ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มีการจัดงานครบรอบ 53 ปี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า มีการอภิปรายทางวิชาการ เรื่อง “วิกฤติและทางออกของประเทศไทย มุมมองทางการบริหารรัฐกิจ” โดยมีนายจรัส สุวรรณมาลา คณะบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายปกรณ์ ปรียากร คณะบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า นางปิยะนุช เงินคล้าย รองคณบดีฝ่ายนโยบาย แผนและพัฒนา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมอภิปราย
นายจรัส กล่าว ว่า ปรากฎการณ์การเมืองไทยในขณะนี้อาจไม่ถึงขั้นวิกฤต แต่อยู่ในขั้นเริ่มต้นของ ความเสื่อมถอยประชาธิปไตยในยุคคลาสสิค ที่มีระบบการปกครอง การเลือกตั้ง สถาบันการเมือง และการทำงานรัฐสภา เพราะสถาบันการเมือง และ การบริหารประเทศไม่มีสมดุลภาพ และ ไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ จากความไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของรัฐบาล แต่กลับเกิดการต่อสู้แย่งชิงฉกฉวย ผลประโยชน์ระยะสั้น ด้านพลังงาน และ อาหาร ในขณะที่นักการเมืองมองประชาธิปไตยเฉพาะการเลือกตั้งเท่านั้น
นายจรัส กล่าวว่า รัฐบาลทุกประเทศแม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกตั้งคำถามจากประชาชนว่ากระบวนการปกครองได้รับการยอมรับหรือไม่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจจะนำไปสู่วิกฤตการเมืองได้ ยิ่งปัจจุบันวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจ รุมเร้ามากขึ้น อาจจะทำให้ปรากฎการณ์วิกฤตการเมืองรุนแรงมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ความเสื่อมถอยทางการเมือง เกิดมาจากการเมือง ไม่ได้แบ่งแยกออกจากการบริหารที่ให้แยกออกจากกัน เกิดความไม่น่าเชื่อถือในระบบราชการ เพราะมีข้าราชการบางส่วนไม่ยึดมั่นในวิชาชีพ แต่เป็นข้าราชการ ที่สนองผลประโยชน์ทางการเมือง รับใช้การเมือง และ เล่นการเมืองมากขึ้น ซึ่งแท้จริงแล้วระบบราชการจะต้องยึดหลักคุณธรรมจริยธรรม และ การดำเนินการ ตามกฎหมาย มิเช่นนั้นการเมืองอาจจะนำไปสู่การเสื่อมถอยและวิกฤติในระบบการปกครองได้
ด้านนายนครินทร์ กล่าวว่าทางออกของการเมือง คือ คดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กำลังอยู่ในกระบวนการของศาล ซึ่งคาดว่า ภายในสิ้นปีนี้ทุกคดีน่าจะได้ข้อยุติ อาจจะนำไปสู่สถานการณ์ที่คลี่คลายลง แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสมบูรณ์แท้จริง คือ การเปลี่ยนถ่ายรุ่นผู้นำทางการเมืองเท่านั้น กล่าวคือ ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีก 1- 2 ครั้ง แต่สำหรับปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในตอนนี้ คือ การเคลื่อนตัวของระบอบประชาธิปไตยเดิม คือ ระบอบการเมืองท้องถิ่น การแบ่งปันอำนาจระบบการเมืองหลายพรรค ไปสู่ระบอบการเมืองแบบเบ็ดเสร็จในรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ขาดการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ และ ไม่เคารพกระบวนการตรวจสอบจากสภา จนนำมาสู่รัฐธรรมนูญ 2550 ที่มุ่งเน้นให้นักการเมืองบริหารประเทศโดยรับผิดชอบต่อรัฐสภา กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงระบอบหนึ่งไปสู่อีกระบอบหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดจากกำลังทหาร
“ทางออกของวิกฤติ คือ ประชาธิปไตยระบบตัวแทนซึ่งเป็นระบบที่ปฏิเสธไม่ได้ การเมืองภาคประชาชน และ ระบบนิติรัฐ หรือ ศาล และโดยเฉพาะระบบราชการ ที่จะต้องเคลื่อนตัวไปด้วยกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเอง” นายนครินทร์ กล่าว
ส่วน นายปกรณ์ กล่าวว่า วิกฤตการเมือง เกิดจากความสับสนของปัญหาความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการแก้ไขมายาวนาน และ วิกฤตผลงานรัฐบาลที่ไม่ได้สนใจแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง ที่สำคัญผู้นำไม่สนใจ ประเด็นการบริหารราชการแผ่นดินในการวางระบบและสร้างคนในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ปล่อยให้คนมีเงินเข้ามาควบคุมระบบ ดังนั้นสถาบันการศึกษาต้องสร้างคนให้มีคุณภาพมีทักษะในการบริหารราชการแผ่นดินที่ดี และ นักการเมืองรุ่นใหม่ต้องใช้หลักวิชาการในการทำงานการเมืองมาก กว่าเล่นการเมืองให้มากขึ้น ที่สำคัญระบบรัฐสภา ต้องเป็นเวทีทางการเมืองภาคประชาชนด้วย
“รัฐบาลบริหารแต่การเมืองไม่ได้บริหารบ้านเมืองโดยไม่สนใจวิกฤตพื้นที่ปัญหาซึ่ง 4 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยลงพื้นที่มุ่งแต่จะแก้รัฐธรรมนูญ” นายปกรณ์กล่าว
ขณะที่ นางปิยะนุช กล่าวว่า วิกฤติการเมืองเกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากการที่ ข้าราชการทำงานตอบแทนบุญคุณทางการเมืองให้กับนักการเมืองมากกว่าทำงานให้กับประชาชน ดังนั้นสิ่งที่น่ากลัว คือ การที่ราชการออกนโยบายต่างๆ ตอบสนอง ความต้องการทางการเมือง เพราะบางนโยบายไม่ถูกต้อง แต่ข้าราชการกลับไม่ทักท้วง จนในที่สุดนำไปสู่ความอ่อนแอและไม่มีประสิทธิภาพ
“นักการเมืองเก่งในการจะสร้างเครื่องมือ ครอบงำระบบราชการ เพราะฉะนั้นข้าราชการจะต้องออกแบบ และ สร้างมาตรฐานกลางในการป้องกันการถูกควบคุม และการครอบงำจากฝ่ายการเมืองให้ได้” นางปิยะนุช กล่าว
นายจรัส กล่าว ว่า ปรากฎการณ์การเมืองไทยในขณะนี้อาจไม่ถึงขั้นวิกฤต แต่อยู่ในขั้นเริ่มต้นของ ความเสื่อมถอยประชาธิปไตยในยุคคลาสสิค ที่มีระบบการปกครอง การเลือกตั้ง สถาบันการเมือง และการทำงานรัฐสภา เพราะสถาบันการเมือง และ การบริหารประเทศไม่มีสมดุลภาพ และ ไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ จากความไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของรัฐบาล แต่กลับเกิดการต่อสู้แย่งชิงฉกฉวย ผลประโยชน์ระยะสั้น ด้านพลังงาน และ อาหาร ในขณะที่นักการเมืองมองประชาธิปไตยเฉพาะการเลือกตั้งเท่านั้น
นายจรัส กล่าวว่า รัฐบาลทุกประเทศแม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกตั้งคำถามจากประชาชนว่ากระบวนการปกครองได้รับการยอมรับหรือไม่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจจะนำไปสู่วิกฤตการเมืองได้ ยิ่งปัจจุบันวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจ รุมเร้ามากขึ้น อาจจะทำให้ปรากฎการณ์วิกฤตการเมืองรุนแรงมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ความเสื่อมถอยทางการเมือง เกิดมาจากการเมือง ไม่ได้แบ่งแยกออกจากการบริหารที่ให้แยกออกจากกัน เกิดความไม่น่าเชื่อถือในระบบราชการ เพราะมีข้าราชการบางส่วนไม่ยึดมั่นในวิชาชีพ แต่เป็นข้าราชการ ที่สนองผลประโยชน์ทางการเมือง รับใช้การเมือง และ เล่นการเมืองมากขึ้น ซึ่งแท้จริงแล้วระบบราชการจะต้องยึดหลักคุณธรรมจริยธรรม และ การดำเนินการ ตามกฎหมาย มิเช่นนั้นการเมืองอาจจะนำไปสู่การเสื่อมถอยและวิกฤติในระบบการปกครองได้
