เอเจนซี - การเล่นวิดีโอเกมที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งวัยรุ่นและหนุ่มสาวเชื่อฟังแพทย์และพยาบาล ยอมปฏิบัติตามแนวทางการรักษามากขึ้น
ดร.พาเมลา เอ็ม คาโต จากยูนิเวอร์ซิตี้ เมดิคัล เซนเตอร์ อูเทรชต์ในเนเธอร์แลนด์ แกนนำการวิจัยชิ้นนี้ ระบุในรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารเพเดียทริกส์ว่า การทำตามคำสั่งแพทย์และแนวทางการบำบัดเป็นปัญหาหลักของคนไข้กลุ่มนี้ ซึ่งทำให้อัตราการรอดชีวิตของคนไข้เด็กและวัยรุ่นไม่เพิ่มขึ้นเหมือนกลุ่มอื่นๆ
เพื่อตรวจสอบว่าการเล่นวิดีโอเกมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยกลุ่มนี้หรือไม่ ทีมนักวิจัยได้สุ่มเลือกคนไข้ชายหญิง 375 คน อายุระหว่าง 13-29 ปีที่รับการรักษามะเร็งในสหรัฐฯ แคนาดา และออสเตรเลีย เพื่อให้เลือกเล่นวิดีโอเกม ‘รี-มิชชั่น’ หรือ ‘อินเดียนา โจนส์ แอนด์ ดิ เอ็มเพอเรอร์ส ทูมบ์’ โดยเกมหลังเป็นเกมมาตรฐานทั่วไปที่ไม่ได้มุ่งเน้นการบำบัดมะเร็ง
ใน ‘รี-มิชชั่น’ (http://www2.re-mission.net) ที่พัฒนาโดยโฮปแล็บ บริษัทไม่หวังผลกำไรในแคลิฟอร์เนียนั้น ผู้เล่นต้องควบคุมหุ่นยนต์จิ๋วชื่อ ร็อกซี ที่จะเคลื่อนไหวอยู่ในสภาพแวดล้อม 3 มิติที่อุปโลกว่าเป็นอวัยวะภายในร่างกายผู้ป่วยมะเร็ง ผู้เล่นจะใช้ร็อกซีเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งและควบคุมผลข้างเคียง หากต้องการชนะ ผู้เล่นจะต้องรับการบำบัดด้วยเคมีและยาปฏิชีวนะ ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย กินอาหาร และปฏิบัติตามแนวทางอื่นๆ เพื่อดูแลรักษาสุขภาพของตัวเอง
ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มจะถูกขอให้เล่นเกมอย่างน้อยสัปดาห์ละชั่วโมง ซึ่งปรากฏว่า 22% ของกลุ่มเปรียบเทียบ และ 33% ของกลุ่มที่เล่นเกมรี-มิชชั่น ปฏิบัติตามคำขอนี้อย่างเคร่งครัดตลอดช่วงเวลาสามเดือนของการศึกษา
ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ตรวจสอบการใช้ยาแสดงให้เห็นว่า กลุ่มที่เล่นเกมรี-มิชชั่นกินยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น 16% โดยคนไข้กลุ่มนี้ยอมกินยาปฏิชีวนะ 62.3% จากที่แพทย์สั่งให้ทั้งหมด เทียบกับ 52.5% สำหรับกลุ่มอินเดียนา โจนส์
ระดับการเชื่อฟังของกลุ่มรี-มิชชั่นยังเพิ่มขึ้นในส่วนการยอมรับการบำบัดทางเคมี
รายงานยังระบุว่า การเล่นเกมรี-มิชชั่นมีส่วนเกี่ยวโยงกับพัฒนาการในการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็ง
ดร.คาโตสำทับว่า เกมดังกล่าวใช้ได้ผลเนื่องจากทำให้ผู้ป่วยมองโรคภัยของตัวเองในมุมมองใหม่ ตัวอย่างเช่น การคิดว่าการทำคีโมเป็นวิธีการในการต่อสู้กับมะเร็งมากกว่าการกระทำที่น่ารำคาญที่ทำให้ผมร่วง
