำงานงุ่มง่ามไม่ถูกใจผู้เลือกตั้งเท่านั้นเอง ก็ถูกรวบรวมรายชื่อบังคับให้ออกโดยประชามติ ในครั้งเดียวกันนั้นชาวแคลิฟอร์เนียก็เลือกดาราหนังกล้ามใหญ่เชื้อสายออสเตรียนที่คนไทยรู้จักดี คือ อาร์โนลด์ ชวาเซเนกเกอร์ขึ้นมาแทนจนครบเทอม
ประธานาธิบดี ได้คะแนนเสียงถล่มทลายและจะไม่มีผู้ใดทำลายสถิติเขาได้ในประวัติศาสตร์อเมริกัน คือ ชนะ 49 ต่อ 1 มลรัฐ 49 ล้านต่อ 29 ล้านเสียง และ 521 ต่อ 17 เสียงอิเล็กตอรัลโหวตหรือคะแนนจากคณะผู้เลือกตั้ง นิกสันถูกบังคับให้ลาออกจากตำแหน่งผู้แทนการติดคุก) เพราะช่วยปิดบังความผิดของลูกน้องที่แอบไปงัดแงะเอาความลับเลือกตั้งของคู่ต่อสู้ที่ตึกวอเตอร์เกต เมื่อเทียบกับคดีความและคำพิพากษารัฐบาลนายสมัคร ความผิดนิกสันก็ขี้ปะติ๋วนี๊ดเดียว
ดังนั้นจะยกเอาการเลือกตั้งมาอ้างหาได้ไม่ ยิ่งในกรณีรัฐบาลพรรคพลังประชาชนจะต้องนำความชอบธรรมทั้ง 2 หลักในข้อ 1 และ ข้อ 2 มาพิจารณาประกอบกัน
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับเครือข่ายทั้งที่เป็นอิสระและอยู่ในสังกัด อาทิ
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ศิลปินแห่งชาติทุกสาขา ได้แก่ศิลปกรรม วรรณกรรม และการแสดง อาจารย์แพทย์และชมรมแพทย์ชนบท เภสัชกร อดีตเอกอัครราชทูตชั้นนำหลายท่าน อดีตนายพลทุกกองทัพและตำรวจ อดีตอธิบดีหลายกระทรวง อดีต ส.ว. อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดราชนิกุล และคณะสุภาพสตรีสูงศักดิ์ สมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทยในทุกภาคหลายจังหวัด สมณะและญาติธรรมในกองทัพธรรมของสันติอโศก และผู้แทนคนไทยในต่างประเทศจากทั่วโลก ฯลฯ ได้ดำเนินการชุมนุมขับไล่รัฐบาลทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมาเป็นเวลากว่า 84 วัน นับเป็นสถิติโลกในกินเนสบุ๊กออฟเรคคอร์ดได้ทั้งในด้านความยาวนาน และความสวยงามสุภาพเรียบร้อยสันติอหิงสาของผู้ประท้วง แม้วิธีอารยะขัดขืนที่นำมาใช้จะเป็นเพียงระดับกลาง มิใช่สุดยอดวิธีของการประท้วงที่เคยทำกันในประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ ก็มีผลมหาศาลในการปลุกตื่นความรู้และการมีส่วนร่วมของการเมืองภาคประชาชน ที่รัฐบาลยังดื้อแพ่งอยู่ได้นั้นก็เพราะผลประโยชน์อันซับซ้อนที่ชักไยอยู่เบื้องหลัง รวมทั้งสภาพจิตไร้จริยธรรมและความรับผิดชอบอย่างสิ้นเชิงของรัฐบาล
ศัตรูโดยตรงของการประท้วงก็คือผลประโยชน์และอำนาจเก่ากับอวิชชามิจฉาทิฐิในสังคมไทย สื่อและนักวิชาการที่ตกปลักอยู่ในความตื้นเขินและตรรกะชั้นต่ำ พากันโจมตีว่า การชุมนุมเช่นนี้เป็นอนาธิปไตยและมิใช่ประชาธิปไตย ทำลายทั้งความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศ เขาเหล่านี้หลอกลวงตัวเองและประชาชน เพราะเขาไม่รู้ว่าทั้งในทฤษฎีและภาคปฏิบัติของการเมืองประชาธิปไตยนั้น ประชาชนมีสิทธิและอำนาจที่จะทำได้ยิ่งกว่านี้หลายเท่านัก
