เอเอฟพี - เกาหลีใต้ประกาศเมื่อวานนี้ (12) อภัยโทษให้แก่เจ้าพ่อธุรกิจ 74 คน ซึ่งรวมทั้งหัวเรือใหญ่ของฮุนได มอเตอร์ด้วย โดยอาศัยวาระเฉลิมฉลองวันประกาศเอกราช ด้านประธานาธิบดีลีเมียงบัคอ้างเหตุผลว่า เพื่อความเป็นเอกภาพและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
ประธานาธิบดีลีแห่งเกาหลีใต้ได้ประกาศอภัยโทษครั้งใหญ่ในวาระการเฉลิมฉลองวันประกาศเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น ซึ่งตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม 1945 ส่งผลให้นักธุรกิจชั้นนำ 74 คนพ้นผิดโดยปริยาย และในจำนวนนี้มีชุงมงคู ประธานฮุนไต มอเตอร์ เชแตวอน ประธากลุ่มบริษัทเอสเค และคิมซุงยุน ประธานกลุ่มบริษัทฮันวา รวมอยู่ด้วย
แถลงการณ์จากทำเนียบประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ระบุเป้าหมายของการให้อภัยโทษครั้งนี้ว่า "เพื่อช่วยเสริมความเป็นเอกภาพของประเทศ และสร้างพลังให้กับบรรดาผู้นำธุรกิจและประชาชนทั้งหมดในการร่วมมือกันฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศรวมทั้งสร้างงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้น"
พวกนักวิจารณ์แสดงความเห็นว่าการประกาศอภัยโทษคราวนี้ แสดงให้เห็นว่าเกาหลีใต้นั้นไม่ได้จริงจังกับการสะสางปัญหาวัฒนธรรมองค์กร เพราะนักธุรกิจที่มีความผิดส่วนใหญ่ก็เป็นอิสระอยู่แล้ว หลังจากที่ศาลตัดสินให้รอลงอาญาโทษจำคุกไว้ก่อน
เมื่อปีที่แล้ว ชุงมงคูแห่งฮุนได มอเตอร์ ถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดฐานจัดตั้งกองทุนอำพรางเพื่อติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล แต่เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้รอลงอาญาโทษจำคุกไว้ 3 ปี
ส่วนคิมซุงยุนแห่งฮันวา ถูกตัดสินจำคุกในความผิดฐานลักพาตัวและทำร้ายพนักงานบาร์ หลังเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทในบาร์ซึ่งบุตรชายของเขาได้รับบาดเจ็บ แต่ศาลก็ได้พิพากษาให้รอลงอาญาเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว
ด้านเชแตวอนแห่งเอสเคกรุ๊ปก็ได้รับคำพิพากษาให้รอลงอาญาในความผิดฐานดำเนินธุรกิจผิดหลักกฎหมาย ซึ่งรวมถึงการซื้อขายหุ้นอย่างผิดกฎหมายและจัดทำบัญชีโดยไม่ถูกต้องเป็นวงเงินถึง 1.5 ล้านล้านวอน (1,070 ล้านดอลลาร์)
สำหรับคดีของลีคุนฮี อดีตประธานกลุ่มซัมซุง ไม่เข้าข่ายการให้อภัยโทษในครั้งนี้เนื่องจากคดีความของเขายังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล โดยเมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา เขาก็ได้ขออุทธรณ์คำตัดสินโทษจำคุกรอลงอาญา ในคดีหลบเลี่ยงการชำระภาษี
ประธานาธิบดีลีนับเป็นผู้นำเกาหลีใต้คนแรกที่มีพื้นฐานมาจากด้านธุรกิจ เขาเข้ารับตำแหน่งนี้เมื่อเดือนธันวาคม โดยได้ให้คำมั่นว่าจะผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต
เขายอมรับว่าการให้อภัยโทษอาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ และเขาเองก็ "รู้สึกไม่ดี" เช่นกัน แต่เขาได้แถลงต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า
"อย่างไรก็ตาม ผมกล้าตัดสินใจเช่นนี้เพราะพิจารณาแล้วว่าบรรดาผู้นำธุรกิจกำลังมีปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับการเดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งจะเป็นการฉุดรั้งไม่ให้มีการลงทุนใหม่ๆ เพิ่มขึ้น"
"การประกาศอภัยโทษครั้งนี้มีแต่จะทำให้สาธารณชนเชื่อยิ่งขึ้นว่า พวกคนรวยย่อมมีหนทางเอาตัวรอดจากความผิดได้เสมอ" พรรคเดโมเครติกซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านระบุในแถลงการณ์
