รอยเตอร์ - มาตรการต่าง ๆ ที่เข้มงวด อันเป็นข้อผูกมัดในการกู้ยืมเงินกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) มีส่วนทำให้วัณโรค (ทีบี) กลับมาระบาดอีกครั้งในยุโรปตะวันออกและอดีตสหภาพโซเวียต คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เผยเมื่อวันอังคาร (22)
รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ ตัดลดงบประมาณด้านการบริการทางสาธารณสุข เช่นในโรงพยาบาล หรือ คลินิก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ไอเอ็มเอฟกำหนดไว้ ทีมนักวิจัยจากอังกฤษกล่าว
ผลการศึกษาครั้งนี้ ที่ตีพิมพ์ในวารสารบรรณารักษ์ศาสตร์มหาชนพลอสเมดิซีนพบว่า ประเทศต่าง ๆ ที่กู้ยืมเงินจากไอเอ็มเอฟล้วนแล้วแต่มีอัตราการเสียชีวิตด้วยวัณโรคมากขึ้นอย่างน้อย 17 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างปี 1991 - 2000 - - - เท่ากับว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคทีบีเพิ่มขึ้นกว่า 100,000 ราย ขณะเดียวกันก็มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 1,000,000 คน
ในทางตรงกันข้าม ประเทศที่กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินแห่งอื่น ๆ ที่มีเงื่อนไขผูกมัดทางเศรษฐกิจผ่อนปรนกว่า กลับมีสถิติการเสียชีวิตด้วยโรคทีบีลดลงเกือบ 8 เปอร์เซ็นต์ เดวิด สตัคเลอร์ และทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์กล่าวเปรียบเทียบ
"การกู้ยืมเงินจากไอเอ็มเอฟ ดูเหมือนไม่ได้เป็นการตอบสนองต่อปัญหาทางสาธารณสุขที่กำลังเลวร้าย แต่ถ้าจะพูดให้ชัด ๆ คือ การให้กู้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นตัวการให้เกิดผลกระทบเช่นนี้" ทีมนักวิจัยกล่าว
อย่างไรก็ตาม ด้านโฆษกไอเอ็มเอฟออกคำแถลงตั้งข้อสงสัยว่า การวิจัยดังกล่าวนำสภาวะความไม่มั่นคง ภายหลังการล่มสลายของโซเวียต เข้ามาประกอบการศึกษาด้วยหรือไม่ พร้อมกันนี้ยังแย้งกลับว่า โรคทีบีต้องใช้เวลาในการฟักตัว ดังนั้นอัตราการเสียชีวิตที่กล่าวอ้างมานั้น อาจเชื่อมโยงกับบางสิ่งบางอย่างก่อนหน้านี้
"หากกองทุนการเงินระหว่างประเทศไม่ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลืออดีตประเทศคอมมิวนิสต์เหล่านี้ การตัดลดงบประมาณด้านสาธารณสุข อาจลดฮวบยิ่งกว่านี้ และโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ก็อาจรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ" วิลเลียม เมอร์เรย์ โฆษกไอเอ็มเอฟแถลงทางอีเมล์
วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และมักเกิดขึ้นที่ปอด ในแต่ละปี โรคร้ายนี้คร่าชีวิตผู้คนราว 1.6 ล้านคนทั่วโลก
คณะผู้วิจัยกล่าวว่า กระทั่งเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ อย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงทางประชากร, สงคราม, ภาวะเงินเฟ้อ ที่อาจทำให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ พวกเขาก็ยังคงพบว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของโรคทีบีมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับช่วงเวลาที่การกู้ยืมเงินจากไอเอ็มเอฟเริ่มต้นขึ้น
รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ ตัดลดงบประมาณด้านการบริการทางสาธารณสุข เช่นในโรงพยาบาล หรือ คลินิก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ไอเอ็มเอฟกำหนดไว้ ทีมนักวิจัยจากอังกฤษกล่าว
ผลการศึกษาครั้งนี้ ที่ตีพิมพ์ในวารสารบรรณารักษ์ศาสตร์มหาชนพลอสเมดิซีนพบว่า ประเทศต่าง ๆ ที่กู้ยืมเงินจากไอเอ็มเอฟล้วนแล้วแต่มีอัตราการเสียชีวิตด้วยวัณโรคมากขึ้นอย่างน้อย 17 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างปี 1991 - 2000 - - - เท่ากับว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคทีบีเพิ่มขึ้นกว่า 100,000 ราย ขณะเดียวกันก็มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 1,000,000 คน
ในทางตรงกันข้าม ประเทศที่กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินแห่งอื่น ๆ ที่มีเงื่อนไขผูกมัดทางเศรษฐกิจผ่อนปรนกว่า กลับมีสถิติการเสียชีวิตด้วยโรคทีบีลดลงเกือบ 8 เปอร์เซ็นต์ เดวิด สตัคเลอร์ และทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์กล่าวเปรียบเทียบ
"การกู้ยืมเงินจากไอเอ็มเอฟ ดูเหมือนไม่ได้เป็นการตอบสนองต่อปัญหาทางสาธารณสุขที่กำลังเลวร้าย แต่ถ้าจะพูดให้ชัด ๆ คือ การให้กู้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นตัวการให้เกิดผลกระทบเช่นนี้" ทีมนักวิจัยกล่าว
อย่างไรก็ตาม ด้านโฆษกไอเอ็มเอฟออกคำแถลงตั้งข้อสงสัยว่า การวิจัยดังกล่าวนำสภาวะความไม่มั่นคง ภายหลังการล่มสลายของโซเวียต เข้ามาประกอบการศึกษาด้วยหรือไม่ พร้อมกันนี้ยังแย้งกลับว่า โรคทีบีต้องใช้เวลาในการฟักตัว ดังนั้นอัตราการเสียชีวิตที่กล่าวอ้างมานั้น อาจเชื่อมโยงกับบางสิ่งบางอย่างก่อนหน้านี้
"หากกองทุนการเงินระหว่างประเทศไม่ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลืออดีตประเทศคอมมิวนิสต์เหล่านี้ การตัดลดงบประมาณด้านสาธารณสุข อาจลดฮวบยิ่งกว่านี้ และโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ก็อาจรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ" วิลเลียม เมอร์เรย์ โฆษกไอเอ็มเอฟแถลงทางอีเมล์
วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และมักเกิดขึ้นที่ปอด ในแต่ละปี โรคร้ายนี้คร่าชีวิตผู้คนราว 1.6 ล้านคนทั่วโลก
คณะผู้วิจัยกล่าวว่า กระทั่งเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ อย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงทางประชากร, สงคราม, ภาวะเงินเฟ้อ ที่อาจทำให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ พวกเขาก็ยังคงพบว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของโรคทีบีมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับช่วงเวลาที่การกู้ยืมเงินจากไอเอ็มเอฟเริ่มต้นขึ้น