ทฤษฎีหรือปรัชญาการเมืองทั้งตะวันตกของฝรั่ง ทั้งตะวันออก เช่น ทัศนะของศาสนาพุทธและจีน ต่างก็สนับสนุนให้ประชาชนโค่นล้มรัฐบาลที่เป็นกบฏมิใช่สนับสนุนอย่างเดียว แต่บังคับกลายๆ ให้ถือว่าเป็นหน้าที่ด้วยซ้ำไป
1. “จอห์น ล็อก กับสิทธิ (ของประชาชน) ในการปราบรัฐบาลที่เป็นขบถ” นี่คือบทความ
ของศ.ดร.สมบัติ จันทรวงศ์ ที่กล่าวถึงปรัชญาเมธีที่มีอิทธิพลที่สุดต่อความคิดและการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอเมริกัน อังกฤษ และฝรั่งเศส คือ ฮอบส์ ล็อก และรุสโซ ต้นตำรับทฤษฎี สัญญาประชาคม หรือความยินยอมของประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครอง ที่ยอมอยู่ใต้อำนาจรัฐบาล เพื่อแลกกับหลักประกันความสุขและสันติภาพในสังคม หลักคำสอนทางการเมืองของจอห์น ล็อก ที่ให้แก่ผู้มีศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย มีอยู่สั้นๆ ว่า รัฐบาลที่ชอบธรรมทั้งปวง มีอำนาจที่จำกัด และดำรงอยู่ได้ด้วยความยินยอม (consent) ของผู้อยู่ใต้ปกครอง อำนาจที่ยุติธรรมในการปกครองจะต้องมาจากความยินยอมที่รู้แจ้งเห็นจริง (enlightened consent) จากผู้ที่เข้าใจในความเสมอภาคโดยธรรมชาติอย่างถ่องแท้ เพราะฉะนั้น หลักการเรื่องความเสมอภาคกันของมนุษย์ จึงเป็นทั้งตัวกำหนดที่มาของอำนาจอันยุติธรรมของรัฐบาล ว่าต้องมาจากความยินยอม และเป็นทั้งตัวกำหนดว่ารัฐบาลที่ชอบธรรมจะต้องเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจจำกัด
แต่เมื่อผู้มีอำนาจแสวงหาผลประ โยชน์ส่วนตนโดยที่ผู้รับภาระคือประชาชน เมื่อนั้น เขาทำให้ผลประโยชน์ของเขาแปลกแยกออกไปจากผลประโยชน์ของประชาชน ผู้ปกครองเช่นว่า แยกตัวเองออกจากสังคมการเมืองนั้น เขาเอาตัวเองกลับไปสู่สภาพธรรมชาติ และเมื่อเขาใช้กำลังต่อประชาชนโดยไม่มีสิทธิ เมื่อนั้นเขาย่อมอยู่ในสภาพสงครามกับประชาชน ผู้ปกครองซึ่งกลายเป็นทรราชทำลายล้างรัฐบาลของประชาชนเสียเอง เขาไม่ใช่ผู้ปกครองอีกต่อไปแล้ว ในกรณีเช่นนั้น ประชาชนมีสิทธิโดยธรรมชาติที่จะป้องกันตนเอง การขัดขืนต่อการใช้อำนาจของรัฐบาลดังกล่าว ยังเป็นการปกปักรักษาสังคมการเมืองของพวกเขาไว้ด้วย รัฐบาลที่หันมาทำลายสิทธิต่างๆ ที่สังคมการเมืองถูกสร้างขึ้นเพื่อปกปักรักษา คือผู้ที่ก่อการขบถ ไม่ใช่ประชาชน ข้อสำคัญได้แก่การที่ล็อกกล่าวว่าสิทธิที่จะปราบรัฐบาลซึ่งเป็นขบถนั้น ไม่ใช่สิทธิทางการเมือง แต่เป็นสิทธิโดยธรรมชาติที่มาก่อนการเมือง เมื่อวิเคราะห์กันให้ถึงที่สุดแล้ว เป็นสิทธิโดยธรรมชาติของประชาชนที่จะแข็งขืนและปราบปรามรัฐบาลที่มุ่งประโยชน์ส่วนตน ยิ่งกว่าประโยชน์ของผู้อยู่ใต้ปกครอง รัฐบาลที่กลายเป็นพิษเป็นภัยแก่เสรีภาพของประชาชน คือเครื่องมืออย่างเดียวที่ทรงประสิทธิภาพสูงสุด ในการจำกัดอำนาจอันไม่ชอบธรรมของรัฐบาล ไม่ใช่ตัวบทกฎหมาย หรือกรอบทางรัฐธรรมนูญใดๆ ทั้งสิ้น
