เอเอฟพี - สหรัฐฯ ควรเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ในการปราบปรามกลุ่มอัลกออิดะห์ จากปัจจุบันที่พึ่งพากองกำลังทหารเป็นหลัก มาเป็นการใช้ตำรวจและงานด้านข่าวกรองอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแทน ผลศึกษาชี้เมื่อวันอังคาร (29)
ผลศึกษาดังกล่าวที่จัดทำโดยแรนด์ คอร์เปอเรชัน อันเป็นองค์การศึกษาวิจัยที่ทำงานร่วมกับกองทัพสหรัฐฯ เป็นประจำ ยังเรียกร้องให้อเมริกันล้มเลิกการประทับตรา "สงครามต่อต้านการก่อการร้าย"
"กลุ่มผู้ก่อการร้ายสมควรจะถูกมองและได้รับการอธิบายว่าเป็นพวกอาชญากร มิใช่นักรบในสงครามศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ ผลวิเคราะห์ของเรายังชี้ว่า วิธีแก้ปัญหาในสมรภูมิรบไม่มีทางเอาชนะลัทธิการก่อการร้าย" ซิธ โจนส์ หัวหน้าคณะวิจัยครั้งนี้กล่าว
เมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมา กองทัพสหรัฐฯ เพิ่งร้องขอกำลังพลเพิ่มเติมในการปราบปรามกลุ่มติดอาวุธในอัฟกานิสถาน ขณะที่ผลศึกษาวิจัยของแรนด์แนะนำว่า "ควรจะคงทหารเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น หรือมิเช่นนั้นก็ถอนทัพออกมาให้หมดยิ่งดี"
ผลวิจัยครั้งนี้ยังศึกษาด้วยว่า นับตั้งแต่ปี 1968 เป็นต้นมากลุ่มก่อการร้ายต่าง ๆ สิ้นอานุภาพได้อย่างไร จนทำให้พบคำตอบสำคัญว่า มีเพียง 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ถูกปราบปรามจนสิ้นฤทธิ์ด้วยยุทธวิธีทางทหาร
ส่วนมากกลุ่มก่อการร้ายถูกกำราบด้วยการทำข้อตกลงทางการเมือง (43%) หรือไม่ก็ใช้กำลังตำรวจหรืองานด้านข่าวกรอง (40) ในการสร้างความแตกแยกและควบคุมตัวหรือสังหารผู้นำกลุ่มก่อการร้าย
ผลศึกษาดังกล่าวที่จัดทำโดยแรนด์ คอร์เปอเรชัน อันเป็นองค์การศึกษาวิจัยที่ทำงานร่วมกับกองทัพสหรัฐฯ เป็นประจำ ยังเรียกร้องให้อเมริกันล้มเลิกการประทับตรา "สงครามต่อต้านการก่อการร้าย"
"กลุ่มผู้ก่อการร้ายสมควรจะถูกมองและได้รับการอธิบายว่าเป็นพวกอาชญากร มิใช่นักรบในสงครามศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ ผลวิเคราะห์ของเรายังชี้ว่า วิธีแก้ปัญหาในสมรภูมิรบไม่มีทางเอาชนะลัทธิการก่อการร้าย" ซิธ โจนส์ หัวหน้าคณะวิจัยครั้งนี้กล่าว
เมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมา กองทัพสหรัฐฯ เพิ่งร้องขอกำลังพลเพิ่มเติมในการปราบปรามกลุ่มติดอาวุธในอัฟกานิสถาน ขณะที่ผลศึกษาวิจัยของแรนด์แนะนำว่า "ควรจะคงทหารเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น หรือมิเช่นนั้นก็ถอนทัพออกมาให้หมดยิ่งดี"
ผลวิจัยครั้งนี้ยังศึกษาด้วยว่า นับตั้งแต่ปี 1968 เป็นต้นมากลุ่มก่อการร้ายต่าง ๆ สิ้นอานุภาพได้อย่างไร จนทำให้พบคำตอบสำคัญว่า มีเพียง 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ถูกปราบปรามจนสิ้นฤทธิ์ด้วยยุทธวิธีทางทหาร
ส่วนมากกลุ่มก่อการร้ายถูกกำราบด้วยการทำข้อตกลงทางการเมือง (43%) หรือไม่ก็ใช้กำลังตำรวจหรืองานด้านข่าวกรอง (40) ในการสร้างความแตกแยกและควบคุมตัวหรือสังหารผู้นำกลุ่มก่อการร้าย