ยูตากะ ไมโจ กลั้นหายใจเพื่อให้แน่ใจว่ากล้องนิ่งดีแล้ว และระวังอย่างมากให้เป้าหมายอยู่ในโฟกัส เขารอเสี้ยวอึดใจก่อนจะกดชัตเตอร์ถ่ายภาพโดยอาศัยเพียงหูและสัญชาติญาณ
“ผมอาศัยเสียงเพียงอย่างเดียวในการถ่ายรูป” หนุ่มน้อยวัย 18 ปีที่สูญเสียความสามารถในการมองเห็นตั้งแต่อายุ 7 ขวบบอก
“ผมกดปุ่มชัตเตอร์โดยไม่ลังเลเมื่อคิดว่านั่นเป็นเสี้ยววินาทีที่เหมาะสม เพราะเสี้ยววินาทีนั้นไม่มีทางย้อนกลับมาได้อีก นั่นคือเคล็ดลับในการถ่ายรูปของผม”
ยูตากะเป็นช่างภาพเยาวชน 1 ใน 23 คนของโรงเรียนคนตาบอดในโยโกฮามา ภาพของเด็กเหล่านี้กำลังได้รับความสนใจจากสังคมมากขึ้นเป็นลำดับ
“ผมใช้หูวัดระยะห่างของวัตถุ ผมไม่มีคอนเซ็ปท์เรื่องสีเลย ตอนถ่ายรูปผมใช้จินตนาการอย่างเต็มที่” ยูตะ อูเอโนะ เด็กชายตาบอดวัย 12 ปี เล่าระหว่างเข้าชมนิทรรศการภาพถ่ายของพวกเขาที่จัดขึ้นในโตเกียว โดยที่ภาพแต่ละภาพบรรยายด้วยอักษรเบรลล์และอักษรปกติ
“ผมไม่แคร์ว่าวัตถุจะต้องอยูในกรอบหรือไม่ การถ่ายรูปเป็นสิ่งที่ทำแล้วมีความสุข ผมชอบมากตอนที่ปล่อยนิ้วจากชัตเตอร์ ใครบ้างไม่ชอบถ่ายรูป ผมว่าไม่มีหรอก” อูเอโนะสำทับ
เด็กๆ เหล่านี้จับกล้องครั้งแรกในชีวิตเมื่อสองปีครึ่งที่ผ่านมา ตอนที่ฮิโรชิ ซูกะ ช่างภาพมือรางวัล ไปบรรยายพิเศษให้ที่โรงเรียน
ซูกะที่โด่งดังจากการตระเวนถ่ายภาพสารคดีในเอเชีย บรรยายว่าเด็กๆ เหล่านี้มี ‘ตาที่หัวใจ’
“ตอนที่ผมบอกให้พวกเขาหยิบกล้องขึ้นมา ครั้งแรกเลยบางคนถือกล้องสลับหน้าสลับหลัง หรือสลับเอาด้านบนลงล่างก็มี ขณะที่มือบางคนปิดเลนส์มิด
“แต่พวกเขาเรียนรู้อย่างรวดเร็ว และผมแปลกใจมากที่ภาพของเด็กๆ เหล่านี้น่าประทับใจอย่างยิ่ง เป็นผลงานที่พิเศษกว่าภาพถ่ายของคนธรรมดาทั่วไป”
เขาให้นักเรียนตาบอดใช้กล้องแบบเดิมที่ต้องใส่ฟิล์ม ไม่ใช่กล้องดิจิตอล และบอกให้ออกไปถ่าย “ภาพอะไรก็ได้ที่พวกเธอชอบ”
ผลลัพธ์คือภาพครอบครัว ครู เพื่อนๆ ศิลปินริมทาง สุนัข รถไฟ ปราสาท ดอกไม้ ปุ่มเส้นแบ่งการจราจรสำหรับคนตาบอด
นักเรียนแต่ละคนค้นหาเทคนิคของตัวเองเพื่อทดแทนความทุพพลภาพ เช่น ใช้นิ้วเคาะกล้องเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ที่เป็นเป้าหมายในการถ่าย
“ภาพของพวกเขาเป็นธรรมชาติและซื่อตรง” ซูกะบอกขณะชมผลงานของเด็กเหล่านี้ในสตูดิโอของตนเอง
“ผมพูดอยู่เสมอว่าภาพสะท้อนตัวตนของคนถ่าย และภาพของเด็กเหล่านี้พิสูจน์ว่าคำพูดของผมถูกต้อง”
ซูกะตัดสินใจนำผลงานของเด็กๆ ออกแสดงต่อสาธารณชน ด้วยการจัดนิทรรศการในเมืองโยโกฮามาเมื่อปีที่แล้ว และตีพิมพ์คอลเล็กชันภาพโดยใช้ชื่อว่า ‘ตากล้องเด็ก’
นิทรรศการภาพถ่ายของเยาวชนตาบอดกลุ่มนี้เคลื่อนย้ายไปจัดในหลายเมืองทางตะวันออกของญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงโตเกียว เรียกความสนใจจากคนจำนวนมาก แถมหนังสือยังขายไปแล้วกว่า 7,000 เล่ม
“ชีวิตไม่มีข้อจำกัด เด็กๆ เหล่านี้อาจมีข้อด้อยแต่พวกเขาไม่ได้น่าสมเพชเวทนาเลย”
คันนะ โยชิดะ วัย 14 ปี นำกล้องติดตัวไปทุกหนแห่ง เธอบอกว่า การถ่ายรูปทำให้เธอ ‘เห็นภาพ’ ความทรงจำในความคิด
“ฉันสามารถเก็บความทรงจำที่มีชีวิตชีวาของเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยการถ่ายรูป ฉันชอบถ่ายรูปคนโดยเฉพาะเด็กๆ” เด็กหญิงที่ตามองไม่เห็นตั้งแต่วัยแบเบาะบอก
หนึ่งในภาพถ่ายของเธอที่นำมาแสดงในนิทรรศการเป็นภาพเด็กผู้ชายคนหนึ่งกำลังจ้องเข้ามาในตาเธอ ไม่ใช่จ้องเลนส์ ขณะกำลังเล่นในสวนสาธารณะท่ามกลางแสงแดดยามเช้าของฤดูใบไม้ผลิ
ยูตะ วัย 12 ปี เสริมว่า “ผมชอบถ่ายรูปเพื่อน แม่บอกว่าในทุกรูปที่ผมถ่าย เพื่อนๆ ยิ้มกันทุกคน”
อย่างไรก็ตาม มีสิ่งหนึ่งที่ขาดหายไปจากช่างภาพน้อยเหล่านี้ นั่นคือโอกาสในการชื่นชมผลงานของตัวเอง
“แน่นอนผมมองไม่เห็นภาพของตัวเอง แต่การถ่ายภาพอธิบายทุกอย่าง เพราะฉะนั้น ถึงไม่เห็นภาพ ผมก็จินตนาการได้ ” ทาคาฮิโร สึรึอิ วัย 14 ปี ทิ้งท้ายว่าการถ่ายภาพทำให้เขามั่นใจที่จะออกไปข้างนอกและพูดคุยกับคนอื่น
“ไม่ว่าในอนาคตผมจะทำงานอะไร แต่ผมจะถ่ายรูปต่อไปตลอดชีวิตนี้”
“ผมอาศัยเสียงเพียงอย่างเดียวในการถ่ายรูป” หนุ่มน้อยวัย 18 ปีที่สูญเสียความสามารถในการมองเห็นตั้งแต่อายุ 7 ขวบบอก
“ผมกดปุ่มชัตเตอร์โดยไม่ลังเลเมื่อคิดว่านั่นเป็นเสี้ยววินาทีที่เหมาะสม เพราะเสี้ยววินาทีนั้นไม่มีทางย้อนกลับมาได้อีก นั่นคือเคล็ดลับในการถ่ายรูปของผม”
ยูตากะเป็นช่างภาพเยาวชน 1 ใน 23 คนของโรงเรียนคนตาบอดในโยโกฮามา ภาพของเด็กเหล่านี้กำลังได้รับความสนใจจากสังคมมากขึ้นเป็นลำดับ
“ผมใช้หูวัดระยะห่างของวัตถุ ผมไม่มีคอนเซ็ปท์เรื่องสีเลย ตอนถ่ายรูปผมใช้จินตนาการอย่างเต็มที่” ยูตะ อูเอโนะ เด็กชายตาบอดวัย 12 ปี เล่าระหว่างเข้าชมนิทรรศการภาพถ่ายของพวกเขาที่จัดขึ้นในโตเกียว โดยที่ภาพแต่ละภาพบรรยายด้วยอักษรเบรลล์และอักษรปกติ
“ผมไม่แคร์ว่าวัตถุจะต้องอยูในกรอบหรือไม่ การถ่ายรูปเป็นสิ่งที่ทำแล้วมีความสุข ผมชอบมากตอนที่ปล่อยนิ้วจากชัตเตอร์ ใครบ้างไม่ชอบถ่ายรูป ผมว่าไม่มีหรอก” อูเอโนะสำทับ
เด็กๆ เหล่านี้จับกล้องครั้งแรกในชีวิตเมื่อสองปีครึ่งที่ผ่านมา ตอนที่ฮิโรชิ ซูกะ ช่างภาพมือรางวัล ไปบรรยายพิเศษให้ที่โรงเรียน
ซูกะที่โด่งดังจากการตระเวนถ่ายภาพสารคดีในเอเชีย บรรยายว่าเด็กๆ เหล่านี้มี ‘ตาที่หัวใจ’