2. “การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม” เป็นชื่อบทความของผม ซึ่งเกือบจะซ้ำซ้อนกับดร.สมบัติในเรื่องทฤษฎีสัญญาประชาคม อันเป็นแรงบันดาลใจอย่างยิ่งในคำประกาศอิสรภาพของอเมริกัน มีข้อความส่วนหนึ่ง ดังนี้
“ฯลฯ รัฐบาลที่ได้จัดตั้งมาช้านานแล้ว ไม่ควรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วยเหตุเพียงเล็กน้อยและชั่วแล่น ฯลฯ แต่เมื่อการใช้อำนาจไปในทางที่ผิดและการช่วงชิงอำนาจมีอยู่อย่างยาวนาน โดยมุ่งหมายต่อวัตถุประสงค์เดิมอย่างไม่เสื่อมคลายจนชี้ให้เห็นว่ามีแผนการที่จะกดให้พวกเขาลงภายใต้การปกครองโดยเด็ดขาดของคนคนเดียวแล้ว ย่อมเป็นสิทธิ ย่อมเป็นหน้าที่ของพวกเขาที่จะล้มล้างรัฐบาลเช่นนั้น”
3. “การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทัศนะพุทธ” ผมเขียนไว้มากมาย
แต่จะขอคัดมาเฉพาะ “มิลินทปัญหา” ที่พระพุทธองค์ส่งพระอรหันต์องค์หนึ่งลงมาเป็นพระนาคเสน เพื่อตอบพระเจ้ามิลินท์ว่าดังนี้
“หากบุคคลขาดคุณสมบัติที่ดี ไร้ความสามารถ ไร้ศีลธรรมจรรยา ไม่เหมาะสมได้ขึ้นบัลลังก์มาเป็นใหญ่ มีอำนาจมากเพียงใด เขาจะถูกฉีกเนื้อ และลงฑัณฑ์โดยประชาชน เพราะเขามิได้ขึ้นมาและมิได้อยู่ในอำนาจด้วยความชอบธรรม ผู้ปกครองเยี่ยงนี้ เหมือนผู้ปกครองทั้งหลายที่ฝ่าฝืน ทำลายศีลธรรมจรรยา และกฎเกณฑ์ของสังคม ก็จะถูกประชาทัณฑ์ เยี่ยงเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ปกครองที่ประพฤติตนเหมือนโจรปล้นสมบัติของแผ่นดิน”
พระพุทธองค์ทรงเปรียบผู้ปกครองว่า “คนพาลผู้สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ปกครองหมู่คณะ ตกอยู่ในอำนาจจิต ของตนแล้ว พึงนอนตาย เหมือนลิงจ่าฝูง นอนตายอยู่ ฉะนั้น”
อย่างไรจึงจะขึ้นชื่อว่ารัฐบาลขบถทรยศต่อประชาชน ความเข้าใจนี้สำคัญมาก เพราะปราศจากความเข้าใจเหล่านี้แล้ว ทหาร ตำรวจ และข้าราชการฝ่ายปกครองจะปกป้องรัฐบาลอย่างไม่ลืมหูลืมตา และยิ่งกว่านั้นอาจจะขัดขวางการเคลื่อนไหวโดยชอบธรรมของประชาชน หรือทำร้ายประชาชนเพื่อรักษาผลประโยชน์อำนาจและตำแหน่งของตน ด้วยความสำนึกที่ผิดว่านั่นเป็นของขวัญที่รัฐบาลผู้มีอำนาจเป็นผู้มอบให้ อย่างดีก็นิ่งเฉยเสียเป็นทองไม่รู้ร้อน อ้างว่าต้องเป็นกลางอย่างเลวก็ออกมาทำร้ายประชาชนตามคำสั่งของรัฐบาล (ที่ตนไม่รู้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย)
ในขณะเดียวกัน สื่อ นักวิชาการ และประชาชนก็จะพากันหงอ หดหัวอยู่ในกระดอง ไม่มีใครลุกขึ้นมาต่อสู้ แม้รัฐบาลจะชั่วร้ายขาดความชอบธรรมถึงเพียงใด ก็ปล่อยให้ลอยนวลอยู่ได้ภายใต้คาถาหรือข้ออ้างอย่างเดียวว่า เขาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง