15. จอมคนของหวงอี้ (ต่อ)
ก่อนจะอธิบายถึง สภาวะ “พรหมตัวตนประดุจหนึ่งเดียว” ที่ หวงอี้ ได้บรรยายไว้ในหนังสือ “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของเขา มีความจำเป็นที่ผู้อ่านจะต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติของจักรอื่นๆ ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงเสียก่อน
จักรสวาธิษฐาน ตั้งอยู่ตรงปลายล่างสุดของกระดูกสันหลังที่เชื่อมต่อกับ จักรสหัสธาร ที่เหนือสมอง จักรสวาธิษฐาน นี้ถือเป็น “สมองอันที่สอง” ของมนุษย์หรือ “สมองส่วนท้อง” ที่เกี่ยวข้องกับ จิตไร้สำนึก โดยที่ประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาของตัวตนในแต่ละอดีตชาติจะถูกกักเก็บกดเอาไว้เป็นจำนวนมากมายมหาศาลในระดับจิตไร้สำนึกที่ จักรสวาธิษฐาน นี้
จักรมณีปุระ ตั้งอยู่ด้านในของช่องกระดูกไขสันหลังด้านหลังของสะดือ จักรนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเป็นมนุษย์ชั้นสูง จักรนี้เป็นศูนย์กลางของความร้อน เป็นพลังหยางในร่างกายมนุษย์ เปรียบได้กับ ไฟ ส่วนฮอร์โมนจาก ต่อมไร้ท่อต่างๆ ถูกคุมโดยต่อมแม่ หรือต่อมพิทูอิทารีในสมองเปรียบได้กับ น้ำ (น้ำอมฤต)
การที่ ไฟ อยู่ต่ำกว่า น้ำ ไฟจึงเผาผลาญ น้ำ และเป็นที่มาของโรคภัยไข้เจ็บกับความชราภาพที่เกิดขึ้นกับร่างกายมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ วิชาโยคะ จึงสนับสนุนให้ผู้ฝึกโยคะทำอาสนะในท่า ศีรษะอาสนะ คือเอาศีรษะตั้งพื้นบ่อยๆ เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาพ น้ำ อยู่ใต้ ไฟ อันเป็นการชะลอความชรากับขจัดโรคภัยที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง
จักรมณีปุระ จึงมีบทบาทสำคัญในการปรับ ไฟ กับ น้ำ ในร่างกายให้สมดุลกัน เมื่อจักรนี้ถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมา จิตของผู้นั้นจะมีพลังมาก ความดีงามในจิตใจทั้งหลายทั้งปวงจักบังเกิดแก่คนผู้นั้น จิตของผู้นั้นจะมีความละเอียด และสูงส่งราวกับเป็น จิตแห่งเทพ เปี่ยมไปด้วยความสำราญใจ สบายใจ ความเมตตา กรุณา ความอ่อนโยน ไม่มีความหวาดกลัว ไม่มีความระแวง จิตใจมั่นคง กว้างขวาง อีกทั้งความคิดที่ดีเยี่ยมทั้งหลายทั้งปวงจักผุดออกมาจากจิตใจของผู้นั้นเสมอ
เมื่อ จักรมณีปุระ ถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมาแล้ว การปลุกจักรอื่นๆ ที่เหนือขึ้นไปจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เปรียบเหมือนกับจิตได้ขึ้นทางด่วน ไม่มีอะไรมากีดขวางอุดตันอีกต่อไปแล้ว จิตสามารถเดินทางไปปลุกจักรอื่นๆ จนถึงส่วนบนสุดที่อยู่เหนือสมองหรือ จักรสหัสธาร ได้โดยสะดวก เมื่อถึงจุดนี้ จิตของผู้นั้นจะพบกับความสว่างไสว เปี่ยมไปด้วยความสงบสุขอยู่เป็นนิตย์
จักรอนาหตะ เป็นศูนย์รวมพลังที่มีความสามารถพิเศษเกี่ยวกับการนึกปรารถนาสิ่งใด ก็จะได้สิ่งนั้น สมดังความปรารถนา ตั้งอยู่บริเวณกลางทรวงอก ความจริงผู้ฝึกที่ฝึกสมาธิปลุก จักรมณีปุระ ได้แล้ว ผู้นั้นก็จะกลายเป็นผู้ที่มีพลังในการจัดการ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นกับชีวิตตนได้อยู่แล้ว เพียงแต่การฝึกปลุกจักรถึงแค่ จักรมณีปุระ ยังจำกัดอยู่ในขอบเขตของปุถุชน และอยู่ในขอบเขตของโลกียะ แต่ถ้าผู้นั้นฝึกสมาธิปลุกจักรจนถึง จักรอนาหตะ ได้ เขาจะเริ่มเข้าสู่ วิถีที่เหนือโลก กลายเป็น โยคีที่แท้ ในขณะที่ผู้ฝึกปลุกจักรอื่นก่อนหน้านี้ ยังเป็นแค่ ผู้ฝึกโยคะ เท่านั้น
ความต่างระหว่าง จักรมณีปุระ กับ จักรอนาหตะ นั้นอยู่ที่ผู้ที่ฝึกสมาธิจนปลุก จักรอนาหตะ ได้ ผู้นั้นจะเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้เจตนารมณ์ของเขาไปบรรลุความปรารถนาในทางโลกได้ ขณะที่ผู้ฝึกสมาธิแต่ปลุก จักรมณีปุระ ได้ ยังไม่มีความสามารถเช่นนั้น
ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ที่จะฝึกสมาธิปลุก จักรอนาหตะ ได้สำเร็จ จึงจะต้องเป็นผู้ที่ตั้งจิตอธิษฐานให้สัจจะกับตนเองว่า จะมีความคิด และการกระทำแต่ในสิ่งที่ดีงาม เป็นไปในทางบวก ที่มีคุณค่าประโยชน์ และสร้างสรรค์ต่อมวลมนุษยชาติเท่านั้น
ลองคิดดูสิว่า ถ้าผู้นั้นฝึกจิตมาจนถึงขั้นนึกปรารถนาสิ่งใดก็จะได้สมปรารถนาเช่นนั้น แล้วมันจะเป็นยังไง ถ้าเกิดความคิดของเขาเป็นไปในทางลบ หรือในทางที่ชั่วร้าย คนผู้นั้นย่อมกลายเป็น “มาร” ที่สร้างความวุ่นวาย ความวิบัติให้แก่ชาวโลก และย่อมทำลายตัวเองอันเนื่องมาจากพลังจิตของเขาอย่างไม่ต้องสงสัย
ผู้ที่คิดจะปลุก จักรอนาหตะ ให้จงได้ จักต้องเป็นคนมองโลกในแง่ดีงามเสมอ จะเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายไม่ได้เป็นอันขาด เขาผู้นั้นจะต้องสามารถปรองดองกับผู้คนได้ ต่อให้โลกภายนอกเลวร้ายต่ำทรามขนาดไหน แต่โลกภายในของผู้ที่ปลุกจักรอนาหตะได้จักต้องเปี่ยมไปด้วยศานติเสมอ ไม่ว่าใครก็ตามที่เคยเป็นหรือกำลังเป็นศัตรูกับเขา เขาผู้นั้นจะต้องพร้อมที่จะให้อภัย แผ่ความรักความเมตตาออกไป มีความหวังดีต่อทุกคน และสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้อย่างจริงใจ เขาผู้นั้นจะเป็นคนที่มีพลังในการเขียนและการพูด เต็มไปด้วยความเชื่อมั่น เป็นผู้นำที่ดี ทั้งในทางโลกและทางธรรม มีแต่คนประเภทนี้เท่านั้นที่คู่ควรกับการฝึกจักรนี้ได้