“ตอนที่ผมบอกให้พวกเขาหยิบกล้องขึ้นมา ครั้งแรกเลยบางคนถือกล้องสลับหน้าสลับหลัง หรือสลับเอาด้านบนลงล่างก็มี ขณะที่มือบางคนปิดเลนส์มิด
“แต่พวกเขาเรียนรู้อย่างรวดเร็ว และผมแปลกใจมากที่ภาพของเด็กๆ เหล่านี้น่าประทับใจอย่างยิ่ง เป็นผลงานที่พิเศษกว่าภาพถ่ายของคนธรรมดาทั่วไป”
เขาให้นักเรียนตาบอดใช้กล้องแบบเดิมที่ต้องใส่ฟิล์ม ไม่ใช่กล้องดิจิตอล และบอกให้ออกไปถ่าย “ภาพอะไรก็ได้ที่พวกเธอชอบ”
ผลลัพธ์คือภาพครอบครัว ครู เพื่อนๆ ศิลปินริมทาง สุนัข รถไฟ ปราสาท ดอกไม้ ปุ่มเส้นแบ่งการจราจรสำหรับคนตาบอด
นักเรียนแต่ละคนค้นหาเทคนิคของตัวเองเพื่อทดแทนความทุพพลภาพ เช่น ใช้นิ้วเคาะกล้องเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ที่เป็นเป้าหมายในการถ่าย
“ภาพของพวกเขาเป็นธรรมชาติและซื่อตรง” ซูกะบอกขณะชมผลงานของเด็กเหล่านี้ในสตูดิโอของตนเอง
“ผมพูดอยู่เสมอว่าภาพสะท้อนตัวตนของคนถ่าย และภาพของเด็กเหล่านี้พิสูจน์ว่าคำพูดของผมถูกต้อง”
ซูกะตัดสินใจนำผลงานของเด็กๆ ออกแสดงต่อสาธารณชน ด้วยการจัดนิทรรศการในเมืองโยโกฮามาเมื่อปีที่แล้ว และตีพิมพ์คอลเล็กชันภาพโดยใช้ชื่อว่า ‘ตากล้องเด็ก’
นิทรรศการภาพถ่ายของเยาวชนตาบอดกลุ่มนี้เคลื่อนย้ายไปจัดในหลายเมืองทางตะวันออกของญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงโตเกียว เรียกความสนใจจากคนจำนวนมาก แถมหนังสือยังขายไปแล้วกว่า 7,000 เล่ม
“ชีวิตไม่มีข้อจำกัด เด็กๆ เหล่านี้อาจมีข้อด้อยแต่พวกเขาไม่ได้น่าสมเพชเวทนาเลย”
คันนะ โยชิดะ วัย 14 ปี นำกล้องติดตัวไปทุกหนแห่ง เธอบอกว่า การถ่ายรูปทำให้เธอ ‘เห็นภาพ’ ความทรงจำในความคิด
“ฉันสามารถเก็บความทรงจำที่มีชีวิตชีวาของเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยการถ่ายรูป ฉันชอบถ่ายรูปคนโดยเฉพาะเด็กๆ” เด็กหญิงที่ตามองไม่เห็นตั้งแต่วัยแบเบาะบอก
หนึ่งในภาพถ่ายของเธอที่นำมาแสดงในนิทรรศการเป็นภาพเด็กผู้ชายคนหนึ่งกำลังจ้องเข้ามาในตาเธอ ไม่ใช่จ้องเลนส์ ขณะกำลังเล่นในสวนสาธารณะท่ามกลางแสงแดดยามเช้าของฤดูใบไม้ผลิ
ยูตะ วัย 12 ปี เสริมว่า “ผมชอบถ่ายรูปเพื่อน แม่บอกว่าในทุกรูปที่ผมถ่าย เพื่อนๆ ยิ้มกันทุกคน”
อย่างไรก็ตาม มีสิ่งหนึ่งที่ขาดหายไปจากช่างภาพน้อยเหล่านี้ นั่นคือโอกาสในการชื่นชมผลงานของตัวเอง
“แน่นอนผมมองไม่เห็นภาพของตัวเอง แต่การถ่ายภาพอธิบายทุกอย่าง เพราะฉะนั้น ถึงไม่เห็นภาพ ผมก็จินตนาการได้ ” ทาคาฮิโร สึรึอิ วัย 14 ปี ทิ้งท้ายว่าการถ่ายภาพทำให้เขามั่นใจที่จะออกไปข้างนอกและพูดคุยกับคนอื่น
“ไม่ว่าในอนาคตผมจะทำงานอะไร แต่ผมจะถ่ายรูปต่อไปตลอดชีวิตนี้”