ด้านนายนครินทร์ กล่าวว่าทางออกของการเมือง คือ คดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กำลังอยู่ในกระบวนการของศาล ซึ่งคาดว่า ภายในสิ้นปีนี้ทุกคดีน่าจะได้ข้อยุติ อาจจะนำไปสู่สถานการณ์ที่คลี่คลายลง แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสมบูรณ์แท้จริง คือ การเปลี่ยนถ่ายรุ่นผู้นำทางการเมืองเท่านั้น กล่าวคือ ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีก 1- 2 ครั้ง แต่สำหรับปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในตอนนี้ คือ การเคลื่อนตัวของระบอบประชาธิปไตยเดิม คือ ระบอบการเมืองท้องถิ่น การแบ่งปันอำนาจระบบการเมืองหลายพรรค ไปสู่ระบอบการเมืองแบบเบ็ดเสร็จในรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ขาดการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ และ ไม่เคารพกระบวนการตรวจสอบจากสภา จนนำมาสู่รัฐธรรมนูญ 2550 ที่มุ่งเน้นให้นักการเมืองบริหารประเทศโดยรับผิดชอบต่อรัฐสภา กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงระบอบหนึ่งไปสู่อีกระบอบหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดจากกำลังทหาร
“ทางออกของวิกฤติ คือ ประชาธิปไตยระบบตัวแทนซึ่งเป็นระบบที่ปฏิเสธไม่ได้ การเมืองภาคประชาชน และ ระบบนิติรัฐ หรือ ศาล และโดยเฉพาะระบบราชการ ที่จะต้องเคลื่อนตัวไปด้วยกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเอง” นายนครินทร์ กล่าว
ส่วน นายปกรณ์ กล่าวว่า วิกฤตการเมือง เกิดจากความสับสนของปัญหาความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการแก้ไขมายาวนาน และ วิกฤตผลงานรัฐบาลที่ไม่ได้สนใจแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง ที่สำคัญผู้นำไม่สนใจ ประเด็นการบริหารราชการแผ่นดินในการวางระบบและสร้างคนในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ปล่อยให้คนมีเงินเข้ามาควบคุมระบบ ดังนั้นสถาบันการศึกษาต้องสร้างคนให้มีคุณภาพมีทักษะในการบริหารราชการแผ่นดินที่ดี และ นักการเมืองรุ่นใหม่ต้องใช้หลักวิชาการในการทำงานการเมืองมาก กว่าเล่นการเมืองให้มากขึ้น ที่สำคัญระบบรัฐสภา ต้องเป็นเวทีทางการเมืองภาคประชาชนด้วย
“รัฐบาลบริหารแต่การเมืองไม่ได้บริหารบ้านเมืองโดยไม่สนใจวิกฤตพื้นที่ปัญหาซึ่ง 4 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยลงพื้นที่มุ่งแต่จะแก้รัฐธรรมนูญ” นายปกรณ์กล่าว
ขณะที่ นางปิยะนุช กล่าวว่า วิกฤติการเมืองเกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากการที่ ข้าราชการทำงานตอบแทนบุญคุณทางการเมืองให้กับนักการเมืองมากกว่าทำงานให้กับประชาชน ดังนั้นสิ่งที่น่ากลัว คือ การที่ราชการออกนโยบายต่างๆ ตอบสนอง ความต้องการทางการเมือง เพราะบางนโยบายไม่ถูกต้อง แต่ข้าราชการกลับไม่ทักท้วง จนในที่สุดนำไปสู่ความอ่อนแอและไม่มีประสิทธิภาพ
“นักการเมืองเก่งในการจะสร้างเครื่องมือ ครอบงำระบบราชการ เพราะฉะนั้นข้าราชการจะต้องออกแบบ และ สร้างมาตรฐานกลางในการป้องกันการถูกควบคุม และการครอบงำจากฝ่ายการเมืองให้ได้” นางปิยะนุช กล่าว