เขาผู้นั้นจะต้องมองโลกด้วยสายตาที่แลเห็นโลกทั้งหมดอยู่ในตัวเขา แลเห็นตัวเขาอยู่ในทุกผู้คน และแลเห็นคนทั้งปวงอยู่ในตนเอง
เพราะนี่คือการเตรียมจิตเพื่อเข้าสู่ภาวะ “ฉันคือสิ่งนั้น” หรือ “ฉันคือพรหมัน” หรือที่ หวงอี้ บรรยายไว้ใน “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของเขาว่า ภาวะ “พรหมตัวตนเป็นหนึ่งเดียวกัน” นั่นเอง
เคล็ดการฝึกจิตเพื่อเข้าสู่ภาวะ “พรหมตัวตนเป็นหนึ่งเดียวกัน” นี้คือ เคล็ดการฝึกสมาธิปลุกจักรสหัสธารที่ยอดศีรษะนั่นเอง
ก่อนอื่นจงนั่งขัดสมาธิ สองมือทำมุทราที่ถนัด หลับตาเบาๆ หายใจเบาๆ นึกถึงคำว่า “โซ” (แปลว่า ฉันคือ) พร้อมกับขมิบกล้ามเนื้อรอบรอยฝีเย็บเบาๆ เพื่อให้พลังกุณฑาลินีพุ่งขึ้นจากก้นกบผ่านท่อพลังสุษุมนะ และไหลออกผ่านทวารที่ยอดศีรษะออกไปสู่จักรวาล กลั้นลมหายใจไว้ชั่วครู่ พร้อมกับนึกว่าพลังกุณฑาลินีของตนกำลังไปรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพรหมันในจักรวาล
ตอนหายใจออก จงนึกถึงคำว่า “ฮัม” (แปลว่า สิ่งนั้น คำว่า โซ-ฮัม จึงเป็นมนตราธรรมชาติตามลมหายใจเข้าออกที่หมายถึง ฉันคือสิ่งนั้น หรือ ฉันคือพรหมัน นั่นเอง) พร้อมกับนึกว่า มีปราณจากพรหมันในจักรวาลไหลผ่านทวารบนยอดศีรษะลงไปตามท่อสุษุมนะ แล้วเข้าไปพบกับพลังกุณฑาลินีที่จักรมูลธาร กลั้นลมหายใจไว้ชั่วครู่ พร้อมกับนึกว่า ปราณจากพรหมันกับพลังกุณฑาลินีที่ก้นกบกำลังหลอมรวมกัน จากนั้นจงเพ่งสมาธิจิตไปที่ยอดศีรษะที่จักรสหัสธาร กำหนดจิตอยู่ตรงนั้น เป็นเวลาหนึ่งก้านธูป
หวงอี้ ได้บรรยาย หลักการพรหมตัวตนประดุจหนึ่งเดียว ในนิยายกำลังภายใน “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของเขาว่า หลักการนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิชาฝีมือ หากแต่คล้ายกับ หลักการฟ้ามนุษย์หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวของเต๋า เพียงแต่อธิบายเรื่อง ฟ้า ต่างกัน โดยทางโยคะ อธิบายเรื่อง ฟ้า หรือ จักรวาล ว่าเป็น พรหม หรือ พรหมัน ว่าเป็นมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ในบรรดาเทพทั้งสาม โดยคำว่ามหาเทพในที่นี้หมายถึง จิตศักดิ์สิทธิ์อันยิ่งใหญ่ที่ไร้รูป แต่มีพลังที่อยู่เหนือวัตถุธาตุ และสามารถควบคุมวัตถุธาตุ แบ่งเป็นพลังแห่งการสรรค์สร้าง พลังแห่งการธำรง และพลังแห่งการทำลายที่ทำให้จักรวาลสามารถเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
พรหมัน เปรียบเสมือนน้ำฝนอันบริสุทธิ์ เมื่อตกลงยังสถานที่ที่แตกต่าง จะกลายเป็นสิ่งที่แตกต่าง แต่หาส่งผลกระทบถึงต้นกำเนิดของน้ำฝนไม่ หลักการพรหมตัวตนประดุจหนึ่งเดียว นี้ ต้องการอธิบายว่า พรหม หรือ พรหมัน คือ จักรวาลทั้งหมด อันมีลักษณะเดียวกับ ตัวตน หรือ อาตมัน อันเป็นจิตวิญญาณที่อยู่ภายในของผู้คน
