ผู้จัดการรายวัน-ธนารักษ์ชงครม.อนุมัติปรับปรุงพื้นที่ใต้ทางด่วนเป็นร้านค้าเชิงพาณิชย์ช่วงต้นเดือนส.ค.นี้ ตั้งเป้า 1 หมื่นยูนิตภายในสิ้นปีนี้ คาดใช้งบก่อสร้างยูนิตละ 1 แสนบาท วงเงินรวม 1 พันล้านบาท คิดค่าเช่า 150-250 บาทต่อวัน หวังช่วยให้ประชาชนมีรายได้เสริม ส่วนพื้นที่เสี่ยงที่มีคนยึดครองไว้แล้ว พร้อมเจรจาให้เช่าพื้นที่บางส่วนได้
นางพันธุ์ทิพย์ สุรฑิณฑ์ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ในช่วงต้นเดือนส.ค.นี้ทางกรมธนารักษ์จะนำเสนอโครงการปรับปรุงพื้นที่ใต้ทางด่วนเป็นร้านค้าเชิงพาณิชย์ให้แก่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการ หลังจากกรมธนารักษ์ได้พื้นที่จากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)แล้ว และได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการคลังเป็นอย่างดี โดยหลังจากที่ครม.อนุมัติจะเริ่มปรับปรุงพื้นที่และออกหลักเกณฑ์การจองพื้นที่ ซึ่งจะให้บริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์(ธพส.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินโครงการและระดมทุน เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนต่อไป
“ขณะนี้มีพื้นที่สามารถเป็นร้านค้าเชิงพาณิชย์ได้แล้วจำนวน 13 แห่ง และคาดว่าต่อไปจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเชื่อว่าจะครบตามเป้าหมาย 1 หมื่นยูนิตภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งเท่าที่สำรวจพื้นที่จะเริ่มเป็นโครงการนำร่อง 3 แห่ง คือ บริเวณใต้ทางด่วนแถวถนนสีลมและสุขุมวิท เพราะเป็นแหล่งคนพลุกพล่าน โดยจะวางคอนเซ็ปต์ให้เป็นสินค้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)หรือโอทอป รวมทั้งสินค้าที่ใช้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน อาทิ ของว่าง หนังสือพิมพ์ เป็นต้น โดยมีรูปแบบบูทที่สวยงาม น่าสนใจ ซึ่งจะมีงบในการพัฒนาแห่งละประมาณ 20 ล้านบาทต่อพื้นที่"
สำหรับพื้นที่ใต้ทางด่วนที่เป็นแหล่งชุมชน แม้จะห่างไกลย่านธุรกิจ เช่น พื้นที่ใต้ทางด่วนบริเวณรามอินทรา-อาจณรงค์ จะเปิดเป็นลักษณะตลาดนัด และเปิดท้ายขายของ เพื่อให้ประชาชนมีจับจ่ายใช้สอยสินค้าที่จำเป็น หรือนำสินค้าที่เหลือใช้มาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้แต่ละคนสามารถมีรายได้เสริมในภาวะที่ค่าครองชีพสูงเช่นนี้ โดยกรมธนารักษ์จะคิดค่าเช่าในอัตราที่ถูกกว่าเอกชนคิด เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เลี้ยงตัวเองได้
แหล่งข่าวจากกรมธนารักษ์ กล่าวว่า พื้นที่กทพ.เสนอมาให้ล่าสุดอยู่ที่ จำนวน 18 แห่ง โดยบางแห่งนั้นยอมรับว่าเป็นพื้นที่ที่มีความยากลำบากในการบริหารจัดการ เพราะมีผู้ใช้พื้นที่อยู่แล้ว เช่น ใต้ทางด่วนอนุสาวรีย์ และใต้ทางด่วนดินแดง เป็นต้น ซึ่งเดิมทีมีคิวรถตู้ และร้านขายของอยู่ อีกทั้งกรมธนารักษ์ก็มีความกังวลใจกับปัญหาเรื่องการขอคืนพื้นที่ เพราะบางส่วนก็จะมีกลุ่มผู้มีอิทธิพลคุมพื้นที่อยู่ จึงได้ตกลงกับทางกทพ.ว่าจะเข้าไปร่วมเจรจาให้สิทธิแก่ผู้ค้ารายเดิมในการเช่าพื้นที่ด้วย เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น
"บูธที่เราจะนำไปวางที่ใต้ทางด่วนจะพยายามทำให้สวยงาม และไม่กินพื้นที่มาก ซึ่งจะมีความกว้างเพียง 9 ตารางเมตร แต่จัดให้เป็นระเบียบ และจะมีการอำนวยความสะดวกมีการสร้างสุขาสาธารณะรองรับ เพื่อให้ดูสะอาด สวยงาม และน่าเดิน ไม่น่ากลัวแบบที่เป็นอยู่ โดยแต่ละบูธได้มีการสำรวจราคาค่าก่อสร้างแล้วว่าราคาจะอยู่ไม่เกินบูธละ 1 แสนบาท คิดเป็นวงเงินประมาณ 1 พันล้านบาท จากจำนวน 1 หมื่นยูนิต โดยจะขออนุมัติครม.ให้ธพส.สามารถออกพันธบัตรระดมทุนได้ในจำนวนดังกล่าว ส่วนราคาค่าเช่าก็จะคิดในอัตรา 150-250 บาทต่อวัน แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่"แหล่งข่าวกล่าว