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเกมรี-มิชชั่นได้ฟรีตามเว็บไซต์ที่ระบุอยู่ด้านบน
ดร.พาเมลา เอ็ม คาโต จากยูนิเวอร์ซิตี้ เมดิคัล เซนเตอร์ อูเทรชต์ในเนเธอร์แลนด์ แกนนำการวิจัยชิ้นนี้ ระบุในรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารเพเดียทริกส์ว่า การทำตามคำสั่งแพทย์และแนวทางการบำบัดเป็นปัญหาหลักของคนไข้กลุ่มนี้ ซึ่งทำให้อัตราการรอดชีวิตของคนไข้เด็กและวัยรุ่นไม่เพิ่มขึ้นเหมือนกลุ่มอื่นๆ
เพื่อตรวจสอบว่าการเล่นวิดีโอเกมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยกลุ่มนี้หรือไม่ ทีมนักวิจัยได้สุ่มเลือกคนไข้ชายหญิง 375 คน อายุระหว่าง 13-29 ปีที่รับการรักษามะเร็งในสหรัฐฯ แคนาดา และออสเตรเลีย เพื่อให้เลือกเล่นวิดีโอเกม ‘รี-มิชชั่น’ หรือ ‘อินเดียนา โจนส์ แอนด์ ดิ เอ็มเพอเรอร์ส ทูมบ์’ โดยเกมหลังเป็นเกมมาตรฐานทั่วไปที่ไม่ได้มุ่งเน้นการบำบัดมะเร็ง
ใน ‘รี-มิชชั่น’ (http://www2.re-mission.net) ที่พัฒนาโดยโฮปแล็บ บริษัทไม่หวังผลกำไรในแคลิฟอร์เนียนั้น ผู้เล่นต้องควบคุมหุ่นยนต์จิ๋วชื่อ ร็อกซี ที่จะเคลื่อนไหวอยู่ในสภาพแวดล้อม 3 มิติที่อุปโลกว่าเป็นอวัยวะภายในร่างกายผู้ป่วยมะเร็ง ผู้เล่นจะใช้ร็อกซีเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งและควบคุมผลข้างเคียง หากต้องการชนะ ผู้เล่นจะต้องรับการบำบัดด้วยเคมีและยาปฏิชีวนะ ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย กินอาหาร และปฏิบัติตามแนวทางอื่นๆ เพื่อดูแลรักษาสุขภาพของตัวเอง
ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มจะถูกขอให้เล่นเกมอย่างน้อยสัปดาห์ละชั่วโมง ซึ่งปรากฏว่า 22% ของกลุ่มเปรียบเทียบ และ 33% ของกลุ่มที่เล่นเกมรี-มิชชั่น ปฏิบัติตามคำขอนี้อย่างเคร่งครัดตลอดช่วงเวลาสามเดือนของการศึกษา
ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ตรวจสอบการใช้ยาแสดงให้เห็นว่า กลุ่มที่เล่นเกมรี-มิชชั่นกินยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น 16% โดยคนไข้กลุ่มนี้ยอมกินยาปฏิชีวนะ 62.3% จากที่แพทย์สั่งให้ทั้งหมด เทียบกับ 52.5% สำหรับกลุ่มอินเดียนา โจนส์
ระดับการเชื่อฟังของกลุ่มรี-มิชชั่นยังเพิ่มขึ้นในส่วนการยอมรับการบำบัดทางเคมี
รายงานยังระบุว่า การเล่นเกมรี-มิชชั่นมีส่วนเกี่ยวโยงกับพัฒนาการในการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็ง
ดร.คาโตสำทับว่า เกมดังกล่าวใช้ได้ผลเนื่องจากทำให้ผู้ป่วยมองโรคภัยของตัวเองในมุมมองใหม่ ตัวอย่างเช่น การคิดว่าการทำคีโมเป็นวิธีการในการต่อสู้กับมะเร็งมากกว่าการกระทำที่น่ารำคาญที่ทำให้ผมร่วง
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเกมรี-มิชชั่นได้ฟรีตามเว็บไซต์ที่ระบุอยู่ด้านบน