ดังนั้นจะมีก็แต่การควบคุมทางร่างกาย ผัสสะ ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และสติอย่างบูรณาการควบคู่กันไปเท่านั้น คนเราถึงจะสามารถเข้าถึง ความจริงอันสูงสุด ได้ โดยการผนึกตัวตนเข้ารวมเป็นหนึ่งเดียวกับ พรหมัน หรือ จิตศักดิ์สิทธิ์ โดยผ่านการฝึกวิชาโยคะเท่านั้น นอกจากนี้ไม่มีหนทางอื่นอีก
การจะเข้าถึง หลักการพรหมตัวตนประดุจหนึ่งเดียว ได้ ผู้นั้นจะต้องทำความเข้าใจเรื่อง “ตัวตน” เสียก่อน ซึ่งในวิชาโยคะมองว่า ตัวตน มีลำดับชั้นทั้งหมด 5 ชั้นหรือ 5 โกศด้วยกัน คือ
(1)อันนามายาโกศ หรือ โกศชั้นที่หนึ่ง หมายถึง กายหยาบหรือร่างกายของคนเรา
(2) ปรานามายาโกศ หรือ โกศชั้นที่สอง หมายถึง อวัยวะสัมผัส
(3)มโนมายาโกศ หรือ โกศชั้นที่สาม หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด
(4)วิญญาณมายาโกศ หรือ โกศชั้นที่สี่ หมายถึง ตัวรู้ ความระลึกรู้
(5) อนันดามายาโกศ หรือ โกศชั้นที่ห้า หมายถึง จิตวิญญาณ
คำว่า “ตัวตน” ในวิชาโยคะ จึงหมายถึง ผลรวมของความเข้าใจในเรื่องโกศทั้งห้าชั้นนี้ แล้วใช้เบื้องบนบังคับเบื้องล่าง ใช้ภายในสั่งภายนอก โดยมีจิตวิญญาณอยู่จุดศูนย์กลาง ณ โกศชั้นที่ห้าซึ่งเป็นชั้นในสุด โดยที่ตัวตนหรือจิตวิญญาณนี้สถิตอยู่ที่หัวใจ
การฝึกสมาธิตามแนวโยคะ เพื่อเข้าถึง ภาวะพรหมตัวตนเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ การฝึกจิตโดยจดจ่อจิตไปที่จักรสหัสธาร และจักรอนาหตะเพื่อทำการชำระจิตให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยผ่านการทำสมาธิที่จะค่อยๆ “ลอกคราบ” ตัวตนออกไปทีละชั้น หรือทีละโกศ จากภายนอกที่หยาบสุด เข้าสู่ภาวะที่ละเอียดประณีตยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเหลือแค่โกศชั้นที่ห้า ต่อเมื่อสลายโกศชั้นที่ห้าลงได้ จึงจะเรียกว่าเป็น การสลายตัวตนอย่างสิ้นเชิง และเข้าถึง ภาวะพรหมตัวตนเป็นหนึ่งเดียวกัน ได้
ความลึกซึ้งในเรื่องจิตวิญญาณของ หวงอี้ จึงทำให้วรรณกรรมกำลังภายในของ หวงอี้ มีมิติทางจิตวิญญาณที่ลึกซึ้งอย่างที่นักเขียนนิยายกำลังภายในท่านอื่นไม่อาจเทียบได้ การอ่านนิยายกำลังภายในของ หวงอี้ โดยขาดความเข้าใจเรื่องของจิตวิญญาณที่ลึกซึ้งเหล่านี้ จะทำให้ไม่สามารถได้รับคุณค่าและประโยชน์จากวรรณกรรมเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ นอกจากความบันเทิงเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่ง (ยังมีต่อ)
ก่อนจะอธิบายถึง สภาวะ “พรหมตัวตนประดุจหนึ่งเดียว” ที่ หวงอี้ ได้บรรยายไว้ในหนังสือ “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของเขา มีความจำเป็นที่ผู้อ่านจะต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติของจักรอื่นๆ ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงเสียก่อน
จักรสวาธิษฐาน ตั้งอยู่ตรงปลายล่างสุดของกระดูกสันหลังที่เชื่อมต่อกับ จักรสหัสธาร ที่เหนือสมอง จักรสวาธิษฐาน นี้ถือเป็น “สมองอันที่สอง” ของมนุษย์หรือ “สมองส่วนท้อง” ที่เกี่ยวข้องกับ จิตไร้สำนึก โดยที่ประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาของตัวตนในแต่ละอดีตชาติจะถูกกักเก็บกดเอาไว้เป็นจำนวนมากมายมหาศาลในระดับจิตไร้สำนึกที่ จักรสวาธิษฐาน นี้
จักรมณีปุระ ตั้งอยู่ด้านในของช่องกระดูกไขสันหลังด้านหลังของสะดือ จักรนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเป็นมนุษย์ชั้นสูง จักรนี้เป็นศูนย์กลางของความร้อน เป็นพลังหยางในร่างกายมนุษย์ เปรียบได้กับ ไฟ ส่วนฮอร์โมนจาก ต่อมไร้ท่อต่างๆ ถูกคุมโดยต่อมแม่ หรือต่อมพิทูอิทารีในสมองเปรียบได้กับ น้ำ (น้ำอมฤต)
การที่ ไฟ อยู่ต่ำกว่า น้ำ ไฟจึงเผาผลาญ น้ำ และเป็นที่มาของโรคภัยไข้เจ็บกับความชราภาพที่เกิดขึ้นกับร่างกายมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ วิชาโยคะ จึงสนับสนุนให้ผู้ฝึกโยคะทำอาสนะในท่า ศีรษะอาสนะ คือเอาศีรษะตั้งพื้นบ่อยๆ เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาพ น้ำ อยู่ใต้ ไฟ อันเป็นการชะลอความชรากับขจัดโรคภัยที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง
จักรมณีปุระ จึงมีบทบาทสำคัญในการปรับ ไฟ กับ น้ำ ในร่างกายให้สมดุลกัน เมื่อจักรนี้ถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมา จิตของผู้นั้นจะมีพลังมาก ความดีงามในจิตใจทั้งหลายทั้งปวงจักบังเกิดแก่คนผู้นั้น จิตของผู้นั้นจะมีความละเอียด และสูงส่งราวกับเป็น จิตแห่งเทพ เปี่ยมไปด้วยความสำราญใจ สบายใจ ความเมตตา กรุณา ความอ่อนโยน ไม่มีความหวาดกลัว ไม่มีความระแวง จิตใจมั่นคง กว้างขวาง อีกทั้งความคิดที่ดีเยี่ยมทั้งหลายทั้งปวงจักผุดออกมาจากจิตใจของผู้นั้นเสมอ
เมื่อ จักรมณีปุระ ถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมาแล้ว การปลุกจักรอื่นๆ ที่เหนือขึ้นไปจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เปรียบเหมือนกับจิตได้ขึ้นทางด่วน ไม่มีอะไรมากีดขวางอุดตันอีกต่อไปแล้ว จิตสามารถเดินทางไปปลุกจักรอื่นๆ จนถึงส่วนบนสุดที่อยู่เหนือสมองหรือ จักรสหัสธาร ได้โดยสะดวก เมื่อถึงจุดนี้ จิตของผู้นั้นจะพบกับความสว่างไสว เปี่ยมไปด้วยความสงบสุขอยู่เป็นนิตย์