นางพันธุ์ทิพย์ สุรฑิณฑ์ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ในช่วงต้นเดือนส.ค.นี้ทางกรมธนารักษ์จะนำเสนอโครงการปรับปรุงพื้นที่ใต้ทางด่วนเป็นร้านค้าเชิงพาณิชย์ให้แก่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการ หลังจากกรมธนารักษ์ได้พื้นที่จากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)แล้ว และได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการคลังเป็นอย่างดี โดยหลังจากที่ครม.อนุมัติจะเริ่มปรับปรุงพื้นที่และออกหลักเกณฑ์การจองพื้นที่ ซึ่งจะให้บริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์(ธพส.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินโครงการและระดมทุน เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนต่อไป
“ขณะนี้มีพื้นที่สามารถเป็นร้านค้าเชิงพาณิชย์ได้แล้วจำนวน 13 แห่ง และคาดว่าต่อไปจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเชื่อว่าจะครบตามเป้าหมาย 1 หมื่นยูนิตภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งเท่าที่สำรวจพื้นที่จะเริ่มเป็นโครงการนำร่อง 3 แห่ง คือ บริเวณใต้ทางด่วนแถวถนนสีลมและสุขุมวิท เพราะเป็นแหล่งคนพลุกพล่าน โดยจะวางคอนเซ็ปต์ให้เป็นสินค้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)หรือโอทอป รวมทั้งสินค้าที่ใช้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน อาทิ ของว่าง หนังสือพิมพ์ เป็นต้น โดยมีรูปแบบบูทที่สวยงาม น่าสนใจ ซึ่งจะมีงบในการพัฒนาแห่งละประมาณ 20 ล้านบาทต่อพื้นที่"
สำหรับพื้นที่ใต้ทางด่วนที่เป็นแหล่งชุมชน แม้จะห่างไกลย่านธุรกิจ เช่น พื้นที่ใต้ทางด่วนบริเวณรามอินทรา-อาจณรงค์ จะเปิดเป็นลักษณะตลาดนัด และเปิดท้ายขายของ เพื่อให้ประชาชนมีจับจ่ายใช้สอยสินค้าที่จำเป็น หรือนำสินค้าที่เหลือใช้มาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้แต่ละคนสามารถมีรายได้เสริมในภาวะที่ค่าครองชีพสูงเช่นนี้ โดยกรมธนารักษ์จะคิดค่าเช่าในอัตราที่ถูกกว่าเอกชนคิด เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เลี้ยงตัวเองได้
แหล่งข่าวจากกรมธนารักษ์ กล่าวว่า พื้นที่กทพ.เสนอมาให้ล่าสุดอยู่ที่ จำนวน 18 แห่ง โดยบางแห่งนั้นยอมรับว่าเป็นพื้นที่ที่มีความยากลำบากในการบริหารจัดการ เพราะมีผู้ใช้พื้นที่อยู่แล้ว เช่น ใต้ทางด่วนอนุสาวรีย์ และใต้ทางด่วนดินแดง เป็นต้น ซึ่งเดิมทีมีคิวรถตู้ และร้านขายของอยู่ อีกทั้งกรมธนารักษ์ก็มีความกังวลใจกับปัญหาเรื่องการขอคืนพื้นที่ เพราะบางส่วนก็จะมีกลุ่มผู้มีอิทธิพลคุมพื้นที่อยู่ จึงได้ตกลงกับทางกทพ.ว่าจะเข้าไปร่วมเจรจาให้สิทธิแก่ผู้ค้ารายเดิมในการเช่าพื้นที่ด้วย เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น
"บูธที่เราจะนำไปวางที่ใต้ทางด่วนจะพยายามทำให้สวยงาม และไม่กินพื้นที่มาก ซึ่งจะมีความกว้างเพียง 9 ตารางเมตร แต่จัดให้เป็นระเบียบ และจะมีการอำนวยความสะดวกมีการสร้างสุขาสาธารณะรองรับ เพื่อให้ดูสะอาด สวยงาม และน่าเดิน ไม่น่ากลัวแบบที่เป็นอยู่ โดยแต่ละบูธได้มีการสำรวจราคาค่าก่อสร้างแล้วว่าราคาจะอยู่ไม่เกินบูธละ 1 แสนบาท คิดเป็นวงเงินประมาณ 1 พันล้านบาท จากจำนวน 1 หมื่นยูนิต โดยจะขออนุมัติครม.ให้ธพส.สามารถออกพันธบัตรระดมทุนได้ในจำนวนดังกล่าว ส่วนราคาค่าเช่าก็จะคิดในอัตรา 150-250 บาทต่อวัน แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่"แหล่งข่าวกล่าว