รอยเตอร์/ เอเอฟพี - ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงสู่ระดับ 115 ต่อบาร์เรลเมื่อคืนวันพฤหัสบดี (14) จากนั้นยังขยับลงต่ออีกวานนี้ (15) สืบเนื่องจากปัจจัยการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของยุโรป กอปรกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและจอร์เจีย
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของตลาดไนเม็กซ์แห่งนิวยอร์ก สำหรับส่งมอบเดือนกันยายน ปิดเมื่อวันพฤหัสบดี (14) ร่วงลงมา 99 เซนต์ อยู่ที่ 115.01ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากที่ระหว่างการซื้อขายช่วงหนึ่งดิ่งสู่ระดับ 112.59 ดอลลาร์ ขณะที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดเบรนต์ของลอนดอน เพื่อการส่งมอบเดือนกันยายนเช่นกัน ขยับลงมา 83 ดอลลาร์ อยู่ที่ 112.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ต่อมาระหว่างการซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในตอนเช้าวานนี้ (15)ของลอนดอน น้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดดิ่งลงอีก 1.39 ดอลลาร์ไปอยู่ที่ 113.62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนต์เพื่อการส่งมอบเดือนตุลาคม หล่นลงมา 1.40 ดอลลาร์มาอยู่ที่ 112.28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทั้งนี้สัญญาเดือนกันยายนของเบรนต์ หมดอายุในวันพฤหัสบดี
ราคาน้ำมันในตลาดโลกดิ่งลงมาครั้งนี้ สืบเนื่องจากปัจจัยการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในยุโรป ที่ตอกย้ำการคุกคามความต้องการน้ำมันทั่วโลก โดยเมื่อวันพฤหัสบดี (14) สำนักงานสถิติอียูแถลงตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรปในไตรมาส 2 ปีนี้ที่หดตัวลงมา 0.2 เปอร์เซ็นต์ โดยถือเป็นสถิติที่เลวร้ายที่สุดของยุโรปนับตั้งแต่ปี 1995 ก่อนหน้านี้ 1 วัน ญี่ปุ่นเพิ่งแถลงตัวเลขทางเศรษฐกิจในไตรมาสเดียวกันที่ลดลงมา 0.6 เปอร์เซ็นต์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของตลาดไนเม็กซ์แห่งนิวยอร์ก สำหรับส่งมอบเดือนกันยายน ปิดเมื่อวันพฤหัสบดี (14) ร่วงลงมา 99 เซนต์ อยู่ที่ 115.01ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากที่ระหว่างการซื้อขายช่วงหนึ่งดิ่งสู่ระดับ 112.59 ดอลลาร์ ขณะที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดเบรนต์ของลอนดอน เพื่อการส่งมอบเดือนกันยายนเช่นกัน ขยับลงมา 83 ดอลลาร์ อยู่ที่ 112.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ต่อมาระหว่างการซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในตอนเช้าวานนี้ (15)ของลอนดอน น้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดดิ่งลงอีก 1.39 ดอลลาร์ไปอยู่ที่ 113.62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนต์เพื่อการส่งมอบเดือนตุลาคม หล่นลงมา 1.40 ดอลลาร์มาอยู่ที่ 112.28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทั้งนี้สัญญาเดือนกันยายนของเบรนต์ หมดอายุในวันพฤหัสบดี
ราคาน้ำมันในตลาดโลกดิ่งลงมาครั้งนี้ สืบเนื่องจากปัจจัยการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในยุโรป ที่ตอกย้ำการคุกคามความต้องการน้ำมันทั่วโลก โดยเมื่อวันพฤหัสบดี (14) สำนักงานสถิติอียูแถลงตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรปในไตรมาส 2 ปีนี้ที่หดตัวลงมา 0.2 เปอร์เซ็นต์ โดยถือเป็นสถิติที่เลวร้ายที่สุดของยุโรปนับตั้งแต่ปี 1995 ก่อนหน้านี้ 1 วัน ญี่ปุ่นเพิ่งแถลงตัวเลขทางเศรษฐกิจในไตรมาสเดียวกันที่ลดลงมา 0.6 เปอร์เซ็นต์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