จักรอนาหตะ เป็นศูนย์รวมพลังที่มีความสามารถพิเศษเกี่ยวกับการนึกปรารถนาสิ่งใด ก็จะได้สิ่งนั้น สมดังความปรารถนา ตั้งอยู่บริเวณกลางทรวงอก ความจริงผู้ฝึกที่ฝึกสมาธิปลุก จักรมณีปุระ ได้แล้ว ผู้นั้นก็จะกลายเป็นผู้ที่มีพลังในการจัดการ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นกับชีวิตตนได้อยู่แล้ว เพียงแต่การฝึกปลุกจักรถึงแค่ จักรมณีปุระ ยังจำกัดอยู่ในขอบเขตของปุถุชน และอยู่ในขอบเขตของโลกียะ แต่ถ้าผู้นั้นฝึกสมาธิปลุกจักรจนถึง จักรอนาหตะ ได้ เขาจะเริ่มเข้าสู่ วิถีที่เหนือโลก กลายเป็น โยคีที่แท้ ในขณะที่ผู้ฝึกปลุกจักรอื่นก่อนหน้านี้ ยังเป็นแค่ ผู้ฝึกโยคะ เท่านั้น
ความต่างระหว่าง จักรมณีปุระ กับ จักรอนาหตะ นั้นอยู่ที่ผู้ที่ฝึกสมาธิจนปลุก จักรอนาหตะ ได้ ผู้นั้นจะเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้เจตนารมณ์ของเขาไปบรรลุความปรารถนาในทางโลกได้ ขณะที่ผู้ฝึกสมาธิแต่ปลุก จักรมณีปุระ ได้ ยังไม่มีความสามารถเช่นนั้น
ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ที่จะฝึกสมาธิปลุก จักรอนาหตะ ได้สำเร็จ จึงจะต้องเป็นผู้ที่ตั้งจิตอธิษฐานให้สัจจะกับตนเองว่า จะมีความคิด และการกระทำแต่ในสิ่งที่ดีงาม เป็นไปในทางบวก ที่มีคุณค่าประโยชน์ และสร้างสรรค์ต่อมวลมนุษยชาติเท่านั้น
ลองคิดดูสิว่า ถ้าผู้นั้นฝึกจิตมาจนถึงขั้นนึกปรารถนาสิ่งใดก็จะได้สมปรารถนาเช่นนั้น แล้วมันจะเป็นยังไง ถ้าเกิดความคิดของเขาเป็นไปในทางลบ หรือในทางที่ชั่วร้าย คนผู้นั้นย่อมกลายเป็น “มาร” ที่สร้างความวุ่นวาย ความวิบัติให้แก่ชาวโลก และย่อมทำลายตัวเองอันเนื่องมาจากพลังจิตของเขาอย่างไม่ต้องสงสัย
ผู้ที่คิดจะปลุก จักรอนาหตะ ให้จงได้ จักต้องเป็นคนมองโลกในแง่ดีงามเสมอ จะเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายไม่ได้เป็นอันขาด เขาผู้นั้นจะต้องสามารถปรองดองกับผู้คนได้ ต่อให้โลกภายนอกเลวร้ายต่ำทรามขนาดไหน แต่โลกภายในของผู้ที่ปลุกจักรอนาหตะได้จักต้องเปี่ยมไปด้วยศานติเสมอ ไม่ว่าใครก็ตามที่เคยเป็นหรือกำลังเป็นศัตรูกับเขา เขาผู้นั้นจะต้องพร้อมที่จะให้อภัย แผ่ความรักความเมตตาออกไป มีความหวังดีต่อทุกคน และสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้อย่างจริงใจ เขาผู้นั้นจะเป็นคนที่มีพลังในการเขียนและการพูด เต็มไปด้วยความเชื่อมั่น เป็นผู้นำที่ดี ทั้งในทางโลกและทางธรรม มีแต่คนประเภทนี้เท่านั้นที่คู่ควรกับการฝึกจักรนี้ได้
เขาผู้นั้นจะต้องมองโลกด้วยสายตาที่แลเห็นโลกทั้งหมดอยู่ในตัวเขา แลเห็นตัวเขาอยู่ในทุกผู้คน และแลเห็นคนทั้งปวงอยู่ในตนเอง
เพราะนี่คือการเตรียมจิตเพื่อเข้าสู่ภาวะ “ฉันคือสิ่งนั้น” หรือ “ฉันคือพรหมัน” หรือที่ หวงอี้ บรรยายไว้ใน “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของเขาว่า ภาวะ “พรหมตัวตนเป็นหนึ่งเดียวกัน” นั่นเอง
เคล็ดการฝึกจิตเพื่อเข้าสู่ภาวะ “พรหมตัวตนเป็นหนึ่งเดียวกัน” นี้คือ เคล็ดการฝึกสมาธิปลุกจักรสหัสธารที่ยอดศีรษะนั่นเอง
ก่อนอื่นจงนั่งขัดสมาธิ สองมือทำมุทราที่ถนัด หลับตาเบาๆ หายใจเบาๆ นึกถึงคำว่า “โซ” (แปลว่า ฉันคือ) พร้อมกับขมิบกล้ามเนื้อรอบรอยฝีเย็บเบาๆ เพื่อให้พลังกุณฑาลินีพุ่งขึ้นจากก้นกบผ่านท่อพลังสุษุมนะ และไหลออกผ่านทวารที่ยอดศีรษะออกไปสู่จักรวาล กลั้นลมหายใจไว้ชั่วครู่ พร้อมกับนึกว่าพลังกุณฑาลินีของตนกำลังไปรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพรหมันในจักรวาล
ตอนหายใจออก จงนึกถึงคำว่า “ฮัม” (แปลว่า สิ่งนั้น คำว่า โซ-ฮัม จึงเป็นมนตราธรรมชาติตามลมหายใจเข้าออกที่หมายถึง ฉันคือสิ่งนั้น หรือ ฉันคือพรหมัน นั่นเอง) พร้อมกับนึกว่า มีปราณจากพรหมันในจักรวาลไหลผ่านทวารบนยอดศีรษะลงไปตามท่อสุษุมนะ แล้วเข้าไปพบกับพลังกุณฑาลินีที่จักรมูลธาร กลั้นลมหายใจไว้ชั่วครู่ พร้อมกับนึกว่า ปราณจากพรหมันกับพลังกุณฑาลินีที่ก้นกบกำลังหลอมรวมกัน จากนั้นจงเพ่งสมาธิจิตไปที่ยอดศีรษะที่จักรสหัสธาร กำหนดจิตอยู่ตรงนั้น เป็นเวลาหนึ่งก้านธูป
หวงอี้ ได้บรรยาย หลักการพรหมตัวตนประดุจหนึ่งเดียว ในนิยายกำลังภายใน “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของเขาว่า หลักการนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิชาฝีมือ หากแต่คล้ายกับ หลักการฟ้ามนุษย์หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวของเต๋า เพียงแต่อธิบายเรื่อง ฟ้า ต่างกัน โดยทางโยคะ อธิบายเรื่อง ฟ้า หรือ จักรวาล ว่าเป็น พรหม หรือ พรหมัน ว่าเป็นมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ในบรรดาเทพทั้งสาม โดยคำว่ามหาเทพในที่นี้หมายถึง จิตศักดิ์สิทธิ์อันยิ่งใหญ่ที่ไร้รูป แต่มีพลังที่อยู่เหนือวัตถุธาตุ และสามารถควบคุมวัตถุธาตุ แบ่งเป็นพลังแห่งการสรรค์สร้าง พลังแห่งการธำรง และพลังแห่งการทำลายที่ทำให้จักรวาลสามารถเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
พรหมัน เปรียบเสมือนน้ำฝนอันบริสุทธิ์ เมื่อตกลงยังสถานที่ที่แตกต่าง จะกลายเป็นสิ่งที่แตกต่าง แต่หาส่งผลกระทบถึงต้นกำเนิดของน้ำฝนไม่ หลักการพรหมตัวตนประดุจหนึ่งเดียว นี้ ต้องการอธิบายว่า พรหม หรือ พรหมัน คือ จักรวาลทั้งหมด อันมีลักษณะเดียวกับ ตัวตน หรือ อาตมัน อันเป็นจิตวิญญาณที่อยู่ภายในของผู้คน
