พงศาวดารเขมรเล่าถึงพระบาทปักษีจำกรงซึ่งพระมารดาเป็นราชธิดากษัตริย์หนีราชภัยขณะทรงพระครรภ์ และถูกตามฆ่าสิ้นพระชนม์ในป่า องค์ท่านรอดมาได้โดยพราหมณ์เก็บมาเลี้ยงที่เทวาลัยปราสาทพระวิหาร จนกษัตริย์พรมเกลสวรรคตแล้วจึงลงเขมรต่ำไปเอาราชสมบัติคืนได้ โปรดให้สร้างปราสาทอุทิศถวายเทพบนพนมดงเร็กผู้ปกปักรักษาท่าน ตั้งพราหมณ์ผู้มีคุณเป็นปุโรหิตที่ยัชญาวราหะ และทรงสร้างปราสาทปักษีจำกรงอุทิศที่ยโสธรปุระเป็นที่ระลึกครั้งประสูติจนเติบใหญ่บนเทวาลัยประดุจนกจำขังอยู่ในกรง
เมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์กัมพูชาแบบเรียนเขมร ซึ่งแปลเป็นไทยโดยอาจารย์ศานติ ภักดีคำ พระบาทปักษีจำกรงคือราเชนทรวรมันที่ 1 (ค.ศ. 944-968) ครองราชย์ในฐานะพระภาคินัยกษัตริย์ชัยวรมันที่ 4 (922-942) ต่อจากหรรษวรมันที่ 2 (942-944) ผู้ทรงพระนามหลังสวรรคตว่าพระพรหมโลกที่เกาะแกร์ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วทรงย้ายศิวลึงค์ทอง สัญลักษณ์แห่งเทวราชา ครั้งพระสัสสุรุแย่งมา กลับคืนยโสธรปุระ ราเชนทรวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทปักษีจำกรงอุทิศถวายบรรพบุรุษ มาแล้วเสร็จในรัชกาลต่อมาคือชัยวรมันที่ 5 ราชโอรส (968-1001) และพราหมณ์ยัชญาวราหะสร้างปราสาทบันทายศรี
ต่อมาสมัยสุริยวรมันที่ 1 (1002-1050) ซึ่งประวัติศาสตร์กัมพูชากล่าวว่าทรงประกาศพระองค์เป็นพระราชาของกัมพูชาที่โคราช โดยพระมารดาสืบพระญาติวงศ์จากกษัตริย์อินทรวรมัน และทรงได้รับพระราชมรดกลพบุรีจากพระวรบิดาด้วย ราชอาณาเขตจึงครอบคลุมไปจรดแม่น้ำ (เจ้าพระยา) เมื่อปราบปรามเมืองต่างๆ ในเขมรต่ำขึ้นครองราชย์ที่ยโสธรปุระเมื่อ 1010 แล้วทรงขยายเมืองเป็นพระนครหลวง สร้างปราสาทบาพวนบนภูเขาในเมืองใหม่ สร้างปราสาทพระวิหารที่พนมดงรักและพนมชีสูรที่ตาแก้ว (บนแม่น้ำโขงด้านออกอ่าวไทย) ทรงนับถือพุทธศาสนา และเป็นต้นราชวงศ์สุริยวรมันที่ 1
ต่อมาสมัยสุริยวรมันที่ 1 (1113-1150) ทรงแย่งราชสมบัติจากพระปิตุลาธรณินทรวรมันที่ 1 (1107-1112) พระเชษฐาชัยวรมันที่ 6 (1180-1107) ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์มหิธรปุระแห่งลุ่มแม่น้ำมูล กษัตริย์องค์นี้เป็นไวศณพจึงทรงต่อเติมปราสาทพระวิหารเพื่อบูชาพระนารายณ์ และสร้างปราสาทนครวัดอันยิ่งใหญ่ กษัตริย์องค์ต่อมาท่านเป็นอนุชาร่วมพระอัยยิกาคือธรณินทรวรมันที่ 2 (1150-1160) ซึ่งเป็นพระราชบิดาของชัยวรมันที่ 7 (1181-1218) ผู้ยิ่งใหญ่
ราชวงศ์มหิธรปุระแห่งลุ่มน้ำมูลเป็นราชวงศ์กษัตริย์ขอมสุดท้ายถึง ค.ศ. 1879 ในรัชสมัยชัยวรมันที่ 9 (พระสัสสุระเจ้าฟ้างุ้มล้านช้าง) ถูกปลงพระชนม์ในคืนหนึ่งเพราะจำไม่ได้โดยชาวสวนผู้ปลูกแตงโมหวานของพระเจ้าแผ่นดิน แล้วอย่างไรไม่ทราบคนสวนนั้นกลับได้รับอัญเชิญให้เสวยราชย์เป็นที่พระเจ้าตรอชกแผอม (ผู้เขียนก็อ่านไม่ออกเหมือนกัน-ฮา) แปลว่าพระเจ้าแตงหวาน (1879-1883) ต้นรัชกาลปัจจุบันซึ่งสืบทอดมาจนถึงเจ้าสีหนุ และพระโอรสกษัตริย์สีหโมนีขณะนี้
จะเห็นว่าปราสาทพระวิหารศรีศิขเรศวรไม่ใช่ปราสาทราชวัง หากเป็นเทวสถาน/พุทธสถานกระทั่งศาลเจ้าป่าอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพของท้องถิ่นภาคอีสานแถวนั้นมาแต่ดึกดำบรรพ์ จารึกแรกสุด ค.ศ. 688/พ.ศ. 1108 กษัตริย์วรมันโปรดให้ข้าราชสำนักจารึกการถวายสิ่งต่างๆ ไว้ที่ปูชนียสถานแห่งนี้ พระองค์เป็นกษัตริย์เศรษฐปุระ (วัดภูจำปาสัก) ผู้ลงไปปราบปรามเขมรต่ำและตั้งเมืองที่นั่น (550-620) ก่อนสมันพระนครหลวง เป็นเชษฐาเจ้าชายจิตรเสนฝั่งแม่น้ำมูลซึ่งลงไปสืบราชสมบัติต่อเป็นมเหนทรวรมัน (600-615) ผู้ยิ่งใหญ่สมัยเจนละ พุทธสถานและเทวสถานทั้งไศวและไวศณพนิกายในสมัยโบราณ ล้วนเป็นที่กัลปนาซึ่งพระราชาถวายพร้อมทั้งผู้คนข้าทาสสิ่งของให้ดูแลรักษาสถานที่ ถือเป็นเขตพ้นอำนาจแผ่นดิน (สมาชญาปยติ) ราเชนทรวรมันที่ 2 จึงทรงหลบราชภัยอยู่ได้ในที่นั้น ซึ่งเมืองเกาะแกร์ก็อยู่ต่ำใต้ภูเขาลงไปนั่นเอง ปัจจุบันเรียกจังหวัดเปรี๊ยะวืเฮียร์ในกัมพูชา
และดังนั้นที่รัฐบาลกัมพูชาออกแถลงการณ์เมื่อ 2 ต.ค. พ.ศ. 2502 ว่าเขาพระวิหารเป็นของเขมรเพราะว่า “ถาวรวัตถุบนเขาพระวิหารได้สร้างขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง 12 โดยกษัตริย์กัมพูชาเหนือภูเขาดงเร็ก” นั้นก็ไม่สามารถแสดงสิทธิของกษัตริย์กัมพูชาได้ นอกจากนั้นกษัตริย์ขอมเมืองยโสธรปุระ/พระนครหลวงผู้สร้างปราสาทล้วนเสด็จไปจากสยามประเทศทั้งสิ้น การถวายที่กัลปนาหมายถึงถวายอุทิศสิทธิในที่ดินและผู้คน (อันกษัตริย์ต่อๆ มาในราชวงศ์ไม่สามารถเกณฑ์ไปใช้ราชการอื่นใด) ให้ด้วย และยังไม่เคยปรากฏว่ากษัตริย์องค์ใดในราชวงศ์พระเจ้าแตงหวานขึ้นมาถวายสิ่งของหรือก่อสร้างซ่อมแซมอะไรถวายบนเทวสถานแห่งนี้เลย แถมยังขึ้นมารบกันเองระหว่าง ค.ศ. 1970-1978 บนปราสาทพระวิหารนี้จนบางแห่งปรักหักพังชำรุดเสียหายอีกด้วย
เมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์กัมพูชาแบบเรียนเขมร ซึ่งแปลเป็นไทยโดยอาจารย์ศานติ ภักดีคำ พระบาทปักษีจำกรงคือราเชนทรวรมันที่ 1 (ค.ศ. 944-968) ครองราชย์ในฐานะพระภาคินัยกษัตริย์ชัยวรมันที่ 4 (922-942) ต่อจากหรรษวรมันที่ 2 (942-944) ผู้ทรงพระนามหลังสวรรคตว่าพระพรหมโลกที่เกาะแกร์ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วทรงย้ายศิวลึงค์ทอง สัญลักษณ์แห่งเทวราชา ครั้งพระสัสสุรุแย่งมา กลับคืนยโสธรปุระ ราเชนทรวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทปักษีจำกรงอุทิศถวายบรรพบุรุษ มาแล้วเสร็จในรัชกาลต่อมาคือชัยวรมันที่ 5 ราชโอรส (968-1001) และพราหมณ์ยัชญาวราหะสร้างปราสาทบันทายศรี
ต่อมาสมัยสุริยวรมันที่ 1 (1002-1050) ซึ่งประวัติศาสตร์กัมพูชากล่าวว่าทรงประกาศพระองค์เป็นพระราชาของกัมพูชาที่โคราช โดยพระมารดาสืบพระญาติวงศ์จากกษัตริย์อินทรวรมัน และทรงได้รับพระราชมรดกลพบุรีจากพระวรบิดาด้วย ราชอาณาเขตจึงครอบคลุมไปจรดแม่น้ำ (เจ้าพระยา) เมื่อปราบปรามเมืองต่างๆ ในเขมรต่ำขึ้นครองราชย์ที่ยโสธรปุระเมื่อ 1010 แล้วทรงขยายเมืองเป็นพระนครหลวง สร้างปราสาทบาพวนบนภูเขาในเมืองใหม่ สร้างปราสาทพระวิหารที่พนมดงรักและพนมชีสูรที่ตาแก้ว (บนแม่น้ำโขงด้านออกอ่าวไทย) ทรงนับถือพุทธศาสนา และเป็นต้นราชวงศ์สุริยวรมันที่ 1
ต่อมาสมัยสุริยวรมันที่ 1 (1113-1150) ทรงแย่งราชสมบัติจากพระปิตุลาธรณินทรวรมันที่ 1 (1107-1112) พระเชษฐาชัยวรมันที่ 6 (1180-1107) ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์มหิธรปุระแห่งลุ่มแม่น้ำมูล กษัตริย์องค์นี้เป็นไวศณพจึงทรงต่อเติมปราสาทพระวิหารเพื่อบูชาพระนารายณ์ และสร้างปราสาทนครวัดอันยิ่งใหญ่ กษัตริย์องค์ต่อมาท่านเป็นอนุชาร่วมพระอัยยิกาคือธรณินทรวรมันที่ 2 (1150-1160) ซึ่งเป็นพระราชบิดาของชัยวรมันที่ 7 (1181-1218) ผู้ยิ่งใหญ่
ราชวงศ์มหิธรปุระแห่งลุ่มน้ำมูลเป็นราชวงศ์กษัตริย์ขอมสุดท้ายถึง ค.ศ. 1879 ในรัชสมัยชัยวรมันที่ 9 (พระสัสสุระเจ้าฟ้างุ้มล้านช้าง) ถูกปลงพระชนม์ในคืนหนึ่งเพราะจำไม่ได้โดยชาวสวนผู้ปลูกแตงโมหวานของพระเจ้าแผ่นดิน แล้วอย่างไรไม่ทราบคนสวนนั้นกลับได้รับอัญเชิญให้เสวยราชย์เป็นที่พระเจ้าตรอชกแผอม (ผู้เขียนก็อ่านไม่ออกเหมือนกัน-ฮา) แปลว่าพระเจ้าแตงหวาน (1879-1883) ต้นรัชกาลปัจจุบันซึ่งสืบทอดมาจนถึงเจ้าสีหนุ และพระโอรสกษัตริย์สีหโมนีขณะนี้
จะเห็นว่าปราสาทพระวิหารศรีศิขเรศวรไม่ใช่ปราสาทราชวัง หากเป็นเทวสถาน/พุทธสถานกระทั่งศาลเจ้าป่าอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพของท้องถิ่นภาคอีสานแถวนั้นมาแต่ดึกดำบรรพ์ จารึกแรกสุด ค.ศ. 688/พ.ศ. 1108 กษัตริย์วรมันโปรดให้ข้าราชสำนักจารึกการถวายสิ่งต่างๆ ไว้ที่ปูชนียสถานแห่งนี้ พระองค์เป็นกษัตริย์เศรษฐปุระ (วัดภูจำปาสัก) ผู้ลงไปปราบปรามเขมรต่ำและตั้งเมืองที่นั่น (550-620) ก่อนสมันพระนครหลวง เป็นเชษฐาเจ้าชายจิตรเสนฝั่งแม่น้ำมูลซึ่งลงไปสืบราชสมบัติต่อเป็นมเหนทรวรมัน (600-615) ผู้ยิ่งใหญ่สมัยเจนละ พุทธสถานและเทวสถานทั้งไศวและไวศณพนิกายในสมัยโบราณ ล้วนเป็นที่กัลปนาซึ่งพระราชาถวายพร้อมทั้งผู้คนข้าทาสสิ่งของให้ดูแลรักษาสถานที่ ถือเป็นเขตพ้นอำนาจแผ่นดิน (สมาชญาปยติ) ราเชนทรวรมันที่ 2 จึงทรงหลบราชภัยอยู่ได้ในที่นั้น ซึ่งเมืองเกาะแกร์ก็อยู่ต่ำใต้ภูเขาลงไปนั่นเอง ปัจจุบันเรียกจังหวัดเปรี๊ยะวืเฮียร์ในกัมพูชา
และดังนั้นที่รัฐบาลกัมพูชาออกแถลงการณ์เมื่อ 2 ต.ค. พ.ศ. 2502 ว่าเขาพระวิหารเป็นของเขมรเพราะว่า “ถาวรวัตถุบนเขาพระวิหารได้สร้างขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง 12 โดยกษัตริย์กัมพูชาเหนือภูเขาดงเร็ก” นั้นก็ไม่สามารถแสดงสิทธิของกษัตริย์กัมพูชาได้ นอกจากนั้นกษัตริย์ขอมเมืองยโสธรปุระ/พระนครหลวงผู้สร้างปราสาทล้วนเสด็จไปจากสยามประเทศทั้งสิ้น การถวายที่กัลปนาหมายถึงถวายอุทิศสิทธิในที่ดินและผู้คน (อันกษัตริย์ต่อๆ มาในราชวงศ์ไม่สามารถเกณฑ์ไปใช้ราชการอื่นใด) ให้ด้วย และยังไม่เคยปรากฏว่ากษัตริย์องค์ใดในราชวงศ์พระเจ้าแตงหวานขึ้นมาถวายสิ่งของหรือก่อสร้างซ่อมแซมอะไรถวายบนเทวสถานแห่งนี้เลย แถมยังขึ้นมารบกันเองระหว่าง ค.ศ. 1970-1978 บนปราสาทพระวิหารนี้จนบางแห่งปรักหักพังชำรุดเสียหายอีกด้วย