โดยรวมทั้งหมดแล้ว มีผู้ได้รับอภัยโทษในครั้งนี้เกือบ 342,000 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความผิดเล็กๆ น้อยๆ ในคดีกระทำผิดกฎหมายจราจร
ประธานาธิบดีลีแห่งเกาหลีใต้ได้ประกาศอภัยโทษครั้งใหญ่ในวาระการเฉลิมฉลองวันประกาศเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น ซึ่งตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม 1945 ส่งผลให้นักธุรกิจชั้นนำ 74 คนพ้นผิดโดยปริยาย และในจำนวนนี้มีชุงมงคู ประธานฮุนไต มอเตอร์ เชแตวอน ประธากลุ่มบริษัทเอสเค และคิมซุงยุน ประธานกลุ่มบริษัทฮันวา รวมอยู่ด้วย
แถลงการณ์จากทำเนียบประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ระบุเป้าหมายของการให้อภัยโทษครั้งนี้ว่า "เพื่อช่วยเสริมความเป็นเอกภาพของประเทศ และสร้างพลังให้กับบรรดาผู้นำธุรกิจและประชาชนทั้งหมดในการร่วมมือกันฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศรวมทั้งสร้างงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้น"
พวกนักวิจารณ์แสดงความเห็นว่าการประกาศอภัยโทษคราวนี้ แสดงให้เห็นว่าเกาหลีใต้นั้นไม่ได้จริงจังกับการสะสางปัญหาวัฒนธรรมองค์กร เพราะนักธุรกิจที่มีความผิดส่วนใหญ่ก็เป็นอิสระอยู่แล้ว หลังจากที่ศาลตัดสินให้รอลงอาญาโทษจำคุกไว้ก่อน
เมื่อปีที่แล้ว ชุงมงคูแห่งฮุนได มอเตอร์ ถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดฐานจัดตั้งกองทุนอำพรางเพื่อติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล แต่เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้รอลงอาญาโทษจำคุกไว้ 3 ปี
ส่วนคิมซุงยุนแห่งฮันวา ถูกตัดสินจำคุกในความผิดฐานลักพาตัวและทำร้ายพนักงานบาร์ หลังเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทในบาร์ซึ่งบุตรชายของเขาได้รับบาดเจ็บ แต่ศาลก็ได้พิพากษาให้รอลงอาญาเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว
ด้านเชแตวอนแห่งเอสเคกรุ๊ปก็ได้รับคำพิพากษาให้รอลงอาญาในความผิดฐานดำเนินธุรกิจผิดหลักกฎหมาย ซึ่งรวมถึงการซื้อขายหุ้นอย่างผิดกฎหมายและจัดทำบัญชีโดยไม่ถูกต้องเป็นวงเงินถึง 1.5 ล้านล้านวอน (1,070 ล้านดอลลาร์)
สำหรับคดีของลีคุนฮี อดีตประธานกลุ่มซัมซุง ไม่เข้าข่ายการให้อภัยโทษในครั้งนี้เนื่องจากคดีความของเขายังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล โดยเมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา เขาก็ได้ขออุทธรณ์คำตัดสินโทษจำคุกรอลงอาญา ในคดีหลบเลี่ยงการชำระภาษี
ประธานาธิบดีลีนับเป็นผู้นำเกาหลีใต้คนแรกที่มีพื้นฐานมาจากด้านธุรกิจ เขาเข้ารับตำแหน่งนี้เมื่อเดือนธันวาคม โดยได้ให้คำมั่นว่าจะผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต
เขายอมรับว่าการให้อภัยโทษอาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ และเขาเองก็ "รู้สึกไม่ดี" เช่นกัน แต่เขาได้แถลงต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า
"อย่างไรก็ตาม ผมกล้าตัดสินใจเช่นนี้เพราะพิจารณาแล้วว่าบรรดาผู้นำธุรกิจกำลังมีปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับการเดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งจะเป็นการฉุดรั้งไม่ให้มีการลงทุนใหม่ๆ เพิ่มขึ้น"
"การประกาศอภัยโทษครั้งนี้มีแต่จะทำให้สาธารณชนเชื่อยิ่งขึ้นว่า พวกคนรวยย่อมมีหนทางเอาตัวรอดจากความผิดได้เสมอ" พรรคเดโมเครติกซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านระบุในแถลงการณ์
โดยรวมทั้งหมดแล้ว มีผู้ได้รับอภัยโทษในครั้งนี้เกือบ 342,000 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความผิดเล็กๆ น้อยๆ ในคดีกระทำผิดกฎหมายจราจร