ดังนั้นจะมีก็แต่การควบคุมทางร่างกาย ผัสสะ ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และสติอย่างบูรณาการควบคู่กันไปเท่านั้น คนเราถึงจะสามารถเข้าถึง ความจริงอันสูงสุด ได้ โดยการผนึกตัวตนเข้ารวมเป็นหนึ่งเดียวกับ พรหมัน หรือ จิตศักดิ์สิทธิ์ โดยผ่านการฝึกวิชาโยคะเท่านั้น นอกจากนี้ไม่มีหนทางอื่นอีก
การจะเข้าถึง หลักการพรหมตัวตนประดุจหนึ่งเดียว ได้ ผู้นั้นจะต้องทำความเข้าใจเรื่อง “ตัวตน” เสียก่อน ซึ่งในวิชาโยคะมองว่า ตัวตน มีลำดับชั้นทั้งหมด 5 ชั้นหรือ 5 โกศด้วยกัน คือ
(1)อันนามายาโกศ หรือ โกศชั้นที่หนึ่ง หมายถึง กายหยาบหรือร่างกายของคนเรา
(2) ปรานามายาโกศ หรือ โกศชั้นที่สอง หมายถึง อวัยวะสัมผัส
(3)มโนมายาโกศ หรือ โกศชั้นที่สาม หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด
(4)วิญญาณมายาโกศ หรือ โกศชั้นที่สี่ หมายถึง ตัวรู้ ความระลึกรู้
(5) อนันดามายาโกศ หรือ โกศชั้นที่ห้า หมายถึง จิตวิญญาณ
คำว่า “ตัวตน” ในวิชาโยคะ จึงหมายถึง ผลรวมของความเข้าใจในเรื่องโกศทั้งห้าชั้นนี้ แล้วใช้เบื้องบนบังคับเบื้องล่าง ใช้ภายในสั่งภายนอก โดยมีจิตวิญญาณอยู่จุดศูนย์กลาง ณ โกศชั้นที่ห้าซึ่งเป็นชั้นในสุด โดยที่ตัวตนหรือจิตวิญญาณนี้สถิตอยู่ที่หัวใจ
การฝึกสมาธิตามแนวโยคะ เพื่อเข้าถึง ภาวะพรหมตัวตนเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ การฝึกจิตโดยจดจ่อจิตไปที่จักรสหัสธาร และจักรอนาหตะเพื่อทำการชำระจิตให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยผ่านการทำสมาธิที่จะค่อยๆ “ลอกคราบ” ตัวตนออกไปทีละชั้น หรือทีละโกศ จากภายนอกที่หยาบสุด เข้าสู่ภาวะที่ละเอียดประณีตยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเหลือแค่โกศชั้นที่ห้า ต่อเมื่อสลายโกศชั้นที่ห้าลงได้ จึงจะเรียกว่าเป็น การสลายตัวตนอย่างสิ้นเชิง และเข้าถึง ภาวะพรหมตัวตนเป็นหนึ่งเดียวกัน ได้
ความลึกซึ้งในเรื่องจิตวิญญาณของ หวงอี้ จึงทำให้วรรณกรรมกำลังภายในของ หวงอี้ มีมิติทางจิตวิญญาณที่ลึกซึ้งอย่างที่นักเขียนนิยายกำลังภายในท่านอื่นไม่อาจเทียบได้ การอ่านนิยายกำลังภายในของ หวงอี้ โดยขาดความเข้าใจเรื่องของจิตวิญญาณที่ลึกซึ้งเหล่านี้ จะทำให้ไม่สามารถได้รับคุณค่าและประโยชน์จากวรรณกรรมเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ นอกจากความบันเทิงเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่ง (ยังมีต่อ)