นักวิจัยพบสุนัขหาวตามกันเหมือนคน บ่งชี้ความสามารถของตูบน้อยในการอ่านสัญญาณทางสังคมของมนุษย์ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของคน
กระทั่งขณะนี้ มีเพียงมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์ใกล้ชิดคือชิมแปนซีเท่านั้นที่ถูกค้นพบว่ามีอาการหาวตามกัน
แม้บางครั้งการหาวอาจเป็นการตอบสนองต่อความเครียดขั้นรุนแรง แต่ส่วนใหญ่มักเป็นสัญญาณของความอ่อนเพลีย กระนั้น นักวิจัยยังไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้อย่างสมบูรณ์ว่า เหตุใดการหาวจึงเป็นอาการที่ติดต่อกันได้
ดร.อาสึชิ เซนจุ จากเบอร์เบ็ก คอลเลจ, ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ลอนดอนอ้างอิงหลักฐานที่ว่าผู้ป่วยออทิสติกมีแนวโน้มต่ำที่จะหาวตามคน ซึ่งบ่งชี้ว่าการหาวตามกันแสดงถึงความสามารถในการรับรู้และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
ด้วยความสงสัยว่าสุนัขที่ถือว่ามีทักษะสูงมากในการอ่านสัญญาณทางสังคมของคนออก จะสามารถอ่านสัญญาณการหาวของมนุษย์ได้หรือไม่ ดร.เซนจุและทีมนักวิจัยจึงทำการทดสอบสุนัข 29 ตัว
ทีมนักวิจัยสร้างเงื่อนไขสองเงื่อนไขๆ ละห้านาที เงื่อนไขแรกคือให้คนแปลกหน้าไปนั่งตรงหน้าและเรียกชื่อสุนัขเป็นระยะ และเมื่อใดก็ตามที่สุนัขเงยหน้าขึ้นสบตา คนๆ นั้นต้องหาว
“เรากระตุ้นสุนัขให้หาวทั้งด้วยภาพและเสียง” ดร.เซนจุเล่า
ภายใต้เงื่อนไขที่สอง กระบวนการเดิมกลับมาอีกครั้ง ทว่า คราวนี้คนแปลกหน้าอ้าปากและหุบปากแต่ไม่ได้หาว เพื่อให้แน่ใจว่าสุนัขไม่ได้ตอบสนองต่อการอ้าปาก
รายงานที่อยู่ในวารสารไบโอโลจี้ เล็ตเตอร์ส บอกเล่าว่านักวิจัยพบว่าสุนัข 21 จาก 29 ตัวหาวเมื่อคนแปลกหน้านั่งหาวตรงหน้า โดยเฉลี่ยแล้วสุนัขเหล่านี้หาว 1.9 ครั้ง แต่ไม่มีตัวไหนหาวระหว่างเงื่อนไขที่สอง
นักวิจัยเชื่อว่า ผลการทดลองนี้เป็นหลักฐานชิ้นแรกที่บ่งชี้ว่า สุนัขมีความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของมนุษย์ แม้ไม่สามารถตัดความเป็นไปได้ที่ว่าการหาวมีสาเหตุมาจากความเครียดก็ตาม อย่างไรก็ดี นักวิจัยหวังว่าจะขยายผลการศึกษาในประเด็นนี้ต่อไป
“สุนัขมีความสามารถพิเศษในการอ่านการสื่อสารของมนุษย์ โดยจะตอบสนองเวลาเราชี้และส่งสัญญาณ” ดร.เซนจุกล่าว
นักวิจัยอธิบายว่า นอกจากหูย้อยๆ และตาเชื่อมแล้ว มนุษย์เรายังเลือกให้สุนัขมีความเชื่องและเชื่อฟัง ผลลัพธ์จากการศึกษานี้บ่งชี้ว่า ความสามารถในการเข้าใจมนุษย์เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่ถูกกำหนดให้มีในตัวสุนัขในระหว่างกระบวนการเพื่อนำหมาน้อยมาเป็นสัตว์เลี้ยง
ดร.เซนจุคิดว่า ลักษณะเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์เมื่อมนุษย์เริ่มเรียนรู้ที่จะอยู่โดยมีสุนัขเคียงข้างเป็นเพื่อนติดสอยห้อยตามเมื่อ 15,000 ปีโดยประมาณ
กระทั่งขณะนี้ มีเพียงมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์ใกล้ชิดคือชิมแปนซีเท่านั้นที่ถูกค้นพบว่ามีอาการหาวตามกัน
แม้บางครั้งการหาวอาจเป็นการตอบสนองต่อความเครียดขั้นรุนแรง แต่ส่วนใหญ่มักเป็นสัญญาณของความอ่อนเพลีย กระนั้น นักวิจัยยังไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้อย่างสมบูรณ์ว่า เหตุใดการหาวจึงเป็นอาการที่ติดต่อกันได้
ดร.อาสึชิ เซนจุ จากเบอร์เบ็ก คอลเลจ, ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ลอนดอนอ้างอิงหลักฐานที่ว่าผู้ป่วยออทิสติกมีแนวโน้มต่ำที่จะหาวตามคน ซึ่งบ่งชี้ว่าการหาวตามกันแสดงถึงความสามารถในการรับรู้และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
ด้วยความสงสัยว่าสุนัขที่ถือว่ามีทักษะสูงมากในการอ่านสัญญาณทางสังคมของคนออก จะสามารถอ่านสัญญาณการหาวของมนุษย์ได้หรือไม่ ดร.เซนจุและทีมนักวิจัยจึงทำการทดสอบสุนัข 29 ตัว
ทีมนักวิจัยสร้างเงื่อนไขสองเงื่อนไขๆ ละห้านาที เงื่อนไขแรกคือให้คนแปลกหน้าไปนั่งตรงหน้าและเรียกชื่อสุนัขเป็นระยะ และเมื่อใดก็ตามที่สุนัขเงยหน้าขึ้นสบตา คนๆ นั้นต้องหาว
“เรากระตุ้นสุนัขให้หาวทั้งด้วยภาพและเสียง” ดร.เซนจุเล่า
ภายใต้เงื่อนไขที่สอง กระบวนการเดิมกลับมาอีกครั้ง ทว่า คราวนี้คนแปลกหน้าอ้าปากและหุบปากแต่ไม่ได้หาว เพื่อให้แน่ใจว่าสุนัขไม่ได้ตอบสนองต่อการอ้าปาก
รายงานที่อยู่ในวารสารไบโอโลจี้ เล็ตเตอร์ส บอกเล่าว่านักวิจัยพบว่าสุนัข 21 จาก 29 ตัวหาวเมื่อคนแปลกหน้านั่งหาวตรงหน้า โดยเฉลี่ยแล้วสุนัขเหล่านี้หาว 1.9 ครั้ง แต่ไม่มีตัวไหนหาวระหว่างเงื่อนไขที่สอง
นักวิจัยเชื่อว่า ผลการทดลองนี้เป็นหลักฐานชิ้นแรกที่บ่งชี้ว่า สุนัขมีความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของมนุษย์ แม้ไม่สามารถตัดความเป็นไปได้ที่ว่าการหาวมีสาเหตุมาจากความเครียดก็ตาม อย่างไรก็ดี นักวิจัยหวังว่าจะขยายผลการศึกษาในประเด็นนี้ต่อไป
“สุนัขมีความสามารถพิเศษในการอ่านการสื่อสารของมนุษย์ โดยจะตอบสนองเวลาเราชี้และส่งสัญญาณ” ดร.เซนจุกล่าว
นักวิจัยอธิบายว่า นอกจากหูย้อยๆ และตาเชื่อมแล้ว มนุษย์เรายังเลือกให้สุนัขมีความเชื่องและเชื่อฟัง ผลลัพธ์จากการศึกษานี้บ่งชี้ว่า ความสามารถในการเข้าใจมนุษย์เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่ถูกกำหนดให้มีในตัวสุนัขในระหว่างกระบวนการเพื่อนำหมาน้อยมาเป็นสัตว์เลี้ยง
ดร.เซนจุคิดว่า ลักษณะเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์เมื่อมนุษย์เริ่มเรียนรู้ที่จะอยู่โดยมีสุนัขเคียงข้างเป็นเพื่อนติดสอยห้อยตามเมื่อ 15,000 ปีโดยประมาณ