เมื่อเวลา 9.30 น.วานนี้ (11ส.ค.) นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเข้าชี้แจงคดียุบพรรคพลังประชาชน ต่อ กกต.ว่า เดิมทางกกต.ให้ชี้แจงในวันที่ 7 ส.ค.51 แต่ปรากฏว่านายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคต้องเดินทางไประเทศจีน จึงขอเลื่อนไป 2 สัปดาห์ ท้ายที่สุดทาง กกต. ขอให้เลื่อนได้เป็นวันที่ 13 ส.ค.นี้ ซึ่งจะชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ กกต.เวลานี้กำลังพิจารณาประเด็นที่ต้องชี้แจงว่า มีแนวทางอะไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุที่จะยกขึ้นมาต่อสู้ ยังยืนยันว่าทางพรรคพลังประชาชนมีมติชัดเจนให้สมาชิกและกรรมการบริหารพรรคปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้งอย่างเคร่งคัด นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ก็แนวนั้นแหละ เราเป็นพรรคแรกที่มีคำสั่งเช่นนั้น และมีการแจ้งต่อ กกต.ด้วย และหากมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นพรรคก็ทำหน้าที่มีมาตรการออกมา เมื่อถามว่า จนถึงขณะนี้เชื่อว่าประเด็นที่ยกขึ้นมาสู้มีน้ำหนักพอที่ศาลจะรับฟังว่าเป็นการกระทำส่วนบุคคล นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับดุลพินิจว่าท่านจะตีความ มาตรา 237 อย่างไร ก็ต้องกลับมาสู่เรื่องของรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 237 ที่ระบุว่า รู้แล้วไม่ระงับยับยั้ง รู้แล้วไม่ดำเนินการใด ๆ ตรงนี้อาจจะเข้าข่าย ซึ่งเราต้องชี้แจงว่า ได้ทำหน้าที่ในฐานะพรรคต่อกรรมการบริหารพรรคบุคคลนี้แล้ว ส่วนศาลจะรับฟังมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ
เมื่อถามว่า ประเด็นนี้เคยยกมาสู้สมัยพรรคไทยรักไทย แล้วแพ้ ยังจะใช้อีกหรือ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ กรณีของพรรคไทยรักไทย เขาเขียนไว้ชัดเจน ซึ่งเขาถามว่าเมื่อเกิดเรื่องขึ้นทางพรรคทำอะไรบ้าง ผู้บริหารในขณะนั้นตอบว่า รับทราบ ไม่ได้ทำอะไร ต่างกันนิดหนึ่ง เมื่อถามว่า มีการตั้งพรรคสำรองไว้ แสดงว่าไม่มั่นใจว่าจะหลุดรอดจากการสั่งให้ยุบพรรค นายชูศักดิ์ กล่าวว่า กฎหมายมาตรา 237 ค่อนข้างจะตีความเข้ม หากมีการตีความอย่างเข้มข้นเลย อาจจะดำเนินการยุบได้ง่าย แต่ถ้าตีความแบบรัฐศาสตร์ มันอาจจะมีช่องทางไป ส่วนเขาจะตั้งพรรคอะไรไว้ ก็เป็นเรื่องของเขา
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุที่จะยกขึ้นมาต่อสู้ ยังยืนยันว่าทางพรรคพลังประชาชนมีมติชัดเจนให้สมาชิกและกรรมการบริหารพรรคปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้งอย่างเคร่งคัด นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ก็แนวนั้นแหละ เราเป็นพรรคแรกที่มีคำสั่งเช่นนั้น และมีการแจ้งต่อ กกต.ด้วย และหากมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นพรรคก็ทำหน้าที่มีมาตรการออกมา เมื่อถามว่า จนถึงขณะนี้เชื่อว่าประเด็นที่ยกขึ้นมาสู้มีน้ำหนักพอที่ศาลจะรับฟังว่าเป็นการกระทำส่วนบุคคล นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับดุลพินิจว่าท่านจะตีความ มาตรา 237 อย่างไร ก็ต้องกลับมาสู่เรื่องของรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 237 ที่ระบุว่า รู้แล้วไม่ระงับยับยั้ง รู้แล้วไม่ดำเนินการใด ๆ ตรงนี้อาจจะเข้าข่าย ซึ่งเราต้องชี้แจงว่า ได้ทำหน้าที่ในฐานะพรรคต่อกรรมการบริหารพรรคบุคคลนี้แล้ว ส่วนศาลจะรับฟังมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ
เมื่อถามว่า ประเด็นนี้เคยยกมาสู้สมัยพรรคไทยรักไทย แล้วแพ้ ยังจะใช้อีกหรือ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ กรณีของพรรคไทยรักไทย เขาเขียนไว้ชัดเจน ซึ่งเขาถามว่าเมื่อเกิดเรื่องขึ้นทางพรรคทำอะไรบ้าง ผู้บริหารในขณะนั้นตอบว่า รับทราบ ไม่ได้ทำอะไร ต่างกันนิดหนึ่ง เมื่อถามว่า มีการตั้งพรรคสำรองไว้ แสดงว่าไม่มั่นใจว่าจะหลุดรอดจากการสั่งให้ยุบพรรค นายชูศักดิ์ กล่าวว่า กฎหมายมาตรา 237 ค่อนข้างจะตีความเข้ม หากมีการตีความอย่างเข้มข้นเลย อาจจะดำเนินการยุบได้ง่าย แต่ถ้าตีความแบบรัฐศาสตร์ มันอาจจะมีช่องทางไป ส่วนเขาจะตั้งพรรคอะไรไว้ ก็เป็นเรื